ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดภูเก็ต >อุทยานแห่งชาติสิรินาถ/Sirinat National Park 

อุทยานแห่งชาติสิรินาถ/ Sirinat National Park

 

อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติสิรินาถมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลบริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะภูเก็ต ประกอบด้วยป่าสนทะเลธรรมชาติ หาดทรายขาวสะอาด แนวปะการังที่สวยงาม และที่วางไข่ของเต่าทะเล กับจักจั่นทะเลจำนวนมาก ตลอดจนหอยทะเลที่หายากหลายชนิด อุทยานแห่งชาติสิรินาถอยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตเพียง 1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 56,250 ไร่ หรือ 90 ตารางกิโลเมตร

เดิมพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติเป็นพื้นที่ทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์บ้านสาคู กรมป่าไม้ได้มีหนังสือที่ กส. 0801/3326 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2520 ถึงจังหวัดภูเก็ต ส่งสำเนาหนังสือสำนักเลขาธิการรัฐมนตรีที่ สร.0202/1305 ลงวันที่ 31 มกราคม 2520 เรื่อง การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2520 ลงมติให้ความเห็นชอบกำหนดนโยบายในการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว และจังหวัดภูเก็ตได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ภก.09/7211 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2520 ขอให้กรมป่าไม้จัดพื้นที่บริเวณชายหาดในท้องที่อำเภอถลางเป็นวนอุทยานทางทะเล โดยเริ่มจากหาดทรายแก้ว หาดไม้ขาว เลียบริมทะเลลงไปทางใต้จนถึงหาดในยางมีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร ประกอบกับในท้องที่จังหวัดภูเก็ตมีหาดทรายที่สวยงามอยู่มาก และ นายเสน่ห์ วัฒนาธร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้การสนับสนุนอย่างดียิ่ง ป่าไม้จังหวัดภูเก็ตได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ภก.09/484 ลงวันที่ 23 กันยายน 2520 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นป่าสนทะเล หาดไม้ขาว หาดในยาง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้กรมป่าไม้พิจารณาจัดตั้งเป็นวนอุทยาน

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจ ปรากฏว่า เป็นพื้นที่ที่มีสภาพเหมาะสมสำหรับจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติและจุดเด่น เช่น ป่าสนทะเลธรรมชาติ หาดทรายขาวสะอาด แนวปะการัง และโขดหินที่สวยงาม ประกอบกับบริเวณชายหาดบางตอนเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล และจักจั่นทะเลจำนวนมาก เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2523 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2523 เห็นสมควรกำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าสนทะเล ป่าเขารวก ป่าเขาเมือง และบริเวณหาดในยาง ในท้องที่ตำบลไม้ขาว ตำบลสาคู และตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต พื้นที่ 90 ตารางกิโลเมตร ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 โดยให้ชื่อตามที่ชาวภูเก็ตเรียกขานว่า อุทยานแห่งชาติหาดในยาง นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 31 ของประเทศไทย

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2533 ให้ประกาศพื้นที่ราชพัสดุบริเวณท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 4.48 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อน้อมเกล้าถวายเนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยในการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 กรมป่าไม้จึงได้เข้ามาดำเนินการผนวกพื้นที่เข้ากับอุทยานแห่งชาติหาดในยาง โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่และพื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไป พร้อมทั้งขอพระราชทานชื่อใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า “อุทยานแห่งชาติสิรินาถ”

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถประกอบด้วยผืนน้ำประมาณ 76 เปอร์เซ็นต์ และผืนดินประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ คือ ป่าเขารวกเขาเมือง เขาใสครู ซึ่งมีลักษณะธรณีสัณฐานเป็นภูเขาหินแกรนิต และเชิงเขาซึ่งถูกกระบวนการผุพังและกัดกร่อน โดยมียอดเขาใสครูความสูง 335 เมตร และยอดเขาเมืองหรือเขาม่วงสูง 295 เมตร ธรณีสัณฐานที่ชายฝั่ง ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนชายฝั่งทะเลรูปแบบต่างๆ โดยสามารถจำแนกเป็น หาดทราย ได้แก่ หาดท่าฉัตรไชย หาดทรายแก้ว หาดไม้ขาว ซึ่งยาวต่อเนื่องจากทิศเหนือลงมาถึงหาดในยางทางทิศใต้ ซึ่งมีลักษณะเป็นหัวแหลมยื่นไปในทะเลเนื่องจากการงอกของทรายด้านหลังแนวปะการังซึ่งลดความรุนแรงของคลื่นมากกว่าบริเวณอื่น ความยาวรวมกันประมาณ 13 กิโลเมตร ต่อมายังหาดทรายที่อ่าวทุ่งหนุงซึ่งเป็นที่ราบทราย-ทรายแป้ง กว้างประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร และมีระดับเหนือน้ำในเวลาน้ำลง เป็นทางออกของคลองพะม่าลงหรือเรียกว่า ปากคลองปากบาง ซึ่งแต่เดิมในบริเวณทางออกจะเป็นพื้นที่ราบน้ำขึ้นถึงของปากคลองและมีสภาพเป็นป่าชายเลนและที่ลุ่มน้ำกร่อยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ แต่ปัจจุบันถูกบุกรุกถมดินทำให้หมดสภาพไป

นอกจากนี้ในอุทยานแห่งชาติ ยังมีหาดทรายสั้นๆ ระหว่างหัวแหลมผาชัน เกิดจากการสะสมของทรายจากการกร่อนของหน้าผาหินโดยคลื่นและกระแสน้ำเลียบฝั่ง ได้แก่ หาดในทอน หาดในทอนน้อย หาดที่อ่าวหินกรวย ส่วนบริเวณเกาะทะทางทิศใต้เป็นหาดทรายที่ต่อเนื่องขึ้นมาจากหาดบางเทาพบว่า กำลังเกิดลักษณะของสันดอนทรายงอกเชื่อมจากแผ่นดินไปยังเกาะทะ ส่วนชายทะเลบริเวณเขาใสครูและเขาม่วงมีลักษณะส่วนใหญ่เป็นหน้าผาหิน หาดหิน และลานตะพักหิน ที่เกิดจากการกระทำของคลื่น

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรด้านชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันตก จึงเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกตลอดปี และมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นำลมร้อนชื้นมาจากมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ในช่วงนี้จึงมีฝนตกมาก และในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนเป็นช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนตัวก็จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นฤดูหนาวพัดเข้ามาแทนที่ อุณหภูมิในช่วงนี้ไม่ลดมากแต่ยังมีฝนที่พัดผ่านอ่าวไทยมา อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 29 องศาเซสเซียล อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนธันวาคม 27 องศาเซสเซียล

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พืชพรรณธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถสามารถแบ่งออกได้เป็น
ป่าชายหาด เป็นป้อมปราการป้องกันลมพายุในฤดูมรสุม พบเป็นแนวแคบๆ ตลอดแนวชายหาดของอุทยานแห่งชาติ สภาพเป็นป่าโปร่งมีพรรณไม้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ได้แก่ จิกเล หว้าหิน ไทร กระโดน กระทุ่มน้ำ งิ้วป่า กระทิง สนทะเล โพทะเล หูกวาง มะนาวผี ส้าน เสม็ด โคลงเคลง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย มะเม่า หวาย สาบเสือ ลำเจียก ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และพืชอิงอาศัยหลายชนิด เช่น เฟิน กล้วยไม้ และกระช่อน เป็นต้น
ป่าชายเลน พบตามริมคลองที่น้ำทะเลท่วมถึง พันธุ์พืชที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบเล็ก โปรงแดง ฝาดแดง ตะบูนดำ แสมดำ แสมขาว ถั่วขาว สมอทะเล ตีนเป็ดทะเล พืชพื้นล่างได้แก่ จาก และเหงือกปลาหมอ
ป่าดงดิบ พบตามบริเวณที่เป็นภูเขาทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติ บริเวณเขารวก เขาเมือง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไข่เขียว หลุมพอ กระแซะ เหรียง พลา ตีนนก ยอป่า เป็นต้น ในบริเวณแหลมใสครู ตามแอ่งน้ำด้านหลังแนวปะการังพบหญ้าทะเล 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าชะเงา ซึ่งเป็นชนิดเด่น และหญ้าชะเงาใบสั้น ซึ่งพบอยู่เพียงเล็กน้อย สำหรับในบริเวณท่าฉัตรไชยและปากคลองท่าหยิดพบหญ้าทะเล 5 ชนิด คือ หญ้าชะเงาใบยาว หญ้าชะเงา หญ้าชะเงาใบสั้น หญ้ามะกรูดใบใหญ่ และหญ้ามะกรูดใบเล็ก

สัตว์ป่าที่พบในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็กประกอบด้วย กระแตธรรมดา กระรอกดินหลังลาย กระรอกข้างลายท้องแดง กระรอกปลายหางดำ นกนางนวล เหยี่ยวแดง นกกางเขนบ้าน นกกะเต็นอกขาว นกกระปูดใหญ่ นกเอี้ยงสาริกา นกเขาใหญ่ นกเขียวคราม และนกเด้าลมดง กิ้งก่าบินปีกส้ม กิ้งก่าหัวแดง แย้ จิ้งเหลนบ้าน ตุ๊กแกบ้าน เหี้ย งูเขียวดอกหมาก คางคกบ้าน กบหลังขีด ปาดบ้าน อึ่งอ่างบ้าน เป็นต้น

บริเวณคลองหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และบริเวณพรุน้ำจืดมีปลาและสัตว์อยู่หลายชนิด ที่พบเห็นโดยทั่วไปได้แก่ ปลาดุกอุย ปลาแขยงใบขาว ปลาสลิด ปลากระดี่หม้อ ปลาตะเพียนขาว ปลากริม หอยขม หอยโข่ง ปลิงเข็ม ปลิงควาย และกุ้งฝอย เป็นต้น

สัตว์ทะเลที่พบในบริเวณหาดทรายและแนวปะการัง ได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่ากระ เต่าหญ้า ปูลม จักจั่นทะเล หอยทับทิม ปลากะพงเหลือง ปลาอมไข่ ปลาใบปอ ปลามงแซ่ ปลากะรัง ปลากระบอก ปลากระเบน ปลาปักเป้า ปลาเก๋า ปลาไหลมอเรย์ ปลาสิงโตปีกจุด ปลาปากแตร ปลาผีเสื้อลายแปดขีด ปลาสินสมุทร ปลาการ์ตูนส้มขาว ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังสมอง ปะการังเคลือบ ปะการังเห็ด ปะการังอ่อน พรมทะเล และดอกไม้ทะเล เป็นต้น

จักจั่นทะเล มีชื่อสามัญว่า Mole crab หรือ Sand crab เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับกุ้ง ปู คือ มีลักษณะกึ่งกุ้งกึ่งปู ร่างเป็นรูปไข่ ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ 2 เท่า อาศัยอยู่ในทรายบริเวณชายน้ำที่มีคลื่น โผล่เฉพาะตาและหนวดขึ้นมาดักแพลงก์ตอนเป็นอาหารเข้าสู่ปาก จักจั่นทะเลที่พบที่หาดไม้ขาวมี 2 ชนิด คือ จักจั่นควาย (Mole asactyla) ซึ่งมีขนาดใหญ่ หายาก และจักจั่นธรรมดา (Emerita emeritus) เป็นจักจั่นที่พบมากกว่าชนิดแรกและมีขนาดเล็กกว่า

จุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติสิรินาถคือ ชายหาดที่มีความร่มรื่นด้วยทิวสนธรรมชาติและพรรณไม้ป่าชายหาดที่ร่มรื่น มีความยาวต่อเนื่องกันถึง 13 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลยังประกอบไปด้วยแนวปะการังน้ำตื้นอันเป็นที่อยู่ของปลานานาชนิด ระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะไปเที่ยวชมอุทยานแห่งชาติจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เพราะเป็นช่วงที่หมดฤดูมรสุม อากาศเย็นสบาย ท้องทะเลเรียบ ท้องฟ้าแจ่มใส โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงฤดูที่มีเต่าขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดต่างๆ เช่น หาดในยาง หาดไม้ขาว และหาดสาคู

หาดในยาง
เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพักนักท่องเที่ยว ลานกางเต็นท์ ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ชายหาดร่มรื่นด้วยทิวสนธรรมชาติและพรรณไม้ป่าชายหาด ชายหาดที่มีทรายขาวสะอาด น้ำทะเลสะอาดเหมาะแก่การเล่นน้ำ ชายฝั่งทะเลมีแนวปะการังน้ำตื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก มีปลานานาชนิด
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง 

หาดไม้ขาว
เป็นหาดที่ยาวที่สุดในจังหวัดภูเก็ต อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 8 กิโลเมตร แนวหาดเริ่มจาก หาดในยาง ผ่านสนามบินเรื่อยไปจนจดหาดทรายแก้ว มีทรายขาวติดต่อกันตลอดเกือบเป็นเส้นตรง เป็นหาดที่มีจักจั่นทะเลซึ่งเป็นสัตว์ทะเลขนาดตัวเท่าแมลงทับ เปลือกและขาลักษณะเหมือนกุ้ง จักจั่นทะเลมีสีกลมกลืนกับสีของหาดทราย
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

หาดในทอน
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศใต้ ประมาณ 6 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในทอนใหญ่ซึ่งเป็นหาดเปิดออกสู่ทะเล จึงมีคลื่นลมแรง กับในทอนน้อย มีลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวที่งามแปลกตา หาดทรายขาวทอดโค้งออกจากตัวเกาะ เป็นเกราะกำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี นับเป็นมุมสงบเหมาะสำหรับการพักผ่อน เล่นน้ำทะเล บนฝั่งร่มรื่นด้วยทิวสน
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

หาดทรายแก้ว
อยู่บริเวณสะพานสารสินและสะพานเทพกษัตรี ซึ่งเชื่อมเกาะภูเก็ตและจังหวัดพังงา ที่บ้านท่าฉัตรไชย เป็นหาดที่สวยงามและเงียบสงบ ชายหาดยาวประมาณ 3 กิโลเมตร แต่ลึกชัน ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ แต่เหมาะแก่การพักผ่อนรับประทานอาหาร

นอกจากนี้ยังมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ปกคลุมพื้นที่ลึกเข้ามาในชายฝั่งทางทิศตะวันออกของหาด มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเข้าไปในป่าชายเลนระยะทางประมาณ 600 เมตร โดยทำเป็นสะพานไม้ยกพื้นสูง มีป้ายความรู้เกี่ยวกับป่าและสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน ตามจุดที่น่าสนใจต่างๆ
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - กิจกรรมชายหาด

เกาะกะทะ
เกาะกะทะ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะทะ เป็นเกาะกลางน้ำ เมื่อเวลาน้ำลงจะมีชายหาดสามารถเดินลงไปเที่ยวหรือลงเล่นน้ำได้
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

เกาะแวว
เป็นลักษณะของกองหินกลางทะเล บริเวณรอบๆ เกาะมีแนวปะการังและปลาทะเลสวยงามให้นักดำน้ำชมปะการังได้ทั้งแบบดำน้ำลึกและดำผิวน้ำ
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
89/1 ม.1 บ้านในยาง ต.สาคู อ. ถลาง จ. ภูเก็ต 83140
โทรศัพท์ 0 7632 8226, 0 7632 7152 โทรสาร 0 7632 7152 

การเดินทาง

รถยนต์
จากจังหวัดพังงา ข้ามสะพานเทพกษัตรีย์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติท่าฉัตรไชย ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของอุทยานแห่งชาติ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 ถึงทางเข้าสนามบิน เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ระยะทางจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดภูเก็ต 876 กิโลเมตร อัตรค่าโดยสารสำหรับรถยนต์โดยสารธรรมดา ราคา 378 บาท และสำหรับรถยนต์โดยสารปรับอากาศ ราคา 484 บาท โดยสารปรับอากาศ VIP 775 บาท

ส่วนผู้ที่เดินทางจากจังหวัดภูเก็ต ก็เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 ประมาณ 32 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าแยกสนามบินไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ยังมีเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ได้อีกหลายทาง เช่น บริเวณบ้านไม้ขาว หาดในยาง หาดในทอน เกาะทะ เป็นต้น

เครื่องบิน
มีสนามบินนานาชาติภูเก็ต ตั้งอยู่ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติสิรินาถบริเวณหาดในยาง ให้บริการสายการบินทั้งในและต่างประเทศ สำหรับผู้เดินทางภายในประเทศมีเที่ยวบินมีเที่ยวบินดังนี้
- เที่ยวบินจากกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ตั้งแต่เวลา 07.00 - 21.35 น. เฉลี่ยชั่วโมงละลำ
- เที่ยวบินจากภูเก็ต - กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 07.05 - 21.30 น. เฉลี่ยชั่วโมงละลำ ติดต่อได้ที่หมายเลข 076-212400, 327194
- เที่ยวบินจากหาดใหญ่-ภูเก็ต เวลา 10.50 น. (TG 284)
- เที่ยวบินจากภูเก็ต-หาดใหญ่ เวลา 09.10 น.(TG 283)
- เที่ยวบินจากเชียงใหม่-ภูเก็ต เวลา 11.15 น.(TG 129)

 

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
หาดในทอน
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
หาดในยาง
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
หาดไม้ขาว
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
เกาะกะทะ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
Sirinat National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติสิรินาถ/map of Sirinat National Park
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
ภูเก็ต/Information of PHUKET

 

General Information
In 1980 Mr Sanae Wattanathorn the governor of Phuket surveyed the province to identify sites worthy of preservation. He considered both the tourist potential and the local villagers needs at all sites. One location visited was at Saku village on the North Western coast of Phuket island, centred upon an area of community grazing land, the adjoining beach and bay. This site appeared to be suitable for preservation so it was recommended to the Royal Forest Department as a possible site for the creation of a National Park. The Royal Forest Department came and undertook several surveys to assess the site's potential . They realised that although the forest in the area was not especially diverse and in some areas had been replaced by fruit tree plantations, they did discover two large healthy coral reefs in the bay. They also noted the overall natural state of the site the clean water and its historic importance as a sea turtle nesting beach. The Royal Forest Department produced and filed a report with the government for the inclusion of the site as a National Park. Had Nai Yang as the site became known, was officially opened by Royal decree on 13th July 1981. It became the 31st National Park of Thailand and covered the area of coastline and extended 5 kms out to sea.

In 1992 the Royal Forest Department changed the name of the park in commmemoration of the 60th birthday of Her Majesty, Queen Sirikit. The park name was changed to Sirinath Marine National Park. The boundary covers a total area of 90 sq. kms. of which 68 sq. kms. (76%) is marine and 22 sq. kms. (24%) is terrestrial.

There’re many white sand beaches with range of Casuarina and beach trees. Furthermore, there’s coral reef located around National Park office at Hat Nai Yang.

Climate
Sirinath National Park located in the coast of Andaman sea, that’s why it rains all year round. There’s wet season from May to September and its time of northeast monsoon, which bring the cold wind into this area from November to April. It doesn’t low down the temperature but the rain from Ao Thai cool down the area.

Flora and Fauna
Forest: types can divided into 2 main groups as follow:

Beach forest: This forest type is characteristic of the more exposed beachfronts around the coast of Thailand and is dominated by Casurina pines. Due to the severe water stress occuring above the beach zone the tree density and total species diversity in beach forest is low when compared to other forest types. This forest type covers approximately 2 sq. kms. and has a moderately rich bird fauna. Birds species recorded include Magpie robin, Common myna, Spotted dove, Asian fairy bluebird, Blacknaped oriole, Greater racket-tailed drongo, and several Bulbul species, There are also many Marine cicades which can be heard calling in the trees, this insect only occurs in this forest type.

Beach forest provides good shade with good ventilation due to the low tree density and thus makes an excellent location for picnic trips, with many people visiting during the holidays. These trees also provide a windbreak thus reducing the impact of tropical storms inland probably saving a considerable quantity of fruit each year. The trees also help to stabilize beach deposits.

The principle tree species occuring within the beach forest is; Common Ironwood (Casuarina equisetifolia) other species include; Tulip tree (Thespesia populnea), Tropical almond (Terminalia catappa), White Barringtonia (Barringtonia asiatica), Cajeput tree (Melaleuca leucadendra), Alexandrian laurel (Calophyllum inophyllum), Screwpine (Pandanus odoratissima), Asoka tree (Saraca indica), Black Poum (Eugenia cumini), Dillenia indica and Convolvulus (Ipomoea sp.).

Mangrove forest : This forest type is an evergreen forest type. It is restricted to the area where freshwater and seawater mix and cannot survive in pure freshwater or pure seawater. This forest type occurs in sheltered locations such as the mouth of streams and rivers flowing into the sea and especially in estuaries. At Sirinath National Park mangrove covers a total area of approximately 1 sq. km. Although this area is small the mangrove forest which occurs here is the most natural and unspoilt mangrove forest occuring on the island. Mangrove forest provides a protected habitat for many species, birds recorded include; Collared kingfisher, Roseate tern, Sanderling, Terek sandpiper, Bar-tailed godwit, White-breasted waterhen, Slaty-breasted rail, White-bellied sea-eagle, Brahminy kite and Large-billed crow, also Monitor lizards, Snakes including Mangrove snake, Turtles, Shrimps, Shellfish, Crabs, Fish including Mudskippers, Mullet, Groupers, and Garfish etc. Mangrove forest preservation is important as mangroves trees with their extended root systems are important in preventing erosion of the mudflats, they also act as a global sink for carbon dioxide a major greenhouse gas.

Tree species recorded include; Red mangrove (Rhizophora mucronata), White mangrove (Avicennia officinalis), Olive mangrove (Avicennia marina), Black mangrove (Bruguiera gymnorrhiza), Rhizophora apiculata, Ceriops spp., Xylocarpus granatum, Xylocarpus moluccensis, Lumnitzera racemosa, Heritiera littoralis, Finlaysonia maritima and Derris trifoliata.

Marine Environment :
The marine environment of Sirinath is quite diverse and the coral reefs present in the bay are some of the most pristine found in Phuket province. The reefs are located about 700 to 1000m away from the shore near the park restaurant. The coral reefs are found in water between 4 to 7 m deep. Some of the marine species occuring include; Plate corals, Soft corals, Sea fans, Tree corals and Sea anemones.

Nai Yang Beach
From November to February is the time when many turtles come up from the sea to lay their eggs on the beach such as Nai Yang Beach, Mai Khao Beach, and Sakhu Beach

Hat Mai Khao
Mai Khao is the longest beach in Phuket. It’s 8 kilometers from National Park office. It stretches from Hat Nai Yang, airport to Hat Sai Kaeo . It’s a white sand beach with plenty of marine animals such as sea cicadas, which has the same size as a beetle of the genus Buprestis. Its shell and legs are like shrimp. Its color is the same color as the sand.

Hat Nai Thon
This white sand beautiful beach is the good place for taking a walk and swimming. It’s 5 kilometers from National Park office.

Hat Sai Kaeo
Hat Sai Kaeo is connected to Hat Mai Khao. It’s such a beautiful but quite place where you can take a rest and picnic. This beach is not good for swimming because of its slope.

Contact Address
Sirinat National Park
89/1, Mu 1 Ban Nai Yang, Sakhu Sub-district, Amphur Thalang Phuket Thailand 83140
Tel. 0 7632 8226, 0 7632 7152 Fax 0 7632 7152 

How to go?
By Car
From Phang Nga province, cross Sarasin Bridge (Thep Ka Sat Tri bridge), turn left and drive for 3 kilometers you’ll find Tha Chat Chai National Park office which located in the north part of Sirinath National Park. You can walk across Sarasin Bridge and follow the highway No.402 to the airport, then turn left and have a 3 kilometers walk to Si Ri Nat National Park. It’s 876 kilometers from Bangkok to Phuket.

For local people, you can go there by follow highway No.402 for about 32 kilometers, turn left to the airport for 2 kilometers and you’ll reach the National Park.

There’re other ways which will lead you to Sirinath National Park such as Mai Khao village, Hat Nai Yang, Hat Nai Thon and Ko Ta for instance.

By Airplane
There’s Phuket International airport located next to Sirinath National Park. Many flights from both local and international airlines are available.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ภูเก็ต เกาะภูเก็ต แผนที่จังหวัดภูเก็ต แหลมพรหมเทพ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกระทู้
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอถลาง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


เขารัง

Khao Rang
(ภูเก็ต)


หาดในหาน
Nai Han Beach
(ภูเก็ต)


อ่าวเสน

Sehn Bay
(ภูเก็ต)
แผนที่จังหวัดภูเก็ต/map of PHUKET
โรงแรมจังหวัดภูเก็ต/Hotel of PHUKET

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์