|
|
|
|
 |
|
 |
 |
www.dooasia.com > จังหวัดภูเก็ต >วัดพระนางสร้อย/ วัดพระนางสร้อย/ |
วัดพระนางสร้าง
ภูเก็ต
วัดพระนางสร้างเป็นวัดประจำอำเภอถลาง อาณาเขตตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเทพกระษัตรี
ถนนเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ระหว่างกิโลเมตรที่ 18 - 19 ทิศเหนือ
ติดกับถนนจอมเฒ่าบ้านดอน ทิศตะวันออก ติดถนนเทพกระษัตรี ทิศตะวันตก ติดกับ
สวนมะพร้าวและนาเอกชน ทิศใต้ ติดต่อกับที่ดินเอกชน
ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดพระนางสร้าง
วัดพระนางสร้าง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2301 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี
พ.ศ.2310 มีเจ้าอาวาส 6 รูป ดังนี้
รูปที่ 1 พ.ศ.2302-2416 พระวินัยธร (อีด)
รูปที่ 2 พ.ศ.2416-2476 พระครูสุนทรสมณกิจ (ปอด)
รูปที่ 3 พ.ศ.2476-2483 พระครูวิตถารสมณวัตร (ธน)
รูปที่ 4 พ.ศ.2483-2490 พระครูสุนทรสมณกิจ (อีด โชติธมฺโม)
รูปที่ 5 พ.ศ.2490-2533 พระครูสุนทรสมณกิจ (เซี้ยง ธมฺมกาโม)
รูปที่ 6 พ.ศ.2533-ปัจจุบัน พระครูวิจิตรศุภการ (องค์การ ฉนฺทธมฺโม)
ประวัติวัดพระนางสร้าง
เนื่องจากการบันทึกและการรวบรวมตั้งแต่ระยะแรกจนถึงปัจจุบันมีน้อย
ประวัติความเป็นมาของวัดที่แน่นอนจริง ๆ จึงยังไม่มี
ได้มีผู้เล่าสืบต่อกันมาความละเอียดของเรี่องไม่ค่อยจะเหมือนกันนัก
แต่ใจความส่วนใหญ่คล้ายคลึงกันพอจะรวบรวมได้ดังนี้
พระนางเลือดขาวเป็นพระมเหสีของผู้ครองนครใดไม่เป็นที่แน่ชัด
เป็นผู้มีความศรัทธราในพุทธศาสนามาก
ต่อมาถูกเสนาในพระนครกลั่นแกล้งใส่ร้ายต่อเจ้าครองนครว่า พระนางเป็นชู้กับมหาดเล็ก
เจ้าครองนครหลงเชื่อจึงสั่งให้เพชฌฆาต นำมหาดเล็กนั้นและพระนางไปประหารชีวิต
พระนางได้พยายามขอร้องและแสดงความบริสุทธิ์ ถึงกระนั้นเจ้าครองนครก็ไม่เชื่อ
จะประหารชีวิตพระนางให้ได้
เมื่อหมดหนทางจึงได้ขอผ่อนผันว่าให้พระนางได้ไปนมัสการพระบรมธาตุที่ลังกาก่อน
จึงจะกลับมา ให้ประหารชีวิต ประกอบกับเวลานั้นคนเดินเรือมาจากหมู่เกาะสุมาตรา ลังกา
เล่าให้คนในนครฟังเสมอ ๆ ว่าที่ลังกาพระพุทธศาสนา เจริญมาก
และในปีหน้าจะมีการจัดงานทางพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ด้วย (ตามประวัติศาสตร์สากล เล่ม
12 ของหลวงวิจิตรวาทการ 2474 หน้า 28 กล่าวว่าพระพุทธศาสนาเจริญที่สุดในสุมาตรา
เมื่อ พ.ศ. 1200 ซึ่งอาจจะเป็นปีเดียวกันก็ได้ ) เจ้าครองนครจึงตกลง
เพราะมีเหตุผลที่ว่าคนในนครนั้นไม่ชำนาญในการเดินเรือ
และหนทางก็ไกลมากคงไปสิ้นพระชนม์เสียระหว่างทางมากกว่า
พระนางเลือดขาว และคณะที่ยังสวามิภักดิ์พระนางอยู่ก็ออกเดินทาง ตลอดเวลาเดินทาง
พระนางเฝ้าแต่อ้อนวอนและ ยึดเอาคุณพระศรีรัตนตรัยให้คุ้มครองป้องกันพระนาง
ทรงบอกแก่ผู้ที่ร่วมเดินทางว่า ถ้าเราไม่สิ้นวาสนาเสียก่อนต้องไปนมัสการ
พระบรมธาตุให้ได้ และถ้าเราเดินทางกลับมาโดยสวัสดิภาพก็จะสร้างวัดไว้เป็นที่ระลึกจึงจะไปรับอาญาที่ถูกกล่าวหาอาจจเป็นด้วย
บุญญาธิการที่เคยมีมาก่อนหรือผลอนิสงส์แห่งการยึดมั่นในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นได้
พระนางและคณะจึงไปถึงลังกาเข้านมัสการ พระบรมธาตุด้วยความปิติและได้นำเอาโบราณวัตถุหลายอย่างกลับมาด้วย
( บางคนเล่ากันว่า นำพระพุทธรูปมามากมาย และบางคน เล่าว่าได้นเอาต้นโพธิ์ลังกามาด้วย
และบางคนก็เล่าว่านำพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย )
ตอนที่เดินทางกลับพระนางได้นำเรือเข้าพักที่ เกาะถลางเพระเข้าใจว่าคงเป็นเกาะที่ใหญ่โต
แต่เมื่อขึ้นเกาะเข้าจริง ๆ ก็ต้องผิดหวัง
จึงได้สร้างวัดไว้เป็นที่ระลึกกับได้ปลูกต้นประดู่ และต้นตะเคียนไว้เป็นเครื่องหมาย
เข้าใจว่าพระนางคงเอาของมีค่าทางพระพุทธศาสนาฝังไว้ในเจดีย์บ้าง
แต่ตอนนั้นก็คงไม่สร้าง อะไรมากมายเพราะภูมิประเทศเดิมเป็นป่าใหญ่
(ต้นตะเคียนและต้นประดู่ได้ถูกโค่นเพื่อสร้างโรงเรียนเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว)
เมื่อสร้างวัดเรียบร้อยจึงออกเดินทางต่อไป
จนมาถึงนครแม้จะรู้ว่ากำลังจะไปรับความตายแต่พระนางก็มีความสุข ปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่ง
ที่ได้สร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่เอาไว้
แต่เมื่อมาถึงชานเมืองพระนางก็ต้องได้รับความเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งเพราะในขณะที่พระนาง
ไม่อยู่ได้เกิดการแย่งชิงพระราชสมบัติพระสวามีได้ถูกประหารชีวิต
พระนางจึงไม่เข้าไปในนคร ด้วยเหตุนี้พระนางจึงได้พ้นโทษจาก
พระสวามีพระนางได้กล่าวกับผู้ติดตามว่า
ในชีวิตจะต้องสร้างวัดวาอารามให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทุกคนที่ติดตามต่างสาธุกับ
พระนางด้วย ดังนั้นจึงได้นำวัตถุสิ่งของที่นำมาจากลังกาจะนำไปสร้างวัด
แต่เมื่อผู้ครองได้รับทราบเรื่องนี้จึงให้ทหารมานำนางไป ประหารชีวิต
พร้อมทั้งแย่งชิงของมีค่าทางพระพุทธศาสนาไปไว้ในนคร จะด้วยผลบุญที่พระนางสร้างไว้
เมื่อเพชรฆาตลงดาบตัด พระเศียรออกนั้น
โลหิตซึ่งพุ่งออกมามีสีขาวประชาชนที่ทราบเรื่องนี้จึงขนานนามว่า "พระนางเลือดขาว"
และวัดต่างๆ ที่พระนางได ้สร้างขึ้นจึงมีชื่อของพระนางเป็นส่วนมาก
ในตอนต้นในการสร้างวัด
ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าใครเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและมีมากก่อนอีกรูปจึงจะถึงท่าน
พระวินัยธร (อีด) แต่มีข้อที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ
ท่านพระวินัยธรเคยพูดเป็นเชิงเล่นกับประชาชนว่าเจ้าอาวาสที่นี่
เมื่อมรณภาพแล้วชาวบ้านจะก่อพระสถูปหรือเจดีย์แล้วนำกระดูกใส่ไว้ข้างในเสมอ
ในสมัยของหลวงพ่อปอดนั้นมีสถูปเจดีย์ ซึ่งทำด้วยอิฐเล็กบ้างใหญ่บ้างประมาณ 6 - 7
แห่ง หลวงพ่อปอดจึงได้รื้อนำกระดูกและของมีค่าบางอย่างมารวบรวมเข้าด้วยกันมาฝัง
แล้วให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่เพียงองค์เดียวดังเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ถ้าคำกล่าวเล่าเป็นความจริงก็แสดงว่าก่อนที่จะถึงหลวงพ่อปอด
ก็ต้องมีเจ้าอาวาสมาก่อนอย่างน้อย 8 รูป
หลักฐานที่ปรากฎในวัดพระนางสร้าง
วัดพระนางสร้างเป็นวัดที่มีอายุยาวนานและมีประวัติศาสตร์
จึงมีสิ่งที่สำคัญประเภทโบราณวัตถุ โบราณสถาน เป็นจำนวนมาก
บ้างสิ่งก็ได้ถูกรื้อออกเพื่อสร้างประโยชน์อย่างอื่น
สถานที่หลายแห่งที่คนโบราณผูกปมปัญหามีเงื่อนงำ
เพื่อบอกที่ฝังหรือที่รักษาทรัพย์สมบัติ
ผู้คิดแก้ปัญหาเงื่อนงำได้และรู้สถานที่ตามข้อความปริศนานั้น
จะสามารถรับทรัพย์สมบัติ ณ สถานที่เหล่านั้นข้อความเหล่านั้นคือ "ลายแทง"
ลายแทงของวัดพระนางสร้าง มีลายละเอียดคือ " อาถรรพถ์ฤาพบได้ ฤาต้องปี ฤาต้องบัง
ฤาบอกฤาเล่ามิได้ ฤานำฤารู้ ฤาอุบฤาได้ ฤาบุญฤาตัวเปิด ฤานำ ฤาได้ ฤาบาปแล
พิกุลสองสารภีดีสมอแดง จำปาจำปีตะแคง มะขามหนี่ง กระท้อนหน้า ราชารอบ พิกุลสอง
สารภีดี สมอแดง จำปา จำปี ตะแคง มะขามหนึ่ง กระท้อนหน้า ราชารอบขอบของ
ระฆังดังเจดีย์มีศาลารอบ ด้วยเข็มหนึ่งไม้เลือดหลังสุด ลูกมุดลูกม่วง ชมพู่ดูโบสถ์
ฤาเปิดได้ดั่งลายแทงแล ฯ
เส้นแสงลายแทงหนึ่ง นางสร้าง ฤาเปิด ฤาดู ฤาชม ฤากราบไหว้บูชา ฤาได้ บุญกุศลแล
ฤาดีได้เจ้าเมืองเปิดแลฯ ฤา ของแท้แน่ไซร้ ฤาได้หญิงลือหญิงแลฯ
เส้นแสงลายแทงสอง พระสร้าง ฤาใจ ฤางาม ฤาตามเจ้าเมืองฤาพระนางเดื่องฤาด้วย ฤาใจ
ฤางาม ฤาใจเจ้าเมือง ฤาใจหญิงฤาหญิงแล ฯ
เส้นแสงลายแทงสาม ฤาอย่าข้ามใจฤา เจ้าเมืองฤา ฤาพิษฐาน ฤารูปงาม ฤาทรัพย์ ฤาลาภฤายศ
ฤาขอได้ลูกหลานหลิน ฤาขอได้ดั่งประสงค์ฤา ฤาถือ ได้ปฏิบัติแน่ไซร้ ฤาธิษฐานได้
ฤาดั่งลายแทงฯ
กรุสมบัตินี้อยู่ที่อุโบสถ์วัดพระนางสร้าง รอบโบสถ์มีต้นไม้ตามลายแทง
นอกจากจะเป็นที่สังเกตหมายแหล่ง กรุสมบัติแล้ว
ยังแทนถึงผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีจะต้องให้สตรี 2 คน คนหนึ่งแต่งชุดสีสารภีและสีสมอ
(มะขาม) อีกคนนุ่งผ้าม่วง (ลูกม่วง) โจงกระเบน (ลูกมุด) เสื้อสีชมพู เป็นต้น
ภาคใต้มีแหล่งแร่ดีบุกที่อุดมสมบูรณ์ของโลกมาตั้งแต่อดีตกาลปฏิมากรจึงสร้างพระพุทธรูปด้วยดีบุกพบที่อำเภอทับปุด
จังหวัดพังงาเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดกว้าง 3-4 นิ้วสูงไม่เกิน 2 ฟุต
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2526 อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต มานิต วัลยะเพ็ชร์
เป็นประธานเปิดกรุพระในอุโบสถวัด พระนางสร้าง ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง
จังหวัดภูเก็ต พบพระพุทธรูปดีบุกบรรจุอยู่ในพระอุทรขององค์พระพุทธรูปเบื้องขวา
ถัดไปอีกวันที่ 1 มีนาคม 2526 อรัญ จินดาพล สมาชิกสภาจังหวัดภูเก็ต ก็พบ "พระในพุง"
พระพุทธรูปดีบุกอีกในพระอุทรองค์ พระพุทธรูปเบื้องซ้าย ทั้ง 2
องค์มีเฉพาะพระพักตร์ขนาดกว้าง 27 ซม. ยาวตั้งแต่บนสุดของพระเศียรถึงพระอังสา 40
ซม. สันพระนาสิกสูงจากพระโอษฐ์ 1.5 ซม. หางเบ้าพระเนตรซ้ายขวาห่างกัน 16 ซม.
ริมพระโอษฐ์ซ้ายขวาห่างกัน 9 ซม. จึงเรียกพระพุทธรูป 2 องค์ว่า "
พระพุทธสามกษัตริย์" พระพักตร์ที่พบครั้งหลัง มีขนาดใหญ่กว่าที่พบครั้งก่อน
คือกว้างตั้งแต่ พระกรรณซ้ายขวาห่างกัน 28 ซม. บนสุดของเศียรลงไปถึงพระศอ 40 ซม.
หางพระเนตรซ้ายขวาห่างกัน 24 ซม. ริมพระโอษฐ์ ซ้ายขวาห่างกัน 11 ซม.
ปลายสันนาสิกสูง 5 ซม.
แม้นับย้อนหลังกลับไปเพียงปลายกรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปสามกษัตริย์
ก็จัดพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูเก็ต
และเป็นพระพุทธรูปดีบุกที่ใหญ่ที่สุด
พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระในพุงไว้มีอายุยาวนาน
สันนิษฐานว่าคงมีการบูรณะอุโบสถใหม่เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5
พระอุโบสถหันไปทางทิศตะวันออก มีประตูใหญ่ด้านหน้ามีประตูเล็ก 2
ช่องด้านทิศเหนือใต้ มีช่องหน้าต่าง 4 ช่องภานในมีเสา ไม้ตำเสาที่สูงตรง 4
เสาซึ่งหาดูจากที่อื่นไม่ได้
ด้านในช่องหลังก่ออิฐยกสูงขึ้นประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสกุลถลาง
ปางมารวิชัยด้านหลังสุดเป็นพระพุทธไสยาสน์ อุโบสถนี้ไม่มีประตูด้านหลัง
ด้านนอกรายรอบด้วยพัทธสีมาก่อด้วยอิฐถือปูน จำนวน 8 องค์
รูปองค์คล้ายสถูปเล็กในส่วนรายละเอียดจะแตกต่างกัน พัทธสีมาที่ใหญ่ที่สุดอยู่ตรงประตูทางเข้าอุโบสถ
ในปีพ.ศ. 2539 มีการบูรณะอุโบสถขึ้นใหม่ ใช้สถาปัตยกรรมในรูปแบบเดิม
ด้านทิศใต้มีหอระฆังก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ 8 เมตร
มีบันไดอยู่ทางทิศตะวันตกเป็นหอระฆังมีรูปแบบที่ได้นำมา จากลังกา
หอระฆังนี้สูงมีบันไดขึ้นหันไปทางทิศตะวันตก
หลังคามีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมแบบไทย ระฆังเป็นทองเหลือง
เจดีย์อยู่ติดกับหอระฆังเป็นเจดีย์ทรงระฆังคร่ำ บรรเจิด ประทิป ณ ถลาง
ได้บันทึกว่าสมัยหลวงพ่อปอดเป็น เจ้าอาวาสวัดพระนางสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5
มีสถูปเจ้าอาวาสเล็กๆ 6-7 องค์ หลวงพ่อปอดได้รื้อแล้วนำอิฐิของเจ้าอาวาสองค์ก่อนมา
รวบรวมไว้ในเจดีย์ใหญ่ที่สร้างขึ้นใหม่มีอายุล่วงมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ปี
เนื้อที่บริเวณอุโบสถ หอระฆังและเจดีย์ มีเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา
ในบริเวณวัดพระนางสร้าง เป็นโราณสถานของชาติแหล่งที่ 3 ของภูเก็ต
หน้าวัดพระนางสร้างมีการสร้างซุ้มประตูกาญจนาภิเษก
และด้านทิศตะวันตกของซุ้มประตูมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมยืน รอบล้อมด้วยมังกร
ด้านล่างจะมีองค์เซียนของจีนจำนวน 8 องค์
อุโบสถที่มีการปลูกสร้างขึ้นใหม่เป็นสถาปัตยกรรมยุครัตนโกสินทร์
ภายในอุโบสถมีพระประธานปางมารวิชัย
ฝาผนังอุโบสถมีจิตกรรมฝาผนังที่แสดงประวัติของบุคคลสำคัญ และประวัติเมืองถลาง
มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง
| รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดพระนางสร้อย | | ภูเก็ต/Information of PHUKET | วัดพระนางสร้อย | เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เนเธกเนเธเธเธซเธเนเธฒ | เธเธนเนเธญเนเธเธตเธข เธเนเธญเธเนเธเธตเนเธขเธงเนเธเธข
เนเธญเนเธฐเนเธญโฆ เธเนเธญเธเธดเธเธเธฅเธฒเธ 404
เธเธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธเนเธซเธเนเธฒเธเธตเนเธเธธเธเธเธณเธฅเธฑเธเธกเธญเธเธซเธฒเธเธฑเนเธเนเธกเนเธกเธตเธญเธขเธนเน
เนเธเธชเธเนเธฅเนเธฒเธชเธธเธเธเธญเธเนเธฃเธฒ
|
ภูเก็ต เกาะภูเก็ต แผนที่จังหวัดภูเก็ต แหลมพรหมเทพ
include("../head.html");?>
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกระทู้ |
|
|
|
แผนที่จังหวัดภูเก็ต/map of PHUKET |
|
|
|
โรงแรมจังหวัดภูเก็ต/Hotel of PHUKET |
|
include("../foot.html");?>
|
|
 |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|