พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ)
ชื่อ สกุล : พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ)
วันเดือนปีเกิด : ปีกุน พ.ศ. 2454 ที่เมืองมุกกะเหนี่ยง ในสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
การศึกษา : ได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาทางพุทธศาสนาที่วัดมุกกะเหนียง จนจบหลักสูตร และได้เดินทางไปศึกษาต่อยังเมืองร่างกุ้ง สอบได้ เปรียญธรรมชั้นเอก (ป.ธ.7)
อาชีพ : เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวกการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
**
หลวงพ่ออุตตะมะ มรณภาพวันนี้ 18 ตุลาคม 2549 **
สรุปประวัติโดยย่อ :
เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุศึกษาในสำนัก ศาสนศึกษาในเมืองย่างกุ้ง สอบได้ชั้นสูงสุดซึ่งเรียกว่าชั้น "ปาร์คู" แต่ยังไม่ทันประกาศผลก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องอพยพหนี สงคราม ในระหว่างสงคราม พระอาจารย์จันทิมา ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ของท่าน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฤตยาคมเป็นที่เลื่องลือได้ถ่าย ทอดวิชาความรู้ให้ท่านจนจบสิน เมื่อสงครามโลกยุติ ท่านก็ได้เดิน ธุดงค์ไปมาระหว่างประเทศไทยกับเมืองเย ผ่านเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งแสนจะทุรกันดาร จนถูกกองโจรขบวนการกู้ชาติจับแต่ท่านก็ สามารถใช้วิชาความรู้รอดชีวิตมาได้ พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) คุ้นเคยกับภูมิประเทศไทย เพราะเคยจำพรรษาอยู่ตามวัดต่าง ๆ ในท้องที่อำเภอ โพธาราม อำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีและสมุทรปราการ ครั้น เมื่อ พ.ศ. 2500 ท่านได้ลงมือสร้างวัดขึ้นที่ฝั่งตะวันตกของลำน้ำแควน้อย ชื่อวัด "วังก์วิเวกการาม" เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งของชาว ไทยและชาวมอญในถิ่นทุรกันดาร จนเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไป ในวันเดิน ท่านจะมีประชาชนทั้งชาวไทยชาวมอญในประเทศและจากนอก ประเทศเข้ามาร่วมทำบุญมีงานรื่นเริงเป็นประจำทุกปี ต่อมามีการสร้างเขื่อนเขาแหลมบริเวณวัดน้ำจะท่วมทั้งหมด จึง ได้ย้ายวัดขึ้นไปอยู่บนเขาโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นผู้จัดสร้างขณะ นี้ดำเนินการก่อสร้างเกือบจะเสร็จสิ้นแล้วเหลืออยู่แต่เจดีย์ทรงสี่ เหลี่ยมแบบพุทธคยาที่บริเณริ่วัด ที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่สวยงามงดงามแห่งหนึ่ง ปัจจุบันนี้ท่านหลวงพ่อได้รับนิมนต์จากประชาชนทั่วทั้งประเทศ เพื่อไปประกอบพิฑีทุกธาภิเศกทั้งในงานวัดและงานมงคลต่าง ๆ อยู่ เสมอ มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากทั้งชาวไทยและชาวมอญรวม ทั้งพม่า
หลวงพ่ออุตตมะ
(พระครูอุดมสิทธาจารย์)
วัดวังก์วิเวการาม
อำเภอสังขละบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
หลวงพ่ออุตตมะ
เป็นชื่อหรือฉายาในพระบวรพระพุทธศาสนาของท่าน
คือ อุตตมะหรืออุตตโม
เราทั้งหลายจึงมักนิยมเรียกนามท่านตามฉายาสงฆ์ดังที่กล่าวมานี้
หลวงพ่ออุตตมะ
ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ชอบเดินธุดงค์อยู่ป่าดงมากกว่าอยู่วัดวาอาวาส
ท่านถือแนวทางการประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลายที่เคยได้กระทำมาแล้ว
พร้อมกับเป็นขวัญใจของชาวไทยและชาวรามัญองค์หนึ่งในยุคนี้
ชาติภูมิของท่าน
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น
๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลา ๖.๐๐
น. ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๒ ณ
หมู่บ้านโมกกะเนียง
ตำบล เกลาสะ อำเภอเย
จังหวัดมะละแหม่ง
ประเทศพม่า โยมบิดาชื่อ
นายโง โยมมารดาชื่อ
นางทองสุก มีอาชีพทำนา-สวน
และนามเดิมของท่านนั้นบิดามารดาตั้งไว้ว่า
เอหม่อง
กาลต่อมาท่านเจริญวัยมากแล้ว
บิดามารดาได้นำท่านมาอยู่วัด
(เป็นเด็กวัด)
เพื่อศึกษาอบรมบ่มนิสัย
ให้ประพฤติตนเป็นคนดีต่อไป
เมื่ออายุอันสมควร
บิดามารดาได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร
ณ วัดโมกกะเนียง
ประเทศพม่า
อันเป็นวัดใกล้บ้าน
โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์
การดำเนินเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์นี้
เป็นไปด้วยใจรักและเคารพ
สามเณร เอหม่อง
ท่านมีความปีติยินดียิ่งนัก
เพราะตนเองมีความเข้าใจว่า
ได้เข้ามาอยู่ในโลกใหม่
เป็นโลกของศีลธรรมเป็นโลกที่องค์พระศาสดาเจ้าตรัส
สรรเสริญ คือ
เป็นโลกที่ละบาปกรรมทำชั่วแล้วทั้งปวง
ภายหลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว
ท่านได้มานะอบรมศึกษาเล่าเรียนธรรม
จนสามารถสอบได้นักธรรมโท
อายุครบที่จะอุปสมบทได้
โยมบิดามารดา
จึงขออนุโมทนาให้อุปสมบทต่อไป
พิธีจึงจัดขึ้น ณ
วัดโมกกะเนียง ต.เกลาสะ อ.เย
จ.มะละแหม่ง
โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์
พระ นันทสาโร
เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระวิสารท
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า
อุตตโมภิกขุ
หลังจากบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว
หลวงพ่ออุตตมะมีความพยายามศึกษาพระปริยัติธรรมจนสำเร็จเปรียญ
๘ ประโยค
เมื่อสอบเปรียญจนรู้ผลไปหมดสิ้นแล้ว
ท่านได้หันจิตใจออกประพฤติปฏิบัติธรรม
ด้วยการเที่ยววิเวกไปตามป่าเขา
หยุดพักปักกลดในป่าในเขา
เจริญตามเยี่ยงอย่าง
กุลบุตรพุทธชิโนรสเจ้าไม่อาลัยกับชีวิตและความเหน็ดเหนื่อย
ท่านถือการปฏิบัติธรรมเป็นใหญ่
ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง
เสี่ยงตายเพื่อแลกมาซึ่งความดีงาม
จากประเทศพม่าดั้งด้นย่นป่าเข้ามาประเทศไทย
ไปทางภาคเหนือ
พักอยู่วัดสวนดอก
ชั่วคราวจากนั้นเดินธุดงค์ต่อไปจังหวัด
แม่ฮ่องสอน
แล้วย้อนกลับมาทางเชียงใหม่
หลวงพ่ออุตตมะ
ได้สนทนาธรรมกับศิษย์สายหลวงปู่มั่น
ภูริทัตโตหลายองค์ เช่น
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
หลวงปู่แหวน สุจิณ?โณ
นอกจากนั้นแล้วท่านยังได้เข้านมัสการและปรารภธรรมกับ
หลวงปู่คำแสน อินทจักโก
จ.เชียงใหม่ เป็นต้น
หลวงพ่ออุตตมะ
ท่านได้ผจญกับความเจ็บป่วยไข้ป่าที่ร้ายแรง
และบรรดาสัตว์ป่าที่
ดุร้ายมาหลายแห่งหลายถิ่น
แต่ท่านมิได้ไปสู้รบตบมือกับพวกมัน
ท่านมีอาวุธธรรม
เป็นเครื่องป้องกัน
อาศัยจิตใจอันแน่วแน่มั่นคง
เชื่อมั่นในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
แล้วดำเนินตาม
อันเป็นที่สุดแห่งการปฏิบัติคือ
พระนิพาน
ในปัจจุบันนี้
หลวงพ่ออุตตมะท่านได้ละถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า
มาอยู่เป็นร่มโพธิ์ทองให้แก่มวลมนุษย์ผู้ใคร่ในธรรม
และจะเป็นแดนชีวิตของท่าน
คือ ประเทศไทย
ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น
ท่านไม่ได้ถือเหล่าเผ่าพันธุ์
ท่านไม่ถือชาติถือตระกูล
ท่านมีแต่ธรรมะคำสั่งสอนเป็นที่อาศัยให้จิตใจชื่นบาน
ท่านไม่อาลัยแม้ชีวิตจะเป็นไป
ถือความดีงามนั้นเท่านั้น
เป็นที่อยู่และที่ไป
หลวงพ่ออุตตมะ
ท่านเป็นพระนักเดินธุดงคกรรมฐาน
เป็นนักต่อสู้กิเลสภายในชั้นยอดองค์หนึ่ง
ขณะที่ท่านดำเนินชีวิตในเพศสมณะ
ท่ามกลางป่าเขาอยู่นั้น
ท่านได้น้อมระลึกอยู่เสมอในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดังนี้ว่า
ผู้มีปัญญา
ไม่ควรให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตาม
ไม่ควรหวังสิ่งซึ่งยังมาไม่ถึง
เพราะว่าสิ่งใดล่วงพ้นไปแล้ว
สิ่งนั้นอันเราละเสียแล้ว
อนึ่ง
สิ่งใดซึ่งไม่มาถึงเล่าสิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
จึงไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงไปแล้วมาตามไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ก็ผู้มีปัญญาได้มาเห็นธรรมเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น
เฉพาะหน้าแจ้งชัดอยู่ในที่นั้น
ๆ ใครจะพึงรู้ว่า
ความตายจักไม่มีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าสู้ความหน่วงเหนี่ยว
ความผูกพันด้วยมฤตยู
ความตาย
ซึ่งมีเสนาใหญ่นั้นมิได้เลย
ฉะนั้นความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
อันผู้มีปัญญาควรทำเสียในวันนี้เลยทีเดียว
ไม่มีความเกียจคร้าน
ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้
ผู้นั้นแลเป็นผู้มีราตรีเดียวเจริญดังนี้
หลวงพ่ออุตตมะ
ได้อาศัยการเดินธุดงค์
ไปอยู่บำเพ็ญธรรมบนเขาหมู่บ้านชาวเขาก็หลายครั้งและเป็นเวลานาน
ๆ
ทางที่ท่านได้มุ่งหมายไปนั้น
เป็นทางตรงที่บริสุทธิ์
ไม่มีโค้ง
หรือมีซอยเล็ก ๆ ต่อไป
ท่านหลวงพ่ออุตตมะ
ท่านเป็นนักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ที่แท้จริง
ท่านได้ออกเที่ยววิเวกไปในเขตเมืองทวาย
และได้ผ่านเข้ามาทางประเทศไทย
หลวงพ่ออุตตมะต้องผจญกับภัยอันตรายจากโจรป่า
สัตว์ป่า ไข้ป่าต่าง ๆ
มากมาย
จนสามารถฟันฝ่ากับอุปสรรคนั้นได้
ก็ด้วยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
แม้ปัจจุบันนี้
หลวงพ่ออุตตมะ
ก็มีความชราภาพลงไปมากแล้วหลวงพ่ออุตตมะ
ก็ไม่เคยทอดทิ้งองค์แห่งการปฏิบัติเลย
ขณะนี้หลวงพ่ออุตตมะ
ยังเป็นขวัญจิตขวัญใจของเราชาวพุทธทุกคน
ท่านยังรอต้อนรับผู้จะปฏิบัติธรรมกับท่าน
แม้ท่านที่มองเห็นคุณค่ามหาศาลนี้
ก็ขอให้เดินทางไปนมัสการที่
วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี
จ.กาญจนบุรี
คงจะได้พบกับแสงสว่างในธรรมะอย่างสิ้นสงสัย
หลวงพ่ออุตตมะ
นับว่าเป็นพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่งในปัจจุบัน
ที่มาของข้อมูล
http://www.thavorn.net
|