ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดชลบุรี > อุทยานสามก๊ก

อุทยานสามก๊ก
อุทยานสามก๊ก ย่อพงศาวดารจีนในไทย
เรื่องและภาพชุดนี้เป็นของผู้จัดการรายวัน เขียนไว้ดี ชัดเจนถึงประวัติและเนื้อหาสาระ ขอขอบคุณแทนนักท่องเที่ยวมา ณ. ที่นี้
โดย ผู้จัดการรายวัน 28 กุมภาพันธ์ 2548 09:41 น. (http://www.manager.co.th)


ระเบียงจิตรกรรม ภาพวาดบนกระเบื้อง 56ช่อง คัดย่อตอนสำคัญๆจากพงศาวดาร3ก๊กตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบ

สามก๊ก พงศาวดารประวัติศาสตร์จีนที่ได้รับการเล่าขานมาหลายต่อหลายรุ่น ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ และเหนือสิ่งอื่นใดพงศาวดารสามก๊กยังคงความนิยมทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัยมาถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจ คติต่างๆที่แฝงในเนื้อหาตำรายุทธพิชัยสงครามในอดีตถูกนำมาประยุกต์และยึดถือเป็นตำราในการดำเนินชีวิตและสำหรับการบริหารธุรกิจ
       
       คนส่วนใหญ่รับรู้เรื่องราวแง่มุมต่างๆของพงศาวดารสามก๊กผ่านลายลักษณ์อักษรซึ่งได้รับการแปลและตีพิมพ์ครั้งแล้วครั้งเล่า รวมไปถึงผ่านภาพเคลื่อนไหวของตัวละครสมมติในจอโทรทัศน์ นอกเหนือจากสื่อดังกล่าวยังมีสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งนำเสนอเรื่องราวประวัติพงศาวดารสู่สาธารณชน บนเนื้อที่กว่า 36 ไร่ ในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เรียกว่า "อุทยานสามก๊ก"

       
สถาปัตยกรรมจีนตามหลักฮวงจุ้ย

       บนเนื้อที่กว่า 36 ไร่อันเป็นที่ตั้งของ "อุทยานสามก๊ก" ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการวางรูปแบบตามหลักฮวงจุ้ย รายล้อมด้วยต้นไม้ ต้นอโศก-อินเดีย ติดภูเขา มีหยินหยางปรัชญาแห่งความสมดุลของจีน จากคำบอกเล่าของหญิงสาวเจ้าหน้าที่ดูแลอุทยานทำให้ทราบความเป็นมาของอุทยานสามก๊กนั้นสร้างขึ้นตามเจตนารมณ์ของคุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง โดยสถาปัตยกรรมแบบจีนได้รับการออกแบบโดย อาจารย์ธีรวัลย์ พัธโนทัย และอาจารย์รณฤทธิ์ ธนโกเศศ 2 สถาปนิกแห่งกรมศิลปากร หลักในการออกแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและจีน
       
 
แนวความคิดในการวางผังภูมิสถาปัตยกรรมบริเวณอุทยานสามก๊ก สืบเนื่องจากการกำหนดภูมิจักรวาลศึกษา จากลักษณะภูมิประเทศของที่ตั้งเป็นพื้นที่ลาดต่ำไปทางทิศใต้ โดยมีภูเขาขนาดย่อมทอดตัวอยู่ทางทิศเหนือ จึงกำหนดทิศทางอาคารประธานหรืออาคารกลางบนจุด ที่สูงที่สุดของพื้นที่ทั้งหมด ทางทิศเหนือซึ่งมีระดับสูงกว่าอาคารอื่นๆ พร้อมกับหันหน้าไปทางทิศใต้ ทำให้ภูเขากลายเป็นฉากหลังของอาคารประธาน กำหนดระดับของการเข้าถึงตัวอาคารประธาน มีลักษณะการยกระดับขึ้นไปเป็นระยะๆจนเชื่อมต่อกับบันไดทางขึ้น บริเวณโดยรอบวางผังแบบรูปทรงเรขาคณิต ตามหลักการวางผังบริเวณที่เป็นมงคลมาแต่โบราณทั้งของไทยและจีน
       
      
 จากนั้นได้กำหนดแนวแกนหลักตามทิศเหนือ-ใต้ โดยมีซุ้มประตูทางเข้าวางเป็นตัวกั้นแบ่งพื้นที่ส่วนอนุสรณ์สถานซึ่งอยู่ทางทิศเหนือกับส่วนบริการทางทิศใต้ วางแนวแกนตะวันออก-ตะวันตกเพื่อเป็นที่ตั้งของอาคารศาลเจ้าแม่กวนอิมกับอาคารอเนกประสงค์ โดยมีระเบียงโค้งจันทร์เสี้ยวเป็นตัวเชื่อมต่อและโอบล้อมอาคารทั้ง 3 หลังเป็นหนึ่งเดียวกัน
       
       ตึกสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีน เรียกว่าเก๋ง มีทั้งหมด 3 อาคาร อาคารกลางหรืออาคารประธานมีความสูงที่สุด มีทั้งหมด 4 ชั้น หลังคาเป็นกระเบื้องสีน้ำเงินเข้มสื่อถึงทะเลและท้องฟ้า ประดับรูปประติมากรรมเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อดั้งเดิมของจีน อย่างเช่น คนชราขี่สัตว์รูปร่างคล้ายไก่ (เซียนเหญิน) ,มังกรสี่ขาท่านั่ง รูปร่างคล้ายสัตว์จตุบาท เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "จตุบาทพันธุ์มังกร" เป็น 1 ในบุตรชายทั้ง 9 ของพญามังกร ,หงส์ สัตว์จตุบาทรูปลักษณะหงส์ เดิมที่หงส์เป็นส่วนประดับตัวหลัก แต่เนื่องจากฮ่องเต้เทียบกับมังกร หงส์ซึ่งหมายถึงฝ่ายหญิง จึงเป็นรองรูปประดับสัตว์จตุบาท ,สิงห์สัญลักษณ์ความกล้าหาญ ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาอาคาร
       
       ส่วนยอดของสถาปัตยกรรมประยุกต์ระหว่างหัวเม็ดแบบไทย(ส่วนที่สูงที่สุดของสถาปัตยกรรมไทย)และหัวเม็ดแบบจีน คล้ายหยาดน้ำค้างประดับด้วยเซรามิกทอง ทางขึ้นอาคารมีพื้นปูนปั้นรูปมังกรสองตัว ลักษณะเดียวกับมังกรในพระราชวังต้องห้ามของจีน แต่มังกรนี้มี 4 เล็บเนื่องจากว่าถ้ามี 5 เล็บจะเป็นมังกรของกษัตริย์
       
      
 ภายในอาคารชั้นที่ 1 เป็นรูปปั้น ประวัติ และจดหมายปิดผนึกถึงลูกหลานของคุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เบื้องหลังรูปปั้น เป็นจดหมายปิดผนึกถึงลูกหลานเต็มไปด้วยอักษรหลายร้อยถ้อยคำเล่าประสบการณ์เคล็ดลับสู่ความสำเร็จและคติธรรมในการดำเนินชีวิต ฐานของเสาทุกต้นที่อยู่ในอาคารวาดลวดลายแบบไทยแสดงผสมผสานกับรูปปั้นกังไส(ตุ๊กตากระเบื้อง)ตัวเอกจากพงศาวดารสามก๊ก
       
       ชั้นที่ 2 เป็นภาพวาดประวัติศาสตร์สีน้ำมัน บันทึกเรื่องราวชีวิตของขงเบ้งทั้งหมด มีทั้งหมด 8 ตอน ชั้นที่ 3 เป็นภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องราวของ ขงเบ้ง ช่วงที่ 2 เป็นภาพเขียนฝาผนังยาว 100 เมตรทั้งหมด 8 ตอน ฝีมือจิตรกรชาวจีนใช้เวลาเขียนภาพฝาผนังนี้นาน 5 ปีเต็ม
       
       ชั้นที่ 4 หอแก้วประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พบที่ถ้ำแห่งหนึ่งในลำพูน ดร.วรภัทร ภู่เจริญ มอบให้อุทยานฯเพื่อเป็นที่สักการบูชา หันหน้าออกทางทะเลตามหลักฮวงจุ้ย พร้อมรูปปั้นพระสังกัจจายน์ และพระถังซำจั๋ง ระเบียงภายนอกเป็นจุดชมวิว จากชั้นนี้หากฟ้าเปิดช่วยให้มองเห็นพระพุทธรูปเลเซอร์ หน้าผาเขาชีจรรย์
       
       
ระเบียงจิตรกรรมเล่าตำนานสามก๊ก
       
       จากกึ่งกลางระหวางอาคารกลาง เป็นที่ตั้งของลูกหิน 2 ลูกหมุนไปตามแรงดันของน้ำแทนสัญลักษณ์ของหยินและหยางเคียงคู่ เปรียบเหมือนเมื่อมีความดีย่อมมีความชั่ว เมื่อมีผู้หญิงย่อมมีผู้ชายคู่กัน
       
       และจากตัวอาคารกลางฝั่งขวา เชื่อมด้วยทางเดินไปยังเก๋งอเนกประสงค์ สำหรับจัดกิจกรรม ภายในประดับตกแต่งด้วยตุ๊กตากระเบื้องจีน อาทิ 18 อรหันต์ ตามประวัติเล่าว่าเดิมทั้ง 18 องค์เคยเป็นโจรสลัดปล้นฆ่าอยู่กลางทะเล วันหนึ่งทั้งหมดสำนึกได้ว่าการปล้นฆ่าเป็นการสร้างบาปและทุกข์ให้แก่คนทั่วไป จึงตัดสินใจโยนอาวุธทั้งหมดทิ้งลงทะเล แต่คิดได้ว่าหากมีใครเก็บอาวุธใต้ทะเลได้ อาจจะเอาไปทำร้ายผู้อื่นต่อ ทั้งหมดจึงโดดลงไปในทะเลอีกครั้ง เพื่องมอาวุธขึ้นมาจากทะเล พอขึ้นมาจากทะเลได้ ทุกคนก็กลายเป็นพระอรหันต์ พร้อมทั้งอาวุธก็กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ 18 อย่างประจำแต่ละองค์ จึงมีชื่อเรียกว่า 18 อรหันต์มาจนถึงทุกวันนี้
       
       ฝั่งซ้ายของอาคารกลางเป็นเก๋งประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์พระแม่กวนอิม สลักจากหินอ่อนปางประทับนั่งสูง 4 เมตร นำมาจากประเทศจีน ด้านนอกเป็นลานไม้โบราณ ขนาดใหญ่อยู่ในสภาพแข็งตัวกลายเป็นหินหรือฟอสซิล
       
       นอกจากเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมจีน ซึ่งดูราวกับได้เยี่ยมกรายก้าวข้ามไปยังประเทศจีนอย่างไรอย่างนั้น ภายในอุทยานยังมีระเบียงจิตรกรรมบนกระเบื้องกังไสจีนแสดงฉากจากพงศาวดารจีน สามก๊ก จำนวน 56 ตอน ความยาวรวม 240 เมตร คัดย่อตอนสำคัญตั้งแต่ตอนต้นเรื่องสามวีรบุรุษร่วมสาบานในสวนท้อ กระทั่งถึงตอนสุดท้าย สุมาเอี๋ยนได้รวมแผ่นดินเป็นเอกภาพ รวบรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ
       
       ถือได้ว่านอกจากอุทยานสามก๊กจะย่อตำนานพงศาวดารซึ่งมีความยาวอย่างมากให้ได้รับรู้เรื่องราวของสามก๊กที่นำเสนอผ่านระเบียงจิตรกรรม และตัวละครเอกในรูปแบบของรูปปั้นกังไสกระเบื้อง ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ย่อความเป็นจีนผ่านสถาปัตยกรรมจีนร่วมสมัยมาตั้งไว้ในอุทยาน
       
       ***
       
      
 สามก๊ก อมตะวรรณกรรมจีน
       
       พงศาวดารจีนเรื่องสามก๊กถือว่าเป็นที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก เริ่มจากแพร่หลายในประเทศรอบข้างที่มีการติดต่อใกล้ชิดกับจีน อย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น ญวน ต่อมาแพร่หลายไปทั่วโลก
       
 
      วรรณกรรม 3 ก๊ก ฉบับสมบูรณ์เล่มแรกคือ ซานกั๋วจื้อผิงหั้ว เป็นนิทานชาวบ้าน รวบรวมเป็นเล่มครั้งแรกใช้ชื่อว่า "ซานกั๋วจื้อผิวหั้ว" ตีพิมพ์ในยุคราชวงศ์หงวน ช่วงจื้อจื้อศก(ค.ศ.1321-1323) หลัวก้วนจง(หลอกว้านจงหรือล่อก้วนตง)คนยุคราชวงศ์หงวน ต่อเนื่องกับราชวงศ์หมิงได้ปรับปรุงต่อเติม สร้างสรรค์เป็นนิยายเรื่องยาว ดำเนินเรื่องสามก๊กตั้งแต่ต้นจนจบ ใช้ชื่อว่า "ซานกั๋วจื้อทงสูเหยี่ยนอี้"แบ่งเป็น 240 ตอน ฉบับที่ยังคงได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบันคือ ฉบับซานกั๋วเหยี๋ยนอี้ที่เหมาจงกังปรับปรุงมีคุณภาพด้านวรรณศิลป์สูงขึ้น จึงได้รับความนิยมสูงสุด
       
       ในประเทศไทย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 มีพระราชดำริให้จัดแปลพงศาวดารจีน เรื่อง 3 ก๊ก ไซฮั่น และพงศาวดารรามัญเรื่องราชาธิราช เพื่อให้คนไทยใช้ศึกษาเป็นตำราพิชัยสงคราม เรื่อง 3 ก๊กแปลโดยเจ้าพระยาพระคลัง(หน)ความยาวทั้งสิ้น 95 เล่ม สันนิษฐานว่าไม่ได้แปลทั้งหมด เนื่องจากสำนวนแปลตอนท้ายเรื่องเป็นคนละสำนวนกับตอนต้นเรื่อง กระทั่งพ.ศ.2408พิมพ์เป็นเล่มหนังสือครั้งแรกโดยโรงพิมพ์หมอบรัดเล ในสมัยรัชกาลที่ 4 พิมพ์เป็น 4 เล่มขายเล่มละ 20 บาท ได้รับความนิยมมาก
       
      
 ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดให้ราชบัณฑิตยสภาชำระสอบทานต้นฉบับ แล้วพิมพ์ในงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าฯ ต่อมาโรงพิมพ์พรรฒธนากรได้ขออนุญาตพิมพ์จำหน่าย ในชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" เมื่อพ.ศ.2471 หนังสือสามก๊กที่แพร่หลายหลังจากนั้น พิมพ์ตามต้นฉบับหนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภามาตลอด กระทั่งมีการชำระสอบทานต้นฉบับอีกครั้งโดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้าร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ
       
      
 เรื่องราวสามก๊กสนุกสนานตรึงใจผู้คน จึงมีนักเขียนไทยยุคต่อๆมานำเรื่องราวสามก๊กมาเขียนตีพิมพ์จำหน่ายอีกหลายๆท่าน อาทิ สามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบ(โชติ แพร่พันธุ์) สามก๊กฉบับนายทุนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ,พิชัยสงครามสามก๊กของสังข์ พัธโนทัย ,ฉบับแปลใหม่ ของวรรณไว พัธโนทัย ,สามก๊กฉบับสมบูรณ์ของวิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์ ซึ่งถือเป็นฉบับแปลสมบูรณ์ที่สุด และที่ได้รับการกล่าวขวัญมากและกลายเป็นหนังสือ สามก๊กที่ขายดีที่สุดคือ สามก๊กฉบับคนขายชาติ ของเรืองวิทยาคม

เรื่องและภาพชุดนี้เป็นของผู้จัดการรายวัน เขียนไว้ดี ชัดเจนถึงประวัติและเนื้อหาสาระ ขอขอบคุณแทนนักท่องเที่ยวมา ณ. ที่น
 (http://www.manager.co.th

อุทยานสามก๊ก
ที่ตั้ง กลางเมืองพัทยา
โทรศัพท์ 0-3842-1428-9
   
   สร้างขึ้นโดยมูลนิธิศรีเฟื่องฟุ้ง ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับ ฮอสชู พ้อยท์ คลับ ภายในบริเวณ ประกอบด้วย ภาพเขียนจิตกรรมประวัติศาสตร์สามก๊กอันลือชื่อของโลก ซึ่งเขียนลงแผ่นกระเบื้อง กังสัยจากประเทศจีน ภายในโครงการ จะเน้น การออกแบบ สถาปัตยกรรม ไทย-จีน เชิงประยุกต์ จนอดคิดไปไม่ได้ว่านี้ เราอยู่เมืองจีนหรือฮ่องกงหรือนี่กระไร นอกจากนี้ใครที่ไป เยือนอุทยานสามก๊กแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะไปสักการบูชา องค์พระแม่กวนอิม.....ซึ่งมีคนเล่าให้เราฟังว่า เคยมีคนที่ไปไหว้บูชาสักการะองค์ พระแม่กวนอิมนี้แล้ว หลังจาก กลับไปก็ถูกรางวัลใหญ่ อุทยานสามก๊ก
   
เวลาเปิด - ปิด 08:00-17:00
ราคาเข้าชม -

เว็บไซต์หลักของอุทยานสามก๊กคือ www.3kingdomspark.com

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานสามก๊ก

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ชลบุรี พัทยา แผนที่ชลบุรี แผนที่พัทยา โรงแรมพัทยา ที่พักพัทยา
แหล่งท่องเที่ยวพัทยา
 
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบ่อทอง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอพนัสนิคม



วัดโบสถ์
Wat Bot

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอศรีราชา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสัตหีบ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะสีชัง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
เทศกาล-งานประเพณี
แผนที่จังหวัดชลบุรี/map of CHONBURI
โรงแรมในพัทยา ชลบุรี/Hotel of PATTAYA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์