ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดอยุธยา >ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร/Royal Folk Arts and Crafts Center at Bang Sai 

ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร/ Royal Folk Arts and Crafts Center at Bang Sai

 ประวัติความเป็นมา
..........พระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือการเสด็จ พระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกแห่งหน ทั่วทุกภาคของประเทศไทย พระราชกรณียกิจนี้ ได้ทรงปฏิบัติติดต่อกันมานานนับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว จึงทำให้ทรงเห็นสภาพ ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎรว่ามีความทุกข์สุขอย่างไร ที่ทรงเป็นห่วงมากก็คือ ความยากจนของราษฎร จึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพ ในภาวะ ปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้าน หรือศิลปกรรมพื้นบ้าน ที่จัดทำขึ้นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นมาก พระองค์จึงส่งเสริมในเรื่องนี้โดยการจัดให้มีครูออกไปฝึกสอนราษฎร
เป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพ ของงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อราษฎรมีความชำนาญแล้วผลงานที่ผลิตออกมา ก็จะทรง รับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งงานนี้ต่อมาได้ขยายออกเป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 21กรกฏาคม 2519 และได้ทรงจัดตั้งโรงฝึกอบรมศิลปาชีพ ขึ้นแห่งแรกที่พระตำหนักสวนจิตรลดา

...........ในวันฉัตรมงคลปี 2523 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สรรหาที่ดินที่ใกล้เคียงกับพระราชวัง บางปะอินเพื่อจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพอีกแห่งหนึ่ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จัดหาที่ดินได้ 2 แปลง เป็นที่ดินของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ให้รัฐบาลจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ได้มีที่อยู่และทำมาหากินตามอัตภาพ แปลงหนึ่งอยู่ที่อำเภอ บ้านนา จังหวัดนครนายก อีกแปลงหนึ่งอยู่ที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรที่ดินแปลงที่อยู่ที่อำเภอบางไทรด้วยพระองค์เอง ซึ่งที่ดินแปลงนี้ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 750ไร่เศษ และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรจะสร้างศูนย์ศิลปาชีพ ณ ที่นี้ วันที่ 3 มิถุนายน 2523 รัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินแปลงนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ และรัฐบาลยังได้มีมติให้หน่วยราชการต่าง ๆ สนับสนุน โครงการของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจัดตั้งขึ้นโดยมอบหมาย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการดูแล
สถานที่และการฝึกอบรม และมีหน่วยทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ มาช่วยดูแลในด้านการรักษาความสงบ เรียบร้อย และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดฝึกอบรมศิลปาชีพเรื่อยมา และมีการซื้อที่ดินเพิ่มเติม อีก 200 ไร่เศษ รวมเป็นเนื้อที่ของศูนย์ฯ ทั้งหมดเกือบ 1,000 ไร่ในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จ พระราชดำเนินเปิดศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อ  วันที่ 7 ธันวาคม 2527 

  *** ค่าเข้าชมจ่ายก่อนเข้าผู้ใหญ่ 50 บาท จ่ายแล้วขับรถเข้าไปได้เลย ***

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
  
ภายในมี "วังปลา" เป็นสถานจัดแสดงปลาน้ำจืดที่ใหญ่แห่งหนึ่ง มีปลาบึกตัวโตๆ และปลาอื่นๆ ให้เรียนรู้ วังปลา จัดสร้างและดำเนินงานโดยกรมประมง เป็นสถานแสดงพันธุ์ สัตว์น้ำจืด ตัวอาคารหลักมีตู้กระจกขนาดใหญ่ จำนวน 2 ตู้ ตู้ใหญ่รูปเมล็ดถั่ว มีขนาดความจุ 1,400 ตัน อีกตู้หนึ่งทรงกลมขนาดความจุ 600 ตัน ภายในตู้ จะแสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยร่วมกันของปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ ที่เป็นปลา พื้นเมืองของไทย เปิดให้ชม เวลา 10.00 - 16.00 น. ปิดทุกวันจันทร์ และวันอังคาร

สวนนก ดำเนินงานโดยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่ง ประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์ สวนนกเป็นกรงนกขนาดใหญ่ 2 กรง ภายในมีนกพันธุ์ที่หาชมได้ยากมากกว่า 30 ชนิด มีการจัดสภาพแวดล้อม ภายในให้เหมือนธรรมชาติ อาทิ น้ำตกและธารน้ำจำลอง มีป่าจำลองที่ร่มรื่น ใกล้เคียงกับธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้น
ไปชม และถ่ายภาพนกจากด้านบนของกรงได้อย่างชัดเจน และบริเวณรอบ ๆ กรงนกยังมีสัตว์ป่าอื่น ๆ ให้ชมอีกด้วย เปิดใหชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 19.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท

ศาลาพระมิ่งขวัญ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขสูง 4 ชั้น ตั้ง ตระหง่านอยู่กลางศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ชั้นล่าง เป็นศูนย์สาธิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ ของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ และศูนย์ศิลปาชีพอื่น ๆ ทั่วประเทศ ชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3 เป็นนิทรรศการผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพชิ้นยอด เยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ชั้นที่ 4 เป็นห้องประชุมสัมนา เปิดให้ชม ทุกวัน วันธรรมดา 09.00 - 17.00 น. วันหยุดราชการ 09.00 - 18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม

พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ นายถู เจี๋ย ในนามของประชาชน ชาวจีน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม พันพระหัตถ์ ซึ่งแกะสลักจากไม้ จันทน์เหลือง สูง 6 เมตร จำนวน 1 องค์ แด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนม- พรรษาครบ 6 รอบ และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานไว้ ณ พระตำหนักชั่วคราว ศาลาโรงช้าง ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ เพื่อให้ ประชาชนที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระโพธิสัตว์กวนอิม ได้มานมัสการ และ สักการะบูชา ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.

หมู่บ้านศิลปาชีพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุน หมู่บ้านแห่งนี้ให้แก่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ เพื่อเป็นสถานที่แสดงถึงสถาปัตย- กรรม ในการสร้างบ้านเรือนของคนไทยภาคต่าง ๆ การจำลองชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไทยจากทั่วประเทศ ภายในหมู่บ้านมีการสาธิตวิถีชีวิต ความเป็นอยู่อย่างไทย ๆ ในแต่ละภาค และการสาธิตงานศิลปาชีพ เปิดให้ชม
ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 17.00 น. ในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00 -19.00 น. นอกจากนี้ยังมีการแสดงนาฏศิลป์ และการละเล่นพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค ให้ชมด้วย


เว็บไซต์ของ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร http://www.bangsaiarts.com  

เส้นทางการเดินทาง

 

1. เส้นทางที่ 1 (สีเขียว)
ทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) จากแยก
ทางหลวง 345 (อ.บางบัวทอง) ซึ่งมาได้จาก จ.สุพรรณบุรี
-ตลิ่งชัน หรือปทุมธานี ผ่านแยกต่างระดับสามโคก-ข้าม
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถ
ตรงจนถึงศูนย์ฯ

2. เส้นทางที่ 2 (สีส้ม)
ทางหลวงหมายเลข 306 (ถ.ติวานนท์) จากห้าแยกปาก
เกร็ด-ผ่านแยกสวนสมเด็จ-ผ่านแยกปากคลองรังสิต-ผ่าน
แยกบางพูน-เลี้ยวขวาที่แยกเทคโนปทุมธานีเข้าทาง
หลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ผ่านแยก
เชียงรากน้อย-เลี้ยวซ้ายทางต่างระดับเชียงรากน้อย
เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำ
เจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์

3. เส้นทางที่ 3 (สีบานเย็น)
ทางด่วนสายปากเกร็ดบางปะอิน-ลงทางด่วนบางปะอิน
ตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-
เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ

4. เส้นทางที่ 4 (สีเปลือกมังคุด)
ทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) จากรังสิตหรือ
ภาคเหนือหรือภาคอีสาน-ผ่านแยกต่างระดับบางปะอิน
เข้าทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) -ตรงผ่าน
แยกต่างระดับเชียงรากน้อย- เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-
กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-
เดินรถตรงมาจนถึงศูนย

5. เส้นทางที่ 5 (สีเหลือง)
ทางหลวงเอเชีย จาก อ.บางปะหัน-อยุธยา มาตามทางหลวง
หมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) -ข้ามสะพานข้าม
แม่น้ำเจ้าพระยา-แยกต่างระดับเชียงรากน้อยเลี้ยวขวา-
เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่ากลับรถใต้สะพานแม่น้ำ
เจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ

6. เส้นทางที่ 6 (สีน้ำเงิน)
ทางหลวงหมายเลข 3309 (บางปะอินเชียงรากน้อย) จากทาง
หลวงสายเอเชีย หรืออยุธยา ผ่านหน้าโรงงานกระดาษ
บางปะอิน-ลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้าย
ทางแยกท่าน้ำบางไทร- เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ



ดูแบบเต็มๆได้ที่นี่ครับ
http://www.bangsaiarts.com/bangsai_Map_T.html
  

 แผนที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ และแฟนที่ศูนย์ศิลปาชีพบงไทร อีก 1 รูป 

 

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
อยุธยา/Information of PHRANAKHONSIAYUTTHAYA

  Royal Folk Arts and Crafts Center at Bang Sai ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
With an area of 285 rai (or 14 acres), the Center is located in Tambon Chang Yai, Amphoe Bang Sai. Farmers
from Ayutthaya as from other provinces undergo in folk arts and crafts here. At this center, you will have a
glimpses of how farmers in the 4 regions live and work ; how their products of arts and crafts are produced.
The center is under the Promotion of Supplementary Occupations and Related Techniques (SUPPORT) which
was establishedunder Royal Patronage on the 21st July,1976. Products and activities which can be seen here
are Fern Vien Basketry, Weaving Basketry, Artificial Flowers, Hand - Woven Silk and Cotton, Silk Making, Cloth -
Made Products, etc. All the products are sold at the Center and in every branch of Chitlada Store.
In order to get to Bang Sai, one can take a cruiser or take a bus from the Northern Bus Terminal on
Phahonyothin Road, or taking Bang Sai - Sam Khok Road, which branches off about 24 kilometers from Bang
Pa-In intersection or take highway No.306 (Nonthaburi - Pathum Thani Road) turn right to Amphoe Bang Sai.
The Center is open everyday except Monday from 08.30-16.00 hrs.(Admission fee is 30 baht per person) .
For more information,please contact
Tel.(035) 366-092 or tel.225-8165-8 ext.460 (Bangkok)

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

อยุธยา โรงแรมในอยุธยา ที่พักในอยุธยา ร้านอาหารในอยุธยา แผนที่จังหวัดอยุธยา สถานที่ท่องเที่ยงอยุธยา แผนที่อยุธยา บ้านอยุธยา จังหวัดอยุธยา เที่ยวอยุธยา ล่องเรืออยุธยา ทัวร์อยุธยา สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา ท่องเที่ยวอยุธยา เพนียดช้าง อยุธยา



ล่องเรือชมมรดกโลก
Boat trip to the World Heritage



เที่ยววังบางปะอิน

Bang Pa-In Palace

อำเภอนครหลวง
อำเภอบางปะอิน
อำเภอบางไทร
อำเภอพระนครศรีอยุธยา


วัดหน้าพระเมรุ
Wat Na Phra Men
(อยุธยา)
การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

รถไฟ
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีบริการทุกวัน ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี แล้วรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี นอกจากนี้การรถไฟฯ ยังจัดขบวนรถจักรไอน้ำเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาในโอกาสพิเศษ ปีละ 3 ขบวน คือ วันที่ 26 มีนาคม (วันสถาปนาการรถไฟฯและเป็นวันที่ระลึกถึงการเปิดทางรถไฟสายแรกวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2433) วันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยมหาราช เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงให้กำเนิดกิจการรถไฟไทย) และวันที่ 5 ธันวาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) สอบรายเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2220 4334, 0 2220 4444, 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th 

ทางเรือ 
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยทางน้ำเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์สมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติทางเรือบนสายน้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ 

รถโดยสารประจำทาง 
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกวัน วันละหลายเที่ยว โดยออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 รถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา และรถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 กรุงเทพฯ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-พระนครศรีอยุธยา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852-66 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th  

แผนที่จังหวัดอยุธยา/map of PHRANAKHONSIAYUTTHAYA
รายชื่อโรงแรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา/Hotel of PHRANAKHONSIAYUTTHAYA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์