www.dooasia.com > จังหวัดอยุธยา >พระราชวังบางปะอิน/Bang Pa-In Palace พระราชวังบางปะอิน/ Bang Pa-In Palace
พระราชวังบางประอิน
พระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากเกาะเมืองลงมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร
เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์
ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรม ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง
เมื่อครั้งเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่สอง
พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง
พระราชวังบางปะอินกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งเมื่อสุนทรภู่
ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการ
พระพุทธบาทสระบุรี ได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท จนกระทั่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น
และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่
โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับ
รับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ
ในปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง
และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์
รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ได้เปิดให้ประชาชน
และนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพ
ประวัติ
มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเอกาทศรถ
ยังทรงดำรงพระยศพระมหาอุปราชวันหนึ่งพระองค์ได้เสด็จประพาสทางชลมารค
เมื่อถึงบริเวณเกาะบางปะอิน เรือพระที่นั่งถูกพายุใหญ่พัด
ทำให้เรือพระที่นั่งล่มลง สมเด็จพระเอกาทศรถทรงว่ายน้ำขึ้นไปบนเกาะนี้
ซึ่งเดิมชื่อ "เกาะบ้านเลน" และประทับอยู่กับชาวบ้าน
ในระหว่างประทับอยู่ ณ ที่นี้ สมเด็จพระเอกาทศรถได้หญิงชาวเกาะเป็นบาทบริจาริกา
มีนามว่า "อิน" จึงเป็นเหตุให้คนทั่วไปเรียกเกาะนี้ต่อมาว่า "เกาะบางปะอิน"
ต่อมาเมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พระองค์ก็ทรงพานางอินนี้กลับไปกรุงศรีอยุธยาด้วย
นางอินผู้นี้จึงเป็นพระสนมในเวลาต่อมา และมีพระราชโอรสด้วยกัน
เล่ากันว่าพระราชโอรสพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
เมื่อปี พ.ศ. 2175 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงขึ้นครองราชย์แล้ว
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างวัดขึ้นตรงบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระมารดา และได้พระราชทานนามว่า
"วัดชุมพลนิกายาราม"
และได้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเพื่อฉลองการที่พระราชเทวีประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
พระนารายณ์ราชกุมาร พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์"
พระราชวังบางปะอินจึงเป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในฤดูร้อนสืบเนื่องกันมา
จนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310
ซึ่งทำให้พระราชวังแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างไป
บริเวณโดยรอบของพระราชวังบางปะอิน
พระราชวังบางปะอินกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง เมื่อสุนทรภู่ได้ตามเสด็จฯ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
ซึ่งได้เดินทางผ่านพระราชวังบางปะอิน และได้ประพันธ์ถึงพระราชวังแห่งนี้
ครั้นมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงศรีอยุธยา ประพาสผ่านพระราชวังบางปะอิน
ทอดพระเนตรเห็นความร่มรื่นโดยรอบเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย
อีกทั้งยังเป็นเขตพระราชวังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้บูรณะพระราชวังบางปะอิน โดยสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเป็นที่ประทับ
เรือนแถวสำหรับเจ้านายฝ่ายในหนึ่งหลัง พลับพลาริมน้ำ และพลับพลากลางเกาะ
พร้อมทั้งปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามขึ้นใหม่
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า
บางปะอินเป็นเกาะกลางน้ำ มึความเงียบสงบ มีเส้นทางการเดินเรือได้หลายทาง
สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นสถานที่เสด็จประพาสของพระบรมชนกนาถ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
สำหรับแปรพระราชฐานดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
บริเวณพระราชวัง
พื้นที่ของพระราชวังบางปะอินนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ได้แก่
1. เขตพระราชฐานชั้นนอก พระที่นั่งวโรภาษพิมาน
เขตพระราชฐานชั้นนอกนั้น
เป็นบริเวณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้สำหรับการออกมหาสมาคมหรือประกอบพระราชพิธีต่าง
ๆ ซึ่งประกอบด้วย
หอเหมมณเฑียรเทวราช หรือ ศาลพระเจ้าปราสาททอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2415
- 2419 มีลักษณะเป็นปรางค์ศิลา ซึ่งจำลองแบบจากปรางค์ขอม ภายในประดิษฐานเทวรูปพระเจ้าปราสาททอง
ตั้งอยู่ ณ ริมสระน้ำใต้ต้นโพธิ์
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทโดยจำลองมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระบรมรูปหล่อสำริดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบกเพื่อนำมาประดิษฐาน
ณ พระที่นั่งองค์นี้จนถึงปัจจุบัน
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2415 เพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ และใช้เป็นที่ประทับ เป็นตึก 2
ชั้น ศิลปะแบบคอรินเทียนออร์เดียน ปัจจุบัน
พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบรมวงศ์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับ
ณ พระราชวังบางปะอิน
สภาคารราชประยูร เป็นตึกสองชั้น ตั้งอยู่ริมน้ำ รัชกาลที่ 5
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419
สำหรับเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ในรัชกาลที่ 5
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และเจ้านายฝ่ายหน้า ปัจจุบัน
ใช้เป็นที่แสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับพระราชวังบางปะอิน
2. เขตพระราชฐานชั้นใน หอวิฑูรทัศนาและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี
พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และข้าบาทบริจาริกา ประกอบด้วย
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของพระราชวังบางปะอิน
เดิมเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ทาสีเขียวอ่อนและเขียวแก่สลับกัน
แต่เกิดไฟไหม้พระที่นั่งทั้งองค์ระหว่างการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2481
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถจึงได้ขอพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นมาใหม่
เพื่อเป็นที่ประทับในการเสด็จแปรพระราชฐาน และรับรองพระราชอาคันตุกะ
หอวิฑูรทัศนา สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้เป็นที่ทอดพระเนตรโขลงช้างป่า
และภูมิประเทศโดยรอบพระราชวัง เป็นหอสูง 3 ชั้น ทาสีเหลืองสลับแดง
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5
โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน
เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยชาวไทยเชื้อสายจีนเพื่อถวายแด่รัชกาลที่ 5
พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายจนถึงปัจจุบัน
พระตำหนักฝ่ายใน เป็นหมู่พระตำหนัก ตำหนัก และเรือนของพระบรมวงศ์ฝ่ายใน
เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกชั้นเดียว และสองชั้น เรียงรายกัน
แต่ในปัจจุบัน ได้มีการรื้อตำหนักลงบางส่วน
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
ซึ่งสวรรคตในระหว่างการเสด็จแปรพระราชฐานมายังพระราชวังบางปะอิน
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
ซึ่งสิ้นพระชนม์ภายในปีเดียวกัน
การเข้าชม
ถึงแม้ว่าพระราชวังบางปะอินยังคงใช้เป็นสถานที่เสด็จแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์
รวมถึงเป็นสถานที่ในการประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายและต้อนรับพระราชอาคันตุกะ
อย่างไรก็ตาม
พระราชวังบางปะอินก็ยังเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมภายในพระราชวังได้
สำหรับพระที่นั่งวโรภาษพิมานนั้น ผู้ชายไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น
หรือสวมเสื้อที่ไม่สุภาพ สตรีต้องใส่กระโปรงเข้าชมภายในพระที่นั่ง
โดยมีบริการให้ยืมเครื่องแต่งกายได้บริเวณอาคารการ์ดทหาร และพระที่นั่งวโรภาษพิมานและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญนั้น
มีวิทยากรบรรยายความรู้เกี่ยวกับพระที่นั่งแต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในพระที่นั่ง
ส่วนพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรนั้น ไม่อนุญาตให้เข้าชมภายในพระที่นั่งได้
พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวันในเวลาระหว่าง 08.00 - 17.00 น.
โดยต้องแต่งกายในชุดสุภาพ และขณะเข้าชมผู้ชมไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
การเดินทาง
การเดินทางมายังพระราชวังบางปะอินนั้น สามารถทำได้หลายทาง เช่น
การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้มาตามถนนพหลโยธิน
เมื่อถึงประตูน้ำพระอินทร์ ให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอก หลังจากนั้น
ให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 สู่ทางหลวงหมายเลข 308 อีกประมาณ 7
กิโลเมตรก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน
หรืออีกเส้นทางต้องผ่านเข้ามายังตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา
เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้มให้เลี้ยวซ้ายซึ่งจะผ่านวัดใหญ่ชัยมงคลและวัดพนัญเชิง
เมื่อถึงสถานีรถไฟบางปะอินให้เลี้ยวขวา แล้วขับไปตามทางจนถึงพระราชวังบางปะอิน
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ถ้ามาจากกรุงเทพฯ สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2)
นั่งรถสายกรุงเทพฯ-บางปะอิน มาลงที่บขส.บางปะอิน (สุดสาย)
จากนั้นนั่งรถสามล้อเครื่องไปลงที่พระราชวังบางปะอิน
นอกจากนี้ ยังสามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟอำเภอบางปะอิน
หรือเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง มาลงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แล้วต่อรถโดยสารเข้าไปยังพระราชวังบางปะอิน
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวพระราชวังบางปะอิน
อยุธยา/Information of PHRANAKHONSIAYUTTHAYA Bang Pa-In Palace พระราชวังบางประอิน This palace is located in Tambon Bang Len, Amphoe Bang Pa - In, 18 kilometers south of Ayutthaya. It lies 58 kilometers north of Bangkok by rail, 61 kilometers by road. To access to Bang Pa-In from Ayutthaya, one can go by Phahonyothin Road and make a right turn at Km.35 for another distance of 7 kilometers to Bang Pa-In Palace. The palace is open to the public everyday from 08.30 - 16.30 hrs. (Admission Fee is 50 baht) For more information Tel.224-3273 or (035) 261 - 044 Originally, Bang Pa-In was a riverine island. When Prasat Thong became the Ayutthaya king (1630 - 1655), he had the Chumphon Nikayaram Temple built on his family estate. Later, he had a palace built on a lake in the middle of the island where he could periodically reside. The palace, surrounded by a lake 400 meters long and 40 meters wide, and the Chumphon Kikarayam temple, are all that remain of King Prasat Thong's construction work at Bang Pa-In. Bang Pa-In was used as a country residence by every Ayutthaya monarch after King Prasat Thong. But when the new capital was established in Bangkok. Bang Pa-In ceased to be used and was left unoccupied for 80 years. His son, King Chulalongkorn (1868-1910) liked the place, stayed there every year and constructed the royal palace as it is now seen today.
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เนเธกเนเธเธเธซเธเนเธฒ | เธเธนเนเธญเนเธเธตเธข เธเนเธญเธเนเธเธตเนเธขเธงเนเธเธข
เนเธญเนเธฐเนเธญโฆ เธเนเธญเธเธดเธเธเธฅเธฒเธ 404
เธเธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธเนเธซเธเนเธฒเธเธตเนเธเธธเธเธเธณเธฅเธฑเธเธกเธญเธเธซเธฒเธเธฑเนเธเนเธกเนเธกเธตเธญเธขเธนเน
เนเธเธชเธเนเธฅเนเธฒเธชเธธเธเธเธญเธเนเธฃเธฒ
อยุธยา โรงแรมในอยุธยา ที่พักในอยุธยา ร้านอาหารในอยุธยา แผนที่จังหวัดอยุธยา สถานที่ท่องเที่ยงอยุธยา แผนที่อยุธยา บ้านอยุธยา จังหวัดอยุธยา เที่ยวอยุธยา ล่องเรืออยุธยา ทัวร์อยุธยา สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา ท่องเที่ยวอยุธยา เพนียดช้าง อยุธยา
include("../head.html");?>
การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รถไฟ
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีบริการทุกวัน ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี แล้วรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี นอกจากนี้การรถไฟฯ ยังจัดขบวนรถจักรไอน้ำเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาในโอกาสพิเศษ ปีละ 3 ขบวน คือ วันที่ 26 มีนาคม (วันสถาปนาการรถไฟฯและเป็นวันที่ระลึกถึงการเปิดทางรถไฟสายแรกวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2433) วันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยมหาราช เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงให้กำเนิดกิจการรถไฟไทย) และวันที่ 5 ธันวาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) สอบรายเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2220 4334, 0 2220 4444, 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th
ทางเรือ
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยทางน้ำเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์สมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติทางเรือบนสายน้ำเจ้าพระยาแห่งนี้
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกวัน วันละหลายเที่ยว โดยออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 รถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา และรถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 กรุงเทพฯ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-พระนครศรีอยุธยา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852-66 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th
แผนที่จังหวัดอยุธยา/map of PHRANAKHONSIAYUTTHAYA
รายชื่อโรงแรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา/Hotel of PHRANAKHONSIAYUTTHAYA
include("../foot.html");?>