ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง

www.dooasia.com > จังหวัดเพชรบุรี > หมู่บ้านลาวโซ่ง /Lao Song or Thai Song Dam Tribal Villages 

หมู่บ้านลาวโซ่ง/ Lao Song or Thai Song Dam Tribal Villages

หมู่บ้านลาวโซ่งหรือไทยดำ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย เป็นกลุ่มชน ที่อพยพมาจาก หลวงพระบาง ประเทศลาว และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณี ดั้งเดิมเอาไว้ได้ ในวันที่ ๑๐ เมษายนของทุกปี จะมีงานสังสรรค์ และการละเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ

ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง

ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.codi.or.th

ก้อเฮือนมา สำบายดีแล้วบ่? คำกล่าวสวัสดีของชาวลาวโซ่งที่ใช้ทักทายกันเมื่อพบหน้า...

'ชาวไทยทรงดำ? เป็นชนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณดินแดนสิบสองจุไทยในเวียดนามเหนือปัจจุบัน คนไทยมักเรียกพวกเขาว่า 'ลาวโซ่ง' หรือ 'ไทยโซ่ง' เนื่องจากอพยพผ่านมาทางประเทศลาว ซึ่งคำว่า ?โซ่ง? เป็นคำที่ถูกเรียกตามชุดแต่งกายเพราะนุ่งส่วงดำหรือกางเกงสีดำ ปัจจุบันนิยมเรียกว่า 'ไทยทรงดำ'

ครั้งอดีตสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี(พ.ศ. 2322) ได้กวาดต้อนไทยดำพร้อมลาวในเวียงจันทน์และเมืองพวนมาอยู่ที่ธนบุรี ต่อมารัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ลาวเวียงอยู่ที่ จ.ราชบุรี ลาวพวนอยู่ที่ธนบุรี และให้ไทยทรงดำไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี และสืบลูกหลานมาเป็นไทยทรงดำเมืองเพชร ซึ่งตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมือง บ้านแหลม บ้านลาด ท่ายาง หนองหญ้าปล้อง แต่ที่หนาแน่นที่สุดคือที่อำเภอเขาย้อย แถบบ้านห้วยช้าง, หนองปรง, หนองจิก, ทับคาง, ดอนทราย และหนองชุมพล

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้อิทธิพลจากภายนอกจะเข้ามาครอบงำมากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย แต่ชาวไทยทรงดำรุ่นก่อนๆ ยังคงดำเนินวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักษาประเพณีเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะการแต่งกาย อีกทั้งยังพยายามสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามสู่ลูกหลานคนรุ่นใหม่ ไม่ให้ถูกกลืนไปตามกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ จนหลงลืมรากเหง้าของตนเอง

นายพนัส ล้วนเมือง กำนันบ้านหนองปลง จ.เพชรบุรี เล่าว่า ปู่ย่าตายายเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อมาถึงเมืองเพชรบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2322 ได้อพยพจากบ้านท่าแร้งมาอยู่ที่บ้านหนองปลง จ.เพชรบุรี จนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่วิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำบ้านหนองปลงมีวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากแหล่งที่อยู่เดิมของพวกเรา ตั้งแต่การทำไร่ ทำนา ถือเป็นอาชีพหลักของชาวไทยทรงดำ ส่วนวิถีชีวิตด้านอื่นๆ เช่น เรื่องเครื่องนุ่งห่ม การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ยังคงรักษาและสืบทอดจากบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน แต่พวกเราเริ่มมามีวัฒนธรรมใหม่เกิดขึ้น โดยการนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับการนับถือผีบรรพบุรุษ จากเมื่อก่อนจะนับถือผีบรรพบุรุษอย่างเดียว

ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง"การนับถือผีบรรพบุรุษเกี่ยวโยงในด้านความเชื่อ เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมา เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การดำรงอยู่ของชาวไทยทรงดำสูญเสียวัฒนธรรมไปช้าที่สุด มีวัฒนธรรมเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว ซึ่งพิธีเสนเรือนหรือพิธีเซ่นผี นิยมทำ 2-3 ปีต่อครั้ง จะยกเว้นเฉพาะเดือน 9 และ เดือน 10 เท่านั้นที่จะไม่มีการประกอบพิธีเซ่นผี ส่วนใหญ่พิธีเสนเรือนจะทำ 3 วัน ซึ่งนอกจากถือผีก็จะมีวัฒนธรรมในด้านการสังสรรค์รื่นเริง การไปมาหาสู่กับญาติพี่น้อง?

สัญลักษณ์การแต่งกายของไทยทรงดำ จะเห็นชัดเจนว่า ใช้เสื้อแบบเดียวกัน ส่วนใหญ่จะใช้สีขาวและสีดำ ใช้สีอื่นเพียงให้สวยงาม ผู้หญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นลายแตงโม และมวยผมเกล้าไว้บนศรีษะ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างจากคนไทยหรือคนเชื้อสายอื่นๆ ทั่วไป

ส่วนภาษาพูดที่ใช้โต้ตอบกัน ก็เป็นภาษาไทยดำ ที่มีลักษณะเฉพาะ ส่วนภาษาเขียนมีคนรู้เรื่องภาษาเขียนน้อยมาก

กำนันพนัส บอกเพิ่มเติมว่า อยากให้วิถีชีวิตชาวไทยทรงดำคงความเป็นอยู่อย่างนี้จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และสิ่งที่สำคัญที่สุดอยากให้ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปได้เรียนรู้เรื่องภาษาก่อนแล้วอย่างอื่นจะตามมา รวมทั้งอยากให้ภาครัฐผลักดันเรื่องการสื่อสารให้มากขึ้น ที่ผ่านมาพวกเราทำกันเองในลักษณะให้วัฒนธรรมคงอยู่ แต่ไม่มีงบประมาณใดๆ มาเสริมสร้าง

ในส่วนขององค์กรท้องถิ่น เช่น อบต. สภาวัฒนธรรม สมาคมไทยดำแห่งประเทศไทย ต่างพยายามร่วมกันผลักดัน แต่การผลักดันให้เป็นรูปธรรมค่อนข้างยาก เพราะความเป็นอยู่ในปัจจุบันต้องต่อสู้เรื่องปากเรื่องท้องกันมากขึ้น แต่ก็ได้หารือกับโรงเรียนวัดหนองปลง อยากให้นักเรียนได้ซึมซับความเป็นไทยดำ โดยเริ่มที่การแต่งกาย ตามด้วยเรื่องภาษา จากนั้นการค้นคว้าอะไรต่างๆ ก็จะตามมา อาจจะบรรจุเป็นหลักสูตรของโรงเรียนต่อไปในอนาคต

"เรื่องนี้เป็นเรื่องยากพอสมควรเพราะสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันถูกกลืนไปมากแล้ว การสืบสานวัฒนธรรมที่ดีที่สุดคือการฝังรกรากให้คนได้รักและเข้าใจในเผ่าพันธุ์ให้มากที่สุด คือ เริ่มจากเด็ก ผมได้ถ่ายทอดเรื่องภาษา โดยเรามีเอกสารต่างๆ เป็นสื่อให้ศึกษาค้นคว้า ถ้าเราเริ่มจากตรงนี้ก่อนก็จะสามารถนำไปสู่การปรับความเข้าใจเรื่องความเชื่อ การแสดง ความเป็นอยู่วิถีชีวิตของพวกเรา"
 

ด้านนางถนอม คงยิ้มละมัย อดีตอาจารย์โรงเรียนเขาย้อยวิทยา หรือ หัวหน้าศูนย์ไทยทรงดำ โรงเรียนเขาย้อยวิทยาเล่าว่า ครูได้สอนเด็กๆ เขียนภาษาไทดำ ภาษาพูดไทดำ เช่น คำกล่อมเด็ก รำเยาะเย้ย แต้มสะดือ เล่นอึ่งอ่างให้เด็กนั่งบนหลังเท้าแล้วโยกไปโยกมา เด็กก็กลับไปเล่นกับน้อง พอไปเจอกับผู้ปกครองเขาก็จะมาเล่าให้ฟังว่าลูกเขากลับไปสืบค้นว่าอึ่งอ่างคืออะไร หรืออะไรต่างๆ ที่เราให้ทำเป็นการบ้าน คนแก่ที่อยู่บ้านเฉยๆ เด็กๆ ก็เข้าไปพูดคุยด้วยสืบค้นเรื่องเก่าแก่ ทำให้คนแก่มีคุณค่าทางสังคมมากขึ้น มีคุณภาพจิตที่ดีขึ้น เป็นการสร้างเยาวชนที่ถูกรูปแบบ เมื่อเด็กรักวัฒนธรรมแล้วจิตใจก็จะอ่อนโยน ทุกวันนี้เด็กเขียนเป็นอักษรไทดำได้ เวลากลับไปบ้านเหนื่อยๆ ไปตรวจการบ้านเด็กๆ แล้วก็หายเหนื่อย

ครูถนอม กล่าวทิ้งท้ายว่า ?สิ่งที่อยากจะฝากไว้ คือ เด็กๆ อย่าได้อายที่เกิดมาเป็นไทยทรงดำ เราต้องภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและร่วมกันสืบสานต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด?

"เฮาอยู่ดีซำนกเอี้ยง เฮาอยู่เสี้ยงซำตะเว็น เฮาอยู่เย็นซำน้ำบ่อ"...ถ้ารักษาวัฒนธรรมไทยทรงดำเราก็จะอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน

วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างชาวไทยทรงดำแห่งบ้านหนองปลง จ.เพชรบุรี ที่ประกาศตัวตนในการที่จะผนึกความรัก ความสามัคคี โดยใช้วิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัย สร้างชุมชน เป็นการสร้างหน่ออ่อนของสังคมไทยจากวัฒนธรรมอันงดงาม

การแต่งการของไทนทรงดำ

การแต่งกายของชาวไทยทรงดำ   แต่งกายด้วยผ้าสีดำเป็นพื้น  ตามปรกติฝ่ายชายจะสวมกางเกงแค่เข่าเรียกว่า " ซ่วงก้อม"  ใส่เสื้อค่อนข้างรัดรูป     ยาวถึงสะโพกแล้วผ่าปลายทั้งสองข้าง    แขนยาวเป็นกระบอกถึงข้อมือติดกระดุมเงินอย่างถี่ ๆ      ตั้งแต่คอถึงเอว  เสื้อชนิดนี้เรียกว่า  เสื้อก้อมหรือเสื้อไทย  ถ้าไปในงานที่เป็นพิธีการจะสวมกางเกงขายาวเรียกว่า  ซ่วงฮี     และใส่เสื่อตัวยาวมีลายปักประดิษฐ์ ตามแบบเฉพาะของตนเอง  เรียกว่า  เสื้อฮี  

ฝ่ายหญิงตามปรกติสวมเสื้อก้อมติดกระดุมเงิน  ถ้าเป็นงานพิธีจะสวมเสื้อฮี      ผ้าซิ่นที่ใช้นุ่งมีลักษณะเฉพาะคือพื้นดำสลับลาย เส้นสีขาวครามและมีวิธีนุ่งผ้าซิ่นของชาวไทยทรงดำผิดแปลกไป  คือใช้มุมผ้าทางซ้ายและขวาทบกันแล้วหักพับลง  คาดด้วยเข็มขัด  ตรงกลาง แหวกเป็นฉาก    ทรงผมของผู้หญิงนิยมเกล้ามวยซึ่งมี  2  แบบ  คือผู้ที่อยู่ในวัยสาว  จะเกล้าผมที่เรียกว่า ขอดซอย  แต่ถ้าพ้นวัยสาวจะเกล้า แบบ  ปั้นเกล้า  เป็นการแบ่งแยกวัยวุฒิ  


ประเพณีของไทยทรงดำ

ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่งประเพณีเสนเฮือนหรือประเพณีเซ่นผีเรือน   เนื่องจากชาวไทยทรงดำ  นับถือผีบรรพบุรุษ    เพราะเชื่อว่าถ้าได้ เซ่นผีบรรพบุรุษแล้ว     ผีบรรพบุรุษจะมาปกป้องรักษาลูกหลานเครือญาติให้เกิดความสุขความเจริญ     จึงได้เชิญผีบรรพบุรุษมาไว้บนเรือน      ในห้องที่เรียกว่า   "กะล้อห่อง"   มุมหนึ่งของเสาบ้านในห้องนั้นเป็นที่เซ่นไหว้ผีเรือนทุกๆ 10  วัน  เรียกว่า  ป้าดตง  โดยมีแก้วน้ำ  และชาม ข้าว    วางอยู่เป็นประจำ

ประเพณีเที่ยวขวง  ( โอ้สาว )   คำว่า “ ขวง ” หมายถึงสถานที่แห่งหนึ่งในลานบ้าน  มักยกเป็นแคร่    ซึ่งยามกลางคืนใน ฤดูว่างงานจากการทำนา   สาว ๆ ประจำหมู่บ้านกลุ่มหนึ่ง (  ถ้าหมู่บ้านใหญ่มีสาวมากก็แบ่งเป็นหลายกลุ่มที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียง และตกลงกันว่าจะใช้สถานที่บ้านของใครเป็น  “ ขวง ” ) ประมาณ 3 – 4 คนขึ้นไป  มานั่งรวมกัน  ทำงานฝีมือผู้หญิง   เช่น  ปั่นด้าย    ปักหน้าหมอน เป็นต้น    เริ่มนั่งขวงประมาณ   ๒๐.๐๐ น.  การนั่งขวงเป็นประเพณีมาแต่เดิม     เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องนุ่งห่มอย่างหนึ่ง   และเพื่อเปิดโอกาสหนุ่มสาวในการเลือกคู่ครอง

ประเพณีเล่นคอน( อิ้นคอน )  เป็นประเพณีการเล่น ( ร้องรำ ขับ ขับคล้าย ๆ ขับเสภา) แต่หางเสียงเนิบฟังทอด ๆ   กว่าเซิ้งเอ่วและโอ้สาวอย่างหนึ่ง   มักเริ่มต้นตั้งแต่เดือนห้าขึ้นหนึ่งค่ำเป็นต้นไป  และจะเลิกเล่นคอนต่อเมื่อหมอผีประจำหมู่บ้านกำหนดให้ชาวบ้านเลี้ยงศาลเจ้า      ประจำหมู่บ้านล่วงไปแล้ว เมื่อเริ่มย่างเข้าเดือนห้า    หนุ่ม ๆ ต่างตำบล  ( ตำบลเดียวกันจะเที่ยวเล่นคอนในหมู่บ้านของตนนั้นไม่นิยมกระทำกัน )    มักจะรวมพวกของตนเป็นกลุ่ม ๆ ประมาณ ๕–๑๐ คนขึ้นไป ซึ่งในจำนวนนั้นจะต้องมีหมอแคน ( คนเป่าแคน ) หมอลำ( คนร้องผสมแคน ) หมอขับ   ( คนร้องเพลงระหว่างที่เล่นคอน ) ไปด้วย   การแต่งกายขณะเล่นคอน ( เฉพาะคนที่ทอดช่วง ) ทั้งชายหญิง นิยมใส่เสื้อฮี  

 
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก www.homestayfanclub.com
 
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง          ไทยทรงดำ หรือลาวโซ่ง เป็นกลุ่มชนเผ่าไทยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแผ่นดินไทยมานานกว่า 200 ปี มีวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การแต่งกาย ทรงผม ภาษา บ้านเรือน อาหารและการประกอบอาชีพ รวมไปถึงความเชื่อที่สืบทอดกันมานาน ก่อให้เกิดพิธีกรรมและประเพณีที่น่าสนใจมากมาย แม้ในกระแสวัฒนธรรมจากภายนอก ที่หลั่งไหลเข้าทดแทนวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับชาวไทยทรงดำ วัฒนธรรมหลายอย่าง หาได้สูญสลายไปตามกระแสไม่ แต่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างน่าประทับใจ เช่น ภาษา การแต่งกาย งานประเพณี และการดำรงชีวิตที่สมถะเรียบง่ายแบบดั้งเดิม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ชาวไทยทรงดำพึงพอใจ และดำรง รักษาไว้อย่างภาคภูมิ
          ในวันนี้ ชาวไทยทรงดำยินดีต้อนรับผู้มาเยือนด้วยไมตรีจิต เปิดโอกาสให้สัมผัสกับวิถีชีวิต และร่วมชื่นชมวัฒนธรรมอันงดงาม กับประสบการณ์พักแรมแบบเรือนโซ่ง ชิมอาหารพื้นบ้าน ชมการละเล่น สัมผัสกับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของชาวบ้าน เช่น การทำนาข้าวเหนียว นาข้าวเจ้า การทอผ้า ย้อมผ้า จักสาน เครื่องใช้ไม้สอย ฯลฯ

 

          บ้านไทยทรงดำตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี หมู่บ้านตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 100 กม. มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 1 ชั้น 2 และธรรมดา บริการทุกวันจากสถานีขนส่งสายใต้ ค่าโดยสารคนละ 77 บาท 60 บาท และ 45 บาท หรือโดยสารรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สถานีเขาย้อย ซึ่งห่างจากตัวหมู่บ้านประมาณ 4 กม. โดยสารรถเข้าหมู่บ้าน

          ค่าใช้จ่ายในการเข้าพักอาศัย คิดค่าบริการ 200 บาท/คน/คืน มีอาหาร 2 มื้อ ทั้งเช้าและค่ำ พร้อมอาหารสำหรับตักบาตรพระ สามารถติดต่อได้ที่ : คุณสมศรี สาตร์พันธ์ 032-562153 ,01- 4343348
 

 

ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก www.samutsakhon.go.th

ลาวโซ่ง
 
 
ลาวโซ่งหรือผู้ไทย เป็นชนชาติไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกกันต่าง ๆ นานาว่าไทยดำ ผู้ไทดำ ไทซงดำ ผู้ไทซงดำ ผู้ไททรงดำ ลาวทรงดำ ลาวซ่วง ลาวซ่วงดำ ลาวโซ่ง ไทโซ่ง อันมีข้อสันนิษฐานว่า ที่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อนั้นก็เนื่องมาจากคำว่า "โซ่ง ซ่วง หรือส้วง" ในภาษาลาวโซ่งแปลว่ากางเกง คำว่าลาวโซ่งหรือลาวซ่วง จึงหมายถึงลาวนุ่งกางเกง หรือหมายถึงผู้ที่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีดำนั้นเอง และมีประวัติเล่าสืบทอดกันว่า มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ต่อมาได้อพยพย้ายจากถิ่นฐานเดิมลงมา สู่ดินแดนทางตอนใต้ กับตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยมา และกระจายกันอยู่บริเวณมณทลกวางสี ยูนนาน ตังเกี๋ย ลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง จนถึงแคว้นสิบสองจุไทย โดยมีเมืองแถง หรือเดียนเบียนฟู เป็นศูนย์กลางการปกครองตนเองอย่างอิสระ ภายหลังได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาตั้งหลักแหล่งกระจาย กันอยู่ในที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก (พนิดา เย็นสมุทร ๒๕๒๔:๒๕-๒๗)
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
   
 
การอพยพเข้าสู่ประเทศไทยของลาวโซ่ง
ลาวโซ่งหรือผู้ไทดำ ได้อพยพลงมาจากถิ่นฐานเดิม คือ แถบบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย และเข้าสู่ประเทศไทยด้วยเหตุผลทางสงครามหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวคือการอพยพครั้งแรกได้เริ่มขึ้นราว พ.ศ.๒๓๒๒ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดฯให้ยกกองทัพไปตีเวียงจันทน์ พร้อมด้วยกวาดต้อนครอบครัวลาวโซ่งในเขตเมืองญวนลงมาด้วยเป็นจำนวนมาก และโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรก เนื่องจากเมืองเพชรบุรี มีภูมิประเทศเป็นป่าเขามากมาย และภูมิประเทศคล้ายกับบ้านเมืองเดิม คือ เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไทย ต่อจากนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวโซ่ง จากเมืองแถงลงมาถวายที่กรุงเทพฯ อีกหลายครั้งได้แก่ รัชสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวโซ่งเข้ามากรุงเทพฯ เป็นรุ่นสุดท้ายในราว พ.ศ.๒๔๓๐
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
   
 
และทุกครั้งที่ถูกกวาดต้อนมาครอบครัวลาวโซ่งต่างก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีอีกเช่นกัน แต่ต่อมาบรรดาลาวโซ่งเหล่านี้ได้กระจายกันอพยพไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกลาวโซ่งรุ่นเก่า มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะกลับไปยังถิ่นฐานเดิมของตนที่เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไทยอีกครั้ง จึงพยายามเดินทางจากจังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปทางเหนือเรื่อยไป ครั้นถึงฤดูฝนก็หยุดพักทำนาเพื่อหาเสบียงไว้เดินทางจนสิ้นฤดูฝนจึงเดินทางต่อไป กระทั่งบรรดาคนแก่ซึ่งเป็นผู้นำทางได้ตายจากไปในระหว่างการเดินทาง บรรดาลูกหลานก็ไม่สามารถเดินทางต่อไปให้ถึงที่หมายได้ จึงพากันตั้งหลักแหล่งไปตามระยะทางเป็นแห่ง ๆ ไป ทำให้มีกลุ่มลาวโซ่งกระจายกันอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่งได้แก่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร เลย รวมทั้งลาวโซ่งที่กระจายกันอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ อีกหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ชุมพรและสุราษฏร์ธานีเป็นต้น
 
สำหรับชาวลาวโซ่งในจังหวัดสมุทรสาครนั้นพบว่า มีชาวลาวโซ่งได้เข้ามาตั้งรกรากและกระจายกันอยู่เฉพาะในบริเวณตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว เพียงแห่งเดียวเท่านั้นด้วยมีหลักฐาน จากการสืบค้นด้านการติดต่อ และความสัมพันธ์ของบรรพบุรุษ และจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุชาวลาวโซ่ง ทำให้ได้ทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของลาวโซ่งได้ว่า บรรพบุรุษของพวกตนแยกย้ายมาจากจังหวัดเพชรบุรี เพื่อเสาะหาแหล่งทำมาหากินแห่งใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ และได้พากันตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร แต่จนทุกวันนี้และในปัจจุบันก็ยังคงติดต่อไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ระหว่างญาติพี่น้องกลุ่มลาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี
 
ความเชื่อของลาวโซ่ง
ลาวโซ่ง ส่วนใหญ่จะมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อ ในเรื่อง"ผี"และ"ขวัญ"เป็นอันมากเนื่องจาก เชื่อว่าผีนั้นเป็นเทพยดาที่ให้ความคุ้มครอง พิทักษ์รักษา หรืออาจให้โทษถึงตายได้เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ"ผีเรือน" ประดุจดังศาสนาประจำตน ซึ่งทำในสิ่งไม่ดีจะเป็นการ "ผิดผี" ผีเรือนอาจจะลงโทษได้ โดยจำแนกประเภทของผีตามลำดับความสำคัญและความเชื่อถือได้ดังนี้ (พนิดา เย็นสมุทร ,๒๕๒๔ :๓๐-๓๒)
๑.
ผีแถนหรือผีฟ้า เชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่บนฟ้า ซึ่งสามารถดลบันดาลให้ความเป็นไปแก่มนุษย์ทั้งด้านดีและด้านร้าย จึงต้องปฏิบัติตนให้ถูกตามความประสงค์ของแถนเพื่อให้แถนหรือผีฟ้ามีความเมตตาและบันดาลให้เกิดความสุขแก่ตนได้
๒.
ผีบ้านผีเรือน เป็นผีที่คุ้มครองป้องกันบ้านเรือนให้ร่มเย็นเป็นสุขและ อุดมสมบูรณ์ อาจสิ่งสถิตอยู่ตามป่า ภูเขา หรือต้นไม้ บางแห่งก็สร้างศาล ให้อยู่บริเวณ ที่มีหลักเมือง ถือเป็นเขตหวงห้ามใช้เฉพาะประกอบพิธี เซ่นไหว้ที่เรียกว่า "เสน" เท่านั้น ส่วนผีบ้าน หรือผีประจำหมู่บ้านก็สร้างให้อยู่ต่างหาก เรียกว่า "ศาลเจ้าปู่" หรือ"ศาลตาปู่" และต้องทำพิธีเซ่นไหว้ทุกปี
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
๓.
ผีบรรพบุรุษ เป็นผีของปู่ ย่า ตา ยาย หรือพ่อ แม่ ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว จะถูกเชิญขึ้นมาไว้บนเรือน ณ ห้องผีเรือน หรือห้องของบรรพบุรุษที่เรียกว่า"กะล่อห่อง" และต้องจัดพิธีเซ่นไหว้ทุกปีเรียกว่า"พิธีเสนเรือน"
๔.
ผีป่าผีขวงและผีอื่น ๆ เป็นที่สถิตอยู่ตามป่า ภูเขา แม่น้ำ หรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งหากคนทำให้ไม่พอใจก็อาจลงโทษให้เจ็บป่วยได้เช่นกัน
อนึ่งสำหรับความเชื่อของลาวโซ่ง อีกประการหนึ่งก็คือ ความเชื่อในเรื่องขวัญ เนื่องจากเชื่อว่า "แถน"เป็นผู้สร้างให้มนุษย์มาเกิดและให้มีของขวัญแต่ละคนติดตัวมาอยู่ในร่างกายรวม ๓๒ ขวัญ ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวและทำงานได้ ขวัญอาจจะตกหล่นหรือสูญหายได้ง่าย ถ้าตกใจหรือเจ็บป่วยขวัญจะไม่อยู่กับตัว จึงต้องทำพิธีเรียกขวัญหรือเรียกว่า"สู่ขวัญ"เพื่อให้ขวัญกลับมาอยู่ในร่างกายอย่างปกติสุขตามเดิม
 
สภาพความเป็นอยู่ของลาวโซ่ง
ลักษณะความเป็นอยู่ของลาวโซ่งนั้น มักมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ กล่าวคือ สร้างบ้านเรือนในที่ราบเป็นแบบใต้ถุนสูง ดำรงชีพด้วยการทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ส่วนทางด้านศิลปะหัตถกรรมผู้ชายนิยมทำเครื่องจักสาน ผู้หญิงนิยมการเย็บปักถักร้อย ทอผ้า ไม่มีการทำเครื่องปั้นดินเผา หรือการหล่อโลหะแต่อย่างใด และแม้ว่าชาวลาวโซ่ง จะเข้ามาตั้งรกรากอยู่ท่ามกลางชาวไทยเป็นเวลานาน จนสนิทสนมคุ้นเคย ในระหว่างกลุ่มชาวไทยและชาวลาวโซ่ง กระทั่งได้เรียนรู้ถึงขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี กับหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ตามแบบชาวไทยบ้างก็ตาม ทว่า ลาวโซ่งส่วนใหญ่ก็ยังสามารถรักษาวัฒนธรรมประเพณี ที่เป็นของตนไว้ได้เกือบครบถ้วน เช่น การแต่งกาย ภาษา และพิธีกรรมต่าง ๆ อันจัดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ยังปฏิบัติกันมาอย่างเคร่งครัดอาทิ
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
 
 
การแต่งกาย นอกจากจะนิยมแต่งชุดดำ หรือสีครามเข้มเป็นประจำ จนได้ชื่อว่า"ลาวทรงดำ" หรือ"ไทยทรงดำ"หรือ"ผู้ไทยดำ"แล้ว ยังมีการแต่งกายที่ถือว่าเป็นชุดใช้ในโอกาสพิเศษ สำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีเสนเรือน พิธีแต่งงาน พิธีศพ เป็นต้น คือสวมเสื้อฮีกับส้วงขาฮี ซึ่งเป็นกางเกงขายาวสำหรับผู้ชาย และเสื้อฮีกับผ้าถุงสำหรับหญิง ส่วนผมของหญิงลาวโซ่ง จะไว้ยาวและเกล้าเป็นมวยทรงสูง ไว้ที่ท้ายทอยดังภาพประกอบต่อไปนี้
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
 
 
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
 
ภาษา ในด้านภาษากล่าวได้ว่า ลาวโซ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ และจะใช้ภาษาลาวโซ่งพูดจาติดต่อในระหว่างพวกลาวโซ่งด้วยกัน แต่จะใช้ภาษาไทยภาคกลางพูดจาติดต่อกับคนนอกหรือคนไทยอื่น ๆ เช่นเดียวกันพวกมอญเช่นกัน
สำหรับพิธีกรรมอันเป็นประเพณีของลาวโซ่ง กล่าวได้ว่า แม้ชาวลาวโซ่งจะสนิทสนมคุ้นเคยกับชาวไทยหรือชนกลุ่มอื่น ๆ เพียงใด กระทั่งรับวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มอื่น ๆ ไปใช้บ้างก็ตาม แต่ชาวลาวโซ่งส่วนใหญ่ก็ยังคงรักษาพิธีกรรมที่เป็นประเพณีดั้งเดิมของตนไว้เกือบครบถ้วน ได้แก่ พิธีกรรมอันเกี่ยวกับความเชื่อและสภาพความเป็นอยู่ของพวกตน ได้แก่ พิธีเสนเรือน พิธีแต่งงาน พิธีศพ เป็นต้นดังจะได้กล่าวถึงต่อไปประเพณีของลาวโซ่ง
พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญพิธีหนึ่งของลาวโซ่งซึ่งจะขาด หรือละเลยเสียมิได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว และจะต้องจัดทำอย่างน้อยปีละครั้งเพราะคำว่า "เสน"ในภาษาลาวโซ่ง หมายถึง การเซ่นหรือสังเวย "เสนเรือน" จึงหมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือนของพวกลาวโซ่ง อันได้แก่ การเซ่นไหว้ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคนให้มารับเครื่องเซ่นไหว้ ที่บุตรหลานจัดหามาเซ่นไหว้จะได้ไม่อดยาก และจะได้คุ้มครองบุตรหลานให้มีความสุขความเจริญสืบไป
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
 
 
การทำพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญผู้ประกอบพิธีคือ"หมอเสน" มาเป็นผู้ประกอบพิธีเสนเรือน พร้อมกับแจ้งญาติพี่น้อง ให้ทราบกำหนดวันทำพิธีไหว้ผีเรือน หรือเสนเรือน และจัดเตรียมเครื่องใช้ในการทำพิธีให้เรียบร้อย ได้แก่ เสื้อฮี-ส้วงฮี สำหรับเจ้าภาพสวมใส่ขณะทำพิธีเสนเรือน ปานเผือน (ภาชนะคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ บรรจุอาหารเครื่องเซ่นผีเรือน) ปานข้าว(ภาชนะใส่อาหารในหม้อเสน) ตั่งก๋า (เก้าอี้หรือม้านั่ง สำหรับหมอเสนนั่งทำพิธีในห้องผีเรือน) และอาหารที่เป็นเครื่องเซ่นต่าง ๆ อาทิหมูจุ๊บ (เนื้อหมู เครื่องในหมูยำ) แกงไก่กับหน่อไม้เปรี้ยว เนื้อหมูดิบ ซี่โครงหมู ไส้หมู ข้าวต้มผัดใส่กล้วย มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนม ผลไม้ต่าง ๆ ตามฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่ง ๗ ห่อ ตะเกียบ ๗ คู่ หมากพลู บุหรี่ และเหล้าเป็นต้น
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
เมื่อได้เวลาเซ่นไหว้ผีเรือน เจ้าภาพจะจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ บรรจุลงในปานเผือนที่เตรียมไว้ และยกเข้าไปวางไว้ในห้องผีเรือนที่เรียกว่า "กะล่อห่อง" ซึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี หมอเสนจะเริ่มเซ่นไหว้ ด้วยการเรียกหรือกล่าวเชิญบรรดาผีเรือน ที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าภาพ โดยเรียกชื่อบรรพบุรุษตามบัญชีรายชื่อ ที่เจ้าภาพจดร่วมกันไว้ในสมุดผีเรือน เรียกว่า "ปั๊บผีเรือน" หรือ "ปั๊บ" จนครบทุกรายชื่อเป็นจำนวน ๓ ครั้ง แต่ละครั้ง หมอเสนจะใช้ตะเกียบคีบหมู กับขนมทิ้งลงไปในช่องเล็ก ๆ ข้างขวาห้องผีเรือนที่ละครั้ง จึงเซ่นเหล้าแก่ผีเรือนอีก ๒ ครั้ง เพราะการเซ่นเหล้าเป็นสิ่งสำคัญอันไม่อาจขาดหรืองดเสียได้ เพื่อให้ผีเรือนได้กินอาหารและดื่มเหล้าอย่างอุดมสมบูรณ์
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
 
 
หลังจากเซ่นไหว้ผีเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทำพิธีเสี่ยงทายให้แก่เจ้าภาพเรียกว่า "ส่องไก่"ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวที่เจ้าภาพนำมาให้และจัดทำนาย ในลักษณะดังกล่าวคือหากตีนไก่หงิกงอแสดงว่า ไม่ดีจะมีเรื่องร้าย เกิดขึ้นอันได้แก่การเจ็บป่วย การตาย หรือการทำมาหากินประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น แต่ถ้าตีนไก่เหยียดตรง แสดงว่าทุกคนในครอบครัวของเจ้าภาพจะประสบแต่ความสุขความเจริญต่อจากนั้น เจ้าภาพจะทำพิธีขอบคุณหมอเสนที่มาช่วยทำพิธีเสนเรือน ให้แก่ครอบครัวของตนเรียกว่า "ฟายหมอ" แล้วจึงเลี้ยงอาหารแขกที่มาช่วยงานเป็นอันเสร็จพิธีเสนเรือน
ภาษา ในด้านภาษากล่าวได้ว่า ลาวโซ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ และจะใช้ภาษาลาวโซ่งพูดจาติดต่อในระหว่างพวกลาวโซ่งด้วยกัน แต่จะใช้ภาษาไทยภาคกลางพูดจาติดต่อกับคนนอกหรือคนไทยอื่น ๆ เช่นเดียวกันพวกมอญเช่นกัน
 
พิธีแต่งงาน
นอกจากการเสนเรือน จะเป็นพิธีสำคัญตามประเพณีของลาวโซ่งแล้ว พิธีแต่งงาน หรือเรียกตามภาษาลาวโซ่งว่า"กินดอง" ก็เป็นอีกพิธีหนึ่ง ซึ่งยังคงรักษาลักษณะดั่งเดิม ของลาวโซ่งไว้ได้เป็นแบบฉบับโดยเฉพาะ เพราะเมื่อหนุ่มสาวลาวโซ่ง รักใคร่ ตกลงใจที่จะแต่งงานกัน ฝ่ายชายก็จะส่งผู้ใหญ่ของตนไปทาบทาม และสู่ขอ ฝ่ายหญิงเป็นการหมั้นหมาย แล้วจึงนัดวันทำพิธีแต่งงานหรือกินดองกันต่อไป
 
 
การทำพิธีแต่งงาน จะเริ่มพิธีที่บ้านของฝ่ายหญิงซึ่งเป็นเจ้าสาว โดยในวันกินดอง เจ้าบ่าวจะต้องทำพิธีไหว้ผีเรือน บ้านเจ้าสาว และกล่าวอาสาว่า ตกลงจะอยู่รับใช้ หรือช่วยทำงานให้กับครอบครัวของพ่อตาแม่ยาย ว่าเป็นเวลากี่ปีแล้วแต่จะตกลงกัน เพื่อให้ผีเรือนได้รับรู้ เนื่องจากเมื่อแต่งงานแล้ว เจ้าสาวจะต้องออกจากผีเรือนของตน ไปนับถือผีทางฝ่ายชายซึ่งเป็นสามี และไปอยู่บ้านของฝ่ายชาย เว้นเสียแต่ว่าเจ้าสาวจะเป็นลูกคนเดียวของครอบครัว ก็อาจจะต้องตกลงกับฝ่ายชายให้มานับถือผีตามฝ่ายหญิง และมาอยู่ฝ่ายหญิง เรียกว่า"อาสาขาด" ต่อจากนั้นเจ้าบ่าว จะมอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับพ่อแม่ของฝ่ายเจ้าสาว นอกเหนือ ไปจากเงินสินสอดตามที่ตกลงกันไว้เงินจำนวนนี้เรียกว่า "เงินตามแม่โค" ซึ่งหมายถึง เงินค่าตัวของแม่ทางฝ่ายหญิงที่เคยได้รับเป็นค่าตัวเท่าใด ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เช่น อาจเป็น ๑๐-๒๐ บาท ลูกสาวก็จะได้รับตามจำนวนเท่านั้น (เป็นธรรมเนียมของลาวโซ่งที่ปฏิบัติกันสืบต่อมา แม้ค่าของเงิน จะต่างกันก็ตาม) และหลังจากทำพิธีตามประเพณีลาวโซ่งเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพก็จะเลี้ยงแขกที่ไปช่วยงานตามธรรมเนียมทั่ว ๆ
ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
 
 
เป็นที่น่าเสียดายว่า ปัจจุบันชาวลาวโซ่งในตำบลหนองสองห้อง นิยมประกอบพิธีแต่งงานตามธรรมเนียมไทยทั่ว ๆ ไปเช่นกัน ซึ่งคงจะสืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดระหว่างคนไทยกับคนลาว จึงรับรูปแบบการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยมาใช้ หรือดัดแปลงใช้กับพิธีของตน เพื่อให้ทันสมัยนิยมและสะดวกยิ่งขึ้น อันส่งผลให้การประกอบพิธีกินดองตามแบบลาวโซ่งแท้ ๆ เริ่มจะสูญหายไป
 
พิธีศพ
เป็นอีกพิธีหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของชาวลาวโซ่งมาแต่โบราณ เพราะนอกจากจะแสดงถึงความกตัญญู ต่อบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่อาทิ ปู่ ย่า ตา ยาย แล้ว ยังเป็นพิธีที่กระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่คนในครอบครัวของผู้ตายอีกด้วย และแม้ปัจจุบัน จะจัดงานศพตามแบบไทยทั่วไปบ้างแล้วก็ตาม ทว่า เมื่อบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวตายลง ก็จะต้องกระทำตามประเพณีของลาวโซ่งอย่างเคร่งครัด ด้วยการเชิญหมอเสนมาเป็นผู้ประกอบพิธี โดยเริ่มตั้งแต่การเอาผีลงเรือน และการเอาผีขึ้นเรือน เป็นต้น
การเอาผีลงเรือน ตามประเพณีของลาวโซ่ง หากผู้ตายถึงแก่กรรมภายในบ้านเรือนและตั้งศพไว้ในบ้านก่อน จะเคลื่อนย้ายศพไปประกอบพิธีต่อที่วัดนั้น เจ้าภาพจะต้องเชิญหมอเสนที่มาทำพิธีเรียกขวัญ หรือเรียกตามภาษาลาวโซ่งว่า "ช้อนขวัญ" คนในบ้านก่อน ด้วยเชื่อว่าสมาชิกในครอบครัวที่มีคนตายในบ้านจะโศกเศร้า หรือตกใจจนขวัญหาย จึงต้องเรียกขวัญไว้ให้อยู่กับตัว ไม่ติดตามผู้ตายไปที่อื่น
การช้อนขวัญ จะเริ่มด้วยหมอเสนถือสวิงสำหรับช้อนกุ้งหรือปลาเดินนำหน้าขบวน และทำท่าช้อนกุ้งหรือปลาไปรอบ ๆ บริเวณที่ตั้งโลงศพของผู้ตาย ตามด้วยเจ้าภาพซึ่งเป็นเจ้าบ้านเดินถือเสื้อผ้าของคนในบ้าน ๑ ชุด และญาติพี่น้องบุตรหลานทั้งหมดเดินตามหลังอีกทอดหนึ่ง หากญาติในครอบครัวคนใดคนหนึ่งไม่อาจร่วมพิธีได้ ให้หักเศษไม้เป็นรูปตะขอเล็ก ๆ ฝากใส่ไว้ในสวิงที่หมอเสนถือเป็นเครื่องหมายแทนตัวด้วย เมื่อหมอเสนและญาติ ๆ เดินวนรอบโลงศพผู้ตายครบ ๓ รอบแล้ว จะต้องเข้าไปในห้องผีเรือน เพื่อไหว้ผีเรือนให้ช่วยคุ้มครองอันตราย หรือเคราะห์ร้ายทั้งปวงให้หมดไปจากตัว และให้ขวัญของแต่ละคนกลับมาอยู่กับตนเองอย่างปลอดภัยโดยไม่ตกหล่นสูญหายหรือติดตามผู้ตายไปที่ใดทั้งสิ้น
หลังจากทำพิธีเรียกขวัญหรือช้อนขวัญ ของคนเป็นซึ่งเป็นญาติผู้ตายเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำพิธีเคลื่อนย้ายหรือยกโลงศพลงจากเรือนไปประกอบพิธีที่วัดได้ โดยอาจจัดขบวนแห่ให้สวยงามเป็นเกียรติแก่ผู้ตายด้วยการจัดตบแต่งด้วยธง หรือขบวนตามธรรมเนียมของลาวโซ่งอย่างเคร่งครัด
การเอาผีขึ้นเรือน การเอาผีขึ้นเรือนของลาวโซ่งจะจัดทำเมื่อบิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ในบ้านตายเท่านั้น เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้ตายมิให้วิญญาณของผู้ตายต้องร่อนเร่ แต่จะต้องเชื้อเชิญวิญญาณผู้ตายให้เข้าไปอยู่ร่วมกับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วทั้งหมดในห้องผีเรือนที่เรียกว่า "กะล่อห่อง" เพื่อจะได้คุ้มครองบุตรหลานทุกคน
หมอเสน จะเป็นผู้กำหนดวันเอาผีขึ้นเรือน และเตรียมพิธีหลังจากเผาศพผู้ตายเรียบร้อยแล้ว วันรุ่งขึ้น หมอเสนจะเก็บอัฐิของผู้ตายบรรจุโกศส่วนหนึ่ง เพื่อให้บุตรหลานนำไปบูชา ณ ห้องผีเรือน ส่วนอัฐิที่เหลือจะใส่ไหนำไปฝังยังสถานที่ที่เตรียมไว้ในป่าช้า และนำบ้านหลังเล็ก ๆ ทำด้วยตอกไม้ไผ่เรียกว่า "หอแก้ว" มาปลูกคร่อมบนบริเวณที่ฝังไหอัฐิไว้ หากผู้ตายเป็นชายกล่าวคือ บิดา ปู่ ตา จะตบแต่งหอแก้วให้สวยงามด้วยธงไม้ไผ่สูงประมาณ ๕ วา เรียกว่า "ลำกาว"พร้อมทั้งนำผ้าดิบสีขาวขลิบรอบ ๆ ขอบผ้าด้วยผ้าสีต่าง ๆ สลับกัน ๓ สีคือ แดง เหลือง ดำ ผูกติดกับยอดไม้ไผ่ให้มีความยาวพอเหมาะกับลำกาว ปลายยอดลำกาว หรือปลายไม้ไผ่ จะติดรูปหงส์ตัวเล็ก ๆ ทำด้วยไม้งิ้วแกะสลักอย่างงดงาม เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพาหนะพาผู้ตายกลัยไปเมืองแถน หลังจากนั้นจะนำอาหารเช้ามาเซ่นไหว้ผู้ตายจนครบ ๓ วัน เมื่อครบกำหนด ๓ วันแล้วหมอเสนจะรื้อหอแก้วกับลำกาวทิ้งทั้งหมด ด้วยเชื่อว่าจะได้ไม่มีการตายเกิดขึ้นในครอบครัวนี้อีกและนัดแนะกำหนดวันเอาผีขึ้นเรือนตามความพร้อมของเจ้าภาพ
เมื่อถึงกำหนดวันเอาผีขึ้นเรือน หมอเสนจะเป็นผู้กล่าวคำเชื้อเชิญวิญญาณของผู้ตายเป็นภาษาลาวโซ่ง และทำพิธีเซ่นไหว้ในห้องผีเรือนตามประเพณีลาวโซ่ง โดยทำพิธีคล้ายกับการเสนเรือน ด้วยการจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ อาทิ เนื้อหมูดิบ ซี่โครงหมู ไส้หมู เนื้อหมูยำ ข้าวเหนียวนึ่ง หมากพลู บุหรี่ และเหล้าทั้งขวด บรรจุลงในปานเผือน และเริ่มด้วยหมอเสนจะเรียกพร้อมกับกล่าวเชิญวิญญาณของผู้ตาย ให้มารับอาหารที่จัดเตรียมไว้ก่อน แล้วจึงเชิญบรรพบุรุษ ตามลำดับรายชื่อที่จดไว้ในสมุดผีเรือน ให้มารับอาหาร จนครบหมดทุกชื่อ โดยเรียกชื่อครั้งหนึ่งก็ใช้ตะเกียบคีบอาหาร (หมูยำ) ทิ้งลงในที่จัดเตรียมไว้ทีละชิ้นเช่นกัน ครบแล้วจึงทำพิธีกู้เผือน ซึ่งก็คือการนำอาหารที่เหลือออกจากปานเผือนทั้งหมด เพื่อนำปานเผือนมาใช้เป็นเครื่องมือสู่ขวัญบุตรหลานของผู้ตายต่อไป
อนึ่ง หลังจากเสร็จพิธีเอาผีขึ้นเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจำเป็นต้องทำพิธีสู่ขวัญหรือเรียกขวัญญาติพี่น้อง บุตรหลานในครอบครัวของผู้ตายต่อ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวผู้อยู่หลังเนื่องจากเชื่อว่า ขณะมีคนตายในครอบครัว ญาติพี่น้อง บุตรหลานในครอบครัวจะโศกเศร้าและตกใจจนขวัญหายไปจากตัวเอง จึงต้องเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัวด้วยการทำพิธีสู่ขวัญหรือเรียกขวัญนั่นเอง และเป็นธรรมเนียมของลาวโซ่งที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา กระทั่งเป็นประเพณีประการหนึ่งก็คือ หลังจากพิธีเอาผีขึ้นเรือนและสู่ขวัญ คนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพกับบรรดาญาติพี่น้องจะต้องแสร้งทำเป็นโกรธเกรี้ยว พร้อมกับไล่ตะเพิดหมอเสนให้ออกไปให้พ้นจากบ้านเรือนของตนโดยเร็วไว เพื่อขับไล่ความทุกข์โศกตลอดจนเคราะห์ร้ายต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไปจากครอบครัวของตนพร้อมกับตัวหมอเสนด้วย
นอกจากพิธีต่าง ๆ ของลาวโซ่งที่กล่าวถึงแล้วนั้น ยังมีการละเล่นของลาวโซ่งที่จัดเป็นประเพณีอีกประการหนึ่งนั้นคือ ประเพณีการเล่นคอน หรือ"อิ้นกอน" ในภาษาลาวโซ่งซึ่งเป็นการละเล่นของหนุ่มสาวในเดือน ๕ หรือ เดือน ๖ อันเป็นระยะที่ว่างจากการทำนา พวกหนุ่มสาวในแต่ละหมู่บ้านก็จะพากันจับกลุ่มเล่นคอนโดยผู้ใหญ่ไม่หวงห้าม จึงเป็นการเปิดโอกาสให้พวกหนุ่ม ๆ สาว ๆ ได้ทำความรู้จักมักคุ้นกันยิ่งขึ้น และใช้ลูกช่วงเป็นอุปการณ์การละเล่นให้หนุ่มสาวโยนให้ถูกกัน เป็นการสร้างสัมพันธไมตรี ระหว่างหนุ่มสาวให้มีโอกาสได้รู้จักสนิทสนมและแต่งงานกันในที่สุด ทว่าเป็นที่น่าเสียดาย ที่ประเพณีการเล่นคอนค่อนข้างจะไม่เป็นที่รู้จักหรือนิยมของ ลาวโซ่งรุ่นหลังอีกต่อไปเช่นกัน
 
อาหารของชาวลาวโซ่ง
อาหารของชาวลาวโซ่งในยามภาวะปกติไม่แตกต่างจากชาวไทยทั่วไป แต่หากมีพิธีกรรม อาทิ พิธีเสนเรือน เสนเรียกขวัญ เสนผีขึ้นเรือน ฯลฯ จำเป็นต้องมีอาหารพิเศษซึ่งจัดเป็นอาหารสำหรับงานพิธีดังกล่าวโดยเฉพาะ เช่น
๑.
หมูจุ๊ม เป็นอาหารสำคัญของลาวโซ่งที่ใช้สำหรับพิธีเสนเรือนโดยเฉพาะ ประกอบด้วยเนื้อหมู และเครื่องในหมู ยำกับหน่อไม้ดอง ใบมะม่วงอ่อน หรือใบมะขามอ่อน ปรุงด้วยพริกเผา และน้ำปลาร้า จัดเป็นอาหารสำคัญในการเซ่นผีเรือนอันจะขาดเสียมิได้
๒.
แกงไส้หมูคั่ว เป็นอาหารสำหรับพิธีเสนเรือนประกอบด้วยเครื่องแกง เนื้อหมูสามชั้น หมูเนื้อแดง ไส้หมู ตับหมู และหยวกกล้วย โดยมีวิธีทำเช่นเดียวกับแกงคั่วของชาวไทย และมีการผสมน้ำปลาร้าเข้าไปด้วย
๓.
ลาบเลือด เป็นอาหารประจำสำหรับพิธีเสนเรือน ประกอบด้วย เครื่องแกง เช่น ข่า ตระไคร้ พริก หอม กระเทียมเผา และเลือดหมู พร้อมกับนำมาคั่วในกะทะจนกระทั้งสุกคลุกเคล้าให้ทั่ว"
๔.
ผีป่าผีขวงและผีอื่น ๆ เป็นที่สถิตอยู่ตามป่า ภูเขา แม่น้ำ หรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งหากคนทำให้ไม่พอใจก็อาจลงโทษให้เจ็บป่วยได้เช่นกัน

รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวหมู่บ้านลาวโซ่ง

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
เพชรบุรี/Information of PHETCHABURI

  Lao Song or Thai Song Dam Tribal Villages (หมู่บ้านลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ)
These are found in many vicinities in Amphoe Khao Yoi, particularly at Ban Nong Prong and
Ban Thap Khang. Their ancestors have migrated from Laos. Their old customs and traditions
are occasionally practised. In April, they organize their own social events with entertainment
and folk plays.
 

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เพชรบุรี ชะอำ ที่พักชะอำ บังกะโล ชะอำ ที่พัก ชะอำ หาดชะอำ บ้านพักชะอำ ที่พักหาดชะอำ ชะอำบีช โรงแรม ชะอำ บ้านพัก ชะอำ บ้านพักหาดชะอำ โรงแรมชะอำ บังกะโลชะอำ สวนบวกหาด ชะอำ โรงแรมในชะอำ ชะอำ ที่พัก รีสอร์ทชะอำ โรงแรม-ชะอำ แผนที่ชะอำ สวนบวกหาดชะอำ โรงแรมยูเรเซีย ชะอำ คอนโดหัวหินชะอำ
อำเภอท่ายาง
อำเภอบ้านแหลม


แหลมหลวง

Hat Laem Luang
(เพชรบุรี)
อำเภอเขาย้อย


เขาอีโก้

Khao Eko
(เพชรบุรี)


วัดกุฏิ

Wat Kuti
(เพชรบุรี)
อำเภอเมืองเพชรบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอชะอำ


ชะอำ
Cha am

(เพชรบุรี)


หุบกระพง

Hup Kraphong
(เพชรบุรี)


น้ำพุร้อน

Hot Spring
(เพชรบุรี)
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี/map of PHETCHABURI
โรงแรมจังหวัดเพชรบุรี/Hotel of PHETCHABURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์