ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดหนองคาย >วัดหินหมากเป้ง/Wat Hin Mak Peng 

วัดหินหมากเป้ง/ Wat Hin Mak Peng

 

ประวัติวัดหินหมากเป้ง

หลังจากนี้ไปราว พ.ศ.๒๔๗๖ ที่ซึ่งเป็นวัดหินหมากเป้งในขณะนี้เป็นป่าทึบรกมาก กอปรด้วยเชื้อมาลาเรีย ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ร้ายต่างๆ มีเสือ หมี เป็นต้น แล้วก็เป็นท่าข้ามของเขาเหล่านั้นในระหว่าง ๒ ประเทศ คือ ประเทศไทยและประเทศลาวอีกด้วย เพราะที่นี้ห่างจากคนสัญจรไปมา จะมีก็พวกพรานป่ามาหาดักยิงสัตว์กินเท่านั้น อนึ่ง คนแถบนี้รู้จักหินหมากเป้งในนามว่าผีดุมาก พระธุดงค์ที่ต้องการทดสอบความกล้าหาญของตนแล้ว จะต้องมาภาวนา ณ ที่นี้ ผู้ที่ได้มาทดสอบความกล้าหาญในที่นี้แล้ว ย่อมเชื่อตนเองได้ ทั้งเพื่อนพรหมจรรย์ก็ยกยอว่าเป็นผู้ที่กล้าหาญเชื่อถือได้ เนื่องจากเขาถือว่าผีดุนั่นเอง ต้นไม้ใหญ่ป่าดงจึงยังเหลือไว้ให้พวกเราได้เห็นดังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้ นอกจากจะเป็นท่าข้ามของเหล่าสัตว์ร้ายดังกล่าวแล้ว ยังเป็นท่าข้ามของพวกมิจฉาชีพ ขนของหนีภาษีมีฝิ่นเถื่อน เป็นต้น สัตว์พาหนะมีวัวควายเป็นต้นไม่ว่าฝั่งโน้นหรือฝั่งนี้ ถ้ามันหาย สงสัยว่าคนขโมยแล้ว ทั้งเจ้าของและเจ้าหน้าที่จุดแรกจะต้องมาดักจับเอาตรงนี้เอง ถ้าไม่เจอะแล้วก็หมดหวัง

หินหมากเป้งเป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงที่หน้าวัดนี้เอง อันมีรูปลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยเก่า คนพื้นนี้เขาเรียกว่า เต็งหรือเป้งยอย คำว่าหมากเป้งเป็นภาษาภาคนี้ ผลไม้หรืออะไรก็ตาม ถ้าเป็นลูกแล้วเขาเรียกหมากขึ้นหน้า เช่น หมากม่วง หมากพร้าว เป็นต้น มีคนเฒ่าคนเก่าเล่าปรัมปราสืบกันมาว่า หินหมากเป้งก้อนบน (เหนือน้ำ) เป็นของหลวงพระบางก้อนกลางเป็นของบางกอก ก้อนใต้เป็นของเวียงจันทน์ ต่อไปในอนาคตข้างหน้ากษัตริย์ทั้งสามนครจะมาสร้างให้เจริญ คำนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้พยากรณ์ไว้มิได้บอกเป็นแต่เล่าสืบๆ กันมาเท่านั้น แต่มีเค้า น่าจะมีผู้มีญาณพยากรณ์ไว้แน่เพราะสถานที่นี้เป็นวัตถุโบราณอันส่อแสดงว่าคงจะเป็นสถานที่สำคัญสักอย่างหนึ่ง ดังที่ปรากฏอยู่ คือ ขุดคูเป็นรูปวงเดือนแรมหันข้างแหว่งลงไปทางแม่น้ำโขง ถ้าดูที่ขุดเป็นปีกกาออกไปสองข้างแล้ว ทำให้เข้าใจว่าเป็นสนามเพลาะ แต่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ณ ที่ใดๆ แลไม่เคยได้ยินนักโบราณคดีพูดถึงเลย เรื่องสามกษัตริย์จะมาสร้างหินหมากเป้งให้เจริญ ผู้เขียนเมื่อยังเด็กอยู่ได้ฟังแล้วยิ้มในใจไม่ยักเชื่อเลย นึกว่าป่าดงดิบแท้ๆ ผีดุจะตายแล้วใครจะมาสร้าง สร้างแล้วใครจะมาอยู่เล่า แล้วเรื่องนั้นมันก็ลืมเลือนหายไปนานจนไม่มีใครกล่าวถึงอีกแล้ว เพราะเห็นว่าไร้สาระแล้วจู่ๆ ผู้เขียนซึ่งไม่เชื่อคำพยากรณ์นั้นเองได้มาอยู่และมาสร้างเสียเอง จึงระลึกขึ้นมาได้ว่า อ๋อความจริงมันหนีความจริงไม่พ้น ถึงใครจะไม่พูดถึงมันก็ตามเมื่อถึงเวลาของมันแล้วความจริงมันจะปรากฏขึ้นมาเอง

พ.ศ. ๒๔๔๑ พระอาจารย์หล้าได้มาจำพรรษา ณ ที่นี้เป็นองค์แรก แต่ท่านก็มิได้สร้างเป็นวัดทำเป็นกระต๊อบเล็กๆ อยู่อย่างพระธุดงค์ธรรมดาๆ ท่านองค์นี้เป็นลูกคนบ้านห้วยหัดนี้เอง ท่านเคยมีครอบครัว ได้ลูกชายคนหนึ่งแล้ว ภรรยาของท่านตายท่านจึงได้ออกบวชอายุของท่านราว ๔๐ ปี โดยเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์วัดโพธิสมภรณ์เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชเวทีเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านไม่รู้หนังสือ เมื่อมาภาวนากัมมัฏฐาน ตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่าน ท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียรมากสนใจในกิจการทั่วไป เมื่อตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่านเป็นที่อัศจรรย์ ท่านยิ่งสนใจมาก ท่านพยายามประสมและอ่านผิดบ้างถูกบ้างทีแรก นานเข้าจนอ่านหนังสือที่มีเนื้อความเป็นธรรมได้ นอกนั้นอ่านไม่ได้ ผลที่สุดด้วยความพยายามของท่านอ่านหนังสือทั่วๆ ไปได้หมด เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยแต่ท่านพระอาจารย์หล้าได้เป็นไปแล้ว ตอนหลังๆ ท่านเป็นเจ้าตำราสั่งให้เขาซื้อหนังสือใหญ่ๆ เช่น หนังสือพระวิสุทธิมัคค์-ปุพพสิกขา-มหาขันธกวินัยมาไว้เป็นสมบัติของท่านเลย

ท่านชอบเที่ยววิเวกองค์เดียวอยู่ตามแถบแถวภูพานนี้โดยมาก ชาวบ้านแถวที่ท่านเที่ยวไปยอมเคารพนับถือท่านมาก ถ้าบ้านใดเจ็บไข้ได้ป่วยโดยเขาถือว่าผีมาอาละวาด เขาจะต้องไปนิมนต์ให้ท่านไปขับผีให้ ความจริงมิใช่ท่านไปขับผี แต่ท่านไปโปรดเขาพร้อมทั้งชาวบ้านด้วย เมื่อท่านไปถึงทีแรก ท่านจะต้องหาที่พักซึ่งเขาถือว่าเป็นที่อยู่ของผี แล้วท่านจะต้องนั่งกำหนดภายในให้รู้ว่าผีตัวนี้มีชื่อว่าอย่างไร ทำไมจึงต้องมาอยู่ ณ ที่นี้ และได้ทำให้ชาวบ้านเขาเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะเหตุใด เมื่อท่านทราบแล้วท่านจะต้องกำหนดหาบทภาวนา เพื่อให้ผีตนนั้นมีจิตใจอ่อนน้อมยอมเมตตาเป็นมิตรกับชาวบ้านเหล่านั้น แล้วท่านจะเรียกชาวบ้านเหล่านั้นมาสอนให้เขาตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย ต่อไปก็ให้มีการปฏิบัติทำวัตรไหว้พระเช้าเย็นเป็นประจำอย่าได้ขาด แล้วตอนท้ายก็สอนให้เขาภาวนาบทที่ท่านเลือกได้นั้น นอกนี้ก็สอนให้เขาเหล่านั้น งดเว้นจากการสาปแช่งด่า และพูดคำหยาบคายต่างๆ ห้ามลัก ฉ้อโกงขโมยของกันและกัน ให้เว้นจากมิจฉาจารและให้งดจากการดื่มสุรา และยังมิให้รับประทานลาบเนื้อดิบอีกด้วย เมื่อท่านไปสอนที่ไหนได้ผลเป็นที่อัศจรรย์ทุกแห่งไป แม้ที่เป็นหนองหรือเป็นน้ำซับทำเลดีๆ ซึ่งเขาถือว่าผีดุ เมื่อปฏิบัติตามท่านสอนแล้ว เขาไปจับจองเอาที่เหล่านั้นมาเป็นกรรมสิทธิ์ทำมาหากินจนตั้งตัวได้ก็มากราย ที่อธิบายมานี้เพื่อให้เห็นอัจฉริยนิสัยของท่าน ซึ่งไม่น่าจะเป็นแต่มันก็เป็นไปแล้ว ท่านเพิ่งมามรณภาพที่บ้านนาเก็นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ นี้เอง อายุของท่านได้ ๘๒ ปี พรรษา ๔๒ การมรณภาพของท่านก็พิสดาร คือ ท่านป่วยมีอาการเล็กน้อย เย็นวันนั้นท่านออกเดินไปตามริมชายวัดเห็นต้นไม้แดงตายยืนอยู่ต้นหนึ่ง ท่านบอกว่าฉันตายแล้วให้เอาไม้ต้นนี้นะเผาฉัน แล้วก็อย่าเอาไว้ล่วงวันล่วงคืนด้วย ตกกลางคืนมาราว ๒ ทุ่มท่านเริ่มจับไข้ อาการไข้เริ่มทวีขึ้นโดยลำดับ ตีหนึ่งเลยมรณภาพ บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสก็ทำตามท่านสั่งทุกอย่าง ที่นำเอาประวัติของท่านพระอาจารย์หล้ามาเล่าโดยย่อนี้ ก็เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำมาเป็นคติ และท่านเป็นคนแรกที่เริ่มสร้างวัดนี้ ต่อจากนี้ก็มีพระเส็ง-พระคำจันทร์-พระอุทัย-และพระคำพันเป็นคนสุดท้าย

เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ ข้าพเจ้าได้จำพรรษาที่ถ้ำขาม ออกพรรษาแล้ว ได้วิเวกมาพักอยู่ด้วยพระคำพัน เห็นว่าที่นี้วิเวกดีพร้อมด้วยดินฟ้าอากาศก็ถูกกับโรค รู้สึกว่าได้รับความสบายดี จึงได้จำพรรษาอยู่ด้วยพระคำพัน บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบว่าข้าพเจ้ามาอยู่ ณ ที่นี้ ต่างก็พากันลงเรือมาเยี่ยม เพราะเวลานั้นทางรถยังไม่มี เมื่อพากันมาเห็นสถานที่เป็นที่สัปปายะ อากาศก็ดี วิเวกน่าอยู่ วิวก็สวยงาม แต่เสนาสนะที่อยู่อาศัยยังไม่น่าอยู่ ต่างก็พากันหาทุนมาช่วยบูรณะก่อสร้างจนสำเร็จเป็นวัดที่ถาวร ดังที่ปรากฏแก่สายตาของท่านทั้งหลายอยู่ ณ บัดนี้แล้ว

วัดหินหมากเป้งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๓ ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๑๕ โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์เป็นประธานในสงฆ์ อุโบสถหลังนี้ทำหลังคาเป็นสองชั้น กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๑ เมตร สูงจากพื้นถึงเพดาน ๙ เมตร มุงกระเบื้องดินเผากาบกล้วย โดยคุณไขศรี ตันศิริ กองช่างสุขาภิบาล กรมอนามัย เป็นผู้ออกแปลน อาจารย์เลื่อน พุกะพงษ์ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบลวดลายต่างๆ ตลอดถึงแนะนำการก่อสร้าง นายไพบูลย์ จันทด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เฉพาะค่าแรงงานราคาสามแสนบาท น.ท.พูนศักดิ์ รัตติธรรม เป็นผู้หาเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ทาง กรุงเทพฯ นายแสงเพ็ชร จันทด เป็นเหรัญญิก และหาเครื่องอุปกรณ์ตลอดควบคุมการก่อสร้างโดยใกล้ชิด




Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดหินหมากเป้ง

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
หนองคาย/Information of NONGKHAI

  Wat Hin Mak Peng วัดหินหมากเป้ง
Wat Hin Mak Peng is a meditation center for monks, nuns and pilgrims. This tranquil sanctuary is adjacent
to the Mekong and is ideal for relaxation. The sanctuary is at km. 83 of highway No.2186, 30 km. from Amphoe
Sri Chiang Mai.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

หนองคาย แผนที่จังหวัดหนองคาย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


จุดชมวิว
ViewPoint
(หนองคาย)


ภูทอก
Phu Thok
(หนองคาย)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท่าบ่อ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบึงกาฬ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอศรีเชียงใหม่
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคม
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเซกา
แผนที่จังหวัดหนองคาย/map of NONGKHAI
โรงแรมจังหวัดหนองคาย/Hotel of NONGKHAI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์