ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดนครสวรรค์ >วัดนครสวรรค์(วัดหัวเมือง)/Wat Nakhon Sawan 

วัดนครสวรรค์(วัดหัวเมือง)/ Wat Nakhon Sawan

 

วัดนครสวรรค์ (วัดหัวเมือง)

วัดนครสวรรค์ เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ในตลาดปากน้ำโพ ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อศรีสวรรค์ ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมือง หลวงพ่อศรีสวรรค์เป็นพระพุทธรูปที่มีความสง่างามเป็นอย่างมาก ผู้ที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มักจะแวะมานมัสการ หลวงพ่อศรีสวรรค์เพื่อความเป็นศิริมงคลของตน

 

วัดนครสวรรค์ ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อจากวัดหัวเมืองมาเป็นวัดนครสวรรค์นั้น มีชื่ออีกชื่อหนึ่งคือวัดโพธิลังการาม เหตุที่ชื่อ โพธิลังการามนั้นได้มีผู้นำต้นโพธิ์มาจากประเทศศรีลังกามาปลูกที่หน้าวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา๔ต้นและมีเจดีย์ใหญ่อยู่ใกล้ต้นโพธิ์นั้นปัจจุบันทั้งเจดีย์และต้นโพธิ์ไม่มีให้เห็นแล้ว

 

ประวัติความเป็นมา

 

วัดนครสวรรค์เดิมมีนามว่า "วัดหัวเมือง" เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ จากหลักฐานโบราณวัตถุ น่าเชื่อว่าสร้างขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงสุโขทัย วัดหัวเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 1972 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (พระเจ้าสามพระยา) อันเป็นรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงศรีอยุธยา

 

ก่อนจะเปลี่ยนชื่อจากวัดหัวเมืองมาเป็นวัดนครสวรรค์ วัดหัวเมืองมีชื่ออีกชื่อหนึ่งคือ วัดโพธิลังการาม เนื่องจากได้มีผู้นำต้นโพธิ์จากประเทศศรีลังกามาปลูกที่หน้าวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา 4 ต้น และมีเจดีย์ใหญ่อยู่ใกล้ต้นโพธิ์นั้น ปัจจุบันทั้งเจดีย์และต้นโพธิ์ไม่มีให้เห็นแล้ว รวมทั้งสายน้ำได้เปลี่ยนทิศทางห่างออกไปจากวัดประมาณ 100 เมตร

 

วัดหัวเมือง ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดนครสวรรค์อย่างเป็นทางการในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของมณฑลนครสวรรค์และจังหวัดนครสวรรค์ที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2435 ทางราชการได้เคยใช้สถานที่วัดนี้ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา (มีศิลาจารึกเป็นหลักฐาน) เป็นที่พำนักอยู่จำพรรษาของเจ้าคณะจังหวัดเป็นสถานที่สอบธรรมและบาลีสนามหลวงตลอดมา พ.ศ. 2203 ชาวบ้านได้พบช้างเผือก 1 เชือกที่เมืองนครสวรรค์ได้ประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดนี้ แล้วนำถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เมืองลพบุรี ซึ่งได้พระราชทานนามว่า "เจ้าพระยาบรมดเชนทรฉัททันต์"

 

ในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จชลมารคมาทรงเททองหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ที่พิษณุโลก ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมและเห็นความสำคัญของวัดนี้ จึงทรงโปรดให้ย้ายพระครูสวรรค์วิถีสุทธิอุตตมคณาจารณ์ สังขปราโมกข์ (หลวงพ่อครุฑ) เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์จากวัดเขา (วัดจอมคีรีนาคพรต) มาพำนักอยู่ประจำวัดนี้ในการย้ายของหลวงพ่อครุฑนั้น ทางราชการและประชาชนได้ร่วมจัดงานใหญ่มาก มีขบวนแห่แบบเวสสันดร จำนวน 13 ขบวน พระราชวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรพ ผู้บัญชาการทหารค่ายจิรประวัติสมัยนั้นจัดขบวนส่ง

 

พ.ศ. 2454 สมเด็จพระราชินีพระพันปีหลวงและสมเด็จพระมาตุจฉาเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ได้เสด็จมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันพระราชสมภพและวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พร้อมด้วยเจ้านายอีกหลายพระองค์ ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ด้วย

 

พ.ศ. 2456 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรศ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ได้ทรงแวะเยี่ยมหลวงพ่อครุฑที่วัดนี้ด้วย ในฐานะทรงคุ้นเคยเป็นการส่วนพระองค์มาก่อน และในปีต่อมาได้เสด็ตมาในงานศพหลวงพ่อครุฑอีกครั้งหนึ่ง

 

ในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับเป็นทุนสร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบัน ซึ่งครอบหลังเดิมไว้พร้อมกับได้พระราชทาน พระบรมฉายาลักษณ์เป็นโลหะทองแดงขนาดใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ ในพระอุโบสถด้วย

 

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 สมเด็จพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานผ้าพระกฐินมาทอดถวายวัดนี้ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามได้เสด็จมาพักแรมที่วัดนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 และวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523

 

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2527 ได้มีนายเสน่ห์ วัฑฒนาธร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอเรื่องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อสถาปนาวัดนครสวรรค์ เป็นพระอารามหลวง ความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วพระราชทานพระบรมราชานุญาตตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0204/7846 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2528 วัดนครสวรรค์ จึงได้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ นับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา

 

เมื่อ พ.ศ. 2534 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เสด็จถวายเครื่องอัฐบริขารและเงินบำรุงพระอาราม และทรงปลูกต้นไม้สาละ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2534 ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชทานพระพุทธรูป พระพุทธนวราชบพิตร เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534

 

เกี่ยวกับการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตลอดมาทุกปี ทั้งแผนกธรรมและบาลีที่เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 นอกจากนี้ยังได้เปิดสอนแผนกสามัญในปี พ.ศ. 2513 เป็นที่ตั้งโรงเรียนมัธยมบ่ระจำจังหวัดเดิม ที่ทำการของพุทธสมาคมมูลนิธิปากน้ำโพประชานุเคราะห์และศูนย์บริการประชาชนของตำรวจ ที่ทางวัดได้ให้การอนุเคราะห์ด้วยดีตลอดมา

 

 

แหล่งศิลปกรรม

 

อุโบสถ เนื่องจากวัดนครสวรรค์เป็นวัดเก่ามาก อุโบสถหลังเดิมสร้างขึ้นตั้งแเต่ พ.ศ. 1972 จึงชำรุดทรุดโทรม และได้มีการซ่อมแซมกันเรื่อยมาตามกาลสมัย

 

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อหลวงพ่อครุฑ เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ได้ย้ายจากวัดจอมคีรีนาคพรตมาอยู่วัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2449 ในครั้งนั้นวัดนครสวรรค์ทรุดโทรมมาก ต่อมาอุโบสถถูกพายุพัดอย่างแรง ทำให้ผนังโบสถ์พังทับพระประธานและหลังคาโบสถ์หักพังลงมาทับถมองค์พระประธาน ชำรุดเสียหายมาก จึงได้มีการซ่อมแซมอุโบสถและพระประธานครั้งใหญ่ที่สุด เมื่อระหว่าง พ.ศ. 2465 - 2470 ต่อจากนั้นได้มีการปฎิสังขรณ์ในส่วนต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

ศาลาการเปรียญ เมื่อหลวงพ่อเคลือบมาเป็นเจ้าอาวาส วัดนครสวรรค์ ประมาณ พ.ศ. 2442 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดให้ดีขึ้น และได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่เป็นศาลาไม้เสาไม้แก่นกลมใหญ่ พื้นกระดาน หลังคามุงกระเบื้องศาลานั้นสร้างเสร็จเรียบร้อยใช้การได้ตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2526 ในสมัยที่พระราชสิทธิเวที เป็นเจ้าอาวาส จึงได้รื้อถอน แล้วสร้างใหม่เป็นอาคาร ค.ส.ล. สองชั้นแบบทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขเทคอนกรีตทั้งฝ้าและหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ พื้นขัดหิน เพื่อให้มีขนาดพอกับจำนวนประชาชนที่มาทำบุญู ฟังธรรมดังที่เห็นอยู่ปัจจุบันนี้

 

หลวงพ่อศรีสวรรค์ เป็นพระพุทธรูปเก่ามาแต่โบราณเป็นพระประธานอยู่ในอุโบสถหลังเดิม เป็นพระพุทธรูปสมัยศิลปะสุโขทัย หลวงพ่อศรีสวรรค์ได้รับการบูรณะหลายครั้ง พร้อมกับการซ่อมแซมอุโบสถ โดยได้นำทองเหลืองจากองค์เดิมมาหล่อใหม่และมีประชาชนนำทองเหลืองและทองคำมารวมกันหล่อเป็นองค์พระให้ประชาชนได้เคารพกราบไหว้ เป็นที่พึ่งทางใจมาเป็นเวลานานจนเมื่อมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่สุด ระหว่าง พ.ศ. 2465 - 2470 ได้มีประชาชนบริจาคทองเหลือง ทองแดงและทองคำ หล่อหลอมให้องค์พระมีขนาดใหญ่กว่าเดิม มีหน้าตักกว้าง 2.50 เมตร (ปัจจุบันยังมีทองคำอยู่ที่เกษ) เล่ากันว่าในขณะที่เททองอยู่นั้น พอตกเย็นใกล้ค่ำเกิดมีแสงพุ่งออกจากองค์พระมีลำแสงเป็นสีต่างกันถึง 6 สี เรียกว่าฉัพพรรณรังสี เป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง ประชาชนชาวนครสวรรค์มีความศรัทธาในหลวงพ่อศรีสวรรค์มาก ได้มาเคารพกราบไหว้กันอยู่ตลอดเวลา ในระยะหลัง ๆ นี้ผู้ใดมีความทุกข์ความเดือดร้อนก็จะนำเครื่องสักการะมาถวาย และบริจาคทรัพย์เพื่อทำนุบำรุงวัดและมีการบนบานกันอยู่เสมอ จะเห็นได้จากการมีละครแก้บนกันเกือบไม่เว้นแต่ละวัน

 

พระสองพี่น้องหรือพระผู้ให้อภัย เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 2 องค์หันหลังไห้กัน หน้าตักกว้าง 3.50 เมตร ประดิษฐานอยู่ในวิหารเก่า ซึ่งแต่เดิมเป็นวิหารสองหลังคู่ ต่อมาได้บูรณะติดกันเป็นวิหารยาวหลังเดียว เมื่อพิจารณาถึงรูปทรงของพระพุทธรูปและอิฐที่สร้างนั้น เป็นของเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากสร้างมาเป็นเวลานาน สิ่งปลูกสร้างชำรุดหักพังไปแล้วหลายครั้ง หลังคาทางทิศเหนือที่มุงบังพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 2 องค์นั้น หักพังหลังคาเปิดคงเหลือแต่ด้านหน้าทางถนนโกสีย์ จะรื้อสร้างใหม่ก็เกิดมีฟ้าผ่าขึ้นหลายครั้งจนเป็นที่กรงกลัวกันว่าถ้าก่อสร้างใหม่จะเกิดอันตราย

 

จนต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2468 ได้มีบุคคลในตระกูล “อินทร” ได้ซ่อมแซมองค์พระทั้งสอง และตั้งเสาไม้ทำหลังคามุงสังกะสีบังเฉพาะพระพุทธรูปองค์ใหญู่สององค์เท่านั้น เนื่องจากทางด้านหน้ายังมีหลังคากระเบื้องหลังเก่าเหลืออยู่ แต่ปัจจุบันหลังคาด้านหน้าได้ชำรุดหักพังไปหมดแล้ว จึงดูเหมือนพระพุทธรูปอีกจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้ตากแดดตากฝนมาเป็นเวลานาน ซึ่งขณะนี้ทางวัดได้มีดำริว่าจะก่อสร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปทั้งหมดแเล้ว

 

สาเหตุที่สร้างพระพุทธรูปหันหลังให้กันนั้น ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอนได้แต่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาหลายเรื่อง เช่นเป็นการให้ความหมายทางธรรม หมายถึงการเกิดและการตาย เรื่องที่สองเกี่ยวกับทางโลกคือ เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะเข้าพิธีแต่งงานกัน ฝ่ายเจ้าบ่าวยกขันหมากมาถึงบ้านเจ้าสาวแล้วเกิดวิวาทกันอย่างไม่มีวันที่ยินดีกันได้ จึงตกลงสร้างพระพุทธรูปหันหลังให้กันเป็นอนุสรณ์ อีกเรื่องหนึ่งมีผู้เขียนประวัติไว้ว่าชนชาติพม่าเป็นผู้สร้าง เนื่องจากนครสวรรค์เป็นเมืองหน้าด่านและพม่าเคยยกทัพมาถึงเมืองนี้ คือเมืองพระบาง เมื่อสงครามยุติลงได้สร้างพระพุทธรูปหันหลังให้กันไว้เป็นอนุสรณ์ การหันหลังให้กันอาจมีความหมายถึง การให้อภัยไม่ต้องจองเวรจองกรรมกันต่อไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า “พระผู้ให้อกัย”

 

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในตัวเมืองและเป็นวัดประจำจังหวัด สิ่งหนึ่งที่พบเห็นกันมานานและบ่อย คือ การรำหรือนำลิเกมาเล่นแก้บน เป็นความเชื่อของชาวบ้านและชาวต่างจังหวัด

 

ลักษณะของสถานที่
เป็นที่ประดิษฐานพระผู้ให้อภัยยิ่งหรือพระหันหลังให้กัน อยู่หลังโบสถ์วัดนครสวรรค์ด้านถนนเทพสิทธิชัย หันหน้าไปทางทิศตะวันออกองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ มีประวัติว่าชนชาติพม่าเป็นผู้สร้าง การหันหลังให้กันอาจมีความหมายถึงการให้อภัยไม่จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไป และภายในโบสถ์วัดนครสวรรค์นั้น มีพระพุทธรูปนามว่า หลวงพ่อศรีสวรรค์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวนครสวรรค์

ข้อมูลอาหารพื้นเมือง ( ถ้ามี )
ลูกชิ้นปลากรายลวก,ปลาช่อนตะไคร้,ปลาบึกผัดฉ่า,ปลาตะโกกนึ่งบ๊วย,กุ้งแช่น้ำปลา|

ของฝากของที่ระลึก
ขนมเปี๊ยะนมสด-โมจิ,น้ำผึ้ง,กุนเชียง,แหนมเนื้อ,ผลิตภัณฑ์หินอ่อน,ผลิตภัณฑ์งาช้างแกะสลัก,เครื่องจักสาน

ข้อมูลอื่นๆ ( มีโชว์ การแสดง )
ไหว้พระพุทธรูปเก่าแก่

ที่อยู่
ถ.สวรรค์วิถี

สถานที่ติดต่อ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคกลางเขต 7 โทร. 0-3642-2768-9 โทรสาร 0-3642-4089 หรือหมายเลขโทรศัพท์ 1672
 



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดนครสวรรค์(วัดหัวเมือง)

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
นครสวรรค์/Information of NAKHONSAWAN

  Wat Nakhon Sawan (Wat Hua Muang)
Located on Sawanwithi Rd. in the city. This temple has the special Buddha's Image called "Phra
Phu Hai A-pai Ying" located behind the main temple on Thepsithichai Rd., the first image faces east
and the other faces west, were built by the Burmese as the mountains of forgiveness and stop the
revenge. Inside the main temple there is another Buddha
Image called "Luang Phor Sri Sawan"

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เว็บไซต์ท่องเที่ยงประจำจังหวัดนครสวรรค์ แผนที่จังหวัดนครสวรรค์
อำเภอเมือง


ถ้ำบ่อยา

Bo Ya Cave
(จังหวัดนครสวรรค์)


อุทยานสวรรค์
Sawan Park
(จังหวัดนครสวรรค์)


วัดวรนาถบรรพต(เขากบ)

Wat Woranat Banphot
(จังหวัดนครสวรรค์)


วัดเกรียงไกรกลาง

Wat Kriang Krai Klang
(จังหวัดนครสวรรค์)


บึงบอระเพ็ด
Bueng Boraphet
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอตากฟ้า


วัดถ้ำพรสวรรค์

Wat Tham Phonsawan
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอตาคลี


เขาถ้ำบุณนาค

Tham Bun Nak Hill
(จังหวัดนครสวรรค์)


วัดจันเสน

Chan Sen Ancient City
(จังหวัดนครสวรรค์)


วนอุทยานเขาหลวง
Khao Luang Forest Park
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอบรรพตพิสัย


เขาหน่อ-เขาแก้ว

Khao Nor–Khao Kaeo
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอพยุหะคีรี


บ้านโคกไม้เดน
Baan Kho Mai Den Ancient City
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอหนองบัว


เขาพระ

Khao Phra
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอโกรกพระ


เขื่อนวังรอ

Wang Ro Dam
(จังหวัดนครสวรรค์)


เขาถ้ำพระ

Tham Phra Hill
(จังหวัดนครสวรรค์)
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์/map of NAKHONSAWAN
รายชื่อโรงแรมจังหวัดนครสวรรค์/Hotel of NAKHONSAWAN

โรงแรมในจังหวัดนครสวรรค์

โรงแรมในจังหวัดนครสวรรค์ ข้อมูลเบอร์โทร ที่อยู่โรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โฮมสเตย์ บ้านพัก ในจังหวัดนครสวรรค์

ร้านอาหารในจังหวัดนครสวรรค์

ร้านอาหารในจังหวัดนครสวรรค์ ข้อมูลเบอร์โทร ที่อยู่ร้านอาหารในจังหวัดนครสวรรค์


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์