ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๒๘ มีนาคม ๒๔๓๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลิกใช้จุลศักราช (จ.ศ.) และให้ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน โดยถือเอาปีตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นปีที่ ๑ (ร.ศ.๑)

๒๖ เมษายน ๒๔๓๑
            วันเปิดโรงพยาบาลศิริราช

๒๘ มิถุนายน ๒๔๓๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ยกเลิกการใช้จุลศักราช เปลี่ยนมาใช้รัตนโกสินทร์ศก แทน เริ่ม ร.ศ.๑ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕

๖ สิงหาคม ๒๔๓๑
            วันก่อตั้งกรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.) ซึ่งถือกำเนิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

๑๐ สิงหาคม ๒๔๓๑
            ให้ทหารเลิกจัดสายตรวจรักษาการตามถนนในพระนคร โดยมอบหน้าที่ให้ตำรวจ

๒๒ กันยายน ๒๔๓๑
            รถรางได้ออกรับผู้โดยสารเป็นครั้งแรกในไทย และในทวีปอาเซีย

๒๔ กันยายน ๒๔๓๑
            วันนี้ทหารบกได้ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นครั้งแรก ที่กรมยุทธนาธิการ (กระทรวงกลาโหม) เพลงนี้เดิมมีแต่ทำนอง เพิ่งมาแต่งเนื้อร้องเป็นครั้งแรก โดยสมเด็จ ฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้บัญชาการกองทัพบกในขณะนั้นทรงนิพนธ์

๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑
            ไทยเสียแคว้นสิบสองจุไทย ให้แก่ฝรั่งเศส พื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร โดยฝรั่งเศส ส่งกำลังทหารเข้ายึดไว้ อ้างว่าเอาไว้คอยปราบฮ่อ

๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๑
            กองทัพไทยกับฝรั่งเศส ได้ทำสนธิสัญญาว่าต่างจะไม่ล่วงเข้าไปในเขตแดนของกันละกัน และจะช่วยกันปราบฮ่อที่เป็นโจร

๒๓ มกราคม ๒๔๓๑
            นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้เดินทางออกจากหลวงพระบางกลับกรุงเทพ ฯ หลังจากที่ได้จัดระเบียบการปกครองดินแดนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว

๒๑ มิถุนายน ๒๔๓๒
            ทหารสามารถกวาดต้อนพวกอั้งยี่ในกรุงเทพ ฯ ที่เกิดวิวาทกันเองแล้วยกกำลังเข้าต่อสู้กันที่โรงสีปล่องเหลี่ยม บางรัก มีการตั้งสนามเพลาะเพื่อสู้รบกันบนถนนเจริญกรุง กระทรวงนครบาลไม่สามารถปราบปรามได้ จึงต้องใช้กำลังทหารบก และทหารเรือเข้าปราบ

๑๙ กันยายน ๒๔๓๒
            กองทัพเมืองเชียงใหม่ ยกไปปราบพระยาปราบสงคราม ที่เมืองฝาง

๑ พฤศจิกายน ๒๔๓๒
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลคนเสียจริต ขึ้นที่ปากคลองสาน เป็นโรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วยทางจิตแห่งแรกของประเทศไทย รับผู้ป่วยไว้รักษา ครั้งแรก ๓๐ คน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๓๒
            วันเกิด พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) บรรพชาเป็นสามเณร ๕ ปี อุปสมบทต่ออีก ๑๐ ปี ลาสิกขาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ กรมตำรา กระทรวงกลาโหม แล้วโอนมาอยู่กรมตำรา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้โอนมาอยู่กรมพระอาลักษณ์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น ปรมาจารย์คือ อาจารย์ของอาจารย์แห่งอักษรศาสตร์

พ.ศ.๒๔๓๓
            เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง–ชูโต) ได้ริเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อให้แสงสว่าง ต่อมาได้โอนกิจการให้บริษัทอเมริกันชื่อ แบงค๊อค อีเลคตริคซิตี้ ซินดิเดท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐

๑ เมษายน ๒๔๓๓
            มีการตราพระราชบัญญัติทหาร โดยรวบรวมทหารบกและทหารเรือเข้าด้วยกัน และยกฐานะกรมยุทธนาธิการเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ และตั้งกองบัญชาการอยู่ในโรงทหารหน้า จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นศาลายุทธนาธิการ

๕ กันยายน ๒๔๓๓
            เปิดสอนโรงเรียนแพทย์เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่มีชื่อทางการ เรียกกันว่า ศิริราชแพทยากร ถือเป็นวันสถาปนาโรงเรียนแพทย์

๙ มกราคม ๒๔๓๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดอู่หลวง ณ กรมอู่ทหารเรือ เนื่องจากในเวลาดังกล่าวนั้นมีจำนวนเรือหลวงเพิ่มมากขึ้น อู่หลวงนี้สร้างขึ้นที่โรงหล่อซึ่งหมายถึงที่ว่าการกรมทหารเรือ อู่หลวงดังกล่าวเป็นแบบอู่ไม้ ต่อมาได้ขยายเป็นอู่คอนกรีตเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ ค่าก่อสร้าง ๕๐๐,๐๐๐บาท

๑ มีนาคม ๒๔๓๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมา เป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

๙ มีนาคม ๒๔๓๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองแขวงเมืองปทุมธานี ไปออกแม่น้ำนครนายกคือ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ หรือที่เรียกว่า คลองรังสิต และคลองนี้เองที่เป็นการเริ่มต้นกิจการด้านการชลประทาน และเป็นผลดีแก่เกษตรกรในจังหวัดใกล้เคียงเป็นอันมาก

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๓๔
            เรือปืนรัสเซีย เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ กัปตันเรืออัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของรัสเซียชื่อ เชนต์ แอนดรูว์ จากพระเจ้านิโคลัสที่ ๑ แห่งรัสเซีย เข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

๑๖ กรกฎาคม ๒๔๓๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงขุดดินวางฤกษ์สร้างทางรถไฟสายปากน้ำทางรถไฟสายแรกของเมืองไทย ซึ่งเป็นของเอกชน มีสัญญาสัมปทาน ๕๐ ปี เปิดเดินรถเมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๓๔๖ หมดสัญญา เมื่อ ๑๓ กันยายน ๒๔๗๙ เป็นของรัฐบาล และเลิกเดินรถ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๓

๖ สิงหาคม ๒๔๓๔
            วันก่อตั้งกรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.) ซึ่งถือกำเนิดในรัชสมัย รัชกาลบที่ ๕

๒๐ สิงหาคม ๒๔๓
            เปิดประภาคารที่เกาะสีชัง

๒๒ กันยายน ๒๔๓๔
            โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าหน้าบุตรพระตา เป็นพระยาพิชัยราชสุริยวงศ์ขัตติยราช เมืองจำปาศักดิ์ ขึ้นกรุงเทพ ฯ นครจำปาศักดิ์ เคยเป็นพระราชอาณาเขต ต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อ ๑๒กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖เพื่อให้ฝรั่งเศสคืนจังหวัดจันทบุรีให้ไทยซึ่งได้ยึดไว้แต่เมื่อกรณี ร.ศ.๑๑๒

๑๖ ตุลาคม ๒๔๓๔
            วันถึงแก่กรรมของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นักปราชญ์คนหนึ่งของไทย เป็นผู้ที่มีบทบาทในการวางรากฐานการศึกษาของชาติ ได้แต่งแบบเรียนขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วย หนังสือมูลบทบรรพกิจ ๑ แบบเรียนประถม ก กา ใช้สอนในโรงเรียนหลวง ที่พระตำหนรักสวนกุหลาบ

๑๒ ธันวาคม ๒๔๓๔
            ทำสัญญากับบริษัทอังกฤษ สร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ – นครราชสีมา

๑ มกราคม ๒๔๓๔
            วันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสใน รัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับถวายพระราชสมัญญาภิไธยว่า พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

๙ มีนาคม ๒๔๓๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) ประกอบพิธีกระทำพระฤกษ์ เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ นครราชสีมา

๒๕ มีนาคม ๒๔๓๔
            วันสถาปนากระทรวงยุติธรรม

พ.ศ.๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยปรับปรุงองค์การบริหารส่วนกลางออกเป็นกระทรวงต่าง ๆ ๑๒ กระทรวง

พ.ศ.๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมอย่างทันสมัยขึ้นที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า สร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ อาวุธประจำป้อมคือ ปืนใหญ่อาร์มสตรอง ขนาด ๖ นิ้ว ๗ กระบอก

พ.ศ.๒๔๓๕
            รัฐบาลไทยได้ว่าจ้าง นายโรลังค์ ยัคมินส์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคนแรก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาอภัยราชา

๑ เมษายน ๒๔๓๕
            ได้มีการกำหนดหน้าที่กระทรวงกลาโหมเป็นกระทรวงราชการทหาร ตามตำราโบราณจึงได้ย้ายที่ว่าการกระทรวงกลาโหมจากศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง มาอยู่ที่ตึกหลังกลางด้านหน้าของศาลายุทธนาธิการ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหม

๑ เมษายน ๒๔๓๕
            มีประกาศพระบรมราชโองการให้ตำแหน่งเจ้ากระทรวง เป็นเสนาบดีเสมอกันหมด พร้อมกับยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีสองตำแหน่งที่มีมาแต่เดิม

๑ เมษายน ๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงมุรธาธร สำหรับกระทรวงกลาโหมนั้น ได้กำหนดหน้าที่เป็นกระทรวงราชการทหาร ให้มีหน้าที่บังคับบัญชาทั้งทหารบก และทหารเรือ ซึ่งก่อนหน้านั้น กระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ เหมือนกับกระทรวงมหาดไทยที่มีหน้าที่ปกครองฝ่ายเหนือ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การบังคับบัญชาทหารแต่อย่างใด ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ ส่วนราชการต่าง ๆ ได้จัดเฉลิมฉลองในโอกาศครบรอบ ๑๐๐ ปี ของกระทรวง หลายส่วนราชการได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๔ มิถุนายน ๒๔๓๕
            คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กองทัพเรือสนับสนุนกรมป่าไม้ เพื่อจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเล ด้านป่าชายเลน และป้องกันควบคุมการบุกรุกทำลายป่าชายเลน ตลอดแนวน่านน้ำไทย

๙ มิถุนายน ๒๔๓๕
            เรือกลไฟเริ่มเดินในลำแม่น้ำมูลระหว่างเมืองอุบลท่าช้าง เป็นเที่ยวแรก

๒๑ กันยายน ๒๔๓๕
            หนังสือยุทธโกษ ฉบับแรกออกจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อเป็นจดหมายเหตุ สำหรับกิจการทหารบกของพระเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์ในขั้นปรับปรุงที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันว่า “เป็นนิธิและโอษฐ์ของทหารบกในประเทศสยาม”

๒๔ กันยายน ๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จเปิดอาคารโรงเรียนนายร้อยที่วังสราญรมย์ คือ อาคารกรมแผนที่ในปัจจุบัน และในวันนี้ เริ่มมีธงไชยเฉลิมพลเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระองค์ได้พระราชทานแก่กองทหาร เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา หน่วยทหารที่ได้รับพระราชทาน มี ๖ หน่วย คือ กองทหารม้าใน (ม้าหลวง) กองทหารปืนใหญ่ (ปืนใหญ่หลวง) กองทหารราบใน (มหาดเล็ก) กองทหารราบนอกรักษาพระองค์ กองทหารนอกล้อมวัง และกองทหารราบนอกฝีพาย

๒๘ กันยายน ๒๔๓๕
            กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๘ สิ้นพระชนม์ (ประสูติ ๑๔ กันยายน ๒๓๕๒) พระนามเดิม พระองค์เจ้าฤกษ์ ดำรงตำแหน่งพระสังฆราชนานที่สุด

๑๒ ตุลาคม ๒๔๓๕
            วันเปิดทำการสอนของโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตึกสายสวลีสัณฐาคาร วัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้กุลบุตรกุลธิดา ได้รับความรู้มีการศึกษา โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้พัฒนามาโดยลำดับ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครูพระนคร ในวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานนามให้วิทยาลัยครูพระนครใหม่ว่า สถาบันราชภัฎ ในปี ๒๕๓๕ เป็นวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการจัดตั้งสถาบัน

๑ มกราคม ๒๔๓๕
            หมอยอร์ช บี. แมคฟาร์แลน (อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม) เริ่มกิจการโรงเรียนแพทย์ศิริราช ท่านยังมีเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย สมิทพรีเมี่ยร์ อันเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก และมีพจนานุกรม (ดิคชั่นนารี) อีก ๒ เล่มคือ ฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และยังเขียนตำราแพทย์ให้นักเรียนใช้อีกด้วย

๘ มกราคม ๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จ ฯ เปิดกรมอู่ทหารเรือ

๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๕
            ไทยเริ่มเดินรถรางเป็นครั้งแรก ต่อมาได้กีดขวางการจราจร จึงได้เลิก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑

๑ เมษายน ๒๔๓๖
            วันสถาปนา กรมอัยการ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นนักกฎหมายของพระมหากษัตริย์ ต่อมาในปี ๒๔๖๕ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ มีประกาศพระบรมราชโองการ ให้โอนกรมนี้ไปขึ้นกระทรวงมหาดไทย ในปี ๒๕๓๔

๑๑ เมษายน ๒๔๓๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรง เปิดการเดินรถไฟสายแรกของไทย คือสายกรุงเทพ ฯ – สมุทรปราการ (ปากน้ำ) ระยะทาง ๒๑ กม. เลิกกิจการ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๓

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๓๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภาอนุโลมแดงแห่งชาติสยาม ซึ่งต่อมาคือ สภากาชาดไทย งานสำคัญของสภาอนุโลมแดงคือ จัดส่งเครื่องยา อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปช่วยบำรุงทหารในสนามรบ เมื่อครั้งเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย พ.ศ. ๒๔๖๑ จัดตั้งสภาการกุศลอาสาสงเคราะห์ เพื่อช่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้และบาดเจ็บในเวลาสงคราม และในยามสงบ กับทั้งบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัยพินาศ โดยไม่เลือกชาติ ชนชั้น ลัทธิ ศาสนา หรืออุดมคติทางการเมืองของผู้ประสบภัย โดยยึดหลักมนุษยธรรมเป็นที่ตั้ง และได้มีการประชุมสภากาชาดของไทยเป็นครั้งแรกโดยมี พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระวรราชเทวี เป็นสภานายิกา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์