ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๑ พรรษา

พ.ศ.๒๔๕๓
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้พุทธศักราช เป็นศักราชในราชการ

๔ พฤศจิกายน ๒๔๕๓
            กองทัพเรือได้ทูลเกล้า ถวายเครื่องแบบจอมพลเรือ แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ณ. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๓
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้ทรงสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนี คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง

๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๓
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

๒ ธันวาคม ๒๔๕๓
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ พระราชทานกำเนิด โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และ โรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน และพระราชทานว่า วชิราวุธวิทยาลัย

๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๓
            เปลี่ยนชื่อ กรมยุทธนาธิการ เป็นกระทรวงกลาโหม ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชาทหารบกทั่วไป และยกฐานะกรมทหารเรือขึ้นเป็นกระทรวงทหารเรือ

๒๖ ธันวาคม ๒๔๕๓
            รถยนต์แก้วจักพรรดิ์ เป็นรถพระที่นั่งคันแรก และต่อมามีผู้นำมาวิ่งในถนนมากขึ้น เห็นว่าจะเกิดอันตราย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดให้ตรา พระราชบัญญัติรถยนต์ขึ้นครั้งแรก

๑๙ มกราคม ๒๔๕๓
            จอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ได้ทรงนำโครงการสร้างกำลังทางเรือฉบับสมบูรณ์ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ

๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาติ ให้ใช้พระราชวังเดิม เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ จากนั้นเป็นต้นมา พระราชวังเดิมก็เป็นสถานที่ทำการของ กองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน (พระราชวังเดิมเป็นพระราชวังหลวง ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีปากคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ และวัดอรุณราชวราราม ขนาบอยู่สองข้าง ตรงกลางมีป้อมวิชัยประสิทธิ์ตั้งอยู่)

๑๑ มีนาคม ๒๔๕๓
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนฐานะกรมทหารเรือเป็น กระทรวงทหารเรือ

พ.ศ.๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขึ้นในที่ดินส่วนพระองค์

๑ เมษายน ๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงคมนาคม ขึ้น

๓ เมษายน ๒๔๕๔
            วันสถาปนา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

๑ พฤษภาคม ๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่ออบรมให้ข้าราชการพลเรือนและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ปฏิบัติหน้าที่แบบทหาร ประกอบด้วยกองเสือป่าหลวงและกองเสือป่ารักษาดินแดน

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ เริ่มการเสือป่าขึ้น

๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกองลูกเสือขึ้น หลังจากตั้งกองเสือป่าเพียง ๒ เดือน และเป็นประเทศที่ ๓ ที่ตั้งกองลูกเสือขึ้นในโลก มีความมุ่งหมายโดยสรุป ๓ ประการ คือ ความภักดีต่อพระมหากษัตริย์ การนับถือพระศาสนา และความสามัคคีไม่ทำลายกันและกัน

๑๑ สิงหาคม ๒๔๕๔
            ประกาศหลักสูตรในโรงเรียนข้าราชการพลเรือน มีวิชาเรียน ๑๐ อย่าง ซึ่งมีวิชาทหารอยู่ด้วย

๓๑ มกราคม ๒๔๕๔
            เครื่องบินประเภทหนักกว่าอากาศเครื่องแรก เข้ามาแสดงการบินในเมืองไทยที่สนามม้าปทุมวัน

๒ กันยายน ๒๔๕๔
            มีพิธีเข้าประจำกองลูกเสือเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย) กิจการลูกเสือเกิดขึ้นเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔ และได้พระราชทานธงประจำกองลูกเสือ เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๔๕๔ กิจการลูกเสือ เกิดขึ้นหลังกิจการ “เสือป่า”

๑ ตุลาคม ๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้พระราชทานกำเนิดกองลูกเสือ เพื่อเป็นการเตรียมตัวไว้ เพื่อเป็นสมาชิกกองเสือป่า เมื่อเจริญวัยขึ้น

๑ มกราคม ๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ พระราชทานธงประจำกอง (ธงชัยเฉลิมพล) แก่กรมทหารรักษาวัง พื้นธงสีแดงมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนบนแท่น มุมธงมีอักษรย่อ "วปร."

๑๔ สิงหาคม ๒๔๕
            เฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่ทุ่งส้มป่อย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนตำหนักจิตรลดาอยู่ที่มุมลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นพระตำหนักเดิม พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ต่อมาเป็นพระราชวังสวนจิตรลดา

๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔
            กระทรวงกลาโหมได้ส่งนายทหารสามนาย ออกเดินทางไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นชุดแรกที่ส่งออกไปศึกษา และได้าเร็จการศึกษากลับมาถึงประเทศไทย เมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๖

๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชพิธีถวายบังคม และสักการะพระบรมรูปทรงม้า เป็นปีแรก

๔ ธันวาคม ๒๔๕๔
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค ตามราชประเพณีเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๔
            ยุบกรมยุทธนาธิการ ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชาทหารบกทั่วไป และยกฐานะกรมทหารเรือขึ้นเป็น กระทรวงการทหารเรือ

๑ เมษายน ๒๔๕๕
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้น และในปี ๒๕๓๕ นับเป็นวาระครบรอบ ๘๐ ปี ของกระทรวงคมนาคม

๑๘ มิถุนายน ๒๔๕๕
            ขึ้นระวางเรือเสือคำรณสินธุ์ เรือรบของไทยที่ต่อจากประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือลำแรกที่ทหารไทยนำเรือเดินทางจากญี่ปุ่น

๒๒ มิถุนายน ๒๔๕๕
            แต่งตั้ง เลื่อนยศทหาร ให้เป็นนายทหารพิเศษของกองทัพบก

นายพันเอก เจ้าบุญวาทย์วงศามานิต เป็น นายพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เป็น นายพันเอก
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เป็น นายพันเอก
นายพันโท เจ้าอุปราชเมืองนครน่าน เป็น นายพันเอก
เจ้าราชบุตรเมืองนครเชียงใหม่ เป็น นายร้อยเอก
เจ้าอุปราชเมืองนครลำปาง เป็น นายร้อยเอก
เจ้าราชวงศ์เมืองนครเชียงใหม่ เป็น นายร้อยเอก
การแต่งตั้งยศทหาร ให้เป็นนายทหารพิเศษของกองทัพบก ไม่ทราบว่าเริ่มเมื่อใด แต่ปรากฏในทำเนียบทหารบก ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) มีเจ้านายฝ่ายเหนือและใต้ ได้รับยศทหารแล้วคือ นายพันเอก เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ พระบิดาของเจ้าดารารัศมี
นายพันโท พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ รายามดา เมืองไทยบุรี
นายพันตรี เจ้าราชบุตร เมืองเชียงใหม่
นายร้อยเอก เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่
นายร้อยตรี น้อยสมพมิตร เมืองนครเชียงใหม่
๒ กรกฎาคม ๒๔๕๕
            นายพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ เริ่มการฝึกบินเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส สมัยเมื่อเป็น นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) กระทรวงกลาโหม ได้ส่งไปฝึกการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ พร้อมกับทหารบกอีก ๒ นาย

๑ ธันวาคม ๒๔๕๕
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดปราจีนบุรี เทศาภิบาลเมืองปราจีนบุรี ถวายรูปครุฑสัมฤทธิ์หุ้มทอง อันเป็นของโบราณที่ขุดได้ที่ตำบลโคกพระ ในดงพระศรีมหาโพธิ รูปครุฑนี้ต่อมาได้ใช้เป็นยอดธงประจำกองทัพบก คือ ธงมหาไพชยนต์ธวัช

๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๕
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เลิกใช้ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศก) ซึ่งเริ่มใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ และให้ใช้ พ.ศ. (พุทธศักราช) แทน

๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๕
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน

๒๗ มีนาคม ๒๔๕๕
            วันสถาปนากรมศิลปากร ซึ่งตั้งขึ้นในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ

พ.ศ.๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินเพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์

พ.ศ.๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล นับเป็นการเริ่มต้นที่คนไทยมีนามสกุลใช้

พ.ศ.๒๔๕๖
            มีแผนการบินอยู่ในบังคับบัญชาของจเรทหารช่าง

พ.ศ.๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงจัดตั้งหน่วยบินขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็นกองบินทหารบก แล้วพัฒนาเป็นกรมอากาศยาน และเป็นกองทัพอากาศในเวลาต่อมา

๑ เมษายน ๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้าให้ตรา ฯ พระราชบัญญัติออมสิน พ.ศ. ๒๔๔๖ และพระราชทานเงิน ๑ แสนบาท เป็นทุนเริ่มแรก ต่อมาปี ๒๔๘๙ ได้มีพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. ๒๔๘๙ ขึ้น ให้ธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคล

๒๖ เมษายน ๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสถานปาสตุรสถา ( Pasteur Institute ) ขึ้นอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในสิงหาคม ๒๔๖๐ ได้โอนมาขึ้นกับสภากาชาดไทย และเปลี่ยนชื่อเป็นสถานปาสเตอร์ ตามชื่อของนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส (หลุยส์ ปาสเตอร์) ผู้พบวิธีรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้สำเร็จ

๑๔ มิถุนายน ๒๔๕๖
            ตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ทุน ๑ ล้านบาท

๒ กันยายน ๒๔๕๖
            ตรากฎสำหรับทหารกองหนุน

๑๓ กันยายน ๒๔๕๖
            ยกกรมตำรวจภูธร ขึ้นเป็น กรมชั้นอธิบดี ให้ตำรวจภูบาลมาขึ้นกับตำรวจภูธร

๒๐ ธันวาคม ๒๔๕๖
            การไฟฟ้านครหลวงสามเสน เริ่มเปิดใช้งานเป็นปฐมฤกษ์

๗ มกราคม ๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงสถาปนาโรงเรียนเพาะช่างขึ้น โรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนามาจากกองช่างแกะไม้ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อตอนปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะ และพัฒนามาเป็น โรงเรียนเพาะช่าง ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า ฯ กรมเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง สนองพระกรุณาธิคุณ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์

๑๓ มกราคม ๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีวิทยุโทรเลข ของทางราชการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย (ขณะนี้เป็นอาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติแล้ว ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร)

p>
๒๘ มกราคม ๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงสมโภชเจดีย์ยุทธหัตถี ที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก โดยเหลือซากแต่เพียงฐานสี่เหลี่ยมกว้าด้านละ ๑๙.๕๐ เมตร สูงจากพื้นดินถึงส่วนชำรุด ๖.๕๐ เมตร

๒๘ มกราคม ๒๔๕๖
            เริ่มใช้การเปล่งเสียงร้อง ชัยโย (ไชโย) เป็นการแสดงความยินดี

๒๒ มีนาคม ๒๔๕๖
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นใช้เป็นครั้งแรกของไทย

๒๘ มีนาคม ๒๔๕๖
            เริ่มวันหยุดราชการเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ

๒๙ ธันวาคม ๒๔๕๖
            ได้มีการบินทดลองเป็นครั้งแรก ที่ราชกรีฑาสโมสร ซึ่งเป็นสนามบินแห่งแรกของไทย ต่อมาเมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๔๕๗ จึงย้ายไปอยู่ที่ดอนเมือง

๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๗
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จเปิดโรงพยาบาลจุฬา ฯ

๘ มิถุนายน ๒๔๕๗
            เปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็น พระประแดง

๑๙ มิถุนายน ๒๔๕๗
            จดทะเบียนบริษัทภาพยนตร์แห่งแรกของเมืองไทย คือ บริษัทภาพยนตร์พัฒนากร

๒๓ กรกฎาคม ๒๔๕๗
            ตั้งวรรณคดีสโมสร เพื่อเป็นการอุดหนุนวิชาแต่งหนังสือภาษาไทยให้ดีขึ้น

๒๗ สิงหาคม ๒๔๕๗
            ตราพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ ยกเลิก พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก ฉบับ พ.ศ.๒๔๕๐

๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
            การประปาเริ่มบริการน้ำใช้ในกรุงเทพ ฯ เป็นวันแรก

๒๗ มีนาคม ๒๔๕๗
            กระทรวงกลาโหม ยกฐานะแผนกการบิน เป็นกองบินทหารบก กองทัพอากาศ จึงได้ถือเอาวันที่ ๒๗ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนากองทัพอากาศ

๒๔ พฤษภาคม ๒๔๕๘
            กองบิน กองทัพบก สร้างเครื่องบินได้เอง เป็นครั้งแรก

๓ มิถุนายน ๒๔๕๘
            ตั้งยศนายพลเสือป่าเป็นครั้งแรก พระราชทานแก่ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)

๖ มิถุนายน ๒๔๕๘
            แก้ระเบียบสวดมนต์ไหว้พระสำหรับทหาร ให้มีบทปลุกใจ “ชาติของเราเป็นไทยอยู่ได้จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้ เพราะบรรพบุรุษของเราเอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิตและความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้ เราต้องบำรุงชาติ เราต้องรักษาชาติ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ ...” และมีการแก้เพลงชาติเสียใหม่

๖ กันยายน ๒๔๕๘
            ตั้งมณฑลมหาราษฎร์ ตั้งศาลาว่าการมณฑลที่จังหวัดแพร่ โดยแยก จังหวัดลำปาง แพร่ น่าน ออกจากมณฑลพายัพ ต่อมาได้ยุบมณฑลมหาราษฎร์ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๕๙

๑๓ ตุลาคม ๒๔๕๘
            วันสถาปนากรมตำรวจ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกรมพลตระเวนกับกรมตำรวจภูธรเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรมตำรวจภูธรและกรมตระเวน สังกัดกระทรวงนครบาล และได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล ในปีเดียวกันนี้ ต่อมาในปี ๒๔๖๕ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงนครบาลรวมกับกระทรวงมหาดไทย แล้วใช้ชื่อว่ากระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล จึงโอนมาอยู่กระทรวงมหาดไทย ในปี ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อกรมใหม่เป็น กรมตำรวจภูธร และในปี ๒๔๗๕ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อหน่วยนี้เป็น กรมตำรวจ

๑๗ ธันวาคม ๒๔๕๘
            กระทรวงทหารเรือ ออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการใช้คำนามรวมทั่วไปของทหารเรือเรียกว่า ราชนาวี เขียนเป็นอักษรย่อ ว่า ร.น. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Royal Navy เขียนเป็นอักษรย่อว่า R.N.

พ.ศ.๒๔๕๙
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑ เมษายน ๒๔๕๙
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงจัดตั้งกองอาสาสมัครน้ำขึ้นเพื่อเป็นกำลังทางน้ำของไทย ดำเนินการป้องกันประเทศ ร่วมกับกองกำลังทางบกของกองอาสาสมัครเสือป่า

๑ เมษายน ๒๔๕๙
            เลิกอากรหวย ก.ข. อย่างเด็ดขาด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ๑ เมษายน ๒๔๕๙ จัดตั้งราชนาวิกสภา ตามคำสั่งกระทรวงทหารเรือ ปัจจุบันเป็นหน่วยขึ้นตรง กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

๒ กันยายน ๒๔๕๙
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จ ฯ เยี่ยมหัวเมืองทางเหนือ ทรงได้แนวคิดในการเปลี่ยนธงชาติไทยเสียใหม่ จากธงช้างเป็นธงไตรรงค์

๒๐ กันยายน ๒๔๕๙
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะกองแพทย์พยาบาลทหารเรือ ขึ้นเป็นกรมแพทย์พยาบาลทหารเรือ ต่อมาปี ๒๔๙๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมแพทย์ทหารเรือ

๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งและจดทะเบียนสหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือสหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ที่ตำบลวัดจันทร์ พิษณุโลก

๒๖ มีนาคม ๒๔๕๙
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ.๒๔๖๐
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศนับเวลาในราชการ โดยให้เปลี่ยนวิธีนับเวลาแบบโมงยาม มานับแบบสังคมนิยม คือแบ่งวันหนึ่งเป็น ๒๔ ภาค แต่ละภาคเรียกว่า นาฬิกา และให้ถือเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่

พ.ศ.๒๔๖๐
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาคำนำหน้านาม กำหนดให้ใช้นำหน้านามสตรี ให้เป็นระเบียบอย่างอารยะประเทศ

๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๔๖๐ และสร้างธงชาติขึ้นใหม่เปลี่ยนธงชาติจากพื้นแดงมีช้างเผือกอยู่ตรงกลาง มาเป็นธงสามสี พระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์ ได้แก่สีแดง ขาว และน้ำเงิน มีความหมายแทนสถาบันสูงสุดสามสถาบันของไทยคือ ชาติไทย พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ ที่ใช้มาถึงปัจจุบัน

๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมัน และออสเตรเลีย - ฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และประกาศรับทหารอาสาไปช่วยพันธมิตรรบในยุโรป หลังจากนั้นได้ส่งส่วนล่วงหน้าของทหารไทยไปร่วมรบ เมื่อ ๑๑ มกราคม ๒๔๖๐

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์