ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |


๒ เมษายน ๒๓๙๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ขึ้นครองราชย์ แล้วสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงมีฐานะเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน

๔ เมษายน ๒๓๙๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงลาผนวช

๑๔ พฤษภาคม ๒๓๙๔
            วันพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ

๑๕ พฤษภาคม ๒๓๙๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์ และแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

๒๕ พฤษภาคม ๒๓๙๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงตั้งพระราชพิธีบวรราชาภิเษก สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน

๒๘ พฤษภาคม ๒๓๙๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อย หรือกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน

๓ มิถุนายน ๒๓๙๔
            แก้พระนามพระพุทธรูป ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามคือ "พระพุทธเลิศหล้าสุราลัย" เป็น "พระพุทธเลิศหล้านภาลัย"

๑๔ สิงหาคม ๒๓๙๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านายศึกษาภาษาอังกฤษ เป็นครั้งแรก

๑๑ ตุลาคม ๒๓๙๔
            อผยยยใสร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) นายทหารนอกราชการของกองทัพอังกฤษประจำอินเดีย เดินทางมาจากเมืองเมาะลำเลิง เข้ารับราชการเป็นครูฝึกทหารวังหลวง และฝึกทหารในกรมอาสาลาวและเขมร

๒๕ ตุลาคม ๒๓๙๔
            วันลงมือขุดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคูเมืองรอบนอกในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ วัตถุประสงค์เพื่อการคมนาคมและยุทธศาสตร์ ขุดอยู่ ๑๐ เดือน เสร็จเมื่อ ๑๔ ตุลาคม ๒๓๙๕ ฉลองสมโภชคลองเมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๓๙๗

๑๐ มีนาคม ๒๓๙๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินพระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวร ฯ ที่สวรรคตแล้ว (รัชกาลที่ ๑ – ๓)

๒๗ มีนาคม ๒๓๙๔
            วันเกิด จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์หรือธรรมศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ท่านเป็นแม่ทัพผู้ซึ่ง รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ให้ไปปราบฮ่อใน พ.ศ.๒๔๓๐ และปราบเงี้ยวใน พ.ศ.๒๔๔๕ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๗๔

พ.ศ.๒๓๙๕
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกองทหารรักษาพระองค์ ตามนิยมต่างประเทศและโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกองทหารปืนใหญ่อาสาญวน ทดแทนกองอาสาญวนที่โอนไปสังกัดวังหน้า และโปรดเกล้าให้ตั้งกองทหารหน้าสังกัดกรมพระกลาโหม

กรกฎาคม ๒๓๙๕
            เรือรบสหรัฐ ฯ เดินทางถึงกรุงเทพ ฯ เอ็ดมัน รอเบิตส์ นำสาสน์ของประธานาธิบดี แอนดรูว์ จอห์นสัน ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ

๑๘ พฤศจิกายน ๒๓๙๕
            วันออกเดินทางจากกรุงเทพ ฯ ของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเชียงตุง

พ.ศ.๒๓๙๖
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้นายร้อยโทโทมัส ยอร์ช น๊อก ครูฝึกทหารชาวอังกฤษ นำกองทหารหน้าไปช่วยรบในคราวศึกเชียงตุง

๒๐ กันยายน ๒๓๙๖
            เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในรัชกาลที่ ๔ และองค์แรกในสมเด็จพระเทพสิรินทราบรมราชินี พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ ขณะพระชนม์ ๑๕ พรรษา โดยมีสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนทรงบรรลุราชนิติภาวะ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนคนไทยเป็นเอนกประการ ทำให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองมาก เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ ทรงประกาศเลิกทาส พระองค์ได้เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระชนมายุ ๕๘ พรรษา เสวยราชย์นาน ๔๒ ปี

พ.ศ.๒๓๙๗
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมขึ้นไว้ป้องกันพระนคร จากการรุกรานจากข้าศึก ๘ ป้อม มีระยะทางประมาณ ๑๒ เส้น

พ.ศ.๒๓๙๗
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกองทหารล้อมวัง

๕ ธันวาคม ๒๓๙๗
            ฉลองคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งขุดเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)

พ.ศ.๒๓๙๘
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายกองทหารอย่างยุโรป ทั้งสามกองคือ กองทหารรักษาพระองค์ กองทหารปืนใหญ่อาสาญวนและกองทหารหน้า มาตั้ง ณ ท้องสนามไชย (ถนนสนามไชยปัจจุบัน) ต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโรงทหารบริเวณท้องสนามไชยขึ้น

พ.ศ. ๒๓๙๘
            สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระบรมราชินีแห่งอังกฤษ ได้ส่งราชทูตชื่อ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง มาทำสัญญาทางพระราชไมตรีและพาณิชย์ระหว่างไทยกับอังกฤษ เป็นประเทศแรก เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาเบาริ่ง

พ.ศ.๒๓๙๘
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศชื่อประเทศจากชื่อเดิมกรุงศรีอยุธยาเป็น สยาม

พ.ศ.๒๓๙๘
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทหารหน้า ซึ่งทรงปรับปรุงการตั้งกองทหารไว้ตามหน่วยต่าง ๆ ในกรุงเทพ ฯ ให้มารวมกันที่สนามชัยแห่งเดียวคือ กองทหารฝึกแบบยุโรป กองทหารมหาดไทย กองทหารกลาโหม และกองทหารเกณฑ์หัด

๑๘ เมษายน ๒๓๙๘
            ไทยทำสัญญากับอังกฤษ เรื่องอำนาจกงสุลอังกฤษในไทย

พ.ศ.๒๓๙๙
            มีการแต่งตั้งสถานกงสุลขึ้นในไทยเป็นครั้งแรก กงสุลอเมริกันคนแรก คือ หมอสตีเฟน แมคดูน

๑๒ เมษายน ๒๓๙๙
            ทูตสหรัฐ ฯ คือ เทาเซนด์ แฮร์ริส เข้ามาทำสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๔

๑๒ เมษายน ๒๓๙๙
            ตั้งกระทรวงการต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยแยกจากกระทรวงพระคลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

๒๑ เมษายน ๒๓๙๙
            นาย ทาวเซนต์ แฮรีส กงสุลอเมริกันประจำญี่ปุ่น เข้ามาเจริญทางไมตรีกับไทยที่กรุงเทพ ฯ เดินทางมาถึง

๒๙ พฤษภาคม ๒๓๙๙
            ไทยทำสัญญาทางไมตรีกับ สหรัฐ เช่นเดียวกับที่ทำกับอังกฤษ และจัดตั้งกงสุลขึ้นที่ กรุงเทพ ฯ ในวันเดียวกันนี้ โดยมี หมอ แมททูน เป็นกงสุลคนแรก

๓๐ กรกฎาคม ๒๓๙๙
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่ ๕ ท่าน โดยมีกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเป็นหัวหน้าไปทำสัญญากับมองติญี ราชทูตฝรั่งเศส รวม ๓๒ ข้อ ณ พระราชวังเดิม

๑๘ กันยายน ๒๓๙๙
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนพระยาเมืองแก้วมหาสุริยวงศ์ ขึ้นเป็นพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ฯ เจ้านครเชียงใหม่

๑๙ กันยายน ๒๓๙๙
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์นจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัตรถึงพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ แห่งพระราชอาณาจักรกรุงฝรั่งเศส มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายังสำนักสมเด็จพระเจ้านโปเลยอนที่สาม และการจัดแจงสัญญาการไมตรีและการค้าขายคืนต่อกับการซึ่งได้เป็นแล้วแต่หนหลัง ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

๒๗ ตุลาคม ๒๓๙๙
            เป็นวันประสูติของ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ ฯ กรมหลวงพิชิตปรีชากร โอรสในรัชกาลที่ ๔ ต้นราชสกุลคัคณางค์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาเป็นองค์แรกและทรงมีส่วนในการเลิกทาส ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่คิดค้นยาไทยผสมกับยาฝรั่ง

พ.ศ.๒๔๐๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงส่งคณะทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระบรมราชินี โดยมีพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นราชทูต

๑๐ มิถุนายน ๒๔๐๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีอเมริกา มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง แฟรงกลินเปียศปริศเดน ผู้บังการแผ่นดินยุไนติศเตศ อเมริกา และเรื่องการขอแก้สัญญาเก่าในทางไมตรี และการค้าขายในแผ่นดินสยาม ที่ได้เคยทำกันมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๐ มิถุนายน ๒๔๐๐
            มีการฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในไทยที่โรงละคร หม่อมเจ้าอลังการ์

๑๔ กันยายน ๒๔๐๐
            วันเริ่มขุดคลองมหาสวัสดิ์ ตั้งแต่วัดชัยพฤกษ์มาลา ไปออกแม่น้ำท่าจีน

๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชหัตเลขา ถึงราชทูตไทย กรุงลอนดอน ให้แสวงหาเครื่องทำเงินตรา (เหรียญกษาปณ์)

๒๒ มกราคม ๒๔๐๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศแต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชฑูตไปลอนดอน เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี เป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ เป็นตรีฑูต ประกาศนี้ได้มอบสำหรับ พวกฑูตานุทูต ณ ท้องสนาม ในพระบรมมหาราชวัง ได้ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินีแห่งสหราชอาณาจักร อันได้แก่บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์และประเทศในอาณานิคม มีใจความว่า พระเจ้ากรุงบริตาเนียได้ส่งทูตานุทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาทาง พระราชไมตรีกับกรุงสยามสองครั้งแล้ว ฝ่ายกรุงสยามควรจะให้ทูตานุทูตสยามออกไปคำนับให้ถึง พระเจ้ากรุงบริตาเนีย

๒๔ มกราคม ๒๔๐๐
            เริ่มสร้างกำแพงเมืองเชียงราย

๑๕ มีนาคม ๒๔๐๐
            กำเนิดหนังสือราชกิจจานุเบกษา โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ให้พิมพ์ออกแจกจ่ายประชาชน พระราชทานนามว่าหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งแปลว่า หนังสือเป็นที่เพ่งดูราชกิจ

๒๒ พฤษภาคม ๒๔๐๑
            คณะราชทูตกลับจากอังกฤษ มีหม่อมราโชทัย เป็นล่ามเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

๑๕ มิถุนายน ๒๔๐๑
            หมอบรัดเลย์ ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย เป็นการซื้อลิขสิทธิ์ครั้งแรกในเมืองไทย

๒๒ ตุลาคม ๒๔๐๑
            โรงสีข้าวแห่งแรกของไทยเปิดทำการ ต่อมาเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๐๙ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธารา ได้ซื้อโรงสีจากบริษัทสก๊อตแอนด์กำปะนี นับเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งโรงสีไฟในไทย

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์