ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

พ.ศ.๒๓๑๐
            ศึกพม่าที่บางกุ้ง

มิถุนายน ๒๓๑๐
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกพลขึ้นบกที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ เข้าตีค่ายพม่าได้ และเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี

๔ มิถุนายน ๒๓๑๐
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ นำกองทัพเข้าตีเมืองจันทบุรี

๑๔ มิถุนายน ๒๓๑๐
            พระเจ้ากรุงธนบุรี เข้ายึดเมืองจันทบุรี

๓ สิงหาคม ๒๓๑๐
            ทัพพม่ายกเข้าตีไทย ก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ ๒

๕ พฤศจิกายน ๒๓๑๐
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกทัพทางเรือ มีกำลังพลประมาณ ๕,๐๐๐ คน เรือรบ ๑๐๐ ลำ เข้าตีเมืองธนบุรีได้

๖ พฤศจิกายน ๒๓๑๐
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ตีค่ายพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น และค่ายอื่น ๆ แตกทุกค่าย สุกี้แม่ทัพใหญ่ตาย ถือเป็นวันกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ในเวลาเพียง ๗ เดือน

๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๑๐
            วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระนามเดิม ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โต ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ และกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งด้านการรบ และด้านศิลปะเป็นอันมาก ได้ทรงติดตามพระชนกนาถ ครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปทำสงครามด้วยทุกครั้ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นวรรณกรรมชั้นเลิศ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นบทละครในยอดเยี่ยม งานด้านการช่างประเภท แกะสลักด้วยฝีพระหัตถ์ อันเป็นผลงานของพระองค์ ซึ่งยังมีปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ได้แก่ ภาพแกะสลักบานประตูโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม

๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ณ กรุงธนบุรี ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือพระบรมราชา ที่ ๔ ทางราชการได้กำหนดให้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พ.ศ.๒๓๑๒
            ศึกเขมรครั้งที่ ๑

๑๗ กันยายน ๒๓๑๒
            โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาอินทวงศา มาจัดการปักเขตที่ดินให้แก่พวกคริสตังที่บางกอก คือ ตำบลกุฎีจีน

พ.ศ. ๒๓๑๓
            ชาวฮอลันดา จากเมืองปัตตาเวีย และแขกเมืองตรังกานู เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ นำปืนคาบศิลามาถวาย จำนวน ๒,๒๐๐ กระบอก

๘ สิงหาคม ๒๓๑๓
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกทัพไปตีเมืองพิษณุโลกครั้งที่ ๒ (ครั้งแรก พ.ศ.๒๓๑๑) หลวงโกษา (ยัง) ผู้รักษาเมืองหนีไปเมืองสวางคบุรี

๔ ตุลาคม ๒๓๑๓
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี

พ.ศ.๒๓๑๔
            ศึกเมืองเชียงใหม่

พ.ศ.๒๓๑๔
            ศึกเขมรครั้งที่ ๒

พ.ศ.๒๓๑๕ - ๒๓๑๖
            ศึกพม่าตีเมืองพิชัย

๕ มกราคม ๒๓๑๖
            พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย ยกทัพต่อสู้โดยถือดาบ ๒ เล่ม เข้าทะลวงฟันพม่าอย่างไม่ลดละ จนดาบหักทั้ง ๒ เล่ม และทัพพม่าแตกกระเจิงไป เกียรติคุณพระยาพิชัยจึงเลื่องลือ และได้รับนามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"

พ.ศ.๒๓๑๔
            ศึกเมืองเชียงใหม่

๑๕ มกราคม ๒๓๑๗
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงตีเมืองเชียงใหม่จากพม่า

พ.ศ.๒๓๑๘
            ศึกบางแก้ว

๑๓ มีนาคม ๒๓๑๘
            เป็นวันที่อะแซหวุ่นกี้ ขอดูตัว เจ้าพระยาจักรีที่พิษณุโลก ขณะนั้นอะแซหวุ่นกี้อายุ ๗๒ ปี เจ้าพระยาจักรีอายุ ๓๘ ปี และพม่าล้อมพิษณุโลก ๔ เดือน จึงจะเข้าตีพิษณุโลกได้

๑๖ มีนาคม ๒๓๑๘
            เจ้าพระยาจักรีรบพุ่งกับอะแซหวุ่นกี้ พม่าล้อมพิษณุโลก ๔ เดือน จึงจะเข้าเมืองพิษณุโลกได้

พ.ศ.๒๓๑๙
            ศึกเมืองจำปาศักดิ์

พ.ศ.๒๓๑๙
            ศึกพม่าตีเมืองเชียงใหม่

พ.ศ.๒๓๑๙
            ฟรานซิส ไลท์ ชาวอังกฤษ ถวายเครื่องราชบรรณาการและปืนนกสับ จำนวน ๑,๔๐๐ กระบอก แด่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ

พ.ศ.๒๓๒๑
            ศึกตีเวียงจันทร์

พ.ศ.๒๓๒๒
            พวกโปตุเกสและพวกแขกมัวร์จากเมืองสุวัต ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ได้เดินทางมาติดต่อค้าขายกับไทย และไทยได้ส่งสำเภาหลวงติดต่อค้าขายกับอาณานิคมของโปรตุเกสด้วย เช่น อินเดีย

๑๓ กันยายน ๒๓๒๒
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อครั้งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) แม่ทัพไทยสมัยกรุงธนบุรี ได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ได้ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกต จากเวียงจันทน์ มาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี

พ.ศ.๒๓๒๓
            ศึกเมืองเขมร ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๓๒๓

พ.ศ.๒๓๒๔
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงส่งทูตไปประเทศจีน

พ.ศ.๒๓๒๔
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปปราบปรามเขมร แต่ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากกรุงธนบุรีเกิดจลาจล

๓ เมษายน ๒๓๒๕
            วันที่สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากเขมร

๖ เมษายน ๒๓๒๕
            สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบกบฎที่กรุงธนบุรีสำเร็จ ราษฎรและบรรดามหาอำมาตย์พร้อมใจกันเชิญให้ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา

๖ เมษายน ๒๓๒๕
            พระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคต

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์