ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๙ ตุลาคม ๒๑๙๙
            สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปราบดาภิเษก เสวยราชสมบัติ

๒๒ สิงหาคม ๒๒๐๕
            สังฆราชแห่งเบริตกับบาทหลวงอีก ๒ คน ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา นับเป็นชาวฝรั่งเศสพวกแรกที่เดินทางมายังประเทศไทย

๒๔ ธันวาคม ๒๒๒๓
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดคณะราชทูตไทยคณะแรก นำพระราชสาส์นไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส และสันตปาปา ณ กรุงโรม คือ ออกญาพิพัฒน์ราชไมตรี กับผู้ช่วยอีก ๒ คน คือ หลวงศรีวิสารสุนทร กับ ขุนนางวิชัย และคณะอีกกว่า ๒๐ คน โดยมีบาดหลวงเกยเมอเป็นล่าม และเป็นผู้นำทางการเดินทางครั้งนี้ ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา และได้สูญหายไประหว่างทาง ไปไม่ถึงประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากเรือถูกพายุ อัปปางบริเวณเกาะมาดามัสกัส

พ.ศ.๒๒๒๖
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดคณะทูตเดินทางไปฝรั่งเศส แต่มิได้จัดเป็นทางการ เพราะมุ่งหมายให้ไปสืบสาวดูทูตคณะแรกเท่านั้น

๒๖ กันยายน ๒๒๒๗
            ราชทูตไทยชุดที่ ๒ ได้เข้าเฝ้า พระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ นับเป็นทูตคณะแรกที่ไปขอเจริญสัมพันธไมตรี กับราชสำนักอังกฤษ

๒๕ มกราคม ๒๒๒๗
            คณะทูตไทยคณะที่ ๒ ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังประเทศฝรั่งเศส (คณะแรกสูญหายในระหว่างเดินทาง)

พ.ศ.๒๒๒๘
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต พระวิสูตรสุนทร เป็นอุปทูต หลวงกัลยาณไมตรี เป็นเลขานุการเอก ขุนศรีวิศาลวาจา เป็นนายเวร เดินทางไปฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔

๒๓ กันยายน ๒๒๒๘
            คณะราชทูตฝรั่งเศส ประกอบด้วย เชวาเลีย เดอโชมองต์ ราชทูตและบาทหลวงฟรังซัวส์ ดิโมเลออง เดอชัวสี อุปทูต เดินทางมาถึงไทยโดยทางเรือ ๒ ลำ เชิญพระราชสาส์นกับเครื่องราชบรรณาการ จากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มาเจริญทางพระราชไมตรียังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พยายามชักชวนให้พระองค์เปลี่ยนศาสนา แต่ไม่สำเร็จ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ตกลงกันได้ด้วยดี

๑๘ ตุลาคม ๒๒๒๘
            เชอวาเลียร์ เดอโชมองต์ ถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี

๒๒ ธันวาคม ๒๒๒๘
            ราชทูตไทย ชุดที่ ๓ มีออกพระวิสูตรสุนทร คือโกษาปานเป็นราชทูต ออกเดินทางไปฝรั่งเศสได้เฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อ ๑ กันยายน ๒๒๒๙ เดินทางกลับถึงปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐

๒๘ มิถุนายน ๒๒๒๙
            ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็นราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางถึงเมืองเบรสต์ นำเด็กไทยไปด้วย ๑๒ คน

๑๔ สิงหาคม ๒๒๒๙
            วันที่คณะทูตไทยถวายพระราชสาส์น แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวซายส์

๑ กันยายน ๒๒๒๙
            คณะทูตไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ มีออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะ เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ แด่พระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ นับเป็นคณะทูตไทยชุดที่ ๓ ที่เดินทางไปฝรั่งเศส

๑ มีนาคม ๒๒๓๐
            ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็น ราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางกลับถึงประเทศไทย ฝรั่งเศสได้ส่งกองทหาร ๖๓๖ คน ในบังคับนายพลเดฟาร์ช มาประจำที่ป้อมเมืองมะริด ตามคำร้องขอของฟอลคอน และมีหัวหน้าทูตเข้ามา ๒ คน คือ เดอลาลูแบ และ คลอดเซเบแต้ดูบูลเย

๑๑ สิงหาคม ๒๒๓๐
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงประกาศสงครามกับบริษัทอินเดียของอังกฤษ

๒๗ กันยายน ๒๒๓๐
            คณะราชทูตไทยมีออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยคณะราชทูตฝรั่งเศส ชุดที่สองมี เดอลาลูแบร์ เป็นหัวหน้า มาถึงประเทศไทย

๑๑ กรกฎาคม ๒๒๓๑
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต ที่ลพบุรี พระราชสมภพ พ.ศ. ๒๑๗๕ เปิดอนุสาวรีย์ที่ลพบุรี ๒๕๐๙ พระองค์เป็นโอรสพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์อยู่ ๓๑ ปี ๙ เดือน ๒ วัน

๒๓ ธันวาคม ๒๒๓๑
            ราชทูตไทยชุดที่ ๔ ได้เข้าเฝ้า สันตะปาปา อินโดเนเซนต์ที่ ๑๑ ณ กรุงโรม

พ.ศ.๒๒๓๔
            เขมรได้ส่งทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามาถวาย เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร

พ.ศ.๒๒๓๘
            พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ราชทูตนำพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอกองทัพไทย ไปช่วยต้านทานการรุกรานของกองทัพจากหลวงพระบาง พระองค์โปรดให้จัดทัพไปช่วย แต่ไม่ได้มีการรบ เพียงแต่ช่วยไกล่เกลี่ยจนทั้งสองเมืองเป็นมิตรกัน

พ.ศ.๒๒๔๕
            เกิดความวุ่นวายภายในเขมร เจ้าเมืองละแวก ขอมาอยู่ในพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระจึงให้ส่งกองทัพไปถึงเมืองอุดรมีชัย ราชธานีเขมร ทำให้เขมรมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยตามเดิม

๖ ตุลาคม ๒๒๔๖
            พระเพทราชา เสด็จสวรรคต

๑๗ เมษายน ๒๒๗๗
            วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (เปิดอนุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ๒๔๙๗ ) ทรงกู้เอกราชได้หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าไปเพียง ๗ เดือน และได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ได้ทรงดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การศึกษา การศาสนา และศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นอันมาก

๒๐ มีนาคม ๒๒๗๙
            วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระราชสมภพ ณ ที่ปัจจุบันคือ วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

๘ กันยายน ๒๒๘๖
            วันประสูติ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑ ครั้งสงคราม ๙ ทัพ ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นจอมทัพไปตั้งรับพม่า ที่ตำบลลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี จนพม่าแตกกลับไป ทรงดำรงอิสริยศนี้ นาน ๒๑ ปี ระหว่าง ๒๓๒๕ - ๒๓๔๖ (สวรรคต ๓ พฤศจิกายน ๒๓๔๖) เปิดดอนุสาวรีย์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๒

พ.ศ.๒๒๙๖
            พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ทราบว่า พระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก จึงส่งทูตมาขอพะมหาเถระและคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมไประยะหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จึงโปรดให้ส่งคณะทูตไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบทให้กับชาวลังกาและได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกาและเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓

๑ มิถุนายน ๒๓๐๑
            เจ้าฟ้าอุทุมพร (กรมขุนพรพินิต) กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๒ เสวยราชย์ได้ ๒ เดือนเศษ ได้ถวายราชสมบัติให้กับเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักขมนตรี) พระเชษฐา ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา ๙ ปี ทั้งสองพระองค์เป็นโอรสพระเจ้าบรมโกศ กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๑ ก่อนเสด็จสวรรคตได้ทรงตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็น รัชทายาท ไม่ตั้งเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้พี่ ซึ่งทรงเห็นว่าโฉดเขลา จะรักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้

พ.ศ.๒๓๐๓
            พม่าส่งกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา

พ.ศ.๒๓๐๗
            พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ยกกองทัพเข้ามาทางเมืองทะวาย และตีหัวเมืองรายทางมาตามลำดับ แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา

๒๐ มิถุนายน ๒๓๐๙
            วันค่ายบางระจันแตก

๓ มกราคม ๒๓๐๙
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ นำกำลัง ๕๐๐ คน ตีฝ่ากองทหารพม่า ออกจากกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศตะวันออก

๔ มกราคม ๒๓๐๙
            วันวีรกรรมบ้านพรานนกของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ขณะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ทรงสู้รบกับทหารม้าของพม่าที่บ้านพรานนก (อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม
 


๗ เมษายน ๒๓๑๐
            กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ หลังจากพม่าล้อมกรุงอยู่ ๑ ปี ๒ เดือน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์