ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |


๑๑ กันยายน ๒๓๕๒
            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์ ซึ่งได้ราชสมบัติต่อจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ

๑๔ กันยายน ๒๓๕๒
            วันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ องค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นพระมหาสมณเจ้า องค์ที่ ๒ ของไทย ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรในปี ๒๔๐๙ และเมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุในปี ๒๔๑๖

๒ ธันวาคม ๒๓๕๓
            ตราพระราชกำหนดสักเลก ในรัชกาลที่ ๒ บังคับให้ชายฉกรรจ์ ทำงานหลวงปีละ ๓ เดือน คือ เข้า ๑ เดือน เป็นการเกณฑ์แรงงานและเพื่อความพร้อมรบในยามปกติ

๒๗ เมษายน ๒๓๕๔
            วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ณ ท้องพระเมรุ

๓ สิงหาคม ๒๓๕๔
            ตราพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ซึ่งในสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษเฆี่ยนหลัง ๙๐ ที ให้ตระเวนบก ๓ วัน ตระเวนเรือ ๓ วัน ริบราชบาตรทรัพย์สินบุตรภรรยาเป็นของหลวง แล้วส่งตัวไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมินำเอาความมาแจ้ง ให้เฆี่ยนหลัง ๖๐ ที

๒๔ เมษายน ๒๓๕๕
            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดขบวนไปรับพระพุทธรูปแก้วผลึกองค์สำคัญคือ พระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย ซึ่งอัญเชิญมาจากนครจำปาศักดิ์ มาพักรออยู่ที่สระบุรี แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในพระบรมมหาราชวัง

๒ มิถุนายน ๒๓๕๘
            วางหลักเมือง เมืองนครเขื่อนขันธ์ พระประแดง ขณะนั้นมีมอญ ๔๐,๐๐๐ คน อยู่ที่เมืองปทุมธานี และให้มอญ ๓๐๐ คน มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์

๒๓ สิงหาคม ๒๓๕๘
            มอญ เมืองเมาะตะมะ หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

พ.ศ.๒๓๖๐
            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้รูปช้างสีขาวไม่ทรงเครื่องอยู่ในวงจักรบนพื้นธงสีแดง เป็นธงราชนาวี ใช้เฉพาะเรือหลวงเท่านั้น ส่วนเรือเอกชนคงใช้ธงพื้นแดงล้วน

๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๒
            วันยกเสาหลักเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เวลา ๑๐.๓๕ น. และสร้างป้อมขึ้นใหม่ ๖ ป้อม เพื่อป้องกันทางทะเล

พ.ศ.๒๓๖๓
            โปรตุเกส เป็นฝรั่งชาติแรกที่ได้ตั้งกงสุลมาประจำที่กรุงเทพ ฯ คือ คาร์โลส เดอ ซิลเวรา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภัยพานิช และได้รับพระราชทานที่อยู่คือบ้านที่องเชียงสือ เคยอยู่มาก่อน

๑๖ มิถุนายน ๒๓๖๓
            เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรียกว่า ห่าปีระกา มีผู้เสียชีวิต ๓๐,๐๐๐ คน ให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศ ที่พระที่นั่งดุสิตา ทำคล้ายพิธีตรุษ คือ ยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดรุ่ง ๑ คืน แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุออกเวียนรอบพระนคร มีพระราชาคณะในขบวนแห่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั้งทางบกและทางเรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงรักษาอุโบสถศีลพร้อมพระวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั่วไปได้รับพระบรมราชานุญาติให้รักษาศีล ทำบุญให้ทานตามใจสมัคร ไม่ต้องเข้าเฝ้า และทำราชการที่ไม่จำเป็น

๑๕ ธันวาคม ๒๓๖๓
            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็น ๒ กองทัพ ไปขัดตาทัพพม่าที่เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี เนื่องจากได้ข่าวว่าพระเจ้าอังวะจักกายแมง เตรียมยกทัพมาตีไทย แต่ไม่ได้ยกเข้ามา

พ.ศ.๒๓๖๔
            เรือกำปั่นของชาวอเมริกันลำแรกได้แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรือลำนี้ได้บรรทุกสินค้าและปืนคาบศิลาที่ทางราชการไทยต้องการ กับตันเรือได้ถวายปืนคาบศิลา ๕๐๐ กระบอก จึงได้รับพระราชทานสิ่งของตอบแทนจนคุ้มราคาปืน ได้รับการยกเว้นภาษีส่วนหนึ่ง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ขุนภักดีราช

๕ กรกฎาคม ๒๓๖๕
            วันเกิดพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงแก่อนิจกรรม ๑๖ ตุลาคม ๒๔๓๔

๗ กรกฎาคม ๒๓๖๗
            เจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ที่วัดมหาธาตุ ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สวรรคต ๗ วัน แล้วไปประทับอยู่ที่วัดสมอราย (ราชาธิวาส)

๒๑ กรกฎาคม ๒๓๖๗
        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงประชวรและสวรรคต พระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี (พระราชสมภพ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๑๐)

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์