ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๒๑ กรกฎาคม๒๓๖๗
           พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ขึ้นครองราชย์พระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา

๒๘กรกฎาคม ๒๓๖๗
           วันบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ

๙กันยายน ๒๓๖๗
           อังกฤษได้เมืองทะวาย โดยการทำสงครามกับพม่า เมืองทะวายเคยเป็นพระราชอาณาเขตตั้งแต่กรุงสุโขทัยตกไปเป็นของพม่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๒ สมัยอยุธยากลับมาอยู่ในอิทธิพลไทย เมื่อ ๑๐มีนาคม ๒๓๓๔ ต่อมาพม่าตีคืนไป เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๓๓๖ กองทัพไทยต้องถอยจากเมืองทะวาย

๑๓กันยายน ๒๓๖๗
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงสถาปนา กรมหมื่นศักดิพลเสพ พระปิจตุฉาธิราชขึ้นดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

๒๐มิถุนายน ๒๓๖๙
           ไทยทำสัญญาทางการค้ากับอังกฤษ นับเป็นสนธิสัญญาสมบูรณ์แบบฉบับแรกในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมี เซอร์เฮนรี่ เบอร์นี เป็นตัวแทนของรัฐบาลอังกฤษ มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าสัญญาเบอร์นี่

๓๐ ตุลาคม๒๓๖๙
           คุณหญิงโม ภริยาปลัด เมืองนครราชสีมา ใช้อุบายทำร้ายฆ่าฟันทหารของพวก เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ จนเจ้าอนุวงศ์ต้องล่าถอยกลับไปความดีความชอบในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ คุณหญิงโมเป็น ท้าวสุรนารี

๑๔กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙
           เจ้าอนุวงศ์ เป็นกบฎยกกองทัพลาวจากเวียงจันทร์เข้ามายึดเมืองนครราชสีมาไว้ได้และได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นชะเลยจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงส่งกองทัพออกไปปราบและจับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ส่งตัวเข้ามากรุงเทพ ฯ เมื่อ ๒๑ ธันวาคม ๒๓๗๐

๒๓พฤศจิกายน ๒๓๗๐
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงสถาปนาคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี

พ.ศ.๒๓๗๑
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาคือป้อมปีกกาและป้อมตรีเพชรที่ตำบลบางจะเกร็ง เหนือเมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมวิเชียรโชฏกที่ปากแม่น้ำท่าจีน เมืองสมุทรสาคร

พ.ศ.๒๓๗๑
           ฝาแฝดไทยคือ อินกับจันได้เดินทางไปอเมริกา ด้วยเรือสินค้าที่มีกัปตันชื่อเอบิล คอฟฟิน นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยได้เดินทางไปอเมริกา และเป็นครั้งแรกที่มีคำว่าแฝดสยามซึ่งต่อมาได้รู้จักกันทั่วโลก

๒๓สิงหาคม ๒๓๗๑
           คณะมิชชันนารีพวกแรกเป็นชาวอเมริกัน นำคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์เข้ามาเผยแพร่ในไทย

๒๔ เมษายน๒๓๗๒
           อัญเชิญพระพุทธชินสีห์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศ

พ.ศ.๒๓๗๒
           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ครั้งยังเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ และทรงผนวชอยู่ได้ทรงจัดตั้งนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนาคือธรรมยุตินิกาย

พ.ศ.๒๓๗๔
           ไทยทำสนธิสัญญากับอเมริกาเป็นฉบับแรก

พ.ศ.๒๓๗๔
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมพิฆาตข้าศึกที่ปากน้ำแม่กลอง เมืองสมุทรสงคราม

๓๐มิถุนายน ๒๓๗๔
           มิชชั่นนารีอเมริกันคนแรก ที่เดินทางมาถึงไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ คือ ศาสตราจารย์ เดวิด เอบีล พร้อมกับศาสตราจารย์ ทอมลิน

พ.ศ.๒๓๗๕
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเมืองกาญจนบุรีที่ตำบลปากแพรก

พ.ศ.๒๓๗๕
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา เป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีญวนพร้อมไพร่พล ๔๐,๐๐๐ คน ซึ่งขณะนั้นญวนเข้ารุกรานเขมร อันเป็นเมืองขึ้นของไทยโดยเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ฯ ได้ยกทัพไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพระตะบอง สงครามครั้งนี้ยืดเยื้ออยู่จนถึงปีพ.ศ.๒๓๙๑

พ.ศ.๒๓๗๕
           ไทยกับสหรัฐ ตกลงทำสัญญาค้าขายกัน ในสมัยประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจคสัน โดยมีมร. เอ็ดมัน โรเบอร์ดส์ เป็นทูตเข้ามาเซ็นสัญญา เป็นสนธิสัญญา ๑๐ ข้อ มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับสัญญาที่ไทยทำกับอังกฤษเช่นให้มีการค้าเสรีระหว่างพ่อค้าไทยและอเมริกัน นอกจากข้าวปืนและฝิ่น

๑๗มกราคม ๒๓๗๖
           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ (ครั้งยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์) ทรงค้นพบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่โคกประสาทร้าง จังหวัดสุโขทัย ทางราชการจึงได้ประกาศให้วันนี้ของทุกปีเป็นวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ.ศ.๒๓๗๗
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) สร้างป้อมปราการที่ปากน้ำเมืองจันทบุรีจำนวน ๒ ป้อมคือ ป้อมไพรีพินาศ และป้อมพิฆาตปัจจามิตรเพื่อสู้ศึกญวนทางด้านทิศตะวันออก และให้สร้างป้อมคงกะพันและป้อมนารายณ์กางกรที่บางปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ และป้อมรักษาปากน้ำบางปะกง ที่เมืองฉะเชิงเทราแต่ไม่ปรากฏนาม ต่อมาโปรดเกล้าให้ขยายป้อมผีเสื้อสมุทรออกไปทั้งสองด้านและโปรดเกล้า ฯ ให้ถมศิลาปิดอ่าวที่แหลมฟ้าผ่าดง ให้คงไว้แต่ทางเดินเรือเป็นช่วงๆ เรียกว่าโขลนทวาร

๑ตุลาคม ๒๓๗๗
           มหามงกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของไทย เริ่มเปิดสอนครั้งแรกโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ ๑๐ ของกรุงรัตนโกสินทร์ทรงริเริ่มจัดตั้งขึ้นที่วัดบวรนิเวศ ฯ ปัจจุบันให้การศึกษาถึงระดับปริญญาเอก

๑๘กรกฎาคม ๒๓๗๘
           หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ เป็นหมอฝรั่งคนแรกที่นำหลักวิชาแพทย์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ในไทย แต่คนไทยรู้จักในฐานะเป็นผู้สร้างงานพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย

๑๐ตุลาคม ๒๓๗๘
           หลวงนายสิทธิ (ช่วง บุนนาค) ต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งสำเร็จเป็นครั้งแรก๒ ลำ น้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ

พ.ศ.๒๓๗๙
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ พระยาวิเชียรคีรี เจ้าเมืองสงขลาสร้างป้อมปราการขึ้นที่ปากทะเลสาบสงขลา ตำบลบ่อยาว เมืองสงขลา เพื่อรับศึกด้านใต้และการรุกรานจากอังกฤษ

๓มิถุนายน ๒๓๗๙
           มีการตีพิมพ์หนังสือไทยฉบับแรกขึ้นในไทย โดยบาทหลวงโรบินสัน ด้วยแท่นอัดก๊อปปี้และหมอบรัดเลย์เป็นผู้จัดพิมพ์ขึ้น

๑๓มกราคม ๒๓๗๙
           หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการผ่าตัดผู้ที่ถูกกระสุนปืนใหญ่ระเบิดเข้าใส่ในงานฉลองวัดประยูรวงศาวาส ของเจ้าพระยาพระคลัง นับเป็นการเริ่มการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย

พ.ศ.๒๓๘๐
           คณะมิชชันนารี ได้สร้างโบสถ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพ ฯ

๒๐เมษายน ๒๓๘๐
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แพทย์เริ่มปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรก

๑๘พฤษภาคม ๒๓๘๐
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เสด็จ ฯ ทรงก่อพระฤกษ์พระวิหารวัดกัลยาณมิตร

๒๖กรกฎาคม ๒๓๘๑
           ตั้งกรมเสนาธิการทหาร เป็นหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม

๖ กันยายน๒๓๘๑
           วันประสูติ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ โอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานอุปราชาภิเศกเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในปี ๒๔๑๑ นับเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์ เสด็จทิวงคตในปี ๒๔๒๘ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงยกเลิกตำแหน่งสมเด็จโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ตามแบบประเทศตะวันตก

๒๗เมษายน ๒๓๘๒
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จ้างโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ มัชชันนารีชาวอเมริกัน พิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น และค้าฝิ่น จำนวน ๙๐,๐๐๐ ฉบับ นับเป็นหมายประกาศฉบับแรกที่ทางราชการให้จัดพิมพ์ขึ้น

๙มิถุนายน ๒๓๘๒
           ให้เมืองพังงาเป็นเมืองใหญ่ เอาเมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่ามาขึ้นกับเมืองพังงา

๒๙มกราคม ๒๓๘๒
           หมอบัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นครั้งแรกในเมืองไทย

พ.ศ.๒๓๘๓
           พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงแปลตำราปืนใหญ่จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อไว้ทำการสอนฝึกหัดทหารปืนใหญ่ในสังกัด

๒ธันวาคม ๒๓๘๓
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ลดหย่อนการรับราชการทหาร ให้เลกไพร่หลวงทั้งปวงเข้ารับราชการแต่เดือนหนึ่งออกไปทำมาหากินอยู่สามเดือน
๒๔ มกราคม๒๓๘๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)เป็นแม่ทัพเรือยกทัพไปตีเมืองบันทายมาศของญวน

๒ กันยายน๒๓๘๕
           วางศิลาฤกษ์เสริมสร้างพระปรางค์วัดอรุณ ฯ จากความสูง ๘ วา เป็นสูง ๑ เส้น๑๓ วา หรือ ๖๖ เมตร

๑๒มกราคม ๒๓๘๕
           มีการพิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยหมอ บรัดเลย์หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน

๑๑มกราคม ๒๓๘๖
           เรือกำปั่นไฟลำแรกชื่อ เอ็มเปรส เข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา

๔กรกฎาคม ๒๓๘๗
           วันแรกจำหน่าย หนังสือพิมพ์ ฉบับแรกของไทย ชื่อบางกอกรีคอร์เดอร์ของหมอบรัดเลย ์ ออกเป็นรายปักษ์ ออกจำหน่ายได้ ๑ ปี ก็เลิกกิจการ

๕สิงหาคม ๒๓๘๗
           มีประกาศให้ประชาชนปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษในกรุงเทพ ฯ เป็นครั้งแรก

๑กรกฎาคม ๒๓๘๘
           หมอคาสเวล มิชชั่นนารีอเมริกัน เริ่มถวายการสอนภาษาอังกฤษ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงเป็นพระภิกษุ

๘ตุลาคม ๒๓๘๘
           ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ คณะมิชชันนารีอเมริกัน สามารถหล่อตัวพิมพ์อักษรไทยได้เองเป็นครั้งแรก

๖กรกฎาคม ๒๓๙๐
           เรือรบฝรั่งเศส ๓ ลำ เดินทางจากสิงคโปร์มาถึงสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา นำราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาขอเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ

๒๔ กันยายน๒๓๙๐
           สร้างพระเจดีย์ใหญ่ ที่วัดสระเกศ เพื่อฉลองชัยชนะสงครามไทยกับญวน ขณะที่ยังสร้างไม่เสร็จได้พังลงมาในวันนี้ ต่อมาเป็นภูเขาทอง

พ.ศ.๒๓๙๒
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมเสือซ่อนเล็บ ที่ตำบลบางจะเกร็งสำหรับเป็นที่บัญชาการของแม่ทัพ

พ.ศ.๒๓๙๒
           เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ถึงแก่อนิจกรรม องค์หริรักษ์เจ้ากรุงกัมพูชา ให้ช่างหล่อปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทร์เดชาขึ้นด้วยปูนเพชร ประดิษฐานเป็นอนุสาวรีย์ขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ใกล้วัดโพธารามเมืองอุดรมีชัย นับเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่มีอนุสาวรีย์อยู่ในกัมพูชา

๑๗มิถุนายน ๒๓๙๒
           เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เรียกว่า“ห่าปีระกา” ระหว่าง๑๗ มิถุนายน ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๓๙๒ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๓๙๒ เป็นวันที่มีคนตายมากที่สุดถึง๗๐๐ ศพ เฉพาะที่เผาที่วัดสระเกศ วัดสังเวช วัดบพิตรพิมุข

๑๙ตุลาคม ๒๓๙๒
           หนังสือพิมพ์สิงคโปร์ ฟรี เพรส ลงบทความสรรเสริญพระปรีชาสามารถของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างเรือกลไฟขึ้นเป็นลำแรกในประเทศไทย

เมษายน๒๓๙๓
           อเมริกา ส่งทูตพิเศษเข้ามาเมืองไทย

๑ พฤษภาคม๒๓๙๓
           ไทยเสียดินแดนสิบสองปันนาพื้นที่ ๖๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร

๑๐สิงหาคม ๒๓๙๓
           เซอร์ เจมส์ บรุค ทูตอังกฤษ เดินทางมาไทย เพื่อขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา ว่าด้วยการค้าและภาษีที่ทูตคนก่อนทำไว้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่อังกฤษมากยิ่งขึ้น แต่ไทยปฏิเสธข้อเสนอ

๑๐สิงหาคม ๒๓๙๓
           เรือรบอังกฤษ ๒ ลำ เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ

๑๐สิงหาคม ๒๓๙๓
           Sir James Brook ทูตอังกฤษเดินทางมาไทย เสนอขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าและภาษีที่ทูตคนก่อนทำไว้ ให้เป็นประโยชน์แก่อังกฤษมากขึ้น แต่ไทยปฎิเสธข้อเสนอ

พ.ศ.๒๓๙๔
           กิจการทหารเรือเริ่มแบ่งออกชัดเจน เพราะเดิมอยู่ปะปนกับทหารบก

๒เมษายน ๒๓๙๔
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงประชวรและเสด็จสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๔ พรรษาครองราชย์ได้ ๒๖ ปี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์