ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดกรุงเทพ >วัดมหาธาตุราชรังสฤษดิ์/Wat Mahathat 

วัดมหาธาตุราชรังสฤษดิ์/ Wat Mahathat

 

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ 

              วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ อยู่ทางใต้ของวังหน้าเป็นวัดสร้างในสมัยอยุธยาเดิมเรียกกันว่า .วัดสลัก. หรือ .วัดฉลัก.ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงสร้างกรุงธนบุรีคร่อมตำบลบางกอกไว้ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แล้ว วัดฉลักมีฐานเป็นพระอารามหลวงเป็นที่พำนักจำพรรษาของพระราชาคณะตลอดสมัยธนบุรี  ครั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นบนฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี เพียงฝั่งเดียว ได้กำหนดที่จะสร้างพระราชวังหลวงและพระราชวังบวรแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  ก็ทรงรับจะสร้างวัดพระแก้วและวัดโพธาราม  (ปัจจุบันคือวัดพระเชตุพน) ให้งดงามสมกับที่เป็นวัดอยู่ภายในเขตพระราชวังวัดหนึ่ง  และอยู่ชิดพระราชวังวัดหนึ่ง  พร้อมกันนั้นสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  ก็ทรงรับจะบูรณะวัดสลักขึ้นให้งดงามสมเหตุผลอย่างเดียวกันกับสมเด็จพระบรมเชษฐาอย่างหนึ่ง  และอาจเพื่อทรงแก้บนที่ทรงให้ไว้ในคราวหนีพม่าไป

             เมืองราชบุรี  โดยมีเรื่องเล่ากันว่าขณะที่จวนจะเสียกรุงศรีอยุธยา  ใน พ.. ๒๓๑๐ นั้น  กรมพระราชวังบวรฯ  (พระนาม  เดิม .บุญมา.) ได้ชวนเพื่อนชายลงเรือเล็กหนีล่องลงมาตามลำน้ำ  เพื่อจะไปหาหลวงยกกระบัตร  (ทองด้วง)ที่ชายเมืองราชบุรี เมื่อหลบหลีกพม่าลงมาถึงหน้าวัดสลักก่อนจะเลี้ยวเข้าคลองบางกอกใหญ่  ต้นทางที่จะไปเมืองราชบุรีก็ต้องและเข้าจอดพักหน้าวัดดูลาดเลาก่อน  เพราะเกรงว่าพม่าบนป้อมธนบุรีจะเห็นขณะนั้นก็พอดีมีเรือลาดตระเวนของพม่าแล่น สวนขึ้นมาหลายลำจะหนีไปก็ไม่ทันจึงชวนกันพลิกเรือคว่ำครอบทั้งสี่คนไว้ริมท่าเมื่อหมู่เรือพม่าผ่านไปไกลแล้วจึงแอบเข้าปากคลองบางกอกใหญ่ต่อไป  ระหว่างรอที่จะให้เป็นเวลาค่ำนั้น  กรมพระราชวังบวรฯได้อธิษฐานพระพุทธรูปในพระอุโบสถว่าขอให้ช่วยให้รอดพ้นข้าศึกไปได้ปลอดโปร่งเป็นใหญ่ในภายหน้าเมื่อใด  จะมาปฏิสังขรณ์วัดสลักให้ใหญ่โต เข้าใจว่ากรมพระราชวังบวร ฯ ทรงเริ่มการปฏิสังขรณ์วัดสลักใน พ.. ๒๓๒๖  พร้อมกับการสร้างพระราชวังบวร  ในชั้นที่ ๒ อันเป็นขั้นสร้างถาวรก่ออิฐถือปูน  ขณะนั้นฐานของพระนครมั่นคงขึ้นแล้ว  และคงจะได้กำหนดเขตวังหน้าขึ้นก่อนและแผนผังวังหน้าจะต้องวางให้ประสานกับพระราชวังหลวง  ปรากฏว่าแนวกำแพงพระนครที่สร้างขึ้นใหม่ ผ่านกลางวัดสลักพอดีจึงต้องตัดพื้นที่หน้าวัด  ซึ่งติดริมน้ำออกไป  แต่ได้ขยายวัดออกไปเชื่อมระหว่างวังหลวงกับวังหน้าและขยายลงมาทางใต้ด้วย  ด้านเหนือจั้นจรดกำแพงหน้าวังเพียงแต่มีถนนคั่นและด้านตะวันตกจรดกำแพงพระนครขยาย แนวด้านนั้นอีกไม่ได้ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าวัดมาอยู่ทางด้านตะวันออกเหมือนอย่างวัดพระเชตุพน ฯ  การปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้น เนื่องจากได้กลับหลังวัดมาเป็นหน้าวัดชิดกับมุมตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างพระมณฑป พระวิหาร พระระเบียง ล้อมรอบเขตพุทธาวาส  พระปรางค์  พระเจดีย์ราย  หอไตร  หอระฆัง  ศาลาการเปรียญ  หมู่กุฏิเครื่องไม้ ศาลารายหน้าวัดจะสร้างเสร็จในปีใดไม่ปรากฎแต่เมื่อเสร็จแล้วสมเด็จพระราชวังบวรฯ  ได้พระราชทานนามว่า  .วัดนิพพานนาราม. และในเวลาต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"วัดพระศรีสรรเพชรญ์" ต่อมาในปี พ.. ๒๓๓๒  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  กับสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ  ได้อารธนาพระสงฆ์ชั้นราชาคณะ  และเชี่ยวชาญในพุทธศาสนาทำสังคายนาพระไตรปิฎก โดยใช้วัดพระศรีสรรเพชรญ์เป็น สถานที่ประชุมชำระเพราะอยู่ระหว่างพระราชวังหลวงกับพระราชวังบวร  สะดวกต่อการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดูแล ปรนนิบัติพระราชาคณะ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้กล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ๑ ว่า  ก่อนที่จะเริ่มชำระพระไตรปิฎก  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเปลี่ยนชื่อ  .วัดพระศรีสรรเพชญ์. เป็นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหารเรียกสั้น ๆ  ว่า  .วัดมหาธาตุ     

            ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ ๒ โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาเสด็จเสวยราชย์เป็น  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งมีพระชันษาครบ ๑๓ ปี ให้ทรงผนวชเป็นสามเณร  ประทับอยู่วัดมหาธาตุ ๗ เดือน  ต่อมาเมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว  ก็ได้เสด็จมาประทับศึกษาทางปริยัติธรรมในวัดมหาธาตุอีก ๕ ปี  ก่อนเสด็จไปประทับ ณ วัดอื่น ๆ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างพระวิหารน้อยที่เรียกว่า.วิหารโพธิลังกา.โดยสร้างบริเวณที่ตำหนัก  ซึ่งพระองค์เคยประทับอยู่เมื่อทรงผนวชข้างหน้ามีต้นมหาโพธิ์มีซุ้มประตูทั้งหน้าและหลังในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕  ใน  .. ๒๓๓๒  โปรดให้ปลูกพระเมรุสำหรับพระราชทานเพลิงศพเจ้านายขึ้นข้างหน้าวัด  โดยดัดแปลงศาลาเรียนหนังสือ ๔ หลัก  ใช้เป็นพลับพลาที่ประทับที่พักของเจ้าภาพ ที่รับแขกขั้นตามแนวกำแพงวัดด้านนั้นเป็นส่วนประกอบนอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตั้ง วิทยาลัยที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง ๒ แห่ง แห่งแรกเป็นที่เล่าเรียนของสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย  ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชทานนามว่า  “มหามกุฎราชวิทยาลัย” เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของพระสงฆ์ แห่งที่สองสร้างขึ้นในวัดมหาธาตุ แล้วพระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย” ใน  .. ๒๔๓๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๕  โปรดให้มีการปฎิสังขรณ์วัดมหาธาตุจากพระราชบิดาแล้วเสร็จในปีชวด พ.. ๒๔๔๓  นอกจากนั้นจึงโปรดให้เพิ่มสร้างนามพระอารามเฉลิมพระเกียรติยศ  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชิรุณหิศ ว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สิ่งสำคัญภายในวัด

. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

สร้างในปี พ... ๒๕๒๒ บรรดาศิษยานุศิษย์วัดมหาธาตุ และบรรดาประชาชน และพลเรือน ข้าราชกาลร่วมกันสร้างโดยมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เป็นประธาน เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และคุณความดีของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ที่ปกป้องชาติไทยให้คงอยู่สืบไปด้วยการกอบกู้เอกราชของชาติร่วมกับพระเจ้าตากสิน และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรวมทั้งยังได้ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาเป็นอย่างมาก เช่น สถาปนาวัดพระธาตุ วัดชนะสงคราม วัดบางลำภู วัดสมอแครง วัดส้มเกลี้ยง วัดสามแพรก(วัดสำเพ็ง)ภายในอนุสาวรีย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถนี้ บรรจุเนื้อดินซึ่งเก็บจากแผ่นดินที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จกรีฑาทัพเข้าเหยียบรวมทั้งสิ้น ๒๘ แห่ง บรรจุไว้ใต้ฐานพระบรมรูปพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทนี้ถือว่าเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง สมควรจะอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไป

. พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนหลังคาทรงไทยชั้นเดียวมี ๔ ตับ มุงกระเบื้องเคลือบสีหน้าบันเป็นลายพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค, เทพ และลายใบเทศล้อมรอบประดับกระจกสีปิดทอง เช่นเดียวกับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวย ซุ้มประตู หน้าต่าง เป็นปูนปั้นซ้อน ๑ ชั้น มีลายกนกเครือเถาอยู่ตรงกลางซุ้ม บานประตูหน้าต่างเป็นไม้ทาสีดำ ปัจจุบันไม่ปรากฏลวดลายใด ๆ เสาประดับซุ้มประตูหน้าต่างเป็นเสาเหลี่ยม ปลายเสาประดับลวดลายบัวแวงและบัวคอเสื้อ ส่วนฐานเสาซุ้มประดับด้วยกาบพรหมศร ส่วนล่างของซุ้มหน้าต่างเป็นลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังรวมและกระจังตาอ้อย เสาพระอุโบสถเป็นเสาเหลี่ยมไม่มีลายที่ปลายเสา เว้นแต่เสาที่มุมพระอุโบสถประดับใบเสมาเป็นลายครุฑยุดนาคอยู่ภายใน พื้นหินอ่อน ฐานสิงห์ ตรงระเบียงคต ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันเป็นลายใบเทศประดับกระจกสีปิดทอง เช่นเดียวกับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวย ซุ้มประตู หน้าต่าง เป็นปูนปั้น ซ้อน ๒ ชั้น มีลายกนกเครือเถาอยู่กลางซุ้ม บานประตูหน้าต่างเป็นไม้ทาสีดำไม่ปรากฏลวดลายใด ๆ เสาประดับด้วยกาบพรหมศร ส่วนล่างซุ้มหน้าต่างเป็นลายประจำยามก้ามปู พนักระเบียงประดับกระเบื้องปรุสีเขียวลายดอกประจำยาม หัวเสาพนักระเบียงทรงมณฑป พื้นหินอ่อนฐานสิงห์

. พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ปูนปั้นลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๗ เมตร  สูง ๙ เมตร รัศมีเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก ชายสังฆาฏิปลายมนลักษณพระพักตร์คล้ายกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาปนอู่ทอง  แต่มีลักษณะความมีชีวิตจิตใจลดน้อยลง  ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ฝีมือพระยาเทวารังสรรค์ช่างวังหน้าประทับนั่งบนฐานแอ่นโค้ง  ลายบัวหงายประจำยาม  และลายกระจังลงรักปิดทองประดับกระจกสีมีพระสาวก ๘ รูป  ปูนปั้นลงรักปิดทองฝีมือพระยาเทวารังสรรค์  เช่นเดียวกันนั่งชันเข่าประนมหัตถ์สูง ๑.๕๐ ม. อยู่โดยรอบ

. รูปเหมือนเจ้าอาวาส เป็นรูปเหมือนปูนปั้นขัดสมาธิมี ๕ องค์ อยู่ระหว่างเสากลางข้างพระประธาน

. วิหารน้อยโพธิลังกา ก่ออิฐ ถือปูน หลังซ้อน ๒ ชั้น มี ๒ ตับ มุงกระเบื้องเคลือบหน้าบันเป็นปูนปั้นประดับกระจกสีปิดทองรูปมหามงกุฎมีพานรองรับรายรอบด้วยลายกนกเปลว ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นปูนปั้นลงรักปิดทองประดับกระจกลายดอกพุดตาน บานประตูหน้าต่างเป็นลายรดน้ำ ลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เสาสี่เหลี่ยมลบมุมมีลวดลายบัวทองที่ปลายเสาพื้นหินอ่อนฐานสิงห์

. เจดีย์ทอง ประดิษฐานในพระมณฑปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๒ ฐานสิงห์ องค์ระฆังทรงเครื่อง ปล้องไฉนเป็นบัวกลุ่มมีปลียอด และเม็ดน้ำค้างระหว่างชั้นฐานเจดีย์มีสิงห์นั่งครุฑแบกประกอบพระเจดีย์ลงรักปิดทองประดับกระจกสีอยู่ภายในมณฑปทรงอีกชั้นหนึ่งสูง ๑๐ วาเศษ หลังคาพระมณฑปทองยอดเจดีย์เสาทั้งสี่มุมประดับกระจกสีอย่างสวยงามกล่าวว่าแต่เดิมเมื่อคราวไฟไหม้หลังคาพระมณฑปและมณฑปทองภายในจึงโปรดให้ทำหลังคาใหม่ดังปรากฎอยู่ทุกวันนี้

. พระปรางค์ อยู่บริเวณด้านหลังพระอุโบสถและพระวิหาร มี ๒ องค์ มีฐานสูงรอบเป็นลานทักษิณ ฐานพระปรางค์เป็นฐานสิงห์มีซุ้มคูหาทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัย เนื้อโลหะ พระปรางค์อีก ๒ องค์ อยู่ด้านข้างพระอุโบสถและพระวิหารด้านละ ๑ องค์เป็นพระปรางค์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ฐานพระปรางค์นี้เป็นฐานสิงห์มีซุ้มคูหา ๔ ทิศ ประดับด้วยลายปูนปั้น

. มณฑป ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงไทยชั้นเดียวมี ๓ ตับ ตับล่างเป็นปีกนกรอบมุงกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันเป็นลายพระนารายณ์ทรงครุฑ, เทพชุมนุม และลายในเทศประดับกระจกสีปิดทอง เช่นเดียวกันกับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูเป็นปูนปั้นทรงมณฑปยอดเจดีย์ ซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นซ้อน ๒ ชั้น มีลายกนก เครือเถาอยู่ตรงกลางซุ้มบานประตูหน้าต่างไม่มีลวดลาย พื้นหินอ่อน ฐานสิงห์

. พระพุทธรูปรายรอบพระระเบียง ประมาณ ๑๓๒ องค์  ลักษณะเช่นเดียวกันหมดคือ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบปูนปั้นลงรักปิดทอง  รัศมีเป็นเปลวขมวดเกศเล็กปลายสังฆาฏิเป็นเขี้ยวตะขาบพระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปสมัยอยุธยาปนอู่ทอง  หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ ม.สูง  ๒ ม. ประทับนั่งบนฐานปูนปั้นลายบัวหงาย  ประจำยามปิดทองประดับกระจกสีสันนิษฐานว่า  เชิญมาจากอู่ทองหรืออยุธยา  ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๑  แล้วปั้นเลียนแบบกันเพื่อประดิษฐานไว้รายรอบพระระเบียง

๑๐.พระประธานในวิหาร  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบลงรักปิดทองหน้าตัก กว้าง ๓ เมตร สูง ๕ เมตร  ฝีมือพระยาเทวารังสรรค์ช่างวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๑  ลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาปนอู่ทอง  แต่ลักษณะความมีชีวิตจิตใจลดน้อยลงไป อีกด้านหน้าพระประธานประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัยหล่อโลหะ ๑.๕๐ ม.๒ องค์  ขนาบข้าง

Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดมหาธาตุราชรังสฤษดิ์

 
กรุงเทพ/Information of BANGKOK

  Wat Mahathat วัดมหาธาตุราชรังสฤษดิ์
Located on Na Phrathat Road near Thammasat University, the temple houses Mahachulalongkorn Buddhist
University, one of the two highest seats of Buddhist learning in Thailand and also offers meditation classes for
foreigners. The temple is open daily from 9.00 a.m. to 5.00 p.m..

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพ กรุงเทพ แผนที่ กรุงเทพ โรงแรม กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพฯ แผนที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดกรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพฯ ที่พัก ริมน้ำ ในกรุงเทพฯ แผนที่ถนนกรุงเทพ โปรแกรมเที่ยวกรุงเทพ

โรงแรมและที่พักในกรุงเทพคลิกที่นี่ครับ เลือกพักตามสบายนะ
List of Hotel in Bangkok Click!



สถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพ



วัดพระเชตุพนวิมล
มังคลาราม

Wat Phra Che Tu Phon Wimon Mang Khla Ram

(กรุงเทพ)



วัดอินทรารามวิหาร
Wat In Thra Ram Wihan
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพ

SinlaPaChip Museum
(กรุงเทพ)



พระที่นั่งอนันตสมาคมและรัฐภา

Anandhasmakhom Palace
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

National Museum
(กรุงเทพ)



หอศิลป์แห่งชาติ

The National Arts Gallery
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถาน
แห่งชาตเรือพระราช

Royal Barge National Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์
เครื่องปั้นดินเผา

Pottery Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง

Museum of Sciences and Planetarium
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
Bank of Thailand Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธพัณฑ์แร่และหิน

Rare Stone Museum
(กรุงเทพ)



หอเกียรติภูมิรถไฟ

Hall of Railway Heritage
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ปราสาท
มิวเซียม

Prasat Mio Sian Museum
(กรุงเทพ)



วังสวนผักกาด

Suan Pakkad Palace
(กรุงเทพ)



บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์

Bangkok Doll Museum
(กรุงเทพ)



ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

Thailand cultural Centre
(กรุงเทพ)



สะพานพระราม 9

Phra Ram 9 Bridge
(กรุงเทพ)


 
แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK
 


แผนที่ท่องเที่ยวทางเรือกรุงเทพฯ


แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK นี้มาจากเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

โรงแรมทั้งหมดในกรุงเทพ โปรโมชั่นพิเศษสุด!!

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์