ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดกรุงเทพ >ศาลหลักเมือง/The City Pillar Shrine 

ศาลหลักเมือง/ The City Pillar Shrine

 

ศาลหลักเมือง 

 

                  ใจกลางกรุงเทพฯ ที่มีสีเขียว และความร่มรื่นของต้นไม้แห่งนี้ มีเสียงแห่งประวัติศาสตร์ก้องอยู่ ณ ที่นี้... เสียงสะท้อนแห่งที่มาของกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ได้ถูกจารึกเป็นเครื่องหมายไว้ที่นี่ ด้วย "หลักเมือง" พร้องเสียงร่ำร้องจากอดีตถึงพิธีกรรมในการตั้งหลักเมือง นับเนื่องจากอดีต พิธีการตั้งเสาหลักเมืองไม่ใช่แบบแผนของชาวพุทธ แต่เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ที่มีมาแต่สมัยอินเดีย เรื่องของพิธีกรรมและไสยศาสตร์ จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง และเกิดเสียงเล่าขาน เป็นเรื่องราวพิสดารจากผู้เฒ่าในกาลก่อนว่า…

                ครั้งโบราณถือว่าพิธีสร้างพระนคร หรือสร้างบ้าน สร้างเมือง จะศักดิ์สิทธิ์ต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ ๔ ประตูเมือง และต้องฝังเสาหลักเมืองแม้เสามหาปราสาทก็เช่นกัน การฝังอาถรรพ์ กระทำด้วยการป่าวร้องรียกผู้คนที่มีชื่อ อิน, จัน, มั่น และคง ไปทั่วเมือง เมื่อชาวเมืองเคราะห์ร้ายขานรับ ก็จะถูกนำตัวมาสถานที่ทำพิธี และถูกจับฝังลงหลุมเป็นๆ ทั้ง ๔ คน เพื่อให้ดวงวิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าปราสาท และประตูเมือง คอยคุ้มครองบ้านเมือง.. ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยมิให้เกิดแก่คนในนคร เรื่องราวเช่นนี้ มีเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ในการตั้งเสาหลักเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีการกล่าวถึงว่าเมื่อครั้งพระบามทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ราษฎรและเพื่อเป็นนิมิหมายแสดงที่ตั้งแห่งพระนคร เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนเมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ซึ่งเสาหลักเมืองที่ใช้เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ ที่ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๕ เซนติเมตร สูง ๒๗ เซนติเมตร ที่มีความสูง ๑๘๗ นิ้ว และบรรจุดวงเมืองไว้ที่ยอดเสารูปบัวตูมบรรจุดว งชะตาของกรุงเทพฯ 

 แล้วได้มีการสร้างเสาหลักเมืองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แทนของเดิมที่ชำรุดเป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้วมีอาคารยอดปรางค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ในครั้งนั้นเล่ากันเป็นเรื่องพิสดารว่าก่อนตั้งเสาหลักเมือง พราหมณ์ได้ถือเอาฤกษ์ตามวันเวลา ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปเจ้าพ่อสำคัญอีก ๕ องค์ คือ เทพารักษ์ เจ้า พ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี
 

                ซึ่งหญิงมีครรภ์จะเดินเข้ามาใกล้ปากหลุม ครั้งถึงวันเวลานั้น หญิงมีครรภ์คนหนึ่งเดินมาใกล้ปากหลุมจึงถูกผลักลงหลุมไป และทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองฝังร่างหญิงคนนั้นไว้กับเสา เรื่องราวน่าเวทนาที่ใช้ชีวิตคนเป็นๆ ฝังไว้กับเสานี้ ไม่มีข้อมูลใดๆ มายืนยัน คงเป็นแต่เพียงเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาแม้ในพงศาวดารก็ไม่มีบันทึก ด้วยการตั้งเสาหลักเมืองถือเป็นพิธีมหามงคล ซึ่งพระมหากษัตริย์กระทำเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎร การนำชีวิตผู้คนมาฝังทั้งเป็น ซึ่งไม่ใช่เรื่องมงคลจึงไม่น่าเป็นเรื่องจริง แต่อาจเป็นด้วยกาลเวลาหรือผู้เล่าเห็นแปลกในการประกอบพิธีกรรมอย่างพราหมณ์จึงแต่งเติมเรื่องราว ให้ดูแปลกไปเหมือนอย่างนิยายปรัมปรา
 

                ในกาลต่อมา เมื่อเสาหลักเมืองและตัวศาลเริ่มชำรุดด้วยกาลเวลาที่ล่วงไป จนลุเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ผู้ทรงปรีชาชาญในด้านโหราศาสตร์ ได้ตรวจดวงชะตาบ้านเมือง และพบว่าดวงชะตาของพระองค์เป็นอริแก่ลัคนาดวงเมือง จึงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดทำเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ ด้วยแกนไม้สักประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ประดิษฐานในศาลใหม่ที่มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕

                จากนั้นมา ศาลหลักเมืองก็ได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง จวบจนปัจจุบัน ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงามภายในตัวมณฑปด้านทิศเหนือได้ถูกจัดสร้างเป็นซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือ เจ้าพ่อหอกลอง, เจ้าพ่อเจตคุปต์, พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง,
และพระกาฬไชยศรี โดยมีเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่ด้านหน้า และเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๑ ตั้งอยู่ทางช่องประตูมุขขวา ในวันนี้ เสียงลือเสียงเล่าถึงเรื่องราวของผู้สังเวยชีวิตที่ก้นหลุมเสาหลักเมือง ได้ลางเลือนไปตามวันเวลา เป็นเรื่องเล่าปรัมปราที่ยังไร้เหตุแห่งความจริง              

                คงเหลือไว้เพียงภาพปัจจุบัน ของความเชื่อถือศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์แห่งเสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ภายในศาล ที่ผู้คนยังคงแห่แหนจากทั่วสารทิศ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อพึ่งพาอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้คอยปกปักรักษา ปกป้องคุ้มภัย



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวศาลหลักเมือง
 

 
กรุงเทพ/Information of BANGKOK

  The City Pillar Shrine (San Lak Muang) ศาลหลักเมือง
The graceful, temple-like structure houses a wooden pillar placed there by King Rama I in 1782 as the
foundation stone for the new capital of Bangkok. The shrine is across the street from Wat Phra Kaeo.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพ กรุงเทพ แผนที่ กรุงเทพ โรงแรม กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพฯ แผนที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดกรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพฯ ที่พัก ริมน้ำ ในกรุงเทพฯ แผนที่ถนนกรุงเทพ โปรแกรมเที่ยวกรุงเทพ

โรงแรมและที่พักในกรุงเทพคลิกที่นี่ครับ เลือกพักตามสบายนะ
List of Hotel in Bangkok Click!



สถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพ



วัดพระเชตุพนวิมล
มังคลาราม

Wat Phra Che Tu Phon Wimon Mang Khla Ram

(กรุงเทพ)



วัดอินทรารามวิหาร
Wat In Thra Ram Wihan
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพ

SinlaPaChip Museum
(กรุงเทพ)



พระที่นั่งอนันตสมาคมและรัฐภา

Anandhasmakhom Palace
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

National Museum
(กรุงเทพ)



หอศิลป์แห่งชาติ

The National Arts Gallery
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถาน
แห่งชาตเรือพระราช

Royal Barge National Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์
เครื่องปั้นดินเผา

Pottery Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง

Museum of Sciences and Planetarium
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
Bank of Thailand Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธพัณฑ์แร่และหิน

Rare Stone Museum
(กรุงเทพ)



หอเกียรติภูมิรถไฟ

Hall of Railway Heritage
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ปราสาท
มิวเซียม

Prasat Mio Sian Museum
(กรุงเทพ)



วังสวนผักกาด

Suan Pakkad Palace
(กรุงเทพ)



บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์

Bangkok Doll Museum
(กรุงเทพ)



ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

Thailand cultural Centre
(กรุงเทพ)



สะพานพระราม 9

Phra Ram 9 Bridge
(กรุงเทพ)


 
แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK
 


แผนที่ท่องเที่ยวทางเรือกรุงเทพฯ


แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK นี้มาจากเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

โรงแรมทั้งหมดในกรุงเทพ โปรโมชั่นพิเศษสุด!!

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์