ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดกรุงเทพ >พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท/The Chakri Maha Prasat Throne Hall 

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท/ The Chakri Maha Prasat Throne Hall

 

ประวัติของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

               พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท" นั้นเป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อพ.ศ. 2419 หลังเสด็จประพาสสิงค์โปร์ เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นใหม่ ในพระบรมมหาราชวัง ตามธรรมเนียมโบราณที่กษัตริย์มักนิยมสร้างปราสาทมาทุกสมัย และเพื่อเตรียมใช้เพื่อเฉลิมฉลองการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ซึ่งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จ้างสถาปนิกชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ ชื่อ มิสเตอร์ ยอน คลูนิช ทำหน้าที่เป็นนายช่างออกแบบถวายตามพระราชดำริ โดยสร้างตามแบบอย่างศิลปกรรมตะวันตก มีหลังคากลมซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าสมควรสร้างเป็นปราสาทจึงจะเหมาะสม เพราะเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างปราสาทเรียงกัน 3 องค์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสร้างอยู่แล้ว 2 องค์ คือ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน กับ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้การสร้างพระมหาปราสาทนั้นถือกันมาแต่โบราณว่า เป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ทรงสร้างด้วย จึงมีพระราชดำริเห็นชอบและโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ เป็นปราสาท 3 ชั้น 3 องค์ เรียงกัน มีมุขกระสันเชื่อมต่อกัน ลักษณะผสมแบบศิลปะไทยกับยุโรป องค์พระที่นั่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาเป็นยอดปราสาทแบบไทย 3 ยอด ยอดทรงมณฑปซ้อน 7 ชั้น มีมุมไม้สิบสองทั้ง 4 มุม หลัง คาเป็นหลังคาชั้นลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ลักษณะของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทสำหรับลักษณะอาคารที่ปรากฏในปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้ องค์กลาง - ชั้นบน เป็นหอพระบรมอัฐิ มีมุขเด็จสำหรับเสด็จออกด้านหน้า ชั้นกลาง เป็นท้องพระโรงหน้า ผนัง ห้องพระโรงหน้า ผนังห้อง - แขวนพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็พระบรมราชินีนาถ ชั้นล่าง - เป็นกองรักษาการณ์มหาดเล็กรักษาพระองค์องค์ตะวันออก - ชั้นบน เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ ชั้นกลาง เป็นห้องรับรองพระราชอาอันตุกะ ผนัง ห้องแขวนพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 ร่วมกับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมราชโอรสที่ 5 ชั้นล่าง เป็นห้องรับแขกองค์ตะวันตก - ชั้นบน ประดิษฐานพระอัฐิพระมเหสีและพระบรมราชวงศ์ ชั้นกลาง เป็นห้องรับแขก ชั้นล่าง เป็นห้องสมุดมุขกระสันด้านตะวันออก - ชั้นบน เป็นเฉลียงเชื่อม ชั้นกลาง เป็นห้องโถงแบ่งเป็นสองตอน ตอนในเป็นห้องรับรอง ผนัง ประดับพระบรมฉายาลักษณ์พระราชินีในรัชกาลที่ 4,5 และ 7 ชั้นล่าง เป็นห้องโถงท้องพระโรงกลาง - อยู่ต่อจากท้องพระโรงหน้า สำหรับเสด็จออกให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้าฯ และใช้ ประกอบพระราชพิธีการกุศล หรือพระราชกรณียกิจอื่นๆ ในรัชกาลที่ 5 ใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนางด้วย ภายใน ประดิษฐานพระแท่นพุดตานถน ซึ่งเป็นพระราชบัลลังก์ ประจำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีภาพเขียนประวัติ ความเจริญทางพระไมตรีของไทยกับอังกฤษและฝรั่งเศสท้องพระโรงหลัง - อยู่หลังถัดจากท้องพระโรงกลาง ในรัชกาลที่ 5 เป็นที่สำหรับฝ่ายในเข้า เฝ้าในพระราชพิธีที่จัดในท้องพระโรงกลาง
          

            การตกแต่งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลได้ทำการตกแต่งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (ส่วนต่อเติม) จากงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับรายการตกแต่งพระที่นั่งฯ ในวงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งสำนักพระราชวัง ได้กราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ในการที่ รัฐบาล ได้ น้อมเกล้าฯ ถวาย การสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวแล้ว ซึ่งนับว่า เป็นพระที่นั่งแห่งแรกที่มีการจัดสร้างในรัชกาลปัจจุบัน และในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทส่วนต่อเติมว่า"พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร"สำหรับพระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร เป็นพระที่นั่งองค์ใหม่ที่สร้างขึ้น เพิ่งเสร็จเรียนร้อยทันงานเฉลิมฉลองการครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามว่า พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬารพระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร มีความสูงเท่ากับตึก 11 ชั้น ซึ่งสูงกว่าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 4 ชั้น ภายในปูพื้นด้วยหินอ่อน สั่งตรงจากประเทศอิตาลี มีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทาน“กูบช้างทองคำ” “กูบช้างถมทอง” “กูบช้างคร่ำทอง” และ “กูบช้างเงิน”ป็นเครื่องประดับภายในไม่เพียงเท่านั้น ยังได้พระราชทาน “บุษบกทองคำ” และ “บานไม้จำหลัก” ที่เคยประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งจักรีมหา-ปราสาท ย้ายมาประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งองค์ใหม่ด้วยส่วนผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากรัฐบาลให้เข้าไปวาดภาพตกแต่งภายในพระที่นั่งองค์ใหม่นี้ คือ จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์จิตรกรรม พ.ศ.2543 ผู้ที่มีผลงานสวยสดงดงามและมีชื่อเสียงของเมืองไทย วาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ประดับ ในพระที่นั่งดังกล่าว ทั้งนี้พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร จะใช้เป็นสถานที่เลี้ยงพระกระยาหารค่ำพระราชอาคันตุกะ ในวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมา
 



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

 
กรุงเทพ/Information of BANGKOK

  The Chakri Maha Prasat Throne Hall พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
Located between the Halls Group and Dusit Maha Prasat Throne Hall. Chakri Maha Prasat Throne Hall was
constructed during the reign of King Chulalongkorn to commemorate the centenary of the Chakri Dynasty.
It was designed by a British architect, in the European style with a roof in pure Thai style, thus blending East
and West. Construction lasted for six years from 1876 to 1882. The roof has three spires of seven-tiered
pavilion style. "At the four corner of the base of the spires there used to be mouldings of Garudas Nagas as
decorative supports., but during renovation in King Rama VII's reign they were replaced by swan-shaped
brackets. The roof is in two-tiers and covered with coloured glazed tiles.
On the top floor of the central mansion the royal ashes are kept and the king gives public audience from a front
projection there of. The second floor serves as an audience hall where portraits of the present King and Queen
are displayed. On the ground floor is the office of the royal guards.
In the eastern mansion, religious objects are kept on the top floor. The middle floor serves as reception hall
for royal-guests. On the wall the family portrait of King Chulalongkorn, his Queen Si-Bacharindra and their five
sons is hung. The lowest floor server as a guest' waiting room.
In the western mansion on the top floor are kept the ashes of queens and high ranking princes and princesses.
The middle floor serves as guests's chamber where on the wall are hung the portraits of King Rama VII and
Her Majesty Queen Rambhai Barni. The lowest floor serves as library.
A gallery joins the central mansion to the eastern mansion. The middle floor is divided lengthwise into two
parts. The inner part is a reception room where the portraits of the kings of the Chakri Dynasty from King Rama
I to King Rama VII are hung. The outer part is a verandah which connects the throne hall to the reception hall.
Another gallery joins the central mansion to the western one. The middle floor is an open hall for receiving
guests. On the wall there are portraits of the Queens of King Rama IV, Rama V and Rama VII. The ground floor
is also and open hall.
In the rear centre of the Chakri Maha Prasat Hall is the Chakri Throne Room where the King receives ambassadors
on the occasion of the presentation of their credentials. At the end of the room stands the throne called Phuttanthom
Throne, made of wood covered with silver and gold foil. A nine-tiered white Conopy made for King Chulalongkorn
stands over this throne. The emblem of the Chakri Dynasty is depicted on the wall behind the throne. The other
walls are decorated with four canvasses depicting deplomatic receptions of the past. One on the right as one enters
the room depicts the reception by Queen Victoria of King Mongkut's ambassador in London, further on is Louis
XIV's recoption of the mission sent by King Narai the Great of Ayutthaya in the Gallerie des Glaces in the palace
of Versailles ; the third, on the other side of the room, King Mongkut's reception of the French Envoy, and the
fourth, the reception at Fontainebleau by the Emperor Napoleon III of another Siamese Mission. The cryltal
decorations of the hall are mostly presents from foreign monarches to King Chulalongkorn.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพ กรุงเทพ แผนที่ กรุงเทพ โรงแรม กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพฯ แผนที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดกรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพฯ ที่พัก ริมน้ำ ในกรุงเทพฯ แผนที่ถนนกรุงเทพ โปรแกรมเที่ยวกรุงเทพ

โรงแรมและที่พักในกรุงเทพคลิกที่นี่ครับ เลือกพักตามสบายนะ
List of Hotel in Bangkok Click!



สถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพ



วัดพระเชตุพนวิมล
มังคลาราม

Wat Phra Che Tu Phon Wimon Mang Khla Ram

(กรุงเทพ)



วัดอินทรารามวิหาร
Wat In Thra Ram Wihan
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพ

SinlaPaChip Museum
(กรุงเทพ)



พระที่นั่งอนันตสมาคมและรัฐภา

Anandhasmakhom Palace
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

National Museum
(กรุงเทพ)



หอศิลป์แห่งชาติ

The National Arts Gallery
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถาน
แห่งชาตเรือพระราช

Royal Barge National Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์
เครื่องปั้นดินเผา

Pottery Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง

Museum of Sciences and Planetarium
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
Bank of Thailand Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธพัณฑ์แร่และหิน

Rare Stone Museum
(กรุงเทพ)



หอเกียรติภูมิรถไฟ

Hall of Railway Heritage
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ปราสาท
มิวเซียม

Prasat Mio Sian Museum
(กรุงเทพ)



วังสวนผักกาด

Suan Pakkad Palace
(กรุงเทพ)



บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์

Bangkok Doll Museum
(กรุงเทพ)



ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

Thailand cultural Centre
(กรุงเทพ)



สะพานพระราม 9

Phra Ram 9 Bridge
(กรุงเทพ)


 
แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK
 


แผนที่ท่องเที่ยวทางเรือกรุงเทพฯ


แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK นี้มาจากเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

โรงแรมทั้งหมดในกรุงเทพ โปรโมชั่นพิเศษสุด!!

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์