ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดกรุงเทพ >วัดอรุณราชวราราม/Wat Arun 

วัดอรุณราชวราราม/ Wat Arun

 

               วัดอรุณราชวรารามนั้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกเหนือพระราชวังเดิม ซึ่งปัจจุบันเป็นกองบัญชาการทหารเรือและอยู่ในพื้นที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมที่ชื่อว่าวัดมะกอก ต่อมาเติมเป็นวัดมะกอกนอก แล้วเปลี่ยนเป็นวัดแจ้ง วัดอรุณราชธาราม และวัดอรุณราชวรารามดังเช่นในปัจจุบัน อาณาเขตของวัดกว้างขวางมาก ทางทิศเหนือติดกำแพงวัดด้านเหนือหลังโรงเรียนประถมทวีธาภิเศก ทางด้านทิศใต้ติดกับกำแพงพระราชวังเดิม (กองทัพเรือ) ทางด้านทิศตะวันออกจดฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และทางทิศตะวันตกจะเป็นกำแพงวัดติดถนนอรุณอัมรินทร์

 

              ความสำคัญของวัดอรุณราชวรารามประการหนึ่งคือ จัดว่าเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื่องจากพระองค์ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ ตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและได้ทรงผูกพันอยู่กับวัดนี้มาก จนถึงขนาดทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระประธาน ในพระอุโบสถด้วยพระองค์เอง นอกจากนั้น วัดอรณราชวรารามยังเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาล สงวนไว้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐิน เป็นประจำทุกปี และมีการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนทางชลมารคด้วยเรือพระราชพิธีที่งดงามยิ่ง

 

            พระปรางค์เป็นศิลปกรรมที่สง่างามเด่นที่สุดในวัดรุณราชวราราม ตั้งอยู่หน้าวัดทางทิศใต้ พระปรางค์องค์นี้เดิมทีสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีหลักฐานมีลักษณะเป็นแบบใด นอกจากกล่าวว่าสูงประมาณ 8 วา เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์และวิหารน้อยหน้าพระปรางค์

 

            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชสัทธาจะเสริมสร้างให้สูงใหญ่เป็นมหาธาตุประจำพระนคร แต่ทรงกระทำได้เพียงโปรดให้กะที่ขุดรากเตรียมไว้เท่านั้นเนื่องจากสวรรคตเสียก่อน เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่อีกครั้ง เริ่มแต่ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างกุฏิสงฆ์เป็นตึกใหม่ทั้งหมด และทรงมีพระราชดำริที่จะสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงโปรดให้เสริมสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่สูงถึง 1 เส้น 13 วา 1 ศอก 1 คืบ กับ 1 นิ้ว (สูง 67 เมตร)

 

            ฐานพระปรางค์กลมโดยรอบ 5 เส้น 17 วา (234 เมตร) รัชกาลที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินมาก่อ พระฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ พ.ศ. 2385 สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2394 ใช้เวลาสร้างถึง 9 ปี และทรงโปรดให้หล่อยอดนพศูลพระปรางค์ ปี พ.ศ. 2389 เมื่อยกยอดพระปรางค์ซึ่งเดิมทำเป็นยอดนพศูลตามประปรางค์แบบโบราณ แต่ครั้นใกล้วันฤกษ์กลับโปรดให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเรื่องที่จะเป็นพระประธานในวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล เมื่อการก่อสร้างสำเร็จแล้วยังไม่ทันมีงานฉลองก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2394

 

                พระปรางค์ที่เห็นในปัจจุบันได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรั้วล้อมทั้ง 4 ด้าน ตอนล่างเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนเตี้ย ๆ ทาด้วนน้ำปูนสีขาว ตอนบนเป็นรั้วเหล็กทาสีแดง มีรูปครุฑจับนาคติดอยู่ตอนบนทุกช่อง แต่ละช่องกั้นด้วยเสาก่ออิฐถือปูน ด้านตะวันตกหลังพระปรางค์มีเก๋งจีนแบบของเก่าเหลืออยู่ 1 เก๋ง หน้าบันและใต้เชิงชายประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี

 

            ลานพระปรางค์ตั้งแต่รั้วถึงฐานพระปรางค์ปูด้วยกระเบื้องหิน แต่ละมุมด้านในของรั้วมีแท่นก่อไว้เป็นลายเป็นขาโต๊ะตั้งติดกัน เข้าใจว่าคงเป็นที่ตั้งเครื่องบูชาหรือวางของรอบ ๆ ฐานพระปรางค์จะมีตุ๊กตาหินแบบจีนเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ กับรูปทหารจีนตั้งไว้เป็นระยะ

 

            พระปรางค์องค์ใหญ่ มีบันไดขึ้นสู่ชั้นที่ 1 ระหว่างปรางค์ทิศและมณฑปทิศด้านละ 2 บันได รวม 4 ด้าน เหนือพื้นชั้นที่ ๆ เป็นฐานของชั้นที่ 2 รอบฐานมีรูปต้นไม้ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ เหนือขึ้นไปเป็นเชิงบาตร ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีลายดอกไม้ ใบไม้มีบันไดขึ้นสู่ชั้นที่ ๆ ตรงหน้ามณฑปทิศมณฑปทิศ มณฑปละ 2 บันได คือ ทางซ้ายและทางขวาของมณฑป เหนือพื้นชั้นที่ 2 เป็นฐานของชั้นที่ 3 มีช่องรูปกินนรและกินรีสลับกันโดยรอบ เชิงบาตรมีรูปมารแบก และมีบันไดตรงจากหน้ามณฑปทิศแต่ละมณฑปขึ้นชั้นที่ 3 ด้านละบันไดที่เชิงบันไดมีเสาหงส์หินบันไดละ 1 ต้น เหนือพื้นชั้นที่ 3 เป็นฐานชั้นที่ 4 มีช่องรูปกินรีและกินนรสลับกันโดยรอบเว้นแต่ตรงมุดยอด 4 ด้านเป็นรูปแจกันปักดอกไม้ที่เชิงบาตเป็นรูปกระบี่แบก มีบันไดขึ้นไปยังชั้นที่ 4 อีก 4 ลันได ตรงกับบันไดชั้นที่ 3 และมีเสาหงส์หินอยู่เชิงบันไดด้านละ 2 ต้นเหมือนกัน เหนือพื้นชั้นที่ 4 ขึ้นไปมีรูปพรหมแบก ตามช่องมีรูปกินนรและกินนรีสลับกันโดยรอบ ตรงยอดมุมเป็นรูปแจกันปักดอกไม้คล้ายกันทุกชั้น เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มคูหา 4 ด้าน เหนือซุ้มคูหาขึ้นไปเป็นยอดปรางค์ขนาดย่อม มีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑจับนาคแลกพระปรางค์อยู่โดยรอบ ตอนสุดของพระปรางค์เป็นนพศูลและมงกุฎปิดทอง

 

             องค์พระปรางก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่าง เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่น ๆ กระเบื้องเคลือบสีที่ใช้ประดับนี้ บางแผ่นเป็นรูปลายที่ทำสำเร็จมาแล้ว บางแผ่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยนำมาประกอบเข้าด้วยกัน บางลายใช้กระเบื้องเคลือบธรรมดา บางลายใช้กระเบื้องเคลือบสลับเปลือกหอย และบางลายใช้จานชามของโบราณที่มีลวดลายงดงามเป็นของเก่าหายาก เช่น ชามเบญจรงค์ เล็กบ้างใหญ่บ้างมาสอดสลับไว้อย่างเป็นระเบียบ

 

             นอกจากพระปรางค์องค์ใหญ่แล้ววัดอรุณราชวรารามยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าอีกหลายประการด้วยกัน อาทิ มณฑปหรือปราสาททิศ ซึ่งจะตั้งอยู่บนฐานชั้นที่ 2 ในระยะระหว่างปรางค์ทิศ

 

             ปรางค์ทิศ เป็นปรางค์องค์เล็ก ๆ อยู่บนมุมชั้นล่างของพระปรางค์องค์ใหญ่ ตรงกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศละองค์ ปรางค์ทิศทั้ง 4 องค์นี้จะมีรูปทรงเหมือนกัน

 

              พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดสร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก ด้านในของพรุอุโบสถจะมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 4 ด้าน พระประธานในพระอุโบสถมีพระนามว่า พระพุทธธรรมมิกราชโลกธาตุดิลก เป็นพระพุทธรูปปางมาวิชัย หล่อในสมัยรัชกาลที่ 2 กล่าวกันว่า พระพักตร์เป็นฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 2 และบริเวณรอบพรุอุโบสถนั้นจะมีพระระเบียงหรือพระวิหารคด มีประตูเข้าออกอยู่กึ่งกลางพระระเบียงทั้ง 4 ทิศ และภายในพระระเบียงจะมีพรุพุทธรูปปางมารวิชัยบรรจุอยู่โดยรอบ

 

               พระวิหาร ตั้งอยู่ระหว่างมณฑปพระพุทธบาทจำลองกับหมู่กุฏิคณะ 1 เป็นอาคารยกพื้นสูงเช่นเดียวกับพรุอุโบสถ พระประธานในพระวิหารคือ พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสิตยานุบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และในปัจจุบันได้ใช้พระวิหารหลังนี้เป็นศาลาการเปรียญของวัดด้วย

 

               โบสถ์น้อยและวิหารน้อยหน้าพระปรางค์ เป็นโบสถ์และวิหารเดิมของวัดมะกอกสร้างในสมัยอยุธยาคู่กันมากับพระปรางค์องค์เดิมและโบสถ์นี้ ในปัจจุบันยังใช้เป็นทางผ่านเข้าสู่พระปรางค์ได้ด้วย

 

                นอกเหนือจากโบราณสาถนและโบราณวัตถุสำคัญ ๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว วัดอรุณราชวารามยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง คือ มณฑปพระพุทธบาทจำลองซึ่งยู่ระหว่างเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ 4 องค์กับพระวิหารใหญ่ พระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ 4 องค์ซึ่งอยู่ระหว่างพระระเบียงอุโบสถด้านใต้กับมณฑปพระถุทธบาทจำลองเรียงเป็นแถวงจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก หอระฆัง 2 หอ ซึ่งอยู่ด้านเหนือหลังพระวิหาร หอไตร 2 หอซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของหมู่กุฎิคณะ1 ใกล้กับสระน้ำหลังหนึ่ง และอีกหลังหนึ่งอยู่ทางด้านเหนือคณะ 7 ศาลาท่าน้ำทรงเก๋งจีนซึ่งอยู่ที่บริเวณเขื่อนหน้าวัด และภูเขาจำลองซึ่งอยู่หน้าวัดด้านเหนือ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ล้วนแต่มีลักษณะสวยงามสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น

 

                ในสมัยรัชกาลที่ 9 นี้วัดอรุณราชวรารามได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขึ้นที่บริเวณเขื่อนหน้าวัด เนื่องในมหามงคลวโรกาสแห่งราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อ ปี พ.ศ. 2539

 

                 เป็นศิลปะที่ประเมินค่ามิได้ของไทย ทำให้ประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมใจกันทำนุบำรุงรักษา ให้วัดนี้เป็นศรีสง่ายั่งยืนสืบไปตลอดจวบชั่วกัลปาวสาน ชาวต่างประเทศทั่วโลก เมื่อได้เห็นพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ก็จะต้องเข้าใจได้ทันทีว่านี่คือสัญลักษ์ของประเทศไทย 

 

                สำหรับการเดินทางไปเที่ยวชมวัดอรุณราชวรารามนั้นก็ไปไม่ยาก สามารถไปได้ 2 ทางด้วยกันทั้งทางเรือและทางรถ เนื่องจากวัดอรุณราชวารามนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและอีกด้านหนึ่งของวัดอยู่ติดถนนอรุณอัมรินทร์ ทางเรือนั้นสามารถนั้งเรือจกตลาดท่าเตียนซึ่งอยู่ใกล้วัดโพธิ์ข้ามฝากมาขึ้นที่ว่าท่าน้ำวัดอรุณราชวรารามได้เลยด้วย อัตราค่าโดยสารเพียง 1 บาทเท่านั้น ส่วนทางรถยนต์นั้นจะมีรถประจำทางสาย 19 และ 57 วิ่งผ่าน ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล ที่จะมาชมก็แล้วกันและบริเวณภายในของวัดก็กว้างขวางเพียงพอ ถ้าจะนำรถยนต์ส่วนตัวไปจอด

 

 



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดอรุณราชวราราม

 
กรุงเทพ/Information of BANGKOK

  Wat Arun วัดอรุณราชวราราม
Located on the west bank of the Chao Phraya River, the temple can be reached either by Arun Amarin Road or
by boat from Tha Tien Pier, near Wat Pho. The most attractive structure is the 79 metre high pagoda, which is
decorated with ceramic tiles and fragments of multi-coloured porcelain. It is also called the ‘Temple of Dawn’,
and the most beautiful view of it is from the east side of the river at sunset.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพ กรุงเทพ แผนที่ กรุงเทพ โรงแรม กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพฯ แผนที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดกรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพฯ ที่พัก ริมน้ำ ในกรุงเทพฯ แผนที่ถนนกรุงเทพ โปรแกรมเที่ยวกรุงเทพ

โรงแรมและที่พักในกรุงเทพคลิกที่นี่ครับ เลือกพักตามสบายนะ
List of Hotel in Bangkok Click!



สถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพ



วัดพระเชตุพนวิมล
มังคลาราม

Wat Phra Che Tu Phon Wimon Mang Khla Ram

(กรุงเทพ)



วัดอินทรารามวิหาร
Wat In Thra Ram Wihan
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพ

SinlaPaChip Museum
(กรุงเทพ)



พระที่นั่งอนันตสมาคมและรัฐภา

Anandhasmakhom Palace
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

National Museum
(กรุงเทพ)



หอศิลป์แห่งชาติ

The National Arts Gallery
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถาน
แห่งชาตเรือพระราช

Royal Barge National Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์
เครื่องปั้นดินเผา

Pottery Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง

Museum of Sciences and Planetarium
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
Bank of Thailand Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธพัณฑ์แร่และหิน

Rare Stone Museum
(กรุงเทพ)



หอเกียรติภูมิรถไฟ

Hall of Railway Heritage
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ปราสาท
มิวเซียม

Prasat Mio Sian Museum
(กรุงเทพ)



วังสวนผักกาด

Suan Pakkad Palace
(กรุงเทพ)



บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์

Bangkok Doll Museum
(กรุงเทพ)



ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

Thailand cultural Centre
(กรุงเทพ)



สะพานพระราม 9

Phra Ram 9 Bridge
(กรุงเทพ)


 
แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK
 


แผนที่ท่องเที่ยวทางเรือกรุงเทพฯ


แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK นี้มาจากเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

โรงแรมทั้งหมดในกรุงเทพ โปรโมชั่นพิเศษสุด!!

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์