เรสิดังต์กัมปอด
หลายคนคงนึกถึงย่านชุมชนการค้าริม ถนน สุขุมวิท
แต่แท้จริงแล้วศูนย์กลางความเจริญของเมืองเคยอยู่ที่ริมคลองบางพระมาก่อน
ปัจจุบันยังมีเรือนแถวไม้เก่าแก่นับร้อยคูหาเป็นร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีต
ที่น่าแวะไปเดินชมและฟังผู้เฒ่าเล่าถึงเรื่องราวและบรรยากาศเก่า ๆ นอกจากนี้ยังมีเรสิดังต์
กัมปอด ซึ่งเป็นบ่านพักข้าหลวงของฝรั่งอยู่ใกล้กัน สามารถเดินชมต่อเนื่องกันได้
ประวัติ
ย่านริมคลองบางพระเคยเป็นชุมชนการค้าเก่าแก่ของ
จ.ตราด เป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของคนหลายกลุ่ม เพราะทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำตราด
ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ส่งที่บ้านบางพระ
ขณะเดียวกันพ่อค้าชาวจีนก็จำล่องเรือสำเภา
นำสินค้าจำพวกเสื้อผ้าแพรพรรณและเครื่องถ้วยกระเบื้องเข้ามาขาย
นอกจากนี้ชาวชองซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของตราดก็จะลำเลียงไม้หอมของป่า
และสมุนไพรต่าง ๆ
มาทางแม่น้ำตราดเพื่อนำมาขายและหาซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นกลับไปยังที่อาศัยในป่าแถบทิวเขาบรรทัด
การค้าริมคลองบางพระเริ่มซบเซาลงหลังจากมีการตัด
ถ.สุขุมวิทมาถึง จ. ตราด อีกทั้งมีการสร้างตลาดแห่งใหม่ริมถนนสุขุมวิทเมื่อปี
พ.ศ. 2495 ร้านค้าส่วนใหญ่จึงทยอยย้ายออกไปตั้งอยู่ริมถนน
ศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดก็ผันเปลี่ยนตำแหน่งไป
เดิม เรสิดังต์กัมปอด
ใช้เป็นที่พำนักของข้าหลวงฝรั่งเศส ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศส
ให้ปกครองจังหวัดตราด ระหว่างปี พ.ศ.2447-2450
ต่อมารัชกาลที่ ๕ ทรงยกดินแดนส่วนนอก คือ เมืองพระตะบอง
เมืองเสียมราฐและเมืองศรีโสภณ เพื่อแลกเอาจังหวัดตราดคืนมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2450-2471
อาคารหลังนี้ได้ใช้เป็นที่พักของ ผู้ว่าราชการเมืองตราดตลอดมา
โบราณสถานแห่งนี้ถือเป็นสิ่งยืนยันถึง พระมหากรุณาธิคุณในล้นเกล้าฯ ร.๕
และความเสียสละของบรรพบุรุษที่ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะ
ทุกวิถีทางเพื่อปกป้องแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน
ปัจจุบันใช้เป็นสำนักควบคุมความประพฤติจังหวัด
ที่ตั้ง
เรสิดังต์กัมปอด
ตั้งอยู่บนถนนหลักเมืองในเขตเทศบาลเมืองตราด
เป็นจวนผู้ว่าราชการสมัยฝรั่งเศสยึดครองจังหวัดตราด เป็นอาคารสูง 3 ชั้น
ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม เคยใช้เป็นสถานที่ราชการ
ปัจจุบันสภาพอาคารค่อนข้างทรุดโทรม