ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดสุพรรณบุรี > บึงฉวาก
 

บึงฉวาก บึงฉวาก บึงฉวาก

บึงฉวาก/

  เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวาก มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอ เดิมบางนางบวช มีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1–3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น 

บึงฉวาก

ริมบึงฉวากมีบรรยากาศร่มรื่น ลมพัดเย็นสบายตลอด ในบริเวณบึง เต็มไปด้วยดอกบัวสีแดงและชมพู ในช่วงตอนเช้าบัวจะบานสวยงาม นกเป็ดแดงฝูงใหญ่จับกลุ่มอยู่ตามกอบัวในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมและนกจะทยอยกลับในช่วงเดือนเมษายน มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน มีบริการขี่จักรยานน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถขออนุญาตกางเต็นท์พักแรมริมบึง ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาบึงฉวาก ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในความดูแล เช่น สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ภายในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ 

รวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาสวยงามและพันธุ์ปลาหายากเอาไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา แบ่งเป็น 2 อาคาร อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 1 จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม ทั้งพันธุ์ปลาไทย และพันธุ์ปลาต่างประเทศกว่า 50 ชนิด เช่น ปลาบึก ปลากระโห้ ปลาม้า ปลากราย ปลาช่อนงูเห่า ปลาเสือตอ เป็นต้น อาคารแสดงสัตว์น้ำหลังที่ 2 ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่สวยงามบรรจุน้ำได้กว่า 400 ลูกบาศก์เมตร และมีอุโมงค์ความยาวประมาณ 8.5 เมตร ผู้ชมสามารถเดินลอดผ่านใต้ตู้ปลาได้บรรยากาศเหมือนอยู่ใกล้สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย มีนักประดาน้ำหญิงสาธิตการให้อาหารปลา นอกจากนั้นโดยรอบยังมีตู้ปลาน้ำจืดอีก 30 ตู้ และตู้ปลาทะเลสวยงามอีก 7 ตู้ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เปิดให้เข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 10.00–17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 09.00–18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 9208-9, 0 3543 9190 โทรสาร 0 3543 9208 บ่อจระเข้น้ำจืด เป็นบ่อจระเข้ที่ได้จำลองให้มีสภาพใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ มีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยขนาด 1.5–4.0 เมตร ประมาณ 60 ตัว ซึ่งผู้ชมจะได้เห็นความเป็นอยู่แบบธรรมชาติของจระเข้และสามารถเข้าชมอย่างใกล้ชิด 

ในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ประกอบไปด้วย อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ การดูนก สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมาของบึงฉวาก มีตู้จำลองระบบนิเวศ ห้องฉายสไลด์วิดีทัศน์ ด้านนอกอาคารมี กรงเลี้ยงนก ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ สูง 25 เมตร ภายในกรงได้รับการตกแต่งให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ 


ประกอบด้วยนกกว่า 45 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกกาบบัว นกเป็ดแดง ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ฟ้าสีทอง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นไก่ฟ้าที่มีความสวยงามที่สุดในโลก มีการจำลองน้ำตกขนาดเล็กเอาไว้ภายในกรง ผู้เข้าชมจะเดินตามทางเดินที่จัดไว้และได้สัมผัสใกล้ชิดกับนกต่างๆ ที่ปล่อยให้มีชีวิตอยูในสภาพแบบธรรมชาติเดินผ่านหน้าเราไป หากเดินถัดไปจากกรงนก จะเป็นกรงเสือขนาดใหญ่ กรงเสือขนาดเล็ก มีเสือชนิดต่างๆให้ชมและ ที่พิเศษคือ มีลูกเสือดูดนมหมู และสัตว์สวยงามอีกหลายชนิด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00–16.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00–18.00 น. โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก โทร. 0 3548 1250กรงเสือและสิงโต ลักษณะภายในตกแต่งเป็นถ้ำและเนินหินให้ดูคล้ายสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นกรงเลี้ยงสัตว์ป่าตระกูลแมว อันได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือลายเมฆ เสือดาว แมวดาว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกรงสัตว์ป่าหายากอีกหลายประเภทที่จัดแสดงไว้ เช่น นกน้ำ นกยูงและไก่ฟ้าชนิดต่างๆ ม้าลาย อูฐ และนกกระจอกเทศ เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3543 9206, 0 3543 9210 โทรสาร 0 3543 9210 

อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ เฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน โดยรวบรวมผักพื้นบ้านจากทั่วภูมิภาคของประเทศไทยกว่า 500 ชนิด มาปลูกไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงฉวาก มีทั้งสมุนไพร ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุก และไม้ชื้นแฉะที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำเต้าสี่เหลี่ยม บวบหอมขนาดใหญ่ อุโมงค์น้ำพุ และการจัดสวนไม้ประดับด้วยผักพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังมีโรงปลูกพืชระบบระเหยน้ำ และสาธิตการปลูกพืชไร้ดินจัดแสดงให้ชมด้วย และมีห้องสมุดบริการคอมพิวเตอร์สำหรับค้นคว้าข้อมูลพันธุ์ผักต่างๆ ห้องนิทรรศการแสดงผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตรอุทยานผักพื้นบ้านฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 1948 9214, 0 9836 1358 โทรสาร 0 3543 9208 หรือ สำนักงานเกษตร อำเภอเดิมบางนางบวช โทร. 0 3557 8061

การเดินทาง 
จากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าไปได้ 2 ทาง คือ เมื่อถึงสี่แยกทางเข้าตัวอำเภอเดิมบางนางบวช เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงไปจนพบสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน

อีกเส้นทางหนึ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 340 หลักกิโลเมตรที่ 147 ด้านซ้ายมือจะเห็นโรงเรียนวัดเดิมบางนางบวช ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงเรียน ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสามแยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทานให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะเห็นบึงฉวาก

 

"บึงฉวาก" สีสันเมืองสุพรรณฯ สวรรค์ของปลา

บึงฉวาก

       ชั่วโมงสุดท้ายของวันทำงาน คือสิ่งที่หลายคนเร่งให้ผ่านพ้นไปเร็วที่สุด   เพื่อที่จะได้พบกับช่วงเวลาพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่แม้จะมีเพียงแค่ ๔๘ ชั่วโมง หากแต่ก็มากพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังโต๊ะทำงาน กับสถานที่พักผ่อนที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ

       สุพรรณบุรี   คือหนึ่งในจังหวัดท่องเที่ยวที่ที่อยู่ในสเปคดังกล่าว แถมยังเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี
       นอกจากเรื่องราวในอดีตของจังหวัดสุพรรณบุรี    จะเป็นที่น่าสนใจแล้ว   สิ่งที่เป็นไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งของ   จังหวัดสุพรรณฯ ในวันนี้ก็คือ  "บึงฉวาก เฉลิมพระเกียรติ"  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ถึง ๓ ตำบลของอำเภอเดิมบางนางบวช

บึงฉวาก บึงฉวาก

       ส่วนด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  อยู่ในเขตตำบลบ้านเชี่ยน   อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีความกว้างเฉลี่ย ๔๑๓ เมตรยาว ๖๕ กิโลเมตร ลึก ๒.๕ เมตร ความยาวโดยรอบบึงประมาณ ๑๕  กิโลเมตร  รวมพื้นที่ประมาณ ๑,๕๕๐ ไร่ กักเก็บน้ำได้ประมาณ ๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร

       ปัจจุบัน    บึงฉวากได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ หรือ Underwater World ซึ่งเป็นโครงการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ   เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่  ๕๐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙

       ภายในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก ได้รับการแบ่งโซนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำออกเป็น ๒ หลัง   โดยหลังที่หนึ่งจะจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด และน้ำเค็มที่น่าสนใจ ไปจนถึงพันธุ์ปลาที่หาดูได้ยากในประเทศไทย ซึ่งก็มีทั้ง ปลาบึก ปลาม้า ปลาเสือตอ ฯลน รวมถึงปลาสวยงามชนิดต่างๆ อีกมากมาย ที่บางตัวก็มีรูปร่างประหลาด   และเรียกความสนใจจากนักท่องเที่ยว     ให้มาออกันอยู่น่าตู้กระจกอย่างไม่ว่างเว้น

       ส่วนอาคารหลังที่สอง นักท่องเที่ยวจะได้พบกับตู้ปลาขนาดใหญ่ที่บรรจุน้ำได้ถึง ๔๐๐ ลูกบาศก์เมตร โดยมีอุโมงค์ยาวประมาณ ๘.๕ เมตร ซึ่งเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย

โดยภายในอุโมงค์จะมีพันธุ์ปลาน้ำจืดให้ศึกษากว่า     ๒๒   สายพันธุ์เลยทีเดียว เป็นต้นว่า  ปลาบึกขนาดใหญ่  ที่แวกว่ายอวดความงามให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพไปเป็นที่ระลึก รวมถึงการแสดงการให้อาหารปลาโดยนักประดาน้ำหญิงให้นักท่องเที่ยวได้ชมทุกวัน

       นอกจากนี้ในส่วนโซน ๒ ของอาคารหลังนี้ ยังมีตู้ปลาขนาด ๑ ตัน อีก ๓๐ ตู้ และมีปลาสีสันสวยงาม   รวมถึงปลารูปร่างแปลกอีกกว่า  ๖๐ ชนิด ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลิน อาทิ ปลาไหลไฟฟ้า ปลากลับหัว ฯลฯ

       "ภาพของบึงฉวากวันนี้ พร้อมแล้วครับสำหรับนักท่องเที่ยว คือเรามีโซนต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ชมมากมาย ซึ่งนอกจากโลกใต้น้ำแล้ว บนพื้นดิน เราก็มีสวนสัตว์ และอุทยานผักพื้นบ้าน ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาและเที่ยวชม"

       "และอนาคตอันใกล้นี้ เราจะมีอาคารหลังที่สามเกิดขึ้น เป็นลักษณะอุโมงค์น้ำเค็ม  ซึ่งมีขนาดความยาวกว่าอุโมงค์ปลาน้ำจืด คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสามปีข้างหน้า"  ประสิทธิ์ เวทประสิทธิ์ นักวิชาการประมง ที่ดูแลสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ พูดถึงโครงการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่บึงฉวาง

       ระยะเวลากว่า    ๓   ชั่วโมง สำหรับการท่องโลกใต้บาดาลที่บึงฉวาก ฟังดูอาจจะค่อนข้างนานในความรู้สึกของหลายๆ คน   แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าลองได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง แล้วจะรู้ว่า ช่วงเวลาแห่งความสุขนั้นทำไมถึงผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน

บึงฉวาก


       การเดินทางโดยรถยนต์
       เริ่มจากถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี   (ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐)  ระยะทางจากกรุงเทพฯ  ประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเดิมบางนางบวช สามารถเข้าได้ ๒ ทางคือ

       ๑. บนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ก.ม.ที่ ๑๔๗ ด้านซ้ายมือจะมีป้างทางเข้าบึงฉวาก และทางเข้าวัดเดิมบาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอยข้างวัด ข้ามแม่น้ำแล้วตรงไป เมื่อถึง ๓ แยกตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพาน แล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก

       ๒. บนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ก.ม.ที่ ๑๕๑ ด้านซ้ายมือจะมีป้ายทางเข้าบึงฉวาก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้ามสะพานบึงฉวาก แล้วตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึง ๓ แยก ตัดกับถนนเลียบคลองชลประทาน ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน จนพบสะพานข้ามคลองชลประทานซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแล้วตรงไปเรื่อยๆ จะถึงบึงฉวาก

       ค่าบัตรเข้าชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก ผู้ใหญ่ ๓๐ บาท / เด็ก ๑๐ บาท
       สอบถามรายละเอียดโทร. -๓๕๔๓-๙๒๐๘-๙

ที่มา : "เที่ยวรอบทิศ : " บึงฉวาก " สีสันเมืองสุพรรณฯ สวรรค์ของปลา."  ผู้จัดการ.  (๓๐  สิงหาคม ๒๕๔๗) หน้า ๓๖

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://info.stc.ac.th/technic/pege_1.htm และภาพ+ข้อมูลจาก http://weblibrary.rimc.ac.th  

บึงฉวาก

ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.spo.moph.go.th/tour/chavak/chavak.htm 


บึงฉวาก บึงฉวาก บึงฉวาก

 

เปิดบริการ >>วันธรรมดา     เวลา 10.00-17.00 น. วันหยุดราชการ เวลา  9.00-18.00 น. 
ค่าเข้าชม    ผู้ใหญ่ 30 บาท  เด็ก 10 บาท

 

รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวบึงฉวาก

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

สุพรรณบุรี
อำเภอบางปลาม้า


วัดบางเลน

Wat Bang Len
(สุพรรณบุรี)


หมู่บ้านไทย

Thai Village
(สุพรรณบุรี)
อำเภออู่ทอง
อำเภอเดิมบางนางบวช


วัดเดิมบาง

Wat Doembang
(สุพรรณบุรี)


วัดหัวเขา

Wat Hua Khao
(สุพรรณบุรี)


อุทยานมัจฉาวัดบ้านกร่าง
Matcha Wat Ban Krang Park
(สุพรรณบุรี)

บึงฉวาก

Chawak Swamp
(สุพรรณบุรี)

บึงหนองจอก

Nong Chok Swamp
(สุพรรณบุรี)

ตะเพินคี่

Ta - Poen Kee
(สุพรรณบุรี)
อำเภอเมือง


วัดพระอินทร์

Wat Phra In
(สุพรรณบุรี)


วัดประตูสาร

Wat Pratu San
(สุพรรณบุรี)


วัดพระรูป

Wat Phra Rup
(สุพรรณบุรี)


วัดสนามไชย

Wat Sanam Chai
(สุพรรณบุรี)


วัดพร้าว

Wat Phrao
(สุพรรณบุรี)


วัดแค
Wat Khae
(สุพรรณบุรี)



หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
Banharn-Jamsai Tower
(สุพรรณบุรี)

แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี/map of SUPHANBURI
โรงแรมจังหวัดสุพรรณบุรี/Hotel of SUPHANBURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์