ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดสกลนคร >อุทยานแห่งชาติภูพาน/Phu Phan National Park 

อุทยานแห่งชาติภูพาน/ Phu Phan National Park

 

อุทยานแห่งชาติภูพาน

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติภูพาน ปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง อำเภอกุดบาก อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผาทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ตลอดจนพื้นป่าแห่งนี้ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นปัญหาทางด้านการเมือง และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ใช้สำหรับต่อต้านทหารกองทัพญี่ปุ่นซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์ มีเนื้อที่ประมาณ 415,439 ไร่ หรือ 664.70 ตารางกิโลเมตร

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาภูพานหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ป่าเขาชมภูพาน” จังหวัดสกลนคร และจังหวัดกาฬสินธุ์ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลโคกภู ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก และตำบลห้วยยาง ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 418,125 ไร่ หรือ 669 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2515 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 7 ของประเทศ

จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีหนังสือที่ กส 09/598 ลงวันที่ 12 มกราคม 2516 รายงานว่า ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 กำหนดให้ที่ดินป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ปรากฏว่ามีพื้นที่บางส่วนในบางตำบลของจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติแต่ไม่ได้ระบุชื่อตำบลลงไว้ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการตรวจสอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติใหม่ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และกำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 106 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2518

กรมป่าไม้ดำเนินการรังวัดแนวเขตของพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน เพื่อทำการขอเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2520 ซึ่งอนุมัติในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่บริเวณบ่อหิน เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2521 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 ให้กรมป่าไม้ดำเนินการเพิกถอนพื้นที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สำนักสงฆ์ถ้ำขาม (หลวงปู่ฝั้น) และอ่างเก็บน้ำห้วยแข้ ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน แต่เนื่องจากแนวเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2518 ไม่ได้ระบุชื่อตำบลบางตำบลไว้ จึงไม่สามารถดำเนินการเพิกถอนได้ กรมป่าไม้จึงเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้แนวทางปฏิบัติ โดยให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นไปใหม่และกันพื้นที่ดังกล่าวออกเสียและเพิ่มตำบลที่ตกหล่นให้สมบูรณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุทยานแห่งชาติป่าภูพาน ในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลห้วยบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล ตำบลมหาไชย ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง กิ่งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2525 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 161 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 415,439 ไร่ หรือ 664.70 ตารางกิโลเมตร (คือระบุตำบลเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแนวเขตตำบลและเพิกถอนสำนักสงฆ์ถ้ำขาม บ่อหิน พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ อ่างเก็บน้ำห้วยแข้ ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ)

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติภูพานตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาภูพาน มีลักษณะโครงสร้างทางธรณีเป็นหินทราย โดยมีความสูงอยู่ระหว่าง 200-567 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประกอบด้วยภูนางงอย ภูมะแงว ภูน้อย ภูเพ็ก โดยมีภูเขียวซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจุดสูงสุดในเขตอุทยานแห่งชาติ มีความสูง 567 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารและห้วยต่างๆ เช่น ห้วยเลา ห้วยอีโคก ห้วยยาง ห้วยเวียงไพร ห้วยขี้นก ห้วยโคก ห้วยวังถ้ำ ห้วยผึ้ง ห้วยอีดอน น้ำอูนตอนบน ห้วยทราย และห้วยนาจาน ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำอูน ห้วยแข้ ห้วยแสนกง และน้ำพุงตอนบน ไหลลงแม่น้ำพุง ห้วยสะทด ห้วยแก้งหว้า ห้วยแก้งโคก และห้วยหลัก ไหลลงลำน้ำยัง ห้วยพริกไหลลงลำปาว ห้วยทรายและห้วยเดียกไหลลงสู่หนองหาร

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ฝนตกชุกประมาณเดือนกันยายน และฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อากาศเย็นสบาย

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในอุทยานแห่งชาติภูพานประกอบด้วยชนิดป่าที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรังพบขึ้นอยู่ตั้งแต่ตอนกลางของอุทยานแห่งชาติขึ้นไปจนถึงด้านทิศเหนือ ในระดับความสูง 200-400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง ตีนนก กว้าว แดง ส้าน ช้างน้าว กระโดน มะพอก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ตะโกหิน ปอหู ปรง พวงประดิษฐ์ รางจืด เป็นต้น ป่าดิบแล้ง พบขึ้นอยู่เป็นผืนใหญ่ตอนกลางค่อนไปทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ และเป็นหย่อมเล็กๆ กระจายอยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ในระดับความสูงตั้งแต่ 400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ เขล็ง นางดำ ก่อ กะพี้เขาควาย หว้า เปล้าหลวง ขนุนป่า แคหางค่าง เหมือด หมากมุ้ย ฯลฯ พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นลูกไม้และกล้าไม้ของไม้ชั้นบน เช่น ตีนตั่ง นางดำ รวมทั้ง เข็มขาว เข็มแดง เฟิน ไม้เถา เป็นต้น และป่าเบญจพรรณ พบขึ้นอยู่ทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ตีนนก ติ้ว คางฮุ่ง แดง มะกอกเลื่อม แสนคำ ประดู่ โมกมัน ตะแบก ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างประกอบด้วย ลูกไม้ของไม้ชั้นบน มะเม่า ไผ่ หญ้าคา ไม้เถา เป็นต้น

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูพานมีไม่น้อยกว่า 162 ชนิด ประกอบด้วย ช้างป่า กวางป่า เก้งธรรมดา หมูป่า ค่างแว่นถิ่นเหนือ หมีหมา ชะมดแผงสันหางดำ ลิงกัง อ้นเล็ก นากใหญ่ขนเรียบ กระจ้อน ค้างคาวขอบหูขาวกลาง นกยางไฟ เหยี่ยวรุ้ง นกกระทาทุ่ง นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกปรอดสวน นกแซงแซวสีเทา นกเด้าดินทุ่ง ไก่ป่า คางคกบ้าน เขียดจะนา กบอ่อง อึ่งอ่างบ้าน จิ้งจกหางหนาม ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าหัวแดง แย้ จิ้งเหลนหลากหลาย งูเขียวดอกหมาก งูสายม่านธรรมดา งูปล้องฉนวนลาว เป็นต้น และในบริเวณแหล่งน้ำพบปลาน้ำจืดหลายชนิดเช่น ปลาซิว ปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ปลากระสูบจุด ปลาก้าง ปลาดุกด้าน และปลากริม เป็นต้น

ด้านประวัติศาสตร์
พระธาตุภูเพ็ก
เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 สมัยขอมบายน อยู่บนยอดเขาภูเพ็กของเทือกเขาภูพานสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 544 เมตร ปราสาทแห่งนี้ก่อด้วยหินทราย ในลักษณะเทวาลัยที่ไม่แล้วเสร็จ เรือนธาตุตั้งอยู่บนฐานยกสูง ตัวเรือนธาตุทั้งสี่ด้านย่อมุมๆละ 5 เหลี่ยม รวมเป็น 20 เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงขื่อ 7.95 เมตร มีบันไดขึ้นเรือนปราสาท 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันตก หน้าอาคารปราสาทหันไปทางทิศตะวันออก ได้มีการขุดพบรูปเคารพสตรีหน้าตักกว้างประมาณ 12 นิ้ว สลักจากศิลาทราย ลักษณะของศิราภรณ์ของสตรีคล้ายกับศิราภรณ์สมัยปาปวน (พ.ศ. 1560-1630) ทางเข้าพระธาตุภูเพ็กอยู่ก่อนถึงน้ำตกคำหอม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 59 กิโลเมตร

กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์

ถ้ำเสรีไทย

เป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ไปต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นหัวหน้าขบวนการสายสกลนคร มีเส้นทางเดินเป็นวงรอบรวมระยะทาง 5 กิโลเมตร ผ่านป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ถ้ำเสรีไทย แล้วยังต่อไปชมพระอาทิตย์ตกและจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น ทางช่วงสุดท้ายจะผ่านทุ่งกระเจียวที่จะออกดอกงามในช่วงเดือนสิงหาคม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ 4.5 กิโลเมตร

กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม





เทือกเขาภูพาน

เป็นขุนเขาแห่งประวัติศาสตร์ที่มีผู้รู้จักมากที่สุด แต่เป็นดินแดนที่น้อยคนนักที่ได้เข้าไปสัมผัสความงดงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างจังหวัดสกลนคร-กาฬสินธุ์ สภาพป่า ภูเขา น้ำตกยังบริสุทธิ์ ท้าท้ายต่อการพิสูจน์เสมอ

กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก - ชมทิวทัศน์

น้ำตกคำหอม

เป็นน้ำตกที่รู้จักกันโดยแพร่หลายของชาวสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง ในบริเวณน้ำตกแห่งนี้ทางราชการได้จัดงานสัปดาห์การท่องเที่ยว เพื่อชี้แจงให้ราษฎรได้รู้จักความสำคัญของป่าไม้ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นประจำทุกปี น้ำตกแห่งนี้อยู่ใกล้เคียงกับน้ำตกตาดโตน ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพระราชฐาน

กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกปรีชาสุขสันต์

มีลักษณะเป็นลานหินลาดเอียงประมาณ 30-40 องศา ยาวประมาณ 15 เมตร บนลานหินที่ลาดเอียงนี้มีน้ำไหลผ่านบนผิวเสมอกันทั้งแผ่นเหมือนกระดานลื่นธรรมชาติกลางป่าเขา ทางเข้าอยู่ก่อนถึงน้ำตกคำหอม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 50 กิโลเมตร

กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - เที่ยวน้ำตก

ผานางเมิน

เป็นแนวหินผาที่ทอดตัวออกหันหน้าไปทางทิศตะวันตก สามารถชมทิวทัศน์ออกไปได้ไกลแสนไกล เหมาะแก่การตั้งค่ายพักแรมและดูพระอาทิตย์ตก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 700 เมตร

กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์

ผาเสวย

อยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ลักษณะเป็นหน้าผาที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ณ ที่แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จและประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงได้ชื่อว่า ผาเสวย มาแต่บัดนั้น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 40 กิโลเมตร

กิจกรรม -ชมทิวทัศน์

สะพานหินธรรมชาติ

มีลักษณะเป็นสะพานหินที่เชื่อมต่อระหว่างหินสองกลุ่ม ขนาดกว้างของสะพานประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 8 เมตร ด้านใต้เป็นเวิ้งถ้ำกว้างใช้เป็นที่หลบแดดหลบฝนได้ นับว่าเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 7 กิโลเมตร

กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

น้ำตกแก้งกระอาม

เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีลานหินขนาดใหญ่สวยงาม แต่มีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปสุดเขตทางตอนใต้ 45 กิโลเมตร

กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

ลานสาวเอ้

เป็นลานหินที่แวดล้อมด้วยป่าเต็งรัง ยามเปลี่ยนสีเข้าสู่ฤดูแล้งจึงสวยงามมาก บนลานหินยังเต็มไปด้วยดอกไม้เล็กๆ สวยงามอย่างดุสิตา กระดุมเงิน และสร้อยสุวรรณ

สถานที่ติดต่อ

อุทยานแห่งชาติภูพาน

ต.ห้วยยาง อ. เมืองสกลนคร จ. สกลนคร 47000

โทรศัพท์ 0 4270 3044, 0 1263 5029 อีเมล reserve@dnp.go.th

การเดินทาง

รถยนต์

จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา จนถึงขอนแก่น ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209 (ขอนแก่น-กาฬสินธุ์) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 (กาฬสินธุ์-สกลนคร) อีกประมาณ 115 กิโลเมตร จะถึงบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ริมทางหลวง หากมาจากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 ประมาณ 25 กิโลเมตร ผ่านพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูพาน

ห้องสุขาชาย


มีห้องสุขาชายให้บริการ

ห้องสุขาหญิง


มีห้องสุขาหญิงให้บริการ

ที่พักแรม/บ้านพัก

มีบ้านพัก จำนวน 6 หลัง ค่ายพักแรม 2 หลัง ไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์

มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

บริการอาหาร

มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
เทือกเขาภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
Phu Phan National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติภูพาน/map of Phu Phan National Park
อุทยานแห่งชาติภูพาน
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพาน
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติภูพาน

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
สกลนคร/Information of SAKONNAKHON

  Phu Phan National Park

General Information

There are 3 forest types within Phu Phan. Dry Dipterocarp is the most common covering 42% of the park. Dry everygreen is the second most common and is found mostly in the southern part of the park. Mixed Deciduous is a transitional forest type found between the Dry dipterocarp uplands and the Dry everygreen areas located next to water. The park was established to preserve the forest in this area

It is a limestone mountain and a water source such as Huay Hidlard, Huay Boon, Huay Kok, Huay Muang, Huay Hinpoon, Huay E-kon, and Huay Wangpla. Some areas are the grass field and very beautiful as well as the steep cliff.

Climate

Hot season runs from late January until May, with temperatures sometimes reaching into the 40's rainy season begins around June and goes on until October. The park receives an average of 1,550mm of rainfall per year. Cold season lasts from November until January with temperatures in the evening getting down to about 17C.

Flora and Fauna

There are at least 162 species of animals in the park, most of which are birds. There is one herd of wild elephants, but they are in an area with few trails and thus rarely seen. There are also monkeys, barking deer and wild pigs.

Historical

Phra That Phu Phek

The ruins odd a building built to hold the breast bone of Buddha. Located on top of Phu Phan mountain. Most people climb the 500 steps to get the good views.

Activities - Historical Sight Seeing

Seri Thai Cave

This cave was used by the royalty during November. It started as a project to bring employment to the area. There are four resident elephants which you may see between 3-4 pm. The building are not open to the public but they are set in nice grounds.

Activities - Historical Sight Seeing - Cave/Geological Touring

The Beautiful of Nature

Phu-pan Mountains

It is well known but few have visited there especially Sakolnakon-Kalasin border where is still very well reserved.

Activities - Waterfall Traveling - View

Kam Hom Waterfall

a small three layer waterfall with water in the rainy season and for a couple of months into the cold season. Popular with locals at weekends.

Activities - Waterfall Traveling

Pree-cha Suk-san Waterfall

It is a stone field and slope for 30-40 degree. It is 12 meters high and looks like a slider.

Activities - Cave/Geological Touring - Waterfall Traveling

Nang-mern cliff

The cliff is faced to the west and can see far away. It is good to set up camping here to see the sunset.

Activities - Camping - View

Savoye Cliff

It is in Kalasin Province. The cliff is faced to the south. King Phumipol have been and had lunch here so it was called Savoye Cliff since then.

Activities - View

Natural Stone Bridge

It is connected two groups of stones and wide about 1.5 meters and long 8 meters. In the south is wide enough to used as a shade.

Activities - Cave/Geological Touring

Kreng Ka-arm Waterfall

Activities - Waterfall Traveling

Lan Sao Aee

Contact Address

Phu Phan National Park

Huai Yang Sub-district, Amphur Muang Sakon Nakhorn Sakhon Nakhorn Thailand 47000

Tel. 0 4270 3044, 0 1263 5029 E-mail reserve@dnp.go.th

How to go?

By Car

From Bangkok take a bus to Sakhon Nakhorn and get off about 24km. before reaching Sakon Nakhorn. The Park Headquarters is known as "Bahn Comb Lie" (Bahn as in village) (comb,middle tone) (lie,high tone). If you are travelling from Sakon Nakhorn get a bus or Songtaew (truck with benches) to Bahn Comb Lie.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

สกลนคร แผนที่จังหวัดสกลนคร
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกุดบาก
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนิคมน้ำอูม
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอพรรณรนิคม
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอพังโคน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอภูพาน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอวาริชภูมิ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสว่างแดนดิน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสุมาลย์
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอส่องดาว


ผาดงก่อ

Pha Dong Ko
(สกลนคร)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
   
แผนที่จังหวัดสกลนคร/map of SAKONNAKHON

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์