ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลสุไหงโกลก เดิมทีเจ้าแม่โต๊ะโมะประดิษฐานอยู่ที่บ้านโต๊ะโมะ อ.สิคิริน จนกระทั่งชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่ อ.สุไหงโกลกครับ
ประเพณีศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ
อำเภอสุไหงโก-ลก
จังหวัดนราธิวาส
งานประเพณีศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ อำเภอสุไหง-โกลก
จังหวัดนราธิวาส
จัดเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้
งานประเพณีอื่นๆในประเทศไทย
ด้วยบุญญาบารมีของเจ้าแม่โต๊ะโมะ
ที่ชาวสุไหงโก-ลก
อำเภอใกล้เคียงและผู้คนทั่วทุกภาค
รวมไปถึงชาวจีน
ที่อยู่ในมาเลเซีย
สิงคโปร์ต่างเคารพและศรัทธา
งานฉลองคล้ายวันเกิดของเจ้าแม่โต๊ะโมะ จึงจัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปีโดยเริ่มตั้งแต่ปี
พ.ศ.2495
สำหรับประวัติและความเป็นมาของเจ้าแม่โต๊ะโมะเป็นตำนานเล่าสืบต่อกันมาช้านานว่าเจ้าแม่โต๊ะโมะเดิมมีเชื้อสายจากบรรพบุรุษในราชวงศ์ตั๋ง
ผู้ตรวจราชการเมืองฮกเกี้ยน
มีบุตร 6 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 5
คน แต่บุตรชายมีร่างกายอ่อนแอ
ผู้ตรวจราชการเมืองฮกเกี้ยน
จึงขอบุตรจากเจ้าแม่กวนอิมอีกสักคน
จนกระทั่งปี
พ.ศ.1503 (ทางจีน ตรงกับวันที่ 23
เดือน 3)
ท่านผู้หญิงของผู้ตรวจราชการเมืองฮกเกี้ยนก็ได้กำเนิดบุตรหญิงอีกคน
ที่ตำบล หงหลอ บนเกาะ
เหมยโจว ในมณฑลฮกเกี้ยน
หลังจากเจ้าแม่ได้จุติมาสู่โลก
ได้ครบ 1
ขวบก็ไม่เคยร้องไห้แม้แต่ครั้งเดียว
และเป็นเด็กที่ฉลาด
อายุได้ 6 ขวบ
มีอาจารย์มาสอนวิชาให้ ก็สามารถท่องตำราครั้งเดียว
ก็จำได้หมด และถ้ามีเวลาว่างจากการเรียนหนังสือก็จะศึกษาธรรม
จากท่านผู้หญิงผู้เป็นแม่
จนอายุได้ 13 ปี
ได้มีนักพรตชราแนะนำท่านผู้หญิงว่าถ้าบุตรีได้รับการชี้แนะทางธรรม
อีกหน่อย
ก็จะสำเร็จบรรลุอริยผล จากนั้นนักพรตก็ได้เป็นผู้ชี้แนะทางธรรมจนเจ้าแม่ซึ้งในธรรมเป็นอย่างดี
เมื่ออายุได้ 16 ปี
ขณะที่เจ้าแม่กับสาวใช้เดินเล่นในสวนใกล้
ๆ
บ่อน้ำก็ได้มีเซียนตนหนึ่งค่อย
ๆ
ปรากฏร่างจากบ่อน้ำลอยตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า
สาวใช้ต่างวิ่งหนีกันหมดเหลือแต่เจ้าแม่ที่ยืนสงบนิ่งแล้วคุกเข่าลง
จากนั้นเซียนก็ได้มอบคัมภีร์ให้เล่มหนึ่ง
เจ้าแม่ได้ศึกษาคัมภีร์จนชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างพิสดาร
ช่วยปกป้องขจัดมารคุ้มครองชาวประชา
เหินฟ้าไปตามท้องทะเลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
จนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมทะเลซาบซึ้งในน้ำใจ
และความดีของเจ้าแม่จึงร่วมกันสร้างศาล
ไว้เพื่อสักการบูชาจนกระทั่งปี
พ.ศ.1523 (ทางจีนตรงกับวันที่ 8
เดือน 9)
เจ้าแม่เบื่อความวุ่นวายทางโลก
จึงอยากจะอยู่อย่างสงบ
จึงได้เดินทางสู่ เหมยซาน (ภูเขาเหมย)
บรรดาญาติพี่น้องเห็นเจ้าแม่เดินเหมือนมีก้อนเมฆปรากฏใต้ฝ่าเท้า
มีลมพัดผ่านจนร่างเจ้าแม่ค่อย
ๆ
หายไปในกลีบเมฆจนไม่เห็นร่องรอยตั้งแต่นั้นมารวมเวลาพันกว่าปีแล้ว
สำหรับความเป็นมาของศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะที่อำเภอสุไหงโก-ลก
นั้น
สืบเนื่องมาจากชาวฝรั่งเศสได้สัมปทานหาทองคำที่เขาโต๊ะโมะ
อำเภอสุคิริน มีกัปตัน "คิว" เป็นหัวหน้า
คนงานและเป็นผู้ที่เคารพนับถือเจ้าแม่มาก่อนเวลาจะสำรวจขุดหาแหล่งทองคำจะอัญเชิญเจ้าแม่มาประทับทรง
และมีอยู่ครั้งหนึ่งเจ้าแม่ในร่างทรงบอกว่าบริเวณที่สำรวจห้ามขุดแต่ชาวฝรั่งเศสไม่เชื่อ
จึงทำให้คนงานถูกดินพังทลายฝังเป็นร้อย
ๆ คน จนชาวฝรั่งเศสเชื่อและนับถือ
อีกทั้งลงทุนให้กัปตันคิวไปเมืองจีน
อัญเชิญองค์จำลองของเจ้าแม่มาบูชาที่เขาโต๊ะโมะและสร้างศาลที่ประทับให้
จากนั้นเมื่อประทับทรงเจ้าแม่ก็ชี้แนะ
จนขุดพบแร่ทองคำบริสุทธิ์จริงๆทำให้ชื่อเสียงของเจ้าแม่ดังระบือไปทั่วและชาวบ้านแถบนั้นได้ขนานนามเจ้าแม่ว่า
"เจ้าแม่โต๊ะโมะ"
ตั้งแต่นั้น
มา ต่อมาไม่นานกัปตันคิว
ได้เสียชีวิตลงและเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา(สงครามโลกครั้งที่
2)
ผู้คนจึงหนีภัยสงครามไปคนละทิศละทางโดยลืมเอาองศ์จำลองของเจ้าแม่
พร้อมหน้าในคืนนั้นผู้ที่เอาองศ์จำลองไปทิ้งเกิดปวดท้องอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
หลังจากสงครามยุติ "กำนันฟ้า"ลูกชายกัปตันคิวได้ขึ้นไปยังเขาโต๊ะโมะอัญเชิญกระถาง
ธูปลงไปไว้ ที่หมู่บ้านเจ๊ะเหย
อำเภอแว้ง
เพื่อให้ชาวบ้านได้สักการบูชา
ต่อมาผู้ใหญ่บ้านชื่อ "จุกไท่"
ได้นำกระถางธูป
ไปไว้ที่บ้านสามแยก
อำเภอแว้ง
และได้ทำองค์จำลองเจ้าแม่ขึ้นมาใหม่
พร้อมทั้งจัดงานฉลองให้เจ้าแม่เป็นงานประเพณีเรื่อยมา
จนกระทั่งเจ้าแม่ได้ประทับทรงบอกว่า
เมื่อจัดงานครบ 5 ปีแล้ว
ให้นำองค์จำลองพร้อมกระถางธูปไปไว้ที่อำเภอสุไหงโก-ลก
จากนั้น นายสรรกุล กับ
เถ้าแก่กังร้านบึงจีบฮวด
พ่อค้าในอำเภอสุไหงโก-ลก
ฝันเห็นหญิงคนหนึ่งบอกให้หาคนบริจาคที่ดินสร้างศาล
จึงนำความฝันไปเล่าให้คนจีนฟังและบอกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่ฝันเห็นจึงทราบว่าที่แท้เป็นองค์เจ้าแม่โต๊ะโมะ ที่มาเข้าฝันนายสรรกุล
จึงบริจาคที่ดินสร้างศาลให้
และวันที่ 15 มกราคม
2495
เป็นวันเริ่มก่อสร้างศาลจนแล้วเสร็จและตั้งชื่อว่า
"ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ"
พร้อมมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการภายในศาล
และถือเอาวันทางจีน วันที่
23 เดือน 3
ซึ่งเป็นวันเกิดของเจ้าแม่จัดงานฉลอง
เป็นประจำทุกปีติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
งานประเพณีศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ
นอกจากจะจัดขึ้นเป็นประเพณีท้องถิ่นติดต่อกันมาช้านานแล้ว
ก็ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดนราธิวาสไปด้วย.
ที่มา
นรินทร์ เทพพิรุณ. "เจ้าแม่โต๊ะโมะ
ตำนานสู่การท่องเที่ยว",เดลินิวส์
(29 เมษายน 2542),28
ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ทุกๆ ปีจะมีการแสดงแห่มังกร ,สิงโต ,รำกลองยาว เป็นของศาลเจ้าแม่ ... แห่มังกรจากประเทศมาเลย์ (จีนมาเลย์) ... เองกอ จากสมาคมชาวสุไหงโก-ลกสามัคคี ... และการแสดงจากโรงเรียนต่างๆ ในโก-ลก ... ซึ่งจะทำการจัดแสดงโชว์ตอนกลางคืน และจะแห่รอบเมืองตอนกลางวันด้วย (แต่คนละวันนะ)