ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดนครราชสีมา > อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่/ Khao Yai National Park 

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่/ Khao Yai National Park

 

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ข้อมูลทั่วไป
 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 11 อำเภอ ของ 4 จังหวัด คือ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้รับสมญานามว่าเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นป่าผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก ในส่วนหนึ่งของดงพญาไฟหรือดงพญาเย็นในอดีต ประกอบด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนหลายลูก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำมูล อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม มีเนื้อที่ 1,353,471.53 ไร่ หรือ 2,165.55 ตารางกิโลเมตร

เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ราษฎรบ้านท่าด่านและบ้านท่าชัย จังหวัดนครนายก ได้บุกรุกถางป่าปลูกพริกปลูกข้าวบนเขาใหญ่ และจับจองพื้นที่สร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่บนเขาใหญ่ ประมาณ 30 หลังคาเรือน ต่อมาได้พัฒนายกฐานะเป็นตำบลเขาใหญ่ ขึ้นอยู่กับอำเภอปากพลี ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าทำไร่เลื่อนลอยเพิ่มขึ้นเรื่อย ต่อมากลายเป็นที่หลบซ่อนพักพิงของโจรผู้ร้าย และผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีอาญาอยู่เนืองๆ เพราะการคมนาคมยากลำบาก ห่างไกลแหล่งชุมชนอื่นๆ ยากแก่การตรวจปราบปราม ด้วยเหตุนี้ทางราชการในสมัยนั้นจึงยุบตำบลเขาใหญ่ และให้ราษฎรที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่อพยพลงสู่ที่ราบ หมู่บ้านและไร่ที่ทำกินบริเวณป่าเขาใหญ่ จึงถูกทิ้งร้างกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาสลับกับป่าที่อุดมสมบูรณ์

นปี พ.ศ. 2502 ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการทางภาคเหนือ เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะคุ้มครองรักษาธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ จึงได้ให้กระทรวงเกษตร และกระทรวงมหาดไทย ร่วมมือและประสานงานกันเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาใหญ่ จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ จากนั้นกรมป่าไม้ได้เริ่มเตรียมการและวางแผนการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้น โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจาก DR. GEORGE C. RUHLE ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุทยานแห่งชาติ ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ( IUCN ) จากประเทศสหรัฐอเมริกา

 เมื่อกรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจและวางแผนสำเร็จลงแล้ว จึงดำเนินการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลป่าขะ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอบ้านนา ตำบลหนองแสง ตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี ตำบลสาริกา ตำบลหินตั้ง ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม ตำบลสัมพันตา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และตำบลมวกเหล็ก ตำบลซำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี รวมเนื้อที่ 1,355,468.75 ไร่ หรือ 2,168.75 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 86 ลงวันที่ 18 กันยายน 2505 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้รับสมญานามว่าเป็น “อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน” ตลอดจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่สำคัญของโลก

ต่อมากองทัพอากาศได้มีหนังสือ ที่ กษ 0379/15739 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอกันพื้นที่ก่อสร้างสถานีเรดาร์และสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2520 เห็นชอบให้กันพื้นที่ส่วนดังกล่าวได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วน ในท้องที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 21 กันยายน 2521 เป็นเนื้อที่ประมาณ 71 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา หรือ 0.1149 ตารางกิโลเมตร

 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอใช้พื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในท้องที่อำเภอปากพลี และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เนื้อที่ 1,925 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา หรือ 3.0807 ตารางกิโลเมตร เพื่อก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์ในการจัดแหล่งเก็บกักน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูก รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดนครนายกเป็นประจำทุกปี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ทำการก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วนในท้องที่ตำบลหินลาด อำเภอปากพลี และตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 119ก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งสูงโดดเด่นขึ้นมาจากที่ราบภาคกลางแล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูงโคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทางทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชันไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญถึง 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก อยู่ในพื้นที่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้ง 2 สายนี้ มาบรรจบกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย แม่น้ำลำตะคองและแม่น้ำพระเพลิง อยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือ ไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของภาคอีสานตอนล่างไหลลงสู่แม่น้ำโขง ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลตลอดทั้งปีและให้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอมวกเหล็ก

ลักษณะภูมิอากาศ
 ด้วยสภาพป่าที่รกทึบและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัดและหนาวจัดจนเกินไป จัดอยู่ในประเภทเย็นสบายตลอดทั้งปี เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่าในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำในลำธารและนำอาหารไปรับประทาน ไม้ป่ามีดอกหลากสีบานสะพรั่งบ้างออกผลตามฤดูกาล

ฤดูฝน เป็นช่วงหนึ่งของปีที่สภาพบนเขาใหญ่ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้ทุ่งหญ้าเขียวขจีสดสวย น้ำตกทุกแห่งไหลแรงส่งเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือน แม้การเดินทางจะลำบากกว่าปกติแต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ลดน้อยลงเลย

ฤดูหนาว ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ท้องฟ้าสีครามแจ่มใสตัดกับสีเขียวขจีของป่าไม้ พยับหมอกที่ลอยเอื่อยไปตามทิวเขา ดวงอาทิตย์กลมโตอยู่เบื้องหน้าไกลโพ้น อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน แต่รุ่งเช้าของวันใหม่จะพบกับธรรมชาติที่สวยงามแตกต่างไปจากเมื่อวานอีกแบบหนึ่ง

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แบ่งออกๆได้เป็น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 ป่าเบญจพรรณแล้ง ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง นนทรี ซ้อ ปออีเก้ง สมอพิเภก ตะคล้ำ เป็นต้น พืชชั้นล่างมีไม้ไผ่และหญ้าต่างๆ รวมทั้งกล้วยไม้ด้วย ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟลุกลามเสมอ และตามพื้นป่าจะมีหินปูนผุดขึ้นอยู่ทั่วๆ ไป

ป่าดงดิบแล้ง ลักษณะป่าชนิดนี้มีอยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบลูกเนินในระดับความสูง 200-600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ชั้นบน ได้แก่ ยางนา พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบก สมพง สองสลึง มะค่าโมง ปออีเก้ง สะตอ ซาก และคอแลน เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรองมี กะเบากลัก หลวงขี้อาย และกัดลิ้น เป็นต้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วยพืชจำพวกมะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า กล้วยป่า และเตย เป็นต้น

ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกับป่าดงดิบแล้ง เพียงแต่ว่าไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก โดยเฉพาะพื้นที่ถูกรบกวนจะพบ ชมพูป่าและกระทุ่มน้ำขึ้นอยู่ทั่วไป พรรณไม้ผลัดใบ เช่น ปออีเก้ง สมพง และกว้าว แทบจะไม่พบเลย บริเวณริมลำธารมักจะมีไผ่ลำใหญ่ๆ คือ ไผ่ลำมะลอกขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ป่าดิบชื้นบนที่สูงขึ้นไปจะมียางปายและยางควน นอกจากไม้ยางแล้วไม้ชั้นบนชนิดอื่นๆ ยังมี เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ จำปีป่า พะดง และทะโล้ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อน้ำ ก่อรัก ก่อด่าง และก่อเดือย ขึ้นปะปนกัน

ป่าดิบเขา ป่าชนิดนี้เกิดอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นบนภูเขาสูง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างไปจากป่าดงดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เลย พรรณไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี และไม้ก่อชนิดต่างๆ ที่พบขึ้นในป่าดงดิบชื้น นอกจากก่อน้ำและก่อต่างๆ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-900 เมตรเท่านั้น ตามเขาสูงจะพบต้นกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เก็ดล้าน ส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ต้างผา กำลังกาสาตัวผู้ กูด และกล้วยไม้ดิน

 ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นผลเสียเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต ก่อนมีการจัดตั้งป่าเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติได้มีราษฎรอาศัยอยู่และได้แผ้วถางป่าทำไร่ เมื่อมีการอพยพราษฎรลงไปสู่ที่ราบ บริเวณไร่ดังกล่าวถูกปล่อยทิ้ง ต่อมามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาเสียส่วนใหญ่ บางแห่งมีหญ้าแขม หญ้าพง หญ้าขนตาช้างเลา และตองกง และยังมีกูดชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น โขนใหญ่ กูดปี้ด โขนผี กูดงอดแงด และกูดตีนกวาง

เนื่องจากในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีการป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี พื้นที่ป่าหญ้าหรือป่าเหล่านี้จึงไม่ถูกรบกวนจากไฟป่าเลย ดังนั้น จึงมีพันธุ์ไม้เบิกนำจำนวนไม่น้อย แพร่พันธุ์กระจัดกระจายทั่วไป เช่น สอยดาว บรมือ ลำพูป่า เลี่ยน ปอหู ตลงแตบ ฯลฯ ปัจจุบันพื้นที่ป่าทุ่งหญ้าบางแห่งได้กลับฟื้นคืนสภาพเป็นป่าละเมาะบ้างแล้ว

 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ในบางโอกาสขณะขับรถยนต์ไปตามถนน จะสามารถเห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนน ลูกช้างเล็กๆ ซนและน่ารักมาก บริเวณตั้งแต่ที่ชมวิวกิโลเมตรที่ 30 จนถึงปากทางเข้าหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ในปัจจุบันถ้าขับรถยนต์ขึ้นเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอมข้ามสะพานคลองสามสิบไปแล้ว สามารถเห็นโขลงช้างได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในตอนกลางคืนจากการศึกษาตามโครงการการอนุรักษ์ช้างป่า และการจัดการพื้นที่ป้องกัน (ELEPHANT CONSERVATION AND PROTECTED AREA MANAGMENT) โดย MR. ROBERT J. DOBIAS ภายใต้ความร่วมมือของ WWF และ IUCN ในปี พ.ศ.2527-2528 พบว่า มีจำนวนประมาณ 250 เชือก

 สัตว์ป่าที่สามารถพบได้บ่อยๆ และตามโอกาสอำนวย ได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้าทั่วๆ ไป นอกจากนี้ยังพบ เสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่น ชะนี พญากระรอก หมาไม้ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า นกชนิดต่างๆ จำนวน 250 ชนิด จากจำนวนไม่น้อยกว่า 340 ชนิด ที่สำรวจพบอาศัยอยู่บริเวณป่าเขาใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารและที่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจและพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกเงือก นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ นกเงือกทั้ง 4 ชนิด ซึ่งได้แก่ นกกก นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก และนกเงือกสีน้ำตาล ที่พบบนเขาใหญ่นับว่าเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักดูนกเป็นอย่างดี เพราะพบเห็นได้ทั่วไป พวกแมลงที่มีมากกว่า 5,000 ชนิด ที่สวยงามและพบเห็นบ่อยได้แก่ ผีเสื้อ มีรายงานพบกว่า 216 ชนิด

เมื่อเดินทางไปถึงอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูล ชมนิทรรศการ และขอเอกสารได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญนั้นก็คือ น้ำตกที่สวยงาม มีน้ำตกน้อยใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งสำรวจพบและทำเส้นทางเดินเท้าไปถึงแล้วประมาณ 30 แห่ง ที่มีความสวยงามแตกต่างกันไปตามสภาพธรรมชาติของภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

  ด้านธรรมชาติที่สวยงาม
น้ำตกสาริกา น้ำตกกองแก้ว น้ำตกผากล้วยไม้ น้ำตกเหวสุวัต น้ำตกเหวนรก น้ำตกไม้ปล้อง น้ำตกวังเหว น้ำตกตะคร้อ น้ำตกสลัดได และ น้ำตกส้มป่อย น้ำตกแก่งกฤษณา น้ำตกเหวจักจั่น น้ำตกผาไทรคู่ น้ำตกผากระชาย น้ำตกผาด่านช้าง และน้ำตกผามะนาวยักษ์ แก่งหินเพิง น้ำตกเหวไทร น้ำตกเหวประทุน น้ำตกตาดมะนาว น้ำตกตาดตาภู่ น้ำตกตาดตาคง กลุ่มน้ำตกผาตะแบก จุดชมทิวทัศน์ กม.30 จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย) หอดูสัตว์ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เส้นทางเดินป่าประเภทไม่พักแรม เส้นทางเดินป่าประเภทท่องไพร เส้นทางดูนก น้ำตกนางรอง น้ำตกธารทิพย์ ส่องสัตว์

ด้านประวัติศาสตร์

ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่
สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 24 ถนนธนะรัชต์ เส้นทางขึ้นเขาใหญ่ด้านอำเภอปากช่อง นักท่องเที่ยวที่ผ่านเข้าอุทยานแห่งชาติ และประชาชนทั่วไปมักแวะไปกราบไหว้ขอโชคลาภและขอพรอยู่เสมอ

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม
น้ำตกสาริกา
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครนายก โดยใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3099 จากจังหวัดนครนายกถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 11 มีทางแยก ให้ตรงไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3040 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสาริกา น้ำตกสาริกาไหลตกมาจากหน้าผาสูงชันประมาณ 100 เมตร มีแอ่งน้ำให้เล่นได้ตั้งแต่น้ำตกชั้นล่างเป็นต้นไป

 น้ำตกกองแก้ว
เป็นน้ำตกเตี้ยๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคอง ในฤดูฝนจะดูสวยงามมากเหมาะสำหรับการเล่นน้ำ ใกล้บริเวณน้ำตกจะมีสะพานแขวนลำห้วยถึง 2 สะพาน ห้วยลำตะคอง เป็นแนวแบ่งเขต 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 100 เมตร

น้ำตกผากล้วยไม้
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่อยู่ในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า ทางเดินเริ่มจากจุดกางเต็นท์ผากล้วยไม้ไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร โดยเดินเลียบไปตามห้วยลำตะคองที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่ร่มครึ้ม มีโอกาสพบนกหลายชนิด เช่น นกกางเขนน้ำหลังเทา นกกะรางคอดำ นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ ฯลฯ น้ำตกผากล้วยไม้มีลักษณะเป็นหน้าผาลดหลั่นกันลงมา สูงประมาณ 10 เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างมาก เหมาะสำหรับเล่นน้ำ ตามหน้าผาและคบไม้บริเวณน้ำตกพบกล้วยไม้นานาชนิดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก กล้วยไม้ที่โดดเด่นที่สุด คือ หวายแดง ที่จะออกดอกสีแดงเป็นช่อยาวในช่วงหน้าร้อน

 น้ำตกเหวสุวัต
เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วๆ ไป น้ำตกเหวสุวัตนี้อยู่สุดถนนธนะรัชต์ หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไปก็ได้ ประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นสายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตรเศษ บริเวณด้านล่างของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและลำธารเหมาะที่จะลงเล่นน้ำ แต่สำหรับฤดูฝนน้ำจะมากและไหลแรงน้ำค่อนข้างเย็นจัด

น้ำตกเหวนรก
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุด อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่งไหลลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะการไหลตก 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร เป็นสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง ในฤดูฝนน้ำจะไหลแรงมากจนดูน่ากลัว

น้ำตกไม้ปล้อง
เป็นน้ำตกที่มีทั้งหมด 5 ชั้น ไหลลดหลั่นกันลงมา ชั้นสูงสุดไม่เกิน 12 เมตร มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำตกเหวนรกหรือเหวสุวัต จะพบความความงามตลอดเส้นทางเดินเท้า ประกอบด้วยโขดหินเล็กใหญ่และลำธารที่สวยงาม การเดินทางไปยังน้ำตกแห่งนี้เริ่มต้นที่วังตะไคร้ โดยการเดินเท้าตามเส้นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.13 (นางรอง)

 น้ำตกวังเหว
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีความกว้างประมาณ 40-60 เมตร ในฤดูฝนมีน้ำมากและไหลแรง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 9 (ใสใหญ่) ประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่ใจกลางป่าทางด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การเดินทางจะต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 วัน เหมาะสำหรับผู้ที่รักการผจญภัยไปพักค้างแรมในป่าเป็นอย่างยิ่ง ตลอดเวลาการเดินทางจะพบกับพันธุ์ไม้นานาชนิด และแก่งหินที่สวยงามตามธรรมชาติ นับเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

น้ำตกตะคร้อ น้ำตกสลัดได และ น้ำตกส้มป่อย
เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงามอยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ขญ.10 (ประจันตคาม) เหมาะสำหรับพักผ่อนเล่นน้ำ ทุกวันจะมีนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นและใกล้เคียงไปเที่ยวชมและเล่นน้ำตกนี้ โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวจากถิ่นอื่นไปเที่ยวชมมากเช่นกัน

น้ำตกแก่งกฤษณา น้ำตกเหวจั๊กจั่น
เป็นน้ำตกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่มีความงดงามไม่แพ้แห่งอื่นๆ เหมาะสำหรับการพักแรมในป่า และชมทิวทัศน์ธรรมชาติรอบกายอย่างเพลิดเพลินใจ

น้ำตกผาไทรคู่ น้ำตกผากระชาย น้ำตกผาด่านช้าง และน้ำตกผามะนาวยักษ์
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่เกิดจากห้วยโกรกเด้ ลักษณะไหลลาดไปตามผาหินที่สูงชัน เหมาะสำหรับผู้ชอบผจญภัยค้างแรมในป่า อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 3 (ตะเคียนงาม) ประมาณ 5 กิโลเมตร

 แก่งหินเพิง
เป็นแก่งหินที่มีความยาวและใหญ่ อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 9 (ใสใหญ่) ประมาณ 3 กิโลเมตร แม่น้ำใสใหญ่ในบริเวณนี้เต็มไปด้วยแก่งหินเรียงรายตลอดระยะทาง 2.5 กิโลเมตร สายน้ำไหลลดหลั่นกันคล้ายขั้นบันได เป็นสถานที่ที่เหมาะในการล่องแก่งด้วยเรือยาง

น้ำตกเหวไทร
เป็นน้ำตกอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ทางใต้ถัดไปจากน้ำตกเหวสุวัต ห่างจากน้ำตกเหวสุวัตทางประมาณ 700 เมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผากว้างเต็มลำห้วย สูงประมาณ 5 เมตร ในฤดูฝนน้ำตกนี้จะไหลแรงเต็มหน้าผาสวยงามน่าชมมาก การเดินทางไปน้ำตกเหวไทรไปได้ 2 เส้นทาง คือ เดินเท้าต่อไปจากเหวสุวัตระยะทางประมาณ 700 เมตร หรือจะเดินจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ไปตามเส้นทางเดินเท้าเส้นกองแก้ว-เหวสุวัตก็ได้ ระยะทางประมาณ 8.3 กม. ตามสองข้างทางเดินที่ผ่านไปจะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สมุนไพร และเห็ดป่า เป็นต้น

น้ำตกเหวประทุน
เป็นน้ำตกที่อยู่ในห้วยลำตะคองอีกแห่งเหมือนกัน อยู่ถัดจากน้ำตกเหวไทรประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ สามารถเดินทางจากน้ำตกเหวสุวัตไปก็ได้ หรือจะเดินจากบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ไปก็ได้ เดินตามเส้นทางเดินเท้าเส้นกองแก้ว-เหวสุวัต ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางสามารถพนร่องรอยของสัตว์ป่าได้ง่าย เช่น รอยหมูป่า ด่านช้าง น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผา กว้างและสูงสวยงามมาก

น้ำตกตาดมะนาว
เป็นน้ำตกขนาดเล็กๆ ที่สวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เดินไปตามเส้นทางเดินเท้าออกจากด้านหลังโภชนาการ ททท. เขาใหญ่ (เดิม) ประมาณ 5-6 กิโลเมตร จะผ่านป่าดงดิบชื้นที่มีพันธุ์ไม้เล็กใหญ่และไม้สมุนไพรที่น่าสนใจศึกษา

 น้ำตกตาดตาภู่
น้ำตกนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เกิดจากห้วยระย้าเป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นโขดหินและลาดหินที่มีน้ำไหลหลั่นเป็นทอดลาดเอียงไปข้างล่างประมาณ 100 เมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักค้างแรมในป่า ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้ๆ น้ำตกจะมีทุ่งหญ้าสลับกับป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่านานาชนิด ที่เห็นประจำ ได้แก่ เก้ง กวาง ช้างป่า กระทิง นกนานาชนิด เป็นต้น

น้ำตกตาดตาคง
เป็นน้ำตกที่งดงามและสูงอีกแห่งหนึ่ง ที่อยู่ถัดไปจากน้ำตกตาดตาภู่ประมาณ 4 กิโลเมตรเศษ การเดินทางจะเริ่มต้นที่ด้านหลังของโภชนาการ ททท. เขาใหญ่ (เดิม) ก็ได้ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร หรือจะเริ่มที่ กม. 5.5 ถนนเขาใหญ่-ปราจีนบุรีก็ได้ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

กลุ่มน้ำตกผาตะแบก
น้ำตกกลุ่มนี้เป็นน้ำตกขนาดไม่เล็กมากนัก เกิดบนห้วยน้ำซับลักษณะของน้ำตกเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงไป 5 ชั้น จากปากทางเข้าบนถนนสายเขาใหญ่-ปราจีนบุรี ช่วงระหว่าง กม. 6.5-7 จะมีทางเดินเท้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดทำเอาไว้ เดินเข้าไปเพียง 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตกแห่งแรก คือ น้ำตกผากระจายและเดินต่อไปอีกจะถึงน้ำตกผาหินขวาง น้ำตกผารากไทร น้ำตกผาชมพู และน้ำตกผาตะแบก รวมระยะทางในการเดินเท้าทั้งสิ้นประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ

 จุดชมทิวทัศน์ กม.30
กิโลเมตรที่ 30 ถนนธนะรัชต์ สามารถชมทิวทัศน์ด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้เป็นบริเวณกว้างและสวยงาม

จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย)
จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย) นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามน่าชม มีลักษณะคล้ายผานกเค้าที่ภูกระดึง จะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาวและทิวทัศน์ที่สวยงามด้านจังหวัดปราจีนบุรี ตอนเช้าตรู่จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าเป็นดวงกลมสีแดงเหนือสันเขาร่มที่สวยงาม

เส้นทางถึงยอดเขาเขียวมีระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร
 บริเวณช่วงกิโลเมตรที่ 9 มีเส้นทางลงสู่จุดชมทิวทัศน์ผาเดียวดาย ผ่านป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นและอากาศเย็นตลอดปี ตามต้นไม้และโขดหินมีมอสและตะไคร่ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป บริเวณนี้จะพบนกบนที่สูงหลายชนิด เช่น นกปรอดดำ นกเปล้าหางพลั่ว นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก เป็นต้น

 หอดูสัตว์
เป็นสถานที่จัดทำขึ้นสำหรับการซุ่มดูสัตว์ป่า ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 18.00 น. ได้แก่

หอดูสัตว์หนองผักชี อยู่บริเวณหนองผักชี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่ารอบๆ หนองน้ำ เป็นทุ่งหญ้าคากว้างใหญ่ มีโป่งสัตว์ ปากทางเข้าอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 35 - 36 ถนนธนะรัชต์ เดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร

หอดูสัตว์มอสิงโต อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำมอสิงโต รอบๆ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าโล่งที่เหมาะสำหรับซุ่มดูสัตว์ป่าที่มากินดินโป่ง ซึ่งเป็นดินที่มีแร่ธาตุสำคัญของสัตว์กินพืช อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 500 เมตร

นอกจากนี้ในบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) ยังได้จัดให้มีหอดูสัตว์ชมกระทิง โดยอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในทุ่งหญ้าติดชายป่า เชิงสันเขากำแพง มีทิวทัศน์สวยงามมาก ในเวลาเย็นจะมีฝูงกระทิงออกหากินบริเวณใกล้ๆ สามารถชมจากหอดูสัตว์นี้ได้ชัดเจน

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว-น้ำตกกองแก้ว ระยะทางประมาณ 1,200 เมตร เส้นทางนี้จะปูด้วยอิฐตัวหนอน มีป้ายสื่อความหมายตลอดเส้นทาง นักท่องเที่ยวสามารถเดินเองได้

เส้นทางเดินป่าประเภทไม่พักแรม
 การเดินป่าศึกษาธรรมชาติในเส้นทางเดินป่าประเภทไม่พักแรมนี้ ผู้ที่สนใจต้องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าไป ดังนี้
- เส้นทางดงติ้ว-มอสิงโต ระยะทาง 2 กิโลเมตร ผ่านป่าดงดิบเลียบริมห้วย มีไม้ใหญ่ที่เป็นจุดเด่น คือ ต้นสมพงขนาดยักษ์ มีพูพอนสูงท่วมหัวคน
- เส้นทางสายดงติ้ว-หนองผักชี ระยะทาง 4 กิโลเมตร ทางช่วงแรกใช้ทางเดียวกับเส้นมอสิงโต จากนั้นจะผ่านป่าดงดิบที่มีความหลากหลายของพืชพันธุ์ จนไปถึงหอดูสัตว์หนองผักชี
- เส้นผากล้วยไม้-เหวสุวัต ระยะทาง 3 กิโลเมตร ทางเลียบริมห้วย ริมทางมีเห็ดมากมายหลายชนิด อาจได้พบสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ริมน้ำ เช่น ตะกอง นาก
- เส้นทาง กม.33-หนองผักชี ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ทางผ่านป่าดงดิบที่มีต้นไม้ใหญ่หลายคนโอบ เช่น ไทร หว้า กะเพราต้น เถาวัลย์มากมายหลายชนิด

นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางเดินป่าที่น่าสนใจ คือ เส้นทางวังจำปี-หนองผักชี และเส้นทางกองแก้ว-เหวสุวัต

เส้นทางเดินป่าประเภทท่องไพร
เส้นทางเดินป่าระยะไกล เป็นเส้นทางที่ต้องมีการพักแรมในป่า โดยมากเป็นเส้นทางที่อยู่รอบอุทยานแห่งชาติ ใช้เวลาค้างคืน ผู้สนใจสามารถติดต่อเดินป่าได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติใกล้เคียงและที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เช่น

 เส้นทางเขาสมอปูน ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนที่สูง 805 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนสันเขาเป็นที่ราบสลับกับป่าโปร่ง ช่วงปลายฝนต้นหนาว ราวเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ดอกไม้ป่า เช่น หงอนไก่ กระดุมเงิน หญ้าข้าวก่ำ จะพร้อมใจกันบานอวดดอกสวยสะพรั่ง เริ่มต้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.12 (เนินหอม) เดินไต่ระดับความสูงแล้วลัดเลาไปตามหน้าผา ผ่านลานสุริยัน ทุ่งพรหมจรรย์ น้ำตกหินดาด น้ำตกบังเอิญ น้ำตกเหวอีอ่ำ และสิ้นสุดที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.10 (ประจันตคาม) ใช้เวลาเดินทาง 4 วัน 3 คืน

เส้นทางคลองปลากั้ง-น้ำตกวังเหว-รอยเท้าไดโนเสาร์-แก่งหินเพิง เริ่มต้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) ไต่ระดับความสูงขึ้นสันกำแพง จะพบพื้นที่ราบบนหลังแปที่มีทุ่งหญ้าขนาดใหญ่แซมด้วยดอกไม้ป่า กล้วยไม้ป่า ต่อจากนี้ก็จะพบน้ำตกวังเหว ไปตามลำธารประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบรอยเท้าไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อที่ชัดเจนบนโขดหินริมธาร ผ่านป่าดงดิบลัดเลาไปตามสันเขาไปข้ามลำน้ำที่แก่งกลีบสมุทร วันสุดท้ายออกจากป่าดงดิบถึงแก่งหินเพิง ซึ่งสามารถล่องแก่งในระยะ 3 กิโลเมตร มาขึ้นฝั่งที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 9 (ใสใหญ่) ใช้เวลา 4 วัน 3 คืน

เส้นทางคลองสะท้อน-แก่งยาว ระยะทาง 15 กิโลเมตร สามารถใช้เวลาแบบเดินทางแบบเช้าไป-เย็นกลับ หรือพักแรม 1 คืนก็ได้

เส้นทางโป่งตาลอง-น้ำตกผาด่านช้าง-น้ำตกผามะนาวยักษ์-น้ำตกไทรคู่-น้ำตกผากระชาย ระยะทาง 15 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน

เส้นทางกลุ่มน้ำตกในตำบลบุฝ้าย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน

นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางเดินป่าระยะไกลที่น่าสนใจ คือ เส้นทางน้ำตกนางรอง-ศูนย์ฝึกอบรมการป่าไม้เขาใหญ่ เส้นทางบ้านคลองเดื่อ-เขาแหลม-เหวสุวัต และเส้นทางซับใต้-เหวกระถิน-เขาสามยอด

เส้นทางดูนก
 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่พบนกมากกว่า 340 ชนิด ทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่น เขาใหญ่เป็นแหล่งดูนกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เส้นทางดูนกจะอยู่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่-ค่ายพักกองแก้ว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่-มอสิงโต สองข้างทางถนน บริเวณสนามกอล์ฟ (เดิม) ผากล้วยไม้-เหวสุวัต ด่านช้าง-บึงไผ่ และเขาเขียว

น้ำตกนางรอง
อยู่ถัดจากทางแยกเข้าน้ำตกสาริกาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3049 จนถึงทางเข้าน้ำตก แล้วเดินเลียบห้วยนางรองไปอีก 250 เมตร จะมีสะพานข้ามห้วยไปถึงน้ำตก ซึ่งไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหินเป็นทางยาวประมาณ 100 เมตร น้ำตกนางรองแต่ละชั้นไม่สูงมากนัก แต่กระแสน้ำไหลแรง

น้ำตกธารทิพย์
เป็นน้ำตกเล็กๆ ไหลมาตามลานหินกว้างเป็นทางยาว จากนั้นสายน้ำจะไหลผ่านช่องเขาแคบที่ขนาบข้างก่อนตกลงเป็นน้ำตกสูง 5 เมตร จากน้ำตกธารทิพย์มีทางเดินป่าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงน้ำตกเหวอีอ่ำ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง มีความสูงประมาณ 25 เมตร ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 10 (ประจันตคาม)

ส่องสัตว์
เป็นกิจกรรมที่ใช้ไฟส่องสัตว์ในเวลากลางคืนไปตามถนนสองข้างทาง จะพบสัตว์ที่เลี่ยงหากินกลางวันมาหากินกลางคืน เช่น เม่น ชะมด นกฮูก บ่าง หมีขอ ฯลฯ สามารถติดต่อขออนุญาตได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ก่อนเวลา 18.00 น. ทุกวัน

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตู้ ปณ. 9 อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 0 1877 3127, 0 6092 6531, 0 3731 9002 โทรสาร 0 4429 7406, 0 4429 7426 อีเมล khaoyai_np@hotmail.com

การเดินทาง

รถยนต์

 การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับว่าสะดวกสบาย เพราะมีระบบการคมนาคมอย่างดีติดต่อกับชุมชมอื่นๆ อย่างทั่วถึง สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯ อาจใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเศษ หรือน้อยกว่า โดยเริ่มจาก

• ถนนพหลโยธินผ่านรังสิตถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพผ่านมวกเหล็กและเลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งตรงทางแยกก่อนถึงอำเภอปากช่องตรงกิโลเมตรที่ 58 เข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2090 (ถนนธนะรัชต์) ประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจ จากนั้นเส้นทางจะไต่ขึ้นเขาไปอีก 12 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 200 กิโลเมตร

• ถนนพหลโยธินผ่านรังสิต ผ่านหนองแค เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ผ่านตัวเมืองนครนายกถึงสี่แยกเนินหอม หรือวงเวียนนเรศวร ก่อนเข้าตัวเมืองปราจีนบุรีเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3077 (ถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่) ถึงด่านตรวจเนินหอม ถนนเริ่มเข้าสู่ป่าและไต่ขึ้นที่สูง รวมระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร

• ถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิต เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 มุ่งสู่ตัวเมืองนครนายก แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ถึงสี่แยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่ รวมระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร

หมายเหตุ : ด่านตรวจทั้งสองด้านของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จะเปิดเวลา 6.00 น. และจะปิดเวลา 21.00 น.

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถประจำทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ลงที่อำเภอปากช่อง จะมีรถบริการขึ้นเขาใหญ่ออกจากปากช่อง วันธรรมดาวันละ 2 เที่ยว คือ 12.00 น. และเวลา 17.00 น. หรืออาจจะจ้างเหมารถบรรทุกเล็กรับจ้างขึ้นเขาใหญ่ก็ได้

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพัก บ้านพักเรือนแถว และค่ายพักแรม ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 4 โซน ได้แก่ โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โซนบนเขา-จุดชมวิว โซนค่ายสุรัสวดี และโซนบ้านธนะรัตน์ และละโซนอยู่ห่างกันพอสมควร ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่จองที่พัก-บริการไว้แล้ว ควรติดต่อที่เจ้าหน้าที่งานบ้านพักและบริการของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยวก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้มอบกุญแจที่พัก แนะนำเส้นทางเข้าที่พัก และคำแนะนำอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
 อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

รายการที่ 1

  • - เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน

  • - เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน

  • - เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน

  • - เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน

แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

รายการที่ 2

  • - เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน

  • - เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน

  • - เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน

  • - เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน

แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม

 กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้

  • 1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน

  • 2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อยู่ใกล้กับที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีขนาดใหญ่พอที่จะรับนักท่องเที่ยวได้ครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 150 คน บริเวณนี้มีห้องประชุมซึ่งสามารถบรรจุคนได้ถึง 100 คน ใช้สำหรับเป็นที่ประชุมบรรยาย ฉายสไลด์และภาพยนตร์


 


ภาพเขาใหญ่อีกส่วนหนึ่งคลิกที่นี่ 

รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park

น้ำตกกองแก้ว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park

น้ำตกเหวนรก
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park

น้ำตกเหวไทร
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park

น้ำตกผากล้วยไม้
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park

น้ำตกตะคร้อ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Khao Yai National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่/map of Khao Yai National Park
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่/ Khao Yai National Park

 

Khao Yai National Park

General Information

Khao Yai is Thailand’s oldest National Park, September 1962. In 1982 it was enlisted as an ASEAN heritage site due to its variety of flora and fauna, and is now world - famous. Khao Yai has also been nominated as a World Heritage Site. It is Thailand’s third largest Nation Park, covering an area of 2,165.55 sq.km. and its highest peak, Khao Rom, reaches an elevation of 1,351 m. above sea level. Khao Yai is part of the Dongrak Range, which forms a mountainous wall fencing the northeast plateau form the central plain of Thailand. Park headquarters are situated roughly 200 km northeast of Bangkok. The park extends across four provinces: Saraburi, Nakhon Nayok, Nakhon Ratchasima and Prachinburi. Khao Yai has many attractions, including waterfalls, a rich diversity of plants [approx. 2,000 species], plentiful wildlife and an interesting cultural history. It is easy to understand why Khao Yai is Thailand‘s most popular National Park.


Khao Yai National Park is one of six related areas under the management of National Parks, Wildlife and plant Conservation Department, which together constitute Queen sirikit‘s dong phayayen – Khao Yai Forest Complex, in recognition of Her Majesty the Queen’s 72nd birthday anniversary. The other five areas are Pangsida National Park; Ta Phraya National Park; Thap Lan National Park: Phraputtachai National Park; Phraputtachai National Park and Dongyai Wildlife Sanctuary. See the relevant brochures for more information on each area.

Cultural Interest: Khao Yai National Park retains evidence of a recent human history which stretches back at least 100 years. In 1902, 30 families from the nakhon Nayok Province moved to the Khao Yai hills. Here, they farmed rice, hunted and collected forest products for sale. Due to lack of transport and road access, the village become a hideout for bandits and criminals in the early 1950s, including political criminals. By the end of 1961, The government dissolved the village, forcing the villagers to return to the lowlands.

Look for evidence of the villages and farms, which survive today, in the form of grasslands that can be seen along the roar near the park headquarters.

For much generation, Khao Yai has been a part of life for the villages surrounding the park. Today, the Khao Yai area is still home to many people, and the communities living within and near the national park have a fundamental role in determining the future of this important ecosystem and world famous national park. These communities are also important in conserving the area’s history through their stories of, and past experience within the area.

Topography
Khao Yai National Park consists of complicated mountains such as Khao Rom, the highest about 1,351 meters, Khao Lam about 1,326 meters, Khao Keaw about 1,292 meters, Khao Sam Yod about 1,142 meters, Khao Far Pha about 1,078 meters, Khao Kampang about 875 meters, Khao Samor Poon about 805 meters and Khao Kaew about 802 meters above sea level. Moreover, the area has vastly grassy field alternating with productive forest. The north and the east part are smoothly sloping down, while the south and the west part are rising up. The area is the source of five main rivers as follows.

1) Prachin Buri River
2) Nakhon Nayok River situated in the south part and important for local agriculture and economy, meet each other in Chachoengsao District to become Bangpakong River go to the Gulf of Thailand.
3) Lam Ta Kong River
4) Praplerng River, in the north part, go to maintain the agriculture of Korat Plateau and meet Moon River, the main river of Southern Isan that goes to Khong River.
5) Muag Lek Stream, located in the northwest part and going to Pasak River in Muag Lek District, is valuable for local agriculture and cattle, and has water all the year round.

Climate
Khao Yai has three main seasons, with an annual mean temperature of 23 ? C, though this varies greatly with the seasons.

Rainy Season: May-October. During this season, it rains most days, resulting in stunning waterfalls. The atmosphere is humid, with average daytime temperatures of 27? C, In the humidity, flora and fauna flourish, whilst after the rain there is clean air and clear visibility (great for photograph!).

Cold season: November- February. This is the most popular time to visit Khao Yai, as clear, sunny and cool weather are ideal for hiking and nice sunsets are common. The days average around 22? C, while the nights can drop to 10? C.

Hot Season: March-April Even in the hot season, Khao Yai does not experience of heat felt elsewhere in the country. Daytime temperatures reach between a high 20? C, to a low 30? C, During this season it is dry and often windy. Waterfalls can be dry by April.

Flora and Fauna
Tropical moist evergreen forest covers the central area of Khao Yai National Park. The rich diversity of plants (about 2,000 species) astound the new-comer. Towering trees draped in mosses, climbers and epiphytes, tangled trunks of the strangling figs, drooping lianas and spiny rattan palms, delicate ferns, multicoloured lichens and an ever-changing array of fungi. There is aways something new to discover in the forest. The park has a diverse plant community, comprised of five main vegetation types:

Dry Evergreen Forests: These forests cover the lower slopes of Khao Yai. There are a number of important plant species found within this type of forest, including Dipterocarps and Hopia. Bamboo is also often found in drier forests.

Dry Deciduous Forests: These forests also cover the lower slopes of Khao Yai. The most important plant species found within Deciduous Forests include Afzelia, Xylia and Lagerstroemia.

Tropical Moist Evergreen Forest: Tropical Moist Evergreen Forest covers around 70% of the park, including its central area. Dipterocarps are an important species found within these forests.

Hill Evergreen Forests: This forest type grows above 1,000 m. In Hill Evergreen Forests, the trees are smaller and ferns, mosses and epiphytes abound. Lithocarps and Catanopsis are amongst the most important species found here.

Grasslands: These areas are a unique habitat, and provide a grazing area year – round for some of the parks animals. Grassland provides a welcome relief to all the forest . The park mange (burn annually) the grassland to prevent trees from invading and to provide year round grazing for deer, elephants and guar. Wildlife is plentiful (70 mammal species, at least 74 species of herptile and thousands of invertebrates) but often hard to see. Sambar (large, gray-brown, often in groups) and barking deer (smaller, red-brown, usually in pairs or alone) are frequently seen in the grasslands or on spotlighting tours.


Khao Yai’s forests are teeming with wildlife and birds. Look up and down and form side, tread softly, and listen carefully to discover the real movers and shakers in the forest. Gibbons provide an excellent morning wake-up call with their mournful hoots. Quiet, patient walkers may catch a glimpse of these tree-living apes. Macaques are often seen on the roadsides. Elephants are sometimes spotted at salt-licks or on the road in the evenings and lucky (?) tourists may spot a tiger in the grasslands during the evenings.

Civets, squirrels, porcupines, and wild pigs add a bit of variety. Snakes and lizards usually make their presence known by a rustle in the undergrowth as you are walking. If you see a snake, treat it as dangerous unless you know otherwise!! Geckos are frequently seen catching insects on building walls and ceilings. Cicadas never stop their scratchy hum. Look up and down and from side to side to spot the real movers and shakers in the forest - the insects and invertebrates.

Birds: We've got lots - over 320 species have been recorded. To the non-expert, birds are often just mysterious whistles, trills and calls, or a flutter of wings and a glimpse of colour. Patience is needed,good binoculars and a bird guide help. Roadsides, the old golf course, grasslands and the watching towers are good places to start . Hornbills are quite easy to spot, and hear the "gak gak gak" laugh of the Indian Pied (often seen in big flocks near Nong Pak Chi Tower in the evenings), or the deep resonant "gok…gok" of the Great Hornbill (usually seen in pairs or alone, the biggest of Khao Yai's hornbills)

Bats: Nearly 1 million insecteating bats live in a cave on the edge of the Park. Drive about 3 km to the north of the Park Chong entrance gate and take a small track on the left-hand side just past a temple. A few hundred metres up here take a right-hand turn and follow the track to the end. You can climb the hill to the cave. Please do not enter the cave - you will disturb the bats. Allow them to come out for about 3 minutes before taking any flash photography.

Aside Form the flora, fauna and history of Khao Yai, all of which constitute a visit in their own right, the park has many other special attractions which make it a must see on anyone’s list.

Khao Yai is the source of five main rivers in the northeast of Thailand, including Prachinburi River, Nakhon Nayok River, Lam Ta Khong River, Phraphloeng River, and Muak Lek Stream. These watersheds flow to different areas in Thailand’s northeast and are particularly valuable for agriculture. The rivers provide the park with many spectacular waterfalls, including Heo Narok [the biggest and highest waterfall in the area] and Heo Suwat. Both can reached on day walk from park headquarters, and are best visited in the rainy or cold seasons.

Please Select Attraction : + Historical Chao Por Khor Yai Shrine + The Beautiful of Nature Sarika Waterfall Kong Kaew Waterfall Pha Kluy Mai Waterfall Heaw Suwat Waterfall Heaw Narok Waterfall Mai Plong Waterfall Wang Heaw Waterfall Takro, Salad Dai, Sompoi Waterfall Krang Kritsana, Heaw Jukjun Waterfall Pha Sai Khul, Pha Krachai, Pha Dang Chang, Pha Ma Nao Pee Waterfall Kang Hin Perng Heaw Sai Waterfall Heaw Pratoon Waterfall Tat Manow Waterfall Tat Ta Phu Waterfall Tat Ta Kong Waterfall Pha Tabak Waterfall Group Km. 30 View Point Khao Khaew View Point Animal Observing Tower Natural Trail Hiking trail Trekking Trail Birding Trail Nang Rong Waterfall Tran Tip Waterfall Animal Observing

hao Por Khor Yai Shrine
Chao Por Khao Yai Shrine, built in 1962, is located on Thanarat Road Km. 24 from Pak Chong District. Traveler, who passes this way before entering the park, regularly stops by to worship and ask for one’s wish there.

Sarika Waterfall
Sarika Waterfalls, situated in Nakhon Nayok Province, is the huge waterfalls very famous before the area has been declared a national park.

Kong Kaew Waterfall
Kong Kaew Waterfall is a quite low waterfall, caused by Huy Lam Takong (Lam Takong Stream), the border between Nakhon Nayok Province and Nakhon Si Thamarat Province, which is beautiful and suitable for playing water especially in rainy season. The waterfall is situated 100 meters from Khao Yai National Park Office and Traveling Service Center.

Pha Kluy Mai Waterfall
The waterfall is a medium-size waterfall, also caused by Huy Lam Takong (Lam Takong Stream), which has Wai Dang (Red Orchid) grow on its cliff and be the symbol of its area. The waterfall is situated seven kilometers from Khao Yai National Park Office and can be reached by car and walking.

Heaw Suwat Waterfall
Being well known by many people, Heaw Suwat Waterfall is situated at the end of Thanarat Road and three kilometers from Pha Kluy Mai Waterfall by walking. There is water dropped from 20-meter high cliff onto a pond below which is appropriate for playing water but not in the rains because there are very much cold and heavily flowing water.

Heaw Narok Waterfall
Heaw Narok Waterfall, the biggest and highest waterfall in this area, is situated in the south part of Khao Yai National Park. The waterfall is a three-level cascade, its water drops step by step from 60-meter high of first level to the second and third level with about 90 degrees, approximately 150 meters, to its very deep abyss which is very fearsome when the water falls heavily in the rains.

Mai Plong Waterfall
Mai Plong Waterfall has been known for a long time, and improved to be a new traveling place. It is a five-level cascade, like Heaw Suwat Waterfall and Heaw Narok Waterfall, with its highest level is not more than 12 meters. Traveling to this place, traveler can find beautiful sceneries of rock and stream along the walking way 24 kilometers from Wang Ta Krai. For more information and guidance, please contact officer of Khao Yai National Park Office 9 (Nang Rong).

Wang Heaw Waterfall
Wang Heaw Waterfall, a huge waterfall about 40-60 meters wide, in the middle of the eastern forest of Khao Yai National Park, is situated about 17 kilometers from Khao Yai National Park Office 6 (Sai Yai) and has more and heavy water in the rains. The area is suitable for adventuring and camping lover because traveler has to spend about two days of walk to travel there. Along the trek, traveler can see many kinds of plants, naturally beautiful rock and scenries. This is one of the beautiful waterfalls.

Takro, Salad Dai, Sompoi Waterfall
They are beautiful waterfalls, near ranger station 7 (Prachanta Kham), which are suitable for playing water. Every day, there not only are many local travelers coming to enjoy and play water, but also faraway travelers especially on weekend.

Krang Kritsana, Heaw Jukjun Waterfall
They are big and small waterfall which are as beautiful as others, especially about-25-meter Heaw E-um Waterfall. The area is suitable for camping and enjoying sceneries.

Pha Sai Khul, Pha Krachai, Pha Dang Chang, Pha Ma Nao Pee Waterfall
The medium-size waterfalls, in Khao Lam Mountain in the north part of Khao Yai national park, are caused by Krokde Stream dropping from 15 meters and flowing on rock surface. The waterfalls, which have unique beautifulness. There are suitable for camping lover.

Kang Hin Perng
Kang Hin Perng, five kilometers from Khao Yai Forest Reservation Office 2 (Pha Kradart), is a big rapids water which drop down looks like stair, and famous place for shooting the rapids by boat.

Heaw Sai Waterfall
Heaw Sai Waterfall is a waterfall about 700 meters south of Heaw Suwat Waterfall. There is a 5-meter-high cliff spreading over the stream which, in the rains, has heavy water flowing on the rock surface beautifully. Traveler can walk about 700 meters from Heaw Suwat Waterfall or about 8.3 kilometers, on a pathway Kong Kaew–Heaw Suwat, from Khao Yai National Park Office. There are many interesting things along the pathway, for examples, herb and wild mushroom.

Heaw Pratoon Waterfall
Heaw Pratoon Waterfall is a waterfall of Lam Takong Stream like, and two kilometers from Heaw Sai Waterfall. Traveler can walk from Heaw Suwat Waterfall or about 8 kilometers, on a pathway Kong Kaew–Heaw Suwat, from Khao Yai National Park Office. Te waterfall consists of beautiful cliff which is large and high.

Tat Manow Waterfall
Manow Waterfall is a small and beautiful waterfall on the southwest part. Traveler can set off walking from the back yard of Khao Yai TAT Food Building through rain forest, which has many kinds of plant and herb interesting for studying along the pathway, about 5-6 kilometers.

Tat Ta Phu Waterfall
Tard Taphu Waterfall, in the southwest part of Khao Yai National Park, is caused by Huy Raya (Raya Stream) flowing step by step on rock surface sloping down about 100 meters long. The area is suitable for camping lover. And about 10 kilometers nearby, there are grassy fields alternating with forest which is the habitat for many kinds of animal, for example, barking deer, deer, wild elephant, seladang and many kinds of bird.

Tat Ta Kong Waterfall
Tard Ta Kong Waterfall is a very beautiful waterfall next from Tard Taphu Waterfall about four kilometers. Traveler can set off from the back yard of Khao Yai TAT Food Building with about 15 kilometers, or start from Khao Yai-Prachin Buri Road Km. 5.5 with about six kilometers to the waterfall.

Pha Tabak Waterfall Group
Pha Tabak Waterfall Group is a group of not very small waterfalls coursed by Huy Num Sub (Num Sub Stream) which its water drops step by step with about five levels. The pathway, provided by Khao Yai National Park, to enter the area is at Km. 6.5-7, Khao Yai-Prachin Buri Road. Traveling on the pathway 500 meters, traveler can find the first waterfall called Pha Krajai Waterfall, and go further for Pha Hin Kwang Waterfall, Pha Raksai Waterfall, Pha Chompu Waterfall and Pha Tabak Waterfall, all the distance is approximately three kilometers.

Km. 30 View Point
At Km. 30, Thanarat Road, traveler can enjoy seeing scenery in the north part of Khao Yai National Park which is very broad and beautiful.

Khao Khaew View Point
Khao Khaew View Point (Pha Trom Jai), looks like Nok Kao Cliff in Phu Kra Daung, is a place for enjoying scenery and famous for traveler. Traveler on the location can see Rom Mountain crossing the forest very long from left to right and beautiful scenery of the dawn, in Prachin Buri Province, which has the beautifully red sunrise on the ridge of Rom Mountain.

Animal Observing Tower
Observing Tower is a place for travelers hiding themselves for observing animals. There are two towers enable from 06.00 a.m. to 06.00 p.m. as follows

Nong Phug She Tower Locating near Nong Phug Shee pond which is the source of water for many kinds of animal, and walking about one kilometer from Km. 35-36 Thanarat Road, Nong Phug She Tower has vastly cogon grass field and salt lick for animal.

Mo Sing To Tower Locating near Mo Sing To pond which is the source of water for many kinds of animal, opposite reservoir up the hill from the headquarters and restaurants between 500 metre.

Natural Trail

This trail, leading to Kong Kaeo Waterfall, includes interpretative information for those wishing to understand more about the forest they are visiting.

Hiking trail
There are 6 Hiking Trails which are about 2-8 kilometers and 1-5 hours of walking. Travelers have to ask for permission from the park’s officer before taking a trip.

Trekking Trail
These trails involve one to three days trekking and camping around Khao Yai. For more information, refer to ‘Khao Yai National Park Trekking Trails and Adventure activities in and around Khao Yai’ guidebook. [Ask at the parks office to purchase a copy

Birding Trail
Khao Yai is one of the best birding places. These all leave from around the park headquarters. Bird watching can also be done on the sides of the road and around the old golf course.

Nang Rong Waterfall
Nang Rong Waterfalls, situated in Nakhon Nayok Province, is the huge waterfalls very famous before the area has been declared a national park.

Tran Tip Waterfall
They are beautiful waterfalls, near ranger station 10 (Prachanta Kham), which are suitable for playing water. Every day, there not only are many local travelers coming to enjoy and play water, but also faraway travelers especially on weekend.

Animal Observing

in the park aid visitors in sighting animals at nigh, and animal watching with parks staff at night is also possible.

Contact Address
Khao Yai National Park 
P.O. Box 9 Amphur Pak Chong Nakhorn Ratchasima Thailand 30130
Tel. 0 1877 3127, 0 6092 6531, 0 3731 9002 Fax 0 4429 7406, 0 4429 7426 E-mail khaoyai_np@hotmail.com

How to go?
By Car
From Bangkok, Khao Yai is less than 3 hours by car. From Phahonyothin Road the quickest way [160 km] is to turn ring at Rangsit Junction into Highway 305 [Rangsit to Nakhon Nayok]. Before arriving at Pranchinburi, switch left to Highway 33 at Naresuan Junction. Turn left on Highway 3077 which leads northwards another 41 km to the park headquarters.

By Bus
from Bangkok, Buses leave the Northern Bus Terminal (Mo Chit) for Pak Chong and Nakhon Ratchasima about every half-hour. From Pak Chong and Nakhon take a songtaew [pick – up truck with two benches] to the park headquarters. It is also possible to take a bus from Mo Chit to Naresuan Junction, and then take a songtaew from there to the park headquarters.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

นครราชสีมา แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เขาใหญ่ โรงแรมในเขาใหญ่ รีสอร์ทที่พักเขาใหญ่ โรงแรมโคราช ข้อมูลเขาใหญ่
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


วัดศาลาลอย
WAT SALA LOI
(นครราชสีมา)


วัดศาลาทอง

Wat Sala Thong
(นครราชสีมา)


แหล่งหินตัด

Laeng Hin Tat
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสูงเนิน


เมืองเสมา

MUANG SEMA
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอโชคชัย


ด่านเกวียน
Dan Kwian
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอโนนสูง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอครบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอจักราช


ไทรงาม

Sai Ngam
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบัวใหญ่


ปรางค์กู่

PRANG KU
(นครราชสีมา)


ปรางค์สีดา

PRANG SIDA
(นครราชสีมา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอประทาย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปากช่อง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอพิมาย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสี่คิ้ว
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา/map of NAKONRATCHASIMA


แผนที่ฟาร์มโชคชัย
ทำไว้ดีดูที่ท่องเที่ยว ใกล้เคียงได้ทุกที่ เช่น ทุ่งทานตะวัน เขาใหญ่ น้ำตกต่างๆ
โรงแรมจังหวัดนครราชสีมา/Hotel of NAKONRATCHASIMA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์