ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดขอนแก่น >อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ/Phu Kao - Phu Phan Kham National Park 

อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ/ Phu Kao - Phu Phan Kham National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เป็นพื้นที่ในบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบน ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู พื้นที่ตอนล่างของจังหวัดอุดรธานี และตอนบนของจังหวัดขอนแก่น สภาพธรณีเป็นภูเขาหินทรายซึ่งมีชั้นของของหินทรายอยู่ด้านบนระดับผิวดิน โดยมีชั้นของหินดินดาน หรือหินดินดานปนทรายเป็นฐาน ด้านล่างมีดินประเภทดินลูกรังและดินร่วนปนทรายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า ทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ และสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีเนื้อที่ประมาณ 201,250 ไร่ หรือ 322 ตารางกิโลเมตร

แต่เดิมกรมป่าไม้ได้พิจารณากำหนดให้ป่าภูเก้าเป็นป่าโครงการไม้กระยาเลยเพื่อใช้สอย ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0703/38 ลงวันที่ 5 มกราคม 2513 ซึ่งต่อมาป่าภูเก้าแห่งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าภูเก้า” ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 490 (พ.ศ. 2515) ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2515 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2524 นายสุพรรณ สุปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาจัดป่าสงวนแห่งชาติภูเก้า ท้องที่จังหวัดอุดรธานี เป็นอุทยานแห่งชาติ

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงมีหนังสือ ที่ สร 0107(งสส.)/3782 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งนายจำนงค์ โพธิสาโร รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ มีบันทึกท้ายหนังสือกองอุทยานแห่งชาติ ที่ กส 0708/1198 ลงวันที่ 8 เมษายน 2524 ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 571/2524 ให้นายวินัย ชลารักษ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น

ผลการสำรวจพบว่าป่าสงวนแห่งชาติภูเก้า ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า จุดเด่นมีทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานการสำรวจเบื้องต้นที่ กส.0708 (ภพ)/257 วันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และทางสภาตำบลโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2526 สนับสนุนให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2526 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 ให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้

ต่อมานายพิชา พิทยขจรวุฒิ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเก้า ได้มีหนังสือที่ กษ. 0713(ภก)/8 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2527 ขอผนวกพื้นที่เทือกเขาภูพานคำบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งมีสภาพป่าเต็งรังค่อนข้างสมบูรณ์และมีทิวทัศน์รอบอ่างเก็บน้ำสวยงามเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สมบูรณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้มีการดำเนินการประกาศพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเก้า ในท้องที่ตำบลหัวนา ตำบลนามะเฟือง อำเภอหนองบัวลำภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) ตำบลบ้านถิ่น ตำบลโคกม่วง ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลโนนเมือง ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลกุดดู่ ตำบลโนนสัง ตำบลบ้านค้อ ตำบลหนองเรือ ตำบลโคกใหญ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และป่าโคกสูง ป่าบ้านดง ในท้องที่ตำบลศรีสุขสำราญ ตำบลนาคำ ตำบลบ้านดง ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ และตำบลหว้าทอง ตำบลทุ่งชมพู ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2528 ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 130 ลงวันที่ 20 กันยายน 2528 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 50 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูเก้า มีสัณฐานคล้ายกะทะหงายโดยมีที่ราบอยู่ตอนกลาง พื้นที่เช่นนี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า พื้นที่ส่วนนี้น่าจะเป็นซากภูเขาไฟโบราณที่ดับสนิทไปแล้วหลายร้อยล้านปี หรือมิฉะนั้นก็เป็นการโก่งตัวของเปลือกโลกในบริเวณนี้ขึ้นมาเป็นขอบเทือกเขา เทือกเขาภูเก้าเป็นเทือกเขาสองชั้น ชั้นนอกเป็นภูเขาสูงและมีความลาดชันมาก ไหล่เขาด้านในมีความลาดชันไม่มากนัก พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ บางแห่งเป็นที่ราบ

ภูพานคำ เป็นแนวทิวเขายาวในเทือกเขาภูพาน เรียงตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขาเป็นแอ่งที่ราบต่ำลุ่มน้ำพอง ซึ่งเป็นหุบเขาขนาดใหญ่ เมื่อมีการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ พื้นที่ดังกล่าวนี้กลายเป็นทะเลสา[ ซึ่งเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของส่วนภูพานคำ สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณซึ่งขึ้นอยู่ในพื้นดินปนหิน

ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูกาลของอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงทางตอนใต้ของประเทศจีน

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพโดยทั่วไปเป็น ป่าเต็งรัง มีไม้ขึ้นอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นไหล่เขาและสันเขา พันธุ์ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม กระโดน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย ปรงป่า หญ้าเพ็ก เป้ง เถาวัลย์ และไม้หนามหลายชนิด ส่วน ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีอยู่ในบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งห้วย หุบเขา และไหล่เขาบางส่วน พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ มะค่าแต้ กระบก ตะคร้อ ตีนนก ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ ป่าดงดิบ มีอยู่เฉพาะบริเวณริมฝั่งห้วยเท่านั้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะแบก ยาง ตะเคียนหิน มะค่าโมง กระบก และชิงชัน เป็นต้น

 ถ้ำเรขาคณิต และถ้ำมึ้ม
สันนิษฐานว่าร่องรอยที่ค้นพบมีอายุประมาณไม่ต่ำกว่า 3,500 ปี ในยุคบ้านเชียง ซึ่งสังคมมนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์เป็นอาหาร ปรากฏภาพเขียนสีและภาพสลักบนผนังภายในถ้ำ

กิจกรรม :ชมประวัติศาสตร์

เทิวทัศน์ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์และเกาะแก่งต่าง ๆ
เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำ และพักแรม สามารถเดินทางไปเที่ยวหมู่บ้านประมง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี และซื้อปลาได้ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น


หามต่าง หรือหามตั้ง
เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับเสาเฉลียง ที่ผาแต้ม คือ เกิดจากการกัดเซาะของน้ำสายลม และแสงแดด มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้ง ขึ้นมีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกันมองดูคล้าย ดอกเห็ด

 น้ำตกตาดฟ้า
น้ำตกตาดฟ้า ตั้งอยู่ฝั่งส่วนภูเก้า เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สายน้ำไหลมาตามธารเล็กๆ ท่ามกลางป่าเบญจพรรณ ก่อนจะทิ้งตัวลงมาตามชั้นหินสูง 7 เมตร สู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำมากเฉพาะฤดูฝน

รอยเท้านายพรานและรอยตีนหมา
อยู่บริเวณตีนภูเก้าซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางอำเภอโนนสัง 18 กิโลเมตร เป็นรอยเท้าขนาดใหญ่ 2 รอยลึกลงไปในลานหิน ลักษณะคล้ายรูปเท้ามนุษย์และตีนสุนัขที่เห็นได้ชัดเจน

 หอสวรรค์
เป็นจุดชมทิวทัศน์ อยู่ห่างจากวัดพระพุทธบาทภูเก้าประมาณ 1 กิโลเมตร มองเห็นทิวทัศน์ของที่ราบจังหวัดหนองบัวลำภู และผืนป่าเขียวขจีของอุทยานแห่งชาติกว้างไกลไปจนถึงอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ บริเวณนี้มีก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมหน้าผา ก้อนหินสูง 30 เมตร มีบันไดให้ปีนขึ้นไปบนก้อนหินซึ่งมีศาลาตั้งอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกจุดชมทิวทัศน์บนหินก้อนนี้ว่า “หอสวรรค์”

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
ตู้ ปณ.2 ปทจ.อุบลรัตน์ อ. อุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น 40250
โทรศัพท์ 0 1221 0764 

การเดินทาง
รถยนต์
• จากจังหวัดหนองบัวลำภู ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 แยกซ้ายบ้านวังหมื่น แยกซ้ายบ้านหัวขัว แยกซ้ายบ้านค้อ ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ระยะทาง 58 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภออุบลรัตน์ 6 กิโลเมตร

• จากจังหวัดขอนแก่น ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ขอนแก่น-อุดรธานี) ประมาณ 26 กิโลเมตร แยกซ้ายตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2109 อีก 24 กิโลเมตร ถึงอำเภออุบลรัตน์ แยกขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ รวมระยะทางประมาณ 56 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง

ใช้รถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น-หนองบัวลำภู ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
น้ำตกตาดฟ้า
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
หอสวรรค์
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ/map of Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ

เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข

เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

 
ขอนแก่น/Information of KHON KAEN

 

General Information
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park, an area in upper northeastern plateau, locates in the lower part of Udon Thani Province and lupper part of Khon Kaen Province. The main geology of this area is mountains of sandstone, has sandstone stratum on the top layer of soil, has hard soil or sandy hard soil beneath, and has laterite and sandy soil scattering all over the area. There are plants, animals, and naturally beautiful scenery. The area consists of deciduous forest and is about 322 squares kilometers.

Topography
The appearance of Phu Kao looks like frying pan which has great plain in the center. It can be assumed that this area is the remains of a volcano extinguished millions of years ago, or layers of rock in this area bending up to being mountain ridges. Phu Kao Mountain Range is two peripheral lines of mountain; the outer line consists of high mountains; the inner line consists of lower mountains which its hillside is not much slope. Most of the area alternates between high and low, and some are plains.

Phu Phan Kham, in Phu Phan Mountain Range, is a long mountain range lying northeast and southwest. The southwest part was a lower vast-plain of Lam Nam Phong, the very big valley, which, after finished building Ubonratana Dam, is now a lake and becomes half area of Phu Phan Kham. There are deciduous forest and mixed forest growing on the rocky soil.

Climate
The weather in this area is three seasons. Summer is from March to May with hot temperature in April. Rainy season is from June to October with heavy rain in August. Winter is from November to February with very cold temperature in January because it has been influenced by high pressure from southern China.

Flora and Fauna
The area generally has deciduous forest spreading all over especially on hillside and ridge. The valuable trees are Siamese sal, ingyin, eng, Kradone (a kind of Barringtoniaceae), Hiang and Payom (a kind of Dipterocarpaceae), and lower plants are wild cyad, slender bamboo, and many kinds of climber and prickly plants. In addition, there also has mixed forest in lower areas such as along the stream, in the valley, and on some of hillsides. The valuable trees are ironwood, Burmese ebony, Makhaa Tae, gyo, Krabog (a kind of Ixonanthaceae), and Teen nok (a kind of Verbenaceae), with bamboo is the lower plants. And the rain forest is growing only on the banks of stream. Its valuable trees are, for examples, Tabag (a kind of Lagerstroemia), Yang, Hopea, Makhaa mong, and rosewood.

 Rekha Khanit and Muem Caves
The remains, believing older than 3,500 years, in the archeological site shows the evidence that human of this ‘Ban Chiang Era’ lived their life by hunting according to the color painting and rock carving on the wall of caves.

 Beautiful Scenery of Ubonrat Dam and her Islands
This place is suitable for camping and traveling by boat. Traveler can travel to Pramong Village (Fishery Village), Non Sung District, Udon Thani Province, and to buy fish in Ubonratana District, Khon Kaen Province.

 Ham Tang
This is the existing of nature like Sao Chaliang in Pha Tam, that is; there are rock columns, caused by the erosion from water, rain and wind for a long time, which have rock floor on top look like mushroom.

Tatfa Waterfall
They are the wonderful waterfalls, located in Phu Kao, and has more water only in rainy season.

Contact Address
Phu Kao - Phu Phan Kham National Park
P.O.Box 2. Ubonratana Amphur Ubol Ratana Khorn Kaen Thailand 40250
Tel. 0 1221 0764 

ow to go?
By Car

• From Udon Thani, use a road ‘Udon Thani – Non Sang’ for 86 kilometers and turn at Kut Khu Village 17 kilometers to Phu Kao. There is Phu Kao - Phu Phan Kham National Park’s office 6 kilometers from Ubolratana Dam.

• From Khon Kaen, use a road ‘Khon Kaen – Ubonratana’ for 50 kilometers and another 6 kilometers from Ubolratana Dam to Phu Phan Kham National Park’s office.

By Bus


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ
เน„เธกเนˆเธžเธšเธซเธ™เน‰เธฒ | เธ”เธนเน€เธญเน€เธ‹เธตเธข เธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเน„เธ—เธข
เน‚เธญเนŠเธฐเน‚เธญโ€ฆ เธ‚เน‰เธญเธœเธดเธ”เธžเธฅเธฒเธ” 404
เธ‚เธญเธญเธ เธฑเธข, เนเธ•เนˆเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธฅเธฑเธ‡เธกเธญเธ‡เธซเธฒเธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเธกเธตเธญเธขเธนเนˆ
เธ„เธธเธ“เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เน„เธ›เธ—เธตเนˆ เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ

เน‚เธžเธชเธ•เนŒเธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”เธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ขอนแก่น แผนที่จังหวัดขอนแก่น โรงแรมในขอนแก่น แผนที่ขอนแก่น สถานที่ท่องเที่ยวขอนแก่น
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอชุมแพ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอภูผาม่าน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอภูเวียง


ภูเก้า
Phu Kao

(ขอนแก่น)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภออุบลรัตน์
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเปือยน้อย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
แผนที่จังหวัดขอนแก่น/map of KHON KAEN
โรงแรมจังหวัดขอนแก่น/Hotel of KHON KAEN

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์