ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

            จังหวัดกระบี่มีมรดกทางวัฒนธรรมอันได้แก่โบราณสถานโบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมดีเด่น  เท่าที่สำรวจพบมีอายุตั้งแต่ ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี
ภาพเขียนสีถ้ำผีหัวโต

            ถ้ำผีหัวโตอยู่ที่บ้านบ่อท่อ  ตำบลอ่าวลึกใต้  อำเภออ่าวลึก  เป็นถ้ำอยู่ในภูเขาหินปูนในกลุ่มเขาถ้ำลอดใต้ ในแนวเทือกเขาภูเก็ตหรือแนวเขาในกลุ่มหินราชบุรี  อายุประมาณ ๒๓๐ - ๓๔๕ ล้านปีมาแล้ว  ภายในถ้ำอากาศถ่ายเทได้สดวก และมีแสงสว่างส่องเข้าไปได้หลายทิศทาง  ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยและแท่งหิน มีกองเปลือกหอยทับถมอยู่เป็นจำนวนมาก  มีทางขึ้นไปที่ปากถ้ำทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ภายในถ้ำแบ่งเป็นสองคูหาใหญ่ ๆ เชื่อมต่อกันได้เป็นบริเวณที่มีภาพเขียนสี
            นักโบราณคดีให้ความเห็นว่า  ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์เป็นผู้สร้างผลงานเหล่านี้  อาจเป็นบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน  พิธีกรรมความเชื่อ หรือใช้สื่อสารกันระหว่างกลุ่มชนก็เป็นได้  เจ้าของภาพเป็นพิธีชุมชนชาวน้ำหรือพวกที่อาศัยอยู่ตามเกาะในอ่าวพังงา และอ่าวลึกที่อยู่ล้อมรอบ  และชุมชนพื้นราบที่อาศัยถ้ำป่าเขาสัญจรทางบก  อย่างไรก็ตามภาพเขียนสีที่ถ้ำแห่งนี้น่าจะเป็นกลุ่มชนชาวน้ำ  อาจเป็นบรรพบุรุษของชาวเลในปัจจุบันก็ได้ อายุของภาพอยู่ระหว่าง ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว
            ชาวบ้านรู้จักถ้ำนี้มานานแล้ว  เดิมพบเศษกระดูกและหัวกระโหลกคนขนาดใหญ่  จึงได้ชื่อว่าถ้ำผีหัวโต  นักโบราณคดีชาวตะวันตกคนแรก ที่เขียนบทความเรื่องโบราณคดีสยาม ได้เขียนเกี่ยวกับภาพเขียนสีไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และได้มีการศึกษาเพิ่มเติมออกไปในระยะต่อมา
            ตำแหน่งของภาพเขียนสีมีกระจายอยู่ทั่วไปในคูหาที่ ๑ และคูหาที่ ๒ มีทั้งที่เขียนไว้ในระดับต่ำและระดับสูง มีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน  กลุ่มใหญ่เป็นแนวยาวตลอดผนัง  กลุ่มเล็ก ๆ มีอยู่ตามซอกเพดานอยู่ทั่วไป  ภาพเขียนส่วนใหญ่มักอยู่ในตำแหน่งที่แสงสว่างส่อง  สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน  ภาพแต่ละกลุ่มมีลักษณะเด่นในตัวเอง  ไม่ซ้ำกับกลุ่มอื่น
ภาพเขียนสีถ้ำไวกิ้ง (ถ้ำพญานาค)

            ถ้ำไวกิ้งอยู่ที่เกาะพีพีเล ตำบลอ่าวนาง  อำเภอเมือง ฯ เกาะพีพีเลอยู่กลางทะเลลึก  ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ ๔๒ กิโลเมตร  เกาะพีพีและถ้ำไวกิ้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด  ถ้ำไวกิ้งเป็นแหล่งรังนกมีผู้ประมูลสัมปทานเก็บรังนก
            ถ้ำไวกิ้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเกาะ  ภายในถ้ำมีบริเวณกว้างขวาง สูงประมาณ ๘๐ เมตร มีหินงอกหินย้อยงดงาม  ภาพเขียนเขียนบนฝาผนังอยู่ในถ้ำทางด้านทิศตะวันออกและทางด้านทิศใต้  นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า  รูปเรือที่เขียนในถ้ำไวกิ้งเป็นภาพที่เขียนในสมัยประวัติศาสตร์  อาจจะเป็นสมัยอยุธยา  โดยฝีมือของนักเดินเรือหรือพวกโจรสลัด ที่ซ่องสุมอยู่ในถ้ำแห่งนี้  จากการศึกษาเส้นทางเดินเรือจากฝั่งตะวันตกไปฝั่งตะวันออก  บริเวณหมู่เกาะพีพีเป็นจุดที่เรือสามารถแวะพักหลบมรสุม  ขนถ่ายสินค้าหาเสบียงอาหาร หรือซ่อมแซมเรือ  ภาพส่วนใหญ่ที่พบเป็นรูปเรือมีหลายแบบ  และไม่ได้เขียนขึ้นในเวลาเดียวกันแต่เป็นการเขียนอย่างต่อเนื่อง  นอกจากภาพเรือแล้วยังมีภาพล่าสัตว์และช้างอยู่ด้วย
            ภาพเรือที่ปรากฏมีหลายประเภทคือ เรือใบ ๓ เสา  พวกเรือสำเภาเรือโป๊ะจ้าย  เรือใบ ๒ เสา พวกเรือกำปั่น เรือฉลอม เรือที่ใช้กรรเชียง เรือใบยุโรป เรือใบอาหรับ เรือใบใช้กังหัน เรือกลไฟ
ภาพเขียนสีเพิงผาเขาเขียนในสระ


            อยู่ที่บ้านสระ ตำบลเขาทอง อำเภอเมือง ฯ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบระหว่างเชิงเขา  มีภูเขาหินปูนล้อมรอบอยู่เป็นจำนวนมาก  ในสมัยก่อนน้ำทะเลท่ามถึงบริเวณเขาเขียน
            ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ มีอยู่ประมาณ ๑๕ ภาพ  อยู่ตรงบริเวณรอยบากเพิงผาในภูเขาหินปูน  เพิงผามีลักษณะเป็นเพิงพักอาศัยได้  และน่าจะเป็นที่พักอาศัยของมนุษย์มาแต่โบราณ  ภาพเขียนดังกล่าวมีอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ซึ่งชุมชนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่อพยพเร่ร่อนทางทะเลแถบนี้เขียนไว้  อาจเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันหรือใช้เป็นการสื่อสารระหว่างกัน
ภาพเขียนสีแหลมไฟไหม้
            อยู่ที่แหลมไฟไหม้ บ้านไสโต๊ะคำ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก เป็นภาพบนเพิงผาในภูเขาหินปูน ที่ยื่นออกไปในทะเลเล็กน้อย  สภาพแวดล้อมเป็นป่าชายเลนมีไม้จำพวกแสมโกงกาง และตะบูน รอยบากที่มีภาพเขียนยาวประมาณ ๙ เมตร กว้างประมาณ ๕ เมตร สูงประมาณ ๓.๕๐ เมตร เป็นรูปคนและสัตว์  เขียนด้วยสีแดงและสีดำอยู่ทั่วไป มีภาพอื่น ๆ บ้างแต่ไม่ชัดเจน สีของภาพเลือนไปกับสีของผนังปูน จึงไม่สามารถเห็นชัดว่าเป็นรูปอะไร  อย่างไรก็ตามพอจะแบ่งประเภทของภาพได้ดังนี้
            ภาพคน ระบายสีแดงทึบทั้งหมด เป็นภาพที่เด่นที่สุดของแหล่งนี้  รูปลักษณะคล้ายคนสองคนยืนติดกัน มี ๒ ศีรษะค่อนข้างชัด  เห็นแขนเพียง ๒ แขน เห็นขาครบ ๔ ขา ขนาดภาพสูงประมาณ ๕๐ เซ็นติเมตร
            นอกจากนั้นเป็นภาพคนและภาพคล้ายคนอีก ๓ ภาพ  ภาพปลา ๒ ภาพ ภาพนก ๑ ภาพ  ภาพคล้ายแมงกะพรุน ๒ ภาพ ภาพสีดำคล้ายดอกไม้ ๑ ภาพ  ภาพสีดำคล้ายเรือ ๑ ภาพ  ภาพทางเรขาคณิต และภาพอื่น ๆ มีทั้งระบายสีและเส้นโครงร่างดูคล้ายดอกบัว  คล้ายพระจันทร์เสี้ยวคล้ายกากบาทติดต่อกัน และภาพรูปเหลี่ยมต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ภาพเขียนสีเขากาโรส

            อยู่ที่เขากาโรส (แหลมท้ายแรด) ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก  กาโรสมีสภาพเป็นเกาะหรือเขาหินปูนลูกยาว  เชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ในแนวเทือกเขาภูเก็ต ยาวประมาณ ๖ กิโลเมตร  สภาพของภูเขาเป็นเพิงผา และรอยบากอยู่ทั่วไป  ตำแหน่งของภาพเขียนอยู่ตรงรอยบากเพิงผาตื้น ๆ มีโอกาสถูกลมและฝนได้ตลอดเวลา  ภาพเขียนดังกล่าวจึงลบเลือนไปตามกาลเวลา ภาพเขียนอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓ - ๔ เมตร  พื้นที่หน้าผาที่มีภาพเขียนค่อนข้างราบเรียบ ภาพเขียนสีเขากาโรสพอประมวลได้ดังนี้             ภาพแรก ภาพคล้ายคนหรือสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง  ส่วนหัวคล้ายสุนัขอยู่ในท่านั่งหันทางข้างให้มี ๒ แขน ๒ ขา ระบายสีทึบ
            ภาพที่สอง คล้ายคนมีส่วนหัวและลำตัว  แขนซ้ายคล้ายถือของอยู่ ภาพนี้ไม่มีขา
            ภาพที่สาม เป็นภาพสัตว์คล้ายสุนัข แรด หรือหนูมีสี่ขาหางยาว มีส่วนที่เป็นเขาหรือเป็นหู จมูกคล้ายมีนอ
            ภาพที่สี่ เป็นรูปประหลาด ลำตัวกลมยาว มีส่วนที่คล้ายเป็นขา ๒ ขา ส่วนหัวกลมมีตุ่มคล้ายเป็นขาหน้า
            ภาพที่ห้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เขียนเป็นโครงร่าง อยู่ด้านบนของสัตว์ประหลาดในภาพที่สี่
            ภาพที่หก เป็นภาพสี่เหลี่ยมเป็นซี่ ๆ คล้ายหวี มีอยู่ ๕ ขีด
            นอกจากนี้ยังมีภาพเป็นจุดกลม ๆ และลายเส้นขีดหนา ๆ ๒ เส้นอยู่ใกล้กัน ใช้สีแดงเขียนทั้งหมด
ภาพเขียนสีแหล่งถ้ำชาวเล

            อยู่ที่ถ้ำชาวเล บ้านแหลมสัก ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก  พื้นที่ตั้งถ้ำชาวเลเป็นปลายแหลมยื่นลงไปในทะเลทางทิศตะวันตกของแหลมสัก  สภาพป่าบนภูเขายังสมบูรณ์มีฝูงนก ลิง ค่าง อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  น้ำทะเลใสสะอาด เกาะแก่งที่อยู่บริเวณใกล้เคียงให้ทิวทัศน์ที่สวยงาม
            เพิงผาของภูเขาหินปูนสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๕ เมตร  ภาพเขียนอยู่ตรงรอยบากของภูเขาที่อยู่สองกลุ่ม  กลุ่มที่หนึ่งอยู่ตรงรอยบากของภูเขาตรงปลายแหลม  อีกกลุ่มหนึ่งอยู่บริเวณปากถ้ำห่างจากปลายแหลมไม่มากนัก  มีหินงอกหินย้อยเล็กน้อย  ภาพเขียนในถ้ำชาวเลมีอยู่ ๓ ภาพ คือ
            ภาพแรก เป็นภาพคนสองคนนั่งหันหน้าเข้าหากัน มือถือวัตถุบางอย่าง ทำอาการคล้ายกำลังสูบหรือกำลังเป่า
            ภาพที่สอง เป็นคนสองคนหันหน้าเข้าหากัน มือถือวัตถุบางอย่าง เช่นเดียวกับภาพแรก
            ภาพที่สาม เป็นภาพคนขี่บนหลังสัตว์คล้ายม้า คนอยู่ในท่ายกแขนขึ้นคล้ายถือวัตถุบางอย่าง
ภาพเขียนสีเขาตีบนุ้ย

            อยู่ที่เขาตีบนุ้ย บ้านหินราว ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก  เขาตีบนุ้ยเป็นภูเขาหินปูนลูกเล็ก ๆ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านหินราว  ด้านหนึ่งติดกับป่าโกงกาง และทางทะเล มีแนวร่องน้ำเข้ามาถึงภูเขาได้ ดังนั้นทางเข้าที่สะดวกคือทางทะเลเมื่อเวลาน้ำขึ้น  เป็นโพรงถ้ำในภูเขาหินปูนทั้งสองด้านของภูเขา  พื้นถ้ำกว้างพอสมควร โพรงถ้ำค่อย ๆ สอบแคบขึ้นไปข้างบนจนดูเป็นรูปสามเหลี่ยม  มีหินงอกหินย้อยอยู่บ้างพอสมควร  และมีโพรงถ้ำเล็ก ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ภาพเขียนกลุ่มหนึ่งอยู่ในโพรงถ้ำนี้
            เพิงผาทางด้านทิศเหนือ ติดกับป่าโกงกาง  หันหน้าไปทางทะเลเป็นหน้าผาสูงชันพื้นค่อนข้างเรียบ เป็นด้านที่ถูกลมและฝนอยู่ตลอดเวลา  มีภาพเขียนอยู่อีกกลุ่มหนึ่ง แต่ภาพส่วนใหญ่ลบเลือนไปมาก
            ภาพเขียนกลุ่มแรกที่อยู่ในโพรงถ้ำเขียนด้วยสีแดง  เป็นภาพคนเขียนขึ้นอย่างหยาบ ๆ เป็นลายเส้นวงหน้าเป็นสามเหลี่ยมขีดเส้นเป็นผมยาวมีเครา ใกล้กับภาพแรก เป็นภาพคนเขียนด้วยสีแดง มือข้างหนึ่งคล้ายกำลังอุ้มเด็กถือสิ่งของอะไรอยู่ด้วย ผนังด้านบนขึ้นไปเป็นภาพร่างลายเส้นเป็นรูปคน แต่ไม่แสดงรายละเอียด เขียนด้วยสีแดง  ภาพต่อไปเป็นภาพคล้ายคนหรือสัตว์อีกกลุ่มหนึ่ง อยู่ใกล้เคียงกัน แต่รางเลือนมากจนดูไม่ออกว่าเป็นภาพอะไรแน่เขียนด้วยสีแดง
            หน้าผาด้านนอกทางด้านทิศเหนือ  มีภาพเขียนด้วยสีดำ คล้ายคนหรือสัตว์เป็นลายเส้น  ส่วนหน้าระบายสีทึบมีแขนสองแขน  ส่วนขามีเส้นขีดสามเส้น  อาจเป็นหางหรืออวัยวะอื่น
            ที่พื้นถ้ำพบเศษเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ และบางชนิดมีพื้นผิวเรียบอยู่บ้างเล็กน้อย
ภาพเขียนสีเพิงผาถ้ำแหลมยอ

            อยู่ที่เพิงผาถ้ำแหลมยอ  บ้านเกาะยอ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก  เกาะยอเป็นภูเขาหินปูนในทะเล มีเพิงผาสูงชันโพรงถ้ำและรอยบากเพิงผาอยู่เป็นจำนวนมากโดยรอบภูเขา  ทางด้านทิศตะวันออกเป็นป่าเลน และภูเขาลูกเล็ก ๆ สองสามลูก  เพิงผาด้านทิศตะวันตก มีหินทรายแคบ ๆ สามารถจอดเรือเข้าพักได้
            เพิงผาถ้ำแหลมยอ เป็นเพิงผาในภูเขาหินปูนอยู่ในทะเลและมีโพรงถ้ำเว้าแหว่งอยู่อีกเป็นจำนวนมากรอบภูเขา  สภาพของเพิงผาสามารถหลบลมฝนได้ในฤดูมรสุม  เพิงผาด้านทิศตะวันตกซึ่งหันหน้าออกทะเล มีภาพเขียนบนหน้าผามีชายหาดอยู่เล็กน้อย สามารถขึ้นไปพักได้  ภาพเขียนสีซึ่งเป็นศิลปถ้ำบนหน้าผาด้านทิศตะวันตก  สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓ - ๔ เมตร เขียนด้วยสีแดง เหมือนภาพที่ถ้ำผีหัวโต  ภาพกลุ่มแรกตรงหน้าเป็นภาพคนระบายสีทึบ ๓ - ๔ ภาพ เป็นกลุ่มคนที่เหมือนกับกำลังทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
            ภาพอีกกลุ่มหนึ่งมีภาพคนเขียนด้วยสีแดง และมีภาพสัตว์รูปร่างคล้ายปูอยู่ใกล้กัน  พบเศษเครื่องปั้นดินเผาจำพวกหม้อบางส่วนมีลายเชือกทาบ อยู่ในโพรงถ้ำเล็ก ๆ
ภาพเขียนถ้ำโต๊ะหลวง

            อยู่ที่ถ้ำโต๊ะหลวง บ้านนบ ตำบลหนองหิน อำเภออ่าวลึก เป็นถ้ำหินปูนอยู่บนที่ราบ  มีร่องรอยที่ราบลุ่มเป็นแนวผ่านเชิงเขา ซึ่งปัจจุบันตื้นเขินหมดแล้ว  เป็นเพิงผาและโพรงถ้ำ กว้างขวางซับซ้อนกันหลายชั้น  แต่ละชั้นมีหินงอกหินย้อยสวยงาม เป็นถ้ำโปร่ง  อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีร่องรอยการอยู่อาศัย และประกอบกิจกรรมของมนุษย์มาแต่สมัยโบราณ  สภาพเดิมคงมีแหล่งน้ำเข้าถึง โพรงถ้ำเป็นที่พักอาศัยได้สะดวก
            หลักฐานที่ค้นพบได้แก่เครื่องมือหินกระเทาะประเภทเครื่องมือขุด  ชิ้นส่วนกระดูกคนและสัตว์  เศษชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผา  และภาพเขียนซึ่งเก่าไม่ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์

โบราณคดีถ้ำหมอเขียว
            อยู่ที่ถ้ำหมอเขียว บ้านหน้าชิง ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง ฯ  อยู่ในเทือกเขาหินปูนเทือกเดียวกันกับถ้ำอ่าวโกบ (หน้าชิง)  อยู่อีกฟากหนึ่งของกลุ่มภูเขากองและเขาช่องลม  อยู่ทางด้านทิศเหนือของอ่าวเขาโกบ  บริเวณโดยรอบเป็นที่ราบระหว่างเขา ตัวถ้ำนี้มีลักษณะเป็นหลืบลึกเข้าไปในผนังประมาณ ๓ เมตร  ส่วนที่เป็นคูหาด้านทิศตะวันตก - และตะวันออก เป็นเพิงสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัย  รวมทั้งเป็นที่ฝังศพได้ด้วย
            จากการขุดค้นสำรวจ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้แบ่งชั้นดินออกเป็น ๖ ชั้น จากบนไปล่างตามลำดับดังนี้
                 ๑  พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบสีเทาเข้ม และสีดำ มีทั้งผิวเรียบและมีเชือกทาบ
                 ๒  พบเครื่องมือหินและเครื่องมือกระดูก เป็นเครื่องมือหินขัด และหินกระเทาะ  เครื่องมือสะเก็ดหิน มีเครื่องมือกระดูกอยู่บางส่วน
                 ๓  พบกระดูกสัตว์ใหญ่ และเปลือกหอยชนิดต่าง ๆ ทั้งหอยทะเล และหอยน้ำจืด
                 ๔  พบหลักฐานเกี่ยวกับเมล็ดพืช
                 ๕  หบหลักฐานเกี่ยวกับกองไฟในชั้นวัฒนธรรมต่าง ๆ มักพบร่วมกับกระดูกสัตว์ เมล็ดพืช ขวานหิน สะเก็ดหิน
                 ๖  เครื่องประดับลูกปัดทำจากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ และแผ่นหิน
                 ๗  เครื่องกระดูกมีภาพแกะสลักเป็นลายเส้นแบบง่าย ๆ
                 ๘  หลุมฝังศพและโครงกระดูก

โบราณคดีถ้ำหมื่นจันทร์ (หน้าหม้อ)

            อยู่ที่ถ้ำหมื่นจันทร์ บ้านหน้าหมอ ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง ฯ เป็นภูเขาหินปูนต่อจากแนวช่องห้วยเหวียงเข้าไปสู่แนวเขาพนมเบญจา  มีที่ราบระหว่างหุบเขา มีแนวลำคลองเล็ก ๆ ไหลผ่าน คือส่วนที่เป็นปลายคลองกระบี่น้อยนั่นเอง  สภาพของถ้ำเป็นเพิงผาเหมาะที่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้  มีร่องรอยการเข้ามาประกอบกิจกรรมของมนุษย์มาก่อน  สภาพทั่วไปเป็นป่ารกมีต้นไผ่ และเถาวัลย์ขึ้นอยู่ทั่วไป  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบได้แก่
                 ๑.  เศษเครื่องปั้นดินเผามีกระจายอยู่ทั่วไปคล้ายเศษของหม้อ มีทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบ
                 ๒.  เปลือกหอยชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหอยทะเลและหอยภูเขามีอยู่เป็นจำนวนมาก
                 ๓.  ชาวบ้านเคยพบขวานหินขัด
โบราณคดีเขาชวาปราบ

            อยู่ที่เขาชวาปราบ บ้านดินนา ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม  ลักษณะเป็นที่ราบสูงอยู่บนเขาสูงชัน และค่อย ๆ ลาดเทลงไปอีกด้านหนึ่ง  ป่าบางส่วนยังมีความสมบูรณ์พอจะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า  และเป็นแหล่งกำเนิดน้ำตกหินเพลิง  และคลองลำห้วยเล็ก ๆ อีกหลายสาย  มีร่องรอยน้ำทะเลท่วมถึง ปัจจุบันเขาชวาปราบอยู่ห่างจากทะเลประมาณ ๒๐ กิโลเมตร  บริเวณนี้น่าจะอยู่ในเส้นทางเดินโบราณ คือจากปลายคลองสินปุน สามารถไปลงแม่น้ำตาปีที่ท่ายาง หรืออำเภอทุ่งใหญ่ในปัจจุบันได้  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏได้แก่
                 ๑  บริเวณลาดบนเขา เชื่อกันว่าเป็นร่องรอยที่ตั้งชุมชนโบราณ ยังมีเนินดินพอเป็นที่สังเกตได้
                 ๒  เคยมีชาวบ้านพบเศษเครื่องปั้นดินเผา แผ่นอิฐและพระพุทธรูป
                 ๓  แนวหินคล้ายกำแพงหรือเขื่อนกั้นน้ำ และแท่งหินลักษณะคล้ายเสา
                 ๔  ก้อนหินกลมคล้ายก้อนหินแก้วสีขนาดใหญ่
                 ๕  จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน เคยมีผู้พบสมอเรือขนาดใหญ่ทางด้านทิศเหนือของเขาชวาปราบ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |บน |

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์