ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


จังหวัดพังงา

            จังหวัดพังงาตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ทางด้านทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย พื้นที่ที่ของจังหวัดพังงาเคยเป็นสถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาตร์มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมายหลายแห่ง มีพื้นที่ประมาณ ๔,๑๗๐ ตารางกิโลเมตรหรือ ประมาณ ๒,๖๐๐ ล้านไร่ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ ๙ ของจังหวัดในภาคใต้ มีอาณาเขตดังนี้
            ทิศเหนือ  ติดต่อกับจังหวัดระนอง
            ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎรธานี และจังหวัดกระบี่
            ทิศใต้  ติดต่อกับ จังหวัดภูเก็ต
            ทิศตะวันตก  ติดต่อกับทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย
ลักษณะภูมิประเทศ

            ภูมิประเทศของจังหวัดพังงา ประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบตามชายฝั่งทะเลที่ราบหุบเขา มีช่ายฝั่งทะเลยาว ๒๔๐ กิโลเมตร ตลอดแนวด้านตะวันตกมีเกาะแก่งประมาณ ๑๐๕ เกาะ มีแม่น้ำลำคลอง และลำธารหลายสายกระจายอยู่ในเขตอำเภอต่าง ๆ
            พื้นที่มีลักษณะเป็นรูปยาวรีวางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ ๑๑๓ กิโลเมตร มีความกว้างจากทิศตะวันออก - ตะวันตก ทางตอนเหนือของจังหวัดประมาณ ๒๕ กิโลเมตร และตอนใต้ ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร มีลักษณะภูมิประเทศดังนี้

           บริเวณเทือกเขาและที่ราบสูงทางด้านตะวันออก  บริเวณนี้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดมีลักษณะเป็นกลุ่มภูเขาน้อยใหญ่จำนวนมาก ที่วางตัวสลับซับซ้อน ทอดตัวยาวตามแนวเหนือ - ใต้ มีเทือกเขาที่สำคัญคือเทือกเขาภูเก็ตซึ่งเป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาตะนาวศรี มีความสูง ๒๐๐ ถึง ๑,๐๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล แนวสันเขานี้ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดสุราษฎรธานี และจังหวัดกระบี่ บริเวณพื้นที่อำเภอเมือง ฯ อำเภอทับปุด แหละบางส่วนของอำเภอกะปง
           บริเวณที่ราบเชิงเขาตอนกลาง  บริเวณตอนกลางของพื้นที่ตามแนวเหนือ-ใต้ มีลักษณะภูมิประเทศแบบที่ราบเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่มีความสูงประมาณ ๒๐ - ๑๒๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ได้แก่พื้นที่ในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง

           บริเวณที่รบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกและด้านใต้  เป็นที่ราบแคบ ๆ ตลอดแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอเมือง ฯ และอำเภอทับปุด
           บริเวณที่ราบดินตะกอนลำน้ำ  ได้แก่ บริเวณสองฝั่งคลองคึกคักและแม่น้ำตะกั่วป่าในเขตอำเภอตะกั่วป่า คลองวังทัง คลองห้วยทราย และคลองนาแฝก ในเขตอำเภอท้ายเหมือง คลองหล่อยุง คลองวัดเขา และคลองหินเขาในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และแม่น้ำพังงาในเขตอำเภอเมือง ฯ

           บริเวณเกาะนอกฝั่งทะเล  จังหวัดพังงามีเกาะใหญ่น้อยประมาณ ๑๐๕ เกาะ เกาะเหล่านี้เกิดจากการจมตัวของฝั่งทะเลในอดีต ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอคุระบุรี และอำเภอเกาะยาว
ทรัพยากรธรรมชาติ
            จังหวัดพังงามีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์มากจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ ทรัพยากรที่สำคัญได้แก่ แหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า ดิน แร่ธาตุ และทรัพยากรทางทะเล

           ทรัพยากรน้ำ  พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำรหัสที่ ๒๕ (พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีต้นน้ำเกิดจากแนวเทือกเขาภูเก็ตที่เป็นเทือกเขาต่อเนื่องกับเทือกเขาตะนาวศรี ไปลงสู่ทะเลอันดามันและเวิ้งอ่าวพังงา
                - แม่น้ำพังงา  มีต้นกำเนิดจากภูเขากะทะคว่ำในเขตอำเภอกะปง ไหลมาบรรจบกับคลองหรา และไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวพังงา มีความยาวประมาณ ๔๕ กิโลเมตร เดิมเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญเคยมีเรือสำเภาเข้ามาขนถ่ายสินค้าถึงตัวเมืองพังงา แต่ปัจจุบันแม่น้ำสายนี้อยู่ในสภาพตื้นเขิน เรือไม่สามารถแล่นเข้ามาได้ และไม่ได้รับการพัฒนาใช้ประโยชน์ในการเกษตร และอุปโภคบริโภค
                - คลองตะกั่วป่า  เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอกะปง ไหลมาบรรจบกับคลองเหล คลองรมณีย์ และไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ที่อำเภอตะกั่วป่า มีความยาวประมาณ ๓๐ กิโลเมตร สมัยก่อนเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ และคมนาคม เคยมีเรือแล่นเข้าไปถึงอำเภอกะปงได้ แต่ปัจจุบันมีสภาพเช่นเดียวกับแม่น้ำพังงาที่อยู่ในสภาพตื้นเขินอันเป็นผลมาจากการทำเหมืองแร่ ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในเขตอำเภอตะกั่วป่าเป็นประจำทุกปี จำเป็นที่จะต้องขุดลอกเพื่อให้ระบายน้ำได้ทันในฤดูที่ฝนตกหนัก
                - คลองนางย่อม  มีต้นกำเนิดจากเขาพระหนี หรือเขานมสาวและเขาพ่อตาหลวงแก้ว ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี มีความยาวประมาณ ๒๔ กิโลเมตร คลองสายนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญเพื่อการเกษตรกรรมบริเวณสองฝั่งคลอง คลองสายนี้หากได้รับการพัฒนาจะสามารถนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตรได้ถึง ๑๖,๐๐๐ ไร่
                - คลองนาเตย  มีต้นกำเนิดจากทิวเขาโตนย่านไทร เขาหม่น เขาตีนโตนใน ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลท้ายเหมือง มีความยาวประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ปัจจุบันคลองสายนี้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของโครงการคลองนาเตย อำเภอท้ายเหมือง
                - คลองถ้ำ  มีต้นกำเนิดจากทิวเขาแสกเพิง เขาวังกอ ไหลลงสู่อ่าวพังงาที่ตำบลถ้ำ อำเภอตะกั่วทุ่ง ยาวประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของโครงการฝายคลองถ้ำ ตำบลตากแดด อำเภอเมือง ฯ
                - คลองลำไตรมาศ   มีต้นกำเนิดจากท่าเขาทำหมอน ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลปะรุ่ย อำเภอทับกุด ยาวประมาณ ๒๓ กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของโครงการฝายคลองลำไตรมาศ อำเภอทับปุด
            นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำลำธาร และคลองหลายสายที่มีความยาวตั้งแต่ ๔ - ๒๐ กิโลเมตร อื่น ๆ อีก

           ทรัพยากรป่าไม้  โดยรวมแล้วจังหวัดพังงา มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าอีกหลายจังหวัดในอดีต พื้นที่ป่ามีปริมาณ ๒,๙๙๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑,๘๗๐,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๗๒ ของพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วยป่าบก ประมาณ ๒,๕๕๕ ตารางกิโลเมตร และป่าชายเลนประมาณ ๔๓๘ ตารางกิโลเมตร สภาพป่าดังกล่าวถูกบุกรุกทำลายอย่างรวดเร็ว จนเหลือสภาพป่าสมบูรณ์อยู่ประมาณ ๑,๒๒๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๖๖,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๒๙ ของพื้นที่จังหวัด

                - ป่าดงดิบ  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าไผ่ มีสภาพเป็นป่าแน่นทึบ สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มีค่านานาชนิด มีพื้นที่ประมาณ ๙๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๗๕,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๒๒ ของพื้นที่จังหวัด
                - ป่าชายเลน  จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดต่าง ๆ ด้านฝั่งทะเลอันดามัน และยังเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์กว่าจังหวัดอื่น ๆ มีพันธุ์ไม้มีค่าหลายชนิด มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ ๓๐๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๙๒,๐๐๐ ไร่
                - ป่าสงวนแห่งชาติ  มีอยู่รวม ๗๓ ป่ามีพื้นที่ประมาณ ๒,๔๗๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑,๕๔๗,๐๐๐ ไร่
                - อุทยานแห่งชาติ  มีอยู่ ๗ แห่ง เป็นพื้นที่ประมาณ ๑,๑๐๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๙๑,๐๐๐ ไร่ ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเลคือ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา (๔๐๐ ตารางกิโลเมตร) อุทยานแห่งชาติศรีพังงา (๒๔๖ ตารางกิโลเมตร)  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (๑๓๕ ตารางกิโลเมตร) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน (๑๑๘ ตารางกิโลเมตร) อุทยานแห่งชาติเขาลำปี - หาดท้ายเหมือง (๗๒ ตารางกิโลเมตร)  อุทยานแห่งชาติหาดแหลมสน (พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดระนอง)  และอุทยานแห่งชาติเขาหลัก - เขาลำรู่ (๑๒๕ ตารางกิโลเมตร)
                - วนอุทยาน  มีอยู่ ๒ แห่ง มีพื้นที่ประมาณ ๐.๕ ตารางกิโลเมตร คือ วนอุทยานนางมโนราห์ และวนอุทยานน้ำตกรามัญ
ประชากร
            ประชากรในจังหวัดพังงาส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย รองลงมาเป็นเชื้อสายจีนใช้ภาษาถิ่นใต้สื่อสารในท้องถิ่นประชากรนับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๗๗  และนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ ๓๒ อีกร้อยละ ๑ นับถือศาสนาอื่น นอกจากนี้มีประชากรที่เป็นคนต่างด้าวสัญชาติพม่า และมอญที่เดินทางมาเป็นผู้ใช้แรงงานจำนวนหนึ่ง ชนกลุ่มน้อยมีเพียงกลุ่มเดียวคือ ชาวเลมีอยู่ประมาณ ๑,๕๐๐ คน อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ อำเภอคุระบุรี และในหลายพื้นที่ที่ติดกับชายฝั่งทะเลของอำเภอท้ายเหมือง บ้านทับปลา บ้านขนิม บ้านท่าดินแดง บ้านท่าปากแหว่ง เกาะคอเขา และหมู่เกาะสุรินทร์ ชนกลุ่มนี้จะมีภาษาพูดเป็นของตนเอง
            ประชากรในจังหวัดพังงามีอาชีพหลักที่สำคัญคือ การเกษตรกรรม การประมง และการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การทำอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และการค้าปลีก

| หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์