ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดสระบุรี

            จังหวัดสระบุรี  ตั้งอยู่ใกล้เขตภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ ๓,๕๘๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒,๒๓๗,๐๐๐ ไร่ เป็นชุมทางคมนาคมแถบภาคกลาง มีความสำคัญมากจังหวัดหนึ่ง มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง คือ
            ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี
            ทิศตะวันออก  ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดนครนายก
            ทิศใต้  ติดต่อกับจังหวัดนครนายกและจังหวัดปทุมธานี
            ทิศตะวันตก  ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
            พื้นที่จังหวัดสระบุรี  เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณลุ่มน้ำภาคกลาง รวมกับอีกส่วนหนึ่งของทิวเขาดงพญาเย็น สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปมีอยู่สามลักษณะคือ บริเวณที่ราบลุ่ม บริเวณเขาหย่อมหรือเขาเตี้ย และบริเวณเขาสูง
            บริเวณที่ราบลุ่ม  เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ส่วนใหญ่คลุมพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัด บางส่วนคลุมถึงพื้นที่ตอนกลางและด้านทิศใต้ของตัวจังหวัด นับตั้งแต่อำเภอพระพุทธบาท อำเภอหนองแซง และบางส่วนของอำเภอหนองแคและอำเภอวิหารแดง พื้นที่ประกอบด้วยลักษณะภูมิประเทศแบบที่ราบตะกอนพามา มีทั้งที่ราบตะกอนพามา ที่ราบน้ำท่วมถึง และที่ราบเป็นขั้น ๆ หรือตะพักริมน้ำ มีระดับความสูงประมาณ ๕ - ๑๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล
            บริเวณเขาหย่อม  มีลักษณะเป็นเขาลูกโดด ที่มีกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณที่ราบตอนกลางของจังหวัด และที่เป็นแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นคลื่นลอนต่ำ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดซึ่งอยู่ในเขตอำเภอมวกเหล็กเป็นส่วนใหญ่ มีความสูงประมาณ ๒๐๐ - ๔๐๐ เมตร จากระดับน้ำ
            บริเวณที่เป็นเขาสูง  เป็นพื้นที่ส่วนที่เหลือจากทั้งสองบริเวณที่กล่าวแล้ว มีแนวการวางตัวของเทือกเขาตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนจงอย ด้านตะวันตกของทิวเขาดงพญาเย็น จากทิวเขานี้ทิวเขาจะติดกันเป็นพืด โค้งไปตามแนวตะวันตกเฉียงใต้ - ตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วจึงต่อด้วยแนวประมาณเหนือ - ใต้ ของทิวเขาดงพญาเย็นอีกทีหนึ่ง และจะต่อกับทิวเขาเพชรบูรณ์ อันเป็นทิวเขาล้อมรอบด้านทิศตะวันตกของที่ราบสูงโคราช พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับความสูงประมาณ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดเขาสูงสุดของบริเวณนี้คือ ยอดเขาอินทนี สูง ๑,๐๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล
ทรัพยากรป่าไม้

            สภาพป่าไม้ เป็นป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ เป็นต้น
            ป่าไม้ในจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ และวนอุทยาน รวม ๑๐ ป่า มีพื้นที่ประมาณ ๕๕๙,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่จังหวัด
            ป่าสงวนแห่งชาติ  มีอยู่ ๘ ป่าด้วยกัน มีพื้นที่ประมาณ ๔๖๑,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๗๓๗ ตารางกิโลเมตร ได้แก่
                - ป่าพระพุทธบาท - พุแค  อยู่ในเขตอำเภอพระพุทธบาทและอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๒๒,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๓๕ ตารางกิโลเมตร เป็นป่าเบญจพรรณ ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาหินปูน ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗
                - ป่าลานท่าฤทธิ์ - ลำทองหลาง - ลำพญากลาง  อยู่ในเขตอำเภอมวกเหล็ก และอำเภอวังม่วง มีพื้นที่ประมาณ ๑๙๓,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๒๐ ตารางกิโลเมตร เป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณที่ถูกทำลาย ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕
                - ป่ามวกเหล็ก - ทับกวาง  แบ่งออกเป็นสองส่วน อยู่ในเขตอำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอยและบางส่วนอยู่ในเขตอำเภอวิหารแดง มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๓,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๑๘๐ ตารางกิโลเมตร เป็นป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑
                - ป่าลานทุ่งฤทธิ์  อยู่ในเขตอำเภอมวกเหล็ก มีพื้นที่ประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๙ ตารางกิโลเมตร สภาพเดิมเป็นป่าเบญจพรรณต่อมาได้ถูกทำลายไปมาก จนเป็นป่าเสื่อมโทรมเหลือสถาพป่าไม่มากนัก ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗
                - ป่าเขาโป่ง - เขาถ้ำเสือ  อยู่ในเขตอำเภอแก่งคอยใกล้กับป่าเขาพระ สภาพป่าถูกทำลาย เหลือสภาพเป็นพื้นที่ภูเขาและเนินเขา มีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๑๖ ตารางกิโลเมตร ประกาศเป็นป่าสงวนห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗

           อุทยานแห่งชาติ  มีอยู่สองแห่งด้วยกันคือ
                - อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (บางส่วน)  อยู่ในเขตอำเภอมวกเหล็ก และอำเภอแก่งคอย มีสภาพเป็นป่าดิบแล้ง มีพื้นที่ประมาณ ๗๑,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๑๑๓ ตารางกิโลเมตร
                - อุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น  อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอหนองแค และอำเภอวิหารแดง เดิมเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพระฉาย ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้มีพระราชบัญญัติกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น บริเวณนี้เป็นป่าดิบแล้งและเป็นป่าไผ่รวก มีพื้นที่ประมาณ ๑๘,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๔๕ ตารางกิโลเมตร เมื่อได้ประกาศเป็นเขตป่าอุทยานแห่งชาติแล้ว ทำให้สภาพป่ามีการฟื้นตัวดีขึ้น ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสระบุรี
ทรัพยากรน้ำ

            แม่น้ำป่าสัก  เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวีดสระบุรี มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ แล้วไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ลงมาทางใต้ ผ่านจังหวัดลพบุรี แล้วไหลเข้าสู่เขตจังหวัดสระบุรี ผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง ฯ อำเภอเสาไห้ แล้วไหลเข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร ในส่วนที่ไหลผ่านจังหวัดสระบุรี เป็นความยาวประมาณ ๑๐๕ กิโลเมตร พื้นที่บริเวณน้ำป่าสัก เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์มาก มีประชากรเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่น น้ำของแม่น้ำป่าสักมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการประกอบอาชีพ กาคมนาคมขนส่งทางน้ำ การอุปโภค และบริโภค
            ห้วย (คลอง) มวกเหล็ก  ต้นน้ำอยู่บริเวณเขาอินทนีในเขตอำเภอแก่งคอย แล้วไหลขึ้นไปทางเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดนครราชสีมากับจังหวัดสระบุรี ไหลผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอวังม่วง แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำป่าสักที่บ้านปากน้ำ ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง
            ห้วยมวกเหล็ก  มีน้ำตกที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ น้ำตกมวกเหล็ก และน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
            ห้วยมวกเหล็กมีลำน้ำสาขาที่สำคัญคือ ห้วยแล้ง และห้วยซับบาง
            ห้วยบ้านท่ามะปราง  ต้นน้ำอยู่ที่บริเวณเขาโกรกสีดา ในเขตอำเภอแก่งคอย แล้วไหลไปทางด้านทิศตะวันตก ไปบรรจบกับห้วยแล้ง ที่เกิดจากเทือกเขาเดียวกันที่บ้านท่ามะปราง แล้วไหลไปบรรจบกับห้วย (คลอง) ตะเคียน แล้วไหลผ่านตำบลปากเพรียง อำเภอเมือง ฯ จึงได้ชื่อว่าคลองเพรียง แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำป่าสักที่อำเภอเมือง ฯ
            ห้วยใหญ่  ต้นน้ำอยู่ที่เขาคลองใหญ่และเขาอินทนีในเขตอำเภอแก่งคอย แล้วไหลลงมาทางใต้ ผ่านตำบลชะอม แล้วไหลเข้าเขตจังหวัดนครนายกที่อำเภอบ้านนา  ในฤดูแล้งจะตื้นเขิน  ส่วนในฤดูฝนจะมีน้ำหลากท่วมฝั่งเกือบทุกปี

| หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์