ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

            จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดในภาคกลางที่อยู่ทางตอนใต้สุด มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
            ทิศเหนือ จดเขตอำเภอชะอำ และอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
            ทิศตะวันออก จดอ่าวไทย
            ทิศใต้ จดเขตอำเภอปะทิว และอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
            ทิศตะวันตก จดประเทศพม่า
            จังหวัดประจวบ ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๖,๓๐๐ ตารางกิโลเมตร ทางด้านทิศตะวันออกมีชายฝั่งทะเลติดต่อกับอ่าวไทย มีความยาวประมาณ ๒๒๕ กิโลเมตร ทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งติดต่อกับชายแดนของประเทศพม่า ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี มีความยาวประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร  พื้นที่ของจังหวัดมีลักษณะสัณฐานยาว ทอดตัวจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ พื้นที่ที่กว้างที่สุดอยู่ในเขตอำเภอหัวหิน มีความกว้างประมาณ ๙๐ กิโลเมตร นับจากชายฝั่งอ่าวไทยถึงแนวเขตแดนประเทศพม่า พื้นที่ส่วนแคบที่สุดอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีความกว้างประมาณ ๑๑ กิโลเมตร นับจากชายฝั่งอ่าวไทยถึงแนวเขตแดนประเทศพม่า ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ
            ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีความลาดเอียง จากด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นแนวเทือกเขาตะนาวศรี ไปทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นอ่าวไทยตลอดแนวเขตจังหวัด นอกจากนี้ยังมีเทือกเขา และภูเขาอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล และพื้นที่ตอนกลางของจังหวัด เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาสามร้อยยอด  มีความสูงเฉลี่ยของเทือกเขาทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ ๗๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดสูงสุด สูง ๑,๒๑๕ เมตร ต่ำสุด ๓๐๖ เมตร  จากระดับน้ำทะเล
            จากลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวจะเห็นว่า พื้นที่ของจังหวัดประจวบ ฯ มีความลาดชันค่อนข้างสูง นอกจากนี้ในทะเลใกล้ชายฝั่งยังมีเกาะเล็ก ๆ อยู่รวม ๑๘ เกาะ  อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ  ๘ เกาะ ในเขตอำเภอหัวหิน ๓ เกาะ  ในเขตกิ่งอำเภอสามร้อยยอด ๕ เกาะ ในเขตอำเภอทับสะแก ๓ เกาะ ในเขตอำเภอบางสะพาน ๑ เกาะ  และในเชตอำเภอบางสะพานน้อย ๘ เกาะ
            สภาพพื้นดินโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดมีอาณาเขตติดต่อกับชายทะเลโดยตลอด พื้นที่ทางตอนเหนือ และตอนใต้ของจังหวัดมีความแตกต่างกันมาก พื้นที่ตอนใต้นับจากอำเภอเมือง ฯ ลงไป มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าพื้นที่ทางตอนเหนือของอำเภอเมือง จึงมีคำกล่าวว่า เหนือทำไร่ ใต้ทำสวน
แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปราณบุรี อยู่ในเขตอำเภอปราณบุรี แม่น้ำกุยบุรี อยู่ในเขตอำเภอกุยบุรี แม่น้ำบางสะพาน อยู่ในเขตอำเภอบางสะพาน คลองบางนางรม อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ  และคลองกรูด  อยู่ในเขตอำเภอบางสะพาน ปัจจุบันแหล่งน้ำดังกล่าวนี้อยู่ในสภาพตื้นเขิน มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน ในฤดูแล้งน้ำจะแห้งเป็นส่วนใหญ่
ทรัพยากรธรรมชาติ
            แร่ธาตุ  สภาพทางธรณีวิทยา โครงสร้างของดินในจังหวัดประจวบ ฯ เป็นดินร่วนปนทราย ลึกลงไปเป็นดินเหนียวปนทราย บางแห่งเป็นดินปนหิน แร่ธาตุสำคัญได้แก่ แร่ควอทซ์ หินอ่อน ดีบุก ทองคำ ลูโคซิน โปแตสเซียม  เฟลค์สปาร์และแร่อื่น ๆ และแร่อื่น ๆ ที่พบในเขตอำเภอต่าง ๆ เช่น อำเภอหัวหิน มีแร่ควอทซ์ หินอ่อน แคลไซต์  อำเภอเมือง ฯ มีแร่เซอร์กอน ลูโคซิน  อำเภอปราณบุรี มีหินอ่อน อำเภอทับสะแกมีดีบุก และอำเภอบางสะพานมีแร่ทองคำ
           ป่าไม้  ในอดีตจังหวัดประจวบ ฯ มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีรายได้จากการทำป่าไม้ในพื้นที่กว่า ๒ ล้านไร่ แต่ปัจจุบันอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม พื้นที่ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการบุกรุกทำลายป่ามากกว่าล้านไร่ เหลือพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ ๘๓๐,๐๐๐ ไร่  หรือประมาณร้อยละ ๒๑ ของพื้นที่ทั้งหมด การบุกรุกทำลายป่าเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนถึงประมาณร้อยละ ๕๓
            ทางราชการได้ใช้มาตรการกำหนดพื้นที่ให้เป็นป่า โดยให้รักษาป่าในเขตอำเภอหัวหินเป็นป่าถาวร จำนวนประมาณ ๓๘๗,๐๐๐ ไร่  พร้อมทั้งทำหนดให้พื้นที่ในเขตอำเภอต่าง ๆ เป็นป่าสงวนแห่งชาติประเภทป่าบก ๑๕ แห่ง  เป็นพื้นที่ประมาณ ๑,๗๕๐,๐๐๐ ไร่  เป็นป่าสงวนแห่งชาติประเภทป่าชายเลน ๕ แห่ง เป็นพื้นที่ประมาณ ๘,๗๐๐ ไร่
            มีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพิ่มเติมอีก ๙ แห่ง เป็นพื้นที่ประมาณ ๑,๓๕๐,๐๐๐ ไร่
ประชากรและลักษณะทางสังคม
            กลุ่มชาติพันธุ์  จำแนกได้ สามกลุ่มคือ
                - กลุ่มคนไทย  ประกอบด้วยผู้ที่อยู่อาศัยประจำถิ่นมาแต่โบราณกาล และกลุ่มผู้ที่ย้ายถิ่นมาจากทุกภาคของประเทศ กระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของจังหวัด กลุ่มคนไทยทั้งสองกลุ่มดังกล่าว มีจำนวนมากที่สุดประมาณร้อยละ ๙๙  ของประชากรในจังหวัด
                - กลุ่มชนเผ่าไทยทรงดำ หรือที่เรียกว่า ไทยดำ ลาวช่วงดำ หรือลาวโซ่ง  เป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยธนบุรี ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วไปในภาคกลางของประเทศไทย บรรพบุรุษเดิมของลาวโซ่ง มีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำดำ แม่น้ำแดง ในบริเวณตั้งแต่มณฑลกวางสี ยูนนาน ตังเกี๋ย และแคว้นสิบสองจุไท โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแถง  ปัจจุบันคือเดียนเบียนฟู ในประเทศเวียดนาม  ชาวโซ่งได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง อันเนื่องมาจากผลของสงคราม
            สมัยธนบุรี  กองทัพไทยได้ยกไปตีเมืองลาว ได้กวาดต้อนชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งลาวโซ่ง เข้ามาในประเทศไทย โดยให้ลาวโซ่งไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเพชรบุรี
            สมัยรัตนโกสินทร์  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เจ้าเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของไทยได้ยกทัพไปตีเมืองแถง และกวาดต้อนพวกลาวพวน และลาวโซ่ง เข้ามากรุงเทพ ฯ เป็นบรรณาการ  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พวกลาวโซ่งไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชร
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ชาวลาวโซ่งได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากสงครามหลายครั้ง พื้นที่เดิมที่เมืองเพชรบุรีอาจไม่เพียงพอ จึงได้มีการไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไปในเขตจังหวัดประจวบ ฯ
            การดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของลาวโซ่งไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากนัก ส่วนใหญ่ยังยึดอาชีพการเกษตร ทำนา เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือน และแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
            เครื่องแต่งกายทั้งหญิงและชาย มีลักษณะเด่นคือ การใส่เสื้อผ้าสีดำ หรือสีครามซึ่งทอขึ้นเอง สำหรับเครื่องประดับส่วนใหญ่เป็นเครื่องเงิน เช่น กำไลมือ กำไลเท้า ปิ่นปักผม กระดุมเสื้อ เป็นต้น
            เครื่องแต่งกายแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ชุดที่ใช้สวมใส่ในโอกาสพิเศษ และชุดที่ใช้ประจำวัน ชุดพิเศษเรียกว่า เสื้อฮี ใช้สวมใส่ในพิธีแต่งงาน พิธีแสนเรือน และพิธีศพ ที่สำคัญคือ ทุกคนต้องมีเสื้อฮี เป็นสมบัติของตนเอง สำหรับคลุมหีบศพของตน
            ชุดที่ใช้ประจำวัน เสื้อผู้ชายเรียกว่า เสื้อไห้ นิยมใช้กับกางเกงขาก๊วยสีดำ หรือสีครามเข้ม มีผ้าขาวม้าคาดเอว เสื้อของผู้หญิงเรียกว่า เสื้อก้อน เป็นเสื้อแขนยาวสีดำ และสวมผ้าซิ่นสีดำลายขาวเป็นทาง เมื่ออยู่บ้านผู้หญิงลาวโซ่งไม่นิยมสวมใส่เสื้อ แต่จะใช้ผ้าพันรัดหน้าอกแทนที่เรียกว่า ผ้าเปียว
            การปลูกบ้านที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านใต้ถุนสูง ใช้เสาไม้ขนาดใหญ่ ตอนปลายด้านหัวเสาเป็นง่าม เพื่อรองรับรอดและตง พื้นบ้านนิยมใช้ไม้ไผ่สับปูพื้นที่เรียกว่า ฟาก หลังคาเป็นทรงโค้งและคลุมต่ำ ลักษณะคล้ายกระโจมมุงด้วยหญ้าคา ตัวบ้านจะแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ส่วนแรกเรียกว่า ก๊กชาน เป็นส่วนหน้าบ้านมีบันไดขึ้นลักษณะเดียวกับชานบ้านไทยในชนบท ส่วนที่สองเรียกว่า ระเบียงบ้าน อยู่สูงกว่าระดับของก๊กชาน  ส่วนที่สามเรียกว่า หน้าห้องผี สำหรับใช้เป็นที่รับแขกและเป็นที่นอนของพ่อแม่ที่มีลูกสาว  ส่วนที่สี่เรียกว่า ห้องผี  ซึ่งโดยปกติคือ ห้องนอน  ชาวโซ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า ทุกบ้านจะเลี้ยงผีไว้ตรงมุมของห้องนอนจึงเรียกว่า ห้องผี  ส่วนกว้านจะมีเฉพาะบ้านของตระกูลท้าว ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีใหญ่และเป็นห้องนอนของลูกชายวัยหนุ่ม
                - กลุ่มชนเผ่ากะเหรี่ยง  เป็นชนเผ่าที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากชายแดนประเทศพม่า เมื่อไม่นานมานี้คือประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๐ ส่วนใหญ่เข้ามาอยู่อาศัยในเขตพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ และตำบลบึงนคร อำเภอหัวหิน ทางราชการเรียกบริเวณที่อยู่อาศัยของชนเผ่ากะเหรี่ยงว่า ชุมชนพื้นที่สูง
         ภาษา  อาจจำแนกการใช้ภาษาได้เป็นสามประเภทคือ
                - ภาษาประจำถิ่น  เป็นภาษาไทยในพื้นที่ตั้งแต่อำเภอเมือง ฯ ถึงอำเภอหัวหิน มีสำเนียงการพูดคล้ายชาวเพชรบุรี ต่างกันที่หางเสียงที่ค่อนข้างนุ่มนวลกว่า หากเป็นการฟังอย่างเคยชิน จะพบความแตกต่างของสำเนียงทั้งสองดังกล่าว
                - ภาษาปักษ์ใต้  เป็นภาษาพูดของคนส่วนใหญ่ในเขตอำเภอทางตอนใต้ของอำเภอเมือง ฯ ได้แก่ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย ซึ่งเป็นอำเภอที่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดในภาคใต้ นอกจากกนี้ยังมีชาวปักษ์ใต้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่อาศัยในเขตอำเภอดังกล่าวอยู่มาก ภาษาที่ใช้มีสองลักษณะคือ พูดภาษาใต้ด้วยสำเนียงปักษ์ใต้ หรือพูดภาษาไทยภาคกลางด้วยสำเนียงปักษ์ใต้
                - ภาษาอื่น ๆ  เนื่องจากประชากรในเขตจังหวัดประจวบ ฯ เป็นคนไทยเชื้อสายต่าง ๆ รวมถึงชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอยู่อาศัย จึงมีการใช้ภาษาของตนภายในกลุ่มของตน เช่น ภาษาจีน ภาษาอีสาน ภาษาลาวโซ่ง ภาษากะเหรี่ยง ฯลฯ
          ศาสนา  การนับถือศาสนาของประชากรแบ่งออกได้เป็นสี่กลุ่มคือ
                - ศาสนาพุทธ  มีพุทธศาสนิกชนอยู่ประมาณร้อยละ ๙๗.๓๕  มีวัดในพระพุทธศาสนาอยู่ ๑๘๖ วัด เฉลี่ย ๑ วัด ต่อพุทธศาสนิกชน ประมาณ ๒,๖๐๐ คน
                - ศาสนาอิสลาม  มีชาวอิสลามอยู่ประมาณร้อยละ ๑.๓๓ มีมัสยิด ๑๐ แห่ง อยู่ในเขตอำเภอต่าง ๆ ยกเว้นอำเภอหัวหิน และอำเภอกุยบุรี เฉลี่ยมัสยิด ๑ แห่งต่อชาวอิสลาม ประมาณ ๖๓๐ คน
                - ศาสนาคริสต์  มีชาวคริสต์ อยู่ประมาณร้อยละ ๑.๒๗ มีโบสถ์คริสต์อยู่ ๙ แห่ง เป็นโบสถ์ของนิกายโรมันคาธอลิก ๕ แห่ง และนิกายโปแตสแตนท์ ๔ แห่ง เฉลี่ยโบสถ์หนึ่งแห่งต่อชาวคริสต์ประมาณ ๖๗๐ คน
                - ศาสนาอื่น ๆ  ได้แก่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซิกข์ และอื่น ๆ มีผู้นับถือจำนวนน้อย ประมาณร้อยละ ๐.๐๕
การค้าชายแดนไทย - พม่า
            ช่องทางการค้าระหว่างไทยกับพม่า  แบ่งออกเป็นสี่ประเภท คือ
            จุดผ่านแดนถาวร  เป็นจุดผ่านแดนที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองประเทศ สำหรับประเทศไทยเป็นไปตาม พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า การสัญจรไปมา และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีจุดผ่านแดนถาวรรวม ๓ แห่ง ในเขตจังหวัดเชียงราย จังหวัดตาก และจังหวัดระนอง
            จุดผ่านแดนชั่วคราว  เป็นจุดผ่านแดนที่เปิดโดย รมต.มหาดไทย ตาม พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒  ตามความเห็นชอบและหลักการของคณะอนุกรรมการพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว ของสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ มีกำหนดระยะเวลาที่ไม่แน่นอน และไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ปัจจุบันมีอยู่ ๑ แห่ง ที่ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี
            จุดผ่อนปรน  เป็นบริเวณที่เปิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านมนุษยธรรม การส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่น และการสัญจรไปมาระหว่างประเทศ ตลอดจนการค้าขายเครื่องอุปโภคบริโภคซึ่งกันและกัน  การเปิดจุดผ่อนปรนอยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันมีอยู่ ๑๑ แห่ง ในเขตจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ กาญจนบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

          จุดผ่อนปรนลำลองตามสภาพภูมิประเทศ  เป็นจุดที่ไม่มีการรับรองจากทางราชการของทั้งสองฝ่าย
            จังหวัดประจวบ ฯ มีช่องทางติดต่อกับประเทศพม่าที่สามารถสัญจรได้กว่า ๓๐ ช่องทาง บางช่องทางสามารถใช้ยานพาหนะได้ บางช่องทางต้องใช้การเดินเท้า ส่วนใหญ่เป็นช่องทางการติดต่อในลักษณะจุดผ่านแดนลำลอง ตามสภาพภูมิประเทศ มีช่องทางที่ราษฎรนิยมอยู่ ๑๑ ช่องทางคือ
                - ช่องห้วยสะตือ  อยู่ในเขตตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน เป็นเส้นทางเดินเท้า มีสภาพเป็นป่ารกทึบ
                - ช่องสวนทุเรียน  ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี เป็นเส้นทางเดินเท้า มีสภาพเป็นป่ารกทึบ
                - ช่องคลองอีนง  ตำบลหาดขาบ อำเภอกุยบุรี เป็นเส้นทางเดินเท้า มีสภาพเป็นป่ารกทึบ
                - ช่องสิงขร  อยู่ที่บ้านไร่เครา ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง ฯ เป็นช่องทางที่ใช้เดินทางระหว่างไทยกับพม่า มาแต่สมัยโบราณ สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้
                - ช่องวังเป้า  ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้
                - ช่องเหมืองคุณพ่อ  ตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก เดินทางโดยรถยนต์ได้
                - ช่องหุบผาก  ตำบลนาหูกวาง  อำเภอทับสะแก เดินทางโดยรถยนต์ได้
                - ช่องเขาแก้ว  ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน เส้นทางเป็นถนนลูกรัง
                - ช่องชี  ตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน เส้นทางเป็นถนนลูกรัง
                - ช่องหนองบอน  ตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน เป็นถนนลูกรัง เป็นช่องทางนำไม้เข้าในอดีต
                - ช่องคลองลอย  อยู่ที่บ้านคลองลอย ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน เป็นถนนลูกรัง เป็นช่องทางนำไม้เข้าในอดีต

| หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์