ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดสมุทรสงคราม

           จังหวัดสมุทรสงครามตั้งอยู่ในภาคกลางค่อนล่างลงมาทางใต้ตามแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบชายฝั่งทะเลบริเวณปากน้ำแม่กลอง มีพื้นที่ประมาณ ๔๑๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๖๑,๐๐๐ ไร่ แบ่งออกเป็นสามอำเภอคือ อำเภออัมพวา อำเภอเมือง ฯ และอำเภอบางคนที มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
           ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีคลองมะโนรา และลำราง ห้าตำลึง ในเขตอำเภอบางคนที และอำเภอเมือง ฯ
           ทิศตะวันออก ติดต่อกับสมุทรสาคร โดยมีคลองพรมแดนเป็นแนวแบ่งเขตในเขตอำเภอเมือง ฯ
           ทิศใต้ติดต่ออ่าวไทย ตรงปากแม่น้ำแม่กลอง และจังหวัดเพชรบุรี
           ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดราชบุรี โดยมีลำคลองวัดประตูเป็นแนวแบ่งเขตในเขตอำเภออัมพวา
ลักษณะภูมิประเทศ

           ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ตามแนวเหนือ - ใต้ ผ่านอำเภอบางคนที อำเภออัมพวา แล้วไหลลงสู่อ่าวไทย ที่ปากแม่น้ำในเขตอำเภอเมือง ฯ
           บริเวณพื้นที่ชายทะเลมีความยาวประมาณ ๒๓ กิโลเมตร พื้นที่เกือบทั้งหมดของจังหวัดเป็นที่ราบชายฝั่งมีความลาดเอียงไปทางชายฝั่งทะเล ไม่มีภูเขาและเกาะ มีคลองธรรมชาติและคลองขุดเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายทั่วพื้นที่มากกว่า ๓๐๐ สาย คลองเหล่านี้ช่วยระบายน้ำระหว่างพื้นที่ส่วนบนกับฝั่งทะเล ในแต่ละวันจะมีน้ำขึ้นน้ำลงที่อ่าวไทย เกิดน้ำทะเลหนุนเข้ามาตามแม่น้ำแม่กลองและตามคูคลองต่าง ๆ ทำให้พื้นที่ของจังหวัดมีสภาพน้ำแตกต่างกัน แบ่งออกได้เป็นสามเขตคือ
           เขตน้ำเค็ม  คือพื้นที่ตั้งแต่ริมฝั่งทะเลเข้ามาในแผ่นดินประมาณ ๓ กิโลเมตร สภาพน้ำเป็นน้ำเค็ม ได้แก่พื้นที่ในเขตอำเภอเมือง ฯ
           เขตน้ำกร่อย  คือพื้นที่ถัดจากเขตน้ำเค็มเข้ามาประมาณ ๓ กิโลเมตร ได้แก่พื้นที่ในเขตอำเภออัมพวา และอำเภอเมือง ฯ
           เขตน้ำจืด  คือพื้นที่ถัดจากเขตน้ำกร่อย สภาพเป็นน้ำจืดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค ได้แก่พื้นที่ในเขตอำเภออัมพวาตอนเหนือ และอำเภอบางคนทีทั้งหมด
สภาพแวดล้อม

           ป่าชายเลน เดิมจังหวัดสมุทรสงครามอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าชายเลนตลอดแนวชายฝั่งทะเล ๒๓ กิโลเมตร เป็นพื้นที่ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ไร่ ต่อมาทางราชการได้เปิดพื้นที่ป่าดังกล่าวให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยจับจองเป็นกรรมสิทธิ์ ป่าชายเลนจึงถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว และหมดสิ้นไปเมื่อประชาชนเปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ แต่ชั่วเวลาเพียง ๕ ปี การเลี้ยงกุ้งกุลาดำต้องล้มเลิกไปโดยสิ้นเชิง เมื่อเกิดมลภาวะทางทะเล ทำให้พื้นที่กว่าแปดหมื่นไร่ถูกทิ้งให้เป็นบ่อเลี้ยงกุ้งร้างไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นใดได้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๒ เป็นต้นมา
           ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเลแม่กลองหมดไปพร้อม ๆ กับการล่มสลายของป่าชายเลน ทางจังหวัดจึงได้จัดทำโครงการป่าชายเลนขึ้นบนที่งอกชายฝั่งทะเลของจังหวัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ โดยเฉพาะในเขตตำบลคลองโคน และตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมือง ฯ นอกจากนั้นยังมีป่าชายเลนที่ปลูกในพื้นที่กรรมสิทธิ์ในเขตตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา และในเขตตำบลคลองโคนกับตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมือง ฯ ส่วนใหญ่ปลูกไม้โกงกาง รวมทั้งพันธุ์ไม้ชายเลนที่ขึ้นเองในที่กรรมสิทธิ์มีกระจายอยู่ทั่วไป บริเวณสองฝั่งคลอง ที่น้ำทะเลขึ้นถึง
ทรัพยากรและการประกอบอาชีพ
           ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๐ มีอาชีพทางเกษตรกรรมและกสิกรรม ได้แก่ การทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ส้มโอ พืชผักต่าง ๆ ประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง พื้นที่เพาะปลูกของจังหวัดประมาณ ๑๔๒,๐๐๐ ไร่ ในเขตอำเภอบางคนที จะมีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด รองลงมาคือ อำเภออัมพวา และอำเภอเมือง ฯ พืชสำคัญได้แก่ มะพร้าว ลิ้นจี่ ส้มโอ และข้าว
    การทำสวนทำนาข้าว และนาเกลือ

           การทำสวนมะพร้าว  มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ การทำสวนมะพร้าวแบ่งออกเป็นสามประเภทคือ มะพร้าวผล มะพร้าวตาล และมะพร้าวอ่อน
               - มะพร้าวผล  ปลูกในเขตอำเภออัพวา เนื่องจากพื้นที่อยู่ในเขตน้ำจืด น้ำเค็มขึ้นไม่ถึง มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ ๕๑,๐๐๐ ไร่ มะพร้าวให้ผลผลิตมากในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี จะให้ผลผลิตมากกว่าช่วงอื่น ๆ ร้อยละ ๔๐ - ๕๐ จากนั้นจะเริ่มให้ผลผลิตน้อยในช่วงเดือนธันวาคม ถึงมกราคม
               - มะพร้าวตาล  จังหวัดสมุทรสงครามถือว่าเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด เป็นผลจากการปลูกมะพร้าวตาลในหลายพื้นที่ได้แก่ อำเภอเมือง ฯ ในเขตตำบลนางตะเคียน ตำบลลาดใหญ่ ตำบลบางขันแตก อำเภออัมพวา ในเขตตำบลนางลี่ ตำบลท่าคา ตำบลสวนหลวง ตำบลวัดประตู และอำเภอบางคนที ในเขตตำบลบางกระบือ ตำบลจอมปลวก ตำบลดอนมะโนรา ตำบลบางพรม รวมพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวตาลประมาณสี่หมื่นไร่เศษ มะพร้าวตาลใช้ผลิตน้ำตาลปีบ ให้ผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี ส่วนช่วงที่ให้ผลผลิตน้อยอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม
               - มะพร้าวอ่อน  มีพื้นที่ปลูกน้อยกว่ามะพร้าวประเภทอื่นมาก แหล่งปลูกที่สำคัญคือ อำเภอบางคนที และอำเภอเมือง ฯ รวมพื้นที่ปลูกประมาณ ๘,๐๐๐ ไร่

           การทำสวนลิ้นจี่  ลินจี่ที่ปลูกได้ปลูกกันมานานกว่าสองร้อยปี พันธุ์ที่นิยมปลูกจะแตกต่างกว่าที่อื่นคือ พันธุ์ค่อม พันธุ์พิเศษ พันธุ์หอมลำเจียก พันธุ์ไทย พันธุ์กระโหลกใบยาว และพันธุ์สาแหรกทอง ซึ่งการออกผลและการเก็บผลทำได้ก่อนทางภาคเหนือ ประกอบกับลิ้นจี่จังหวัดสมุทรสงครามมีรสหวาน แตกต่างไปจากลิ้นจี่จากแหล่งผลิตอื่น ๆ แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในเขตตำบลบางสะแก ตำบลเหมืองใหม่ ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา รวมพื้นที่เพาะปลูกประมาณ ๕,๔๐๐ ไร่

           การทำสวนส้มโอ  จังหวัดสมุทรสงครามปลูกส้มโอมานานไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ปี ซึ่งในปัจจุบันยังมีส้มโอที่มีอายุมากกว่า ๑๕๐ ปี อยู่ในเขตตำบลบางพรม อำเภอบางคนที พื้นที่เพาะปลูกมีทั้งหมดประมาณ ๗,๐๐๐ ไร่ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในเขตอำเภอบางคนที ประมาณ ๓,๕๐๐ ไร่ อำเภออัมพวาประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่ และอำเภอเมือง ฯ ประมาณ ๖๐๐ ไร่
           ส้มโอเป็นผลไม้ที่ให้ผลผลิตตลอดปี ปลูกแล้วประมาณ ๓ - ๔ ปี จะเริ่มให้ผลฤดูกาลเก็บส้มโอแบ่งออกเป็นสองช่วงคือ ช่วงเบาบาง ระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ช่วงหนาแน่นระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม
           การปลูกข้าว  มีพื้นที่ปลูกข้าวน้อย เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นดินเค็ม แหล่งปลูกข้าวสำคัญคือ ตำบลแพรกหนามแดง และตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ ๓,๕๐๐ ไร่ ข้าวพันธุ์ที่เหมาะสมต้องเป็นพันธุ์ที่ทนต่อสภาพดินเค็มได้แก่ ข้าวพันธุ์เหลืองปะทิว
           การทำนาทำได้ปีละครั้ง เพราะต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก เริ่มประมาณเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เก็บเกี่ยวประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคในจังหวัด

           การทำนาเกลือ  จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแหล่งผลิตเกลือสมุทรที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีแหล่งผลิตสำคัญอยุ่ในเขตอำเภอเมือง ฯ ในตำบลบางแก้ว และตำบลลาดใหญ่ เนื่องจากลักษณะของดินเป็นดินเหนียวและะดินเค็ม มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล สะดวกต่อการขุดลอกลำราง เพื่อนำน้ำเข้าสู่พื้นท่นา พื้นที่ทำนาเกลือประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่
    การทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
           การประมงทะเล  ส่วนใหญ่ใช้เรือยนต์นำเครื่องมือได้แก่ อวนลาก อวนล้อม อวนลอย ออกไปจับปลา โดยทำการประมงทั้งในน่านน้ำสากล นอกจากนี้ยังใช้เครื่องมือประจำที่เช่น โป๊ะ และโพงพาง อีกบางส่วน
           การประมงน้ำกร่อย  คือการจับสัตว์น้ำบรเวณชายฝั่งโดยใช้เครื่องมือประมงขนาดเล็ก เช่น อวนจับปู จับกุ้ง รอเคย เก็บหอยแครง และหยอดหอยหลอด เป็นต้น
           การประมงน้ำจืด  มีทั้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่นเลี้ยงปลาในบ่อดิน ในร่องสวน การจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
           กิจกรรมต่อเนื่องจากการประมง เช่น การทำน้ำปลา กะปิ ห้องเย็น แพปลา โรงน้ำแข็งเพื่อการประมง อู่ต่อเรือประมง และผลิตภัณฑ์ประมงอีกหลายประเภท
           การเลี้ยงหอยแครง  โดยมากจะอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งบริเวณตำบลคลองโคน อำเภอเมือง ฯ เนื่องจากพื้นที่ท้องน้ำมีลักษณะเป็นโคลนเลน เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ของหอยแครง การเพาะเลี้ยงหอยแครงขยายตัวขึ้นมาประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ และยังมีศักยภาพจะขยายได้อีกประมาณ ๒๐,๐๐๐ ไร่
           การเลี้ยงหอยแมลงภู่  การทำห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ ๓,๐๐๐ เมตร ขึ้นไป โดยใช้หลักล่อหอยแมลงภู่จากธรรมชาติ เนื่องจากทะเลบริเวณนั้นมีหอยชุกชุมมาก พบเสมอว่าไม้ปีกโป๊ะนั้นเป็นที่เกาะยึดของหอยแมลงภู่อย่างดี ทำให้ผู้ประกอบการโป๊ะมีรายได้จากการเก็บหอยปีละหลายหมื่นบาท
           ปัญหาการเลี้ยงหอยแมลงภู่ ที่สำคัญได้แก่ การเกิดมลภาวะของน้ำในแม่น้ำแม่กลองและน้ำในทะเล กับเรื่องการปักปัน ที่ปีกไม้หลักให้หอยแมลงภู่
           การเลี้ยงปูทะเล หลังจากเลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ทำให้เกษตรกรบางรายใช้พื้นที่ที่เคยเลี้ยงกุ้งไปเลี้ยงปูทะเลแทน ปัจจุบันมีพื้นที่เลี้ยงปูทะเลประมาณ ๘๐๐ ไร่
           การเลี้ยงปูทะเล  มีศักยภาพสูงเนื่องจากมีความต้องการมาก แต่ผลผลิตไม่เพียงพอ เนื่องจากพันธุ์ปูหายาก และราคาแพง
           การเลี้ยงปลากะพงในกระชัง  ปลากะพงเป็นปลาเขตร้อน ตามธรรมชาติจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ไม่ห่างจากฝั่งทะเลออกไปนัก จะมีชุกชุมอยู่ตามปากแม่น้ำลำคลอง
           การเลี้ยงปลากะพงโดยมาก  เลือกชนิดปลากะพงขาว เลี้ยงในกระชังในที่น้ำลึกไม่ต่ำกว่า ๒-๓ เมตร มีการถ่ายเทน้ำได้ดี พันธุ์ปลาหาซื้อได้จากโรงเพาะฟักของเอกชน หรือจากสถานีประมงในท้องถิ่น

           การเลี้ยงกุ้งทะเลและกุ้งกุลาดำ  เป็นอาชีพที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากให้ผลการตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น แต่จากการที่การขยายตัวเป็นไปอย่างปราศจากแผนงาน ไม่คำนึงพึงผลกระทบจากการเกิดมลภาวะ ทำให้สภาพแวดล้อมเสียไปและต้องหยุดกิจการนี้ไปในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
           การเลี้ยงปลาสลิด  ทำการแพร่หลายในเขตตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา มีทั้งผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่ ตั้งแต่ ๕ ไร่ ถึง ๒๐๐ ไร่ มีผู้ประกอบการปัจจุบันประมาณ ๑๕๐ ราย รวมพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่
           การเลี้ยงปลาดุก  ปลาดุกเป็นปลาพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลาย พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปัจจุบันพันธุ์ปลาดุกลูกผสมระหว่างปลาดุกไทยกับปลาดุกเทศ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี โตเร็ว มีช่วงการเลี้ยงสั้น
           การเลี้ยงปลาดุก  ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภออัมพวา และอำเภอเมือง
           การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม  กุ้งชนิดนี้เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สามารถอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ที่มีน้ำไหลติดต่อกับทะเล การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบางคนที
           การเลี้ยงปลาตามร่องสวน  เกษตรกรทุกอำเภอ ใช้ร่องสวนเลี้ยงปลาเป็นรายได้เสริม ปลาที่นิยมเลี้ยงได้แก่ ปลานิล ปลาช่อน ทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงมาก
    การปศุสัตว์
           เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ จะเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม ควบคู่ไปกับการทำนา ทำไร่ หรือทำสวน ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพ การเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในลักษณะเกษตรผสมผสาน
           การเลี้ยงโค ส่วนใหญ่จะเลี้ยงโคพื้นเมือง ในพื้นที่ทำนาในเขตตำบลวัดประดู่ และตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา โดยมีการเลี้ยงโคเนื้อพื้นเมือง ประมาณ ๕๐๐ ตัวขึ้นไป
           การเลี้ยงสุกร  มีทั้งการเลี้ยงสุกรขุน และเลี้ยงแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกสุกรขาย เป็นฟาร์มขนาดใหญ่เลี้ยงตั้งแต่ ๕,๐๐๐ ตัวขึ้นไป มี ๑ แห่ง ฟาร์มขนาด ๒๐๐ ตัวขึ้นไป ๖ แห่ง นอกนั้นเป็นฟาร์มรายย่อย
           การเลี้ยงไก่  มีการเลี้ยงอยู่สามลักษณะคือ
               - ไก่เนื้อ  เลี้ยงแบบลงทุนเลี้ยงเอง เป็นฟาร์มขนาด ๕,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ๓ แห่ง
               - ไก่ไข่  มีฟาร์มไก่ไข่เลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมขนาด ๓๐๐,๐๐๐ ตัวจำนวน ๑ แห่ง ฟาร์มขนาด ๘๐๐ - ๕,๐๐๐ ตัว ประมาณ ๔๐ แห่ง นอกจากนั้นเลี้ยงแบบรายย่อย ประมาณ ๔๐๐ ราย เพื่อเป็นรายได้เสริม
ประชากร
           โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วย ผู้มีเชื้อชาติไทยเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นชาวจีน และมอญ ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา รองลงมานับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
           ชาวจังหวัดสมุทรสงคราม มีสภาพความเป็นอยู่ที่สงบสุขร่มเย็นมาแต่โบราณ มีฐานะค่อนข้างดียึดมั่นในขนบประเพณีและศาสนา มีวัดวาอารามมากมายและหนาแน่น นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีอารมณ์ศิลปินรักการดนตรี มีนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของไทยถือกำเนิดในจังหวัดสมุทรสงครามอยู่หลายท่านด้วยกัน
           การตั้งบ้านเรือนส่วนใหญ่อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย มีที่รวมกลุ่มบ้างบริเวณแม่น้ำแม่กลอง
การปกครอง

           จังหวัดสมุทรสงครามแบ่งออกเป็น ๓ อำเภอ ๓๖ ตำบล ๒๘๔ หมู่บ้าน แต่ละอำเภอมีประวัติสความเป็นมาดังนี้

           อำเภอเมือง ฯ  อำเภอนี้มีการโยกย้ายสถานที่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อมาหลายชื่อ ตามข้อมูลในหนังสือสมุดราชบุรี และหนังสือราชการมีว่า ได้มีการตั้งชื่ออำเภอนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ ในชื่ออำเภอลมทวน ตั้งอยู่ที่ปากคลองลัดจวน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๑ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองสมุทรสงคราม ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ทางราชการได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ริมแม่น้ำแม่กลอง ระหว่างปากคลองแม่กลองกับคลองลัดจวน นับเป็นการสร้างที่ว่าการอำเภอเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นนายอำเภอใช้บ้านพักเป็นที่ว่าการอำเภอ และเรียกชื่ออำเภอตามตำบลที่ตั้งบ้านนายอำเภอเช่น บ้านนายอำเภอที่อยู่ตำบลบ้านปรก ก็เรียกอำเภอบ้านปรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๕ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอแม่กลอง
           ต่อมาทางราชการเห็นว่าเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และการบริหารราชการ ประกอบกับวัตถุประสงค์เพื่อรักษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอ อันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด โดยกำหนดชื่อเป็นอำเภอเมืองของจังหวัดนั้น ๆ ตามประกาศในพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พ.ศ.๒๔๘๑ อำเภอแม่กลองจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอเมืองสมุทรสงคราม

           อำเภออัมพวา  เป็นชุมชนที่มีมาก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ไม่มากนัก ต่อมาเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ได้มีผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น เพราะเป็นทำเลที่เหมาะแก่การเพาะปลูกและอยู่อาศัย ที่ทำการอำเภอในอดีตอาศัยศาลาการเปรียญของวัดอัมพวันเจติยารามเป็นที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายข้ามคลอง ไปอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดท้ายตลาด ตำบลบางกะพ้อม และต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองมาจนถึงปัจจุบัน แต่คงใช้ชื่ออัมพวา เพราะบริเวณนี้เดิมเป็นเรือกสวน มีต้นมะม่วงและต้นมะพร้าวอยู่เป็นจำนวนมาก

           อำเภอบางคนที  เดิมตำบลต่าง ๆ ในอำเภอบางคนที ขึ้นกับอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้มีการแบ่งเขตการปกครองใหม่ จึงตั้งอำเภอขึ้นใหม่เรียกว่า อำเภอสี่หมื่น ตั้งอยู่ปากคลองแพงพวย แต่ยังขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ได้ย้ายที่ทำการอำเภอสี่หมื่น มาสร้างในที่ของวัดใหม่พิเรนทร์ (วัดร้าง) ใต้ปากคลองบางคนที จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอบางคนที ตามชื่อคลอง แล้วย้ายมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔
           ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ครั้งยังเป็นเมืองแม่กลอง มีดังนี้
               พระแม่กลอง  (เสม  วงศาโรจน์)  สมัยกรุงธนบุรี
               พระแม่กลอง  (สอน ณ บางช้าง)  สมัย ร.๑
               พระแม่กลอง  (ตู้ ณ บางช้าง)  สมัย ร.๒
               พระแม่กลอง  (ทองคำ ณ บางช้าง)  สมัย ร.๒
               พระแม่กลอง  (นุช วงศาโรจน์)  สมัย ร.๓
               พระแม่กลอง  (โนรี วงศาโรจน์)  สมัย ร.๓
               พระราชพงษานุรักษ์ ฯ  (กุน ณ บางช้าง)  พ.ศ.๒๔๑๓ - ๒๔๑๙
               พระราชพงษานุรักษ์ ฯ  (ชม บุนนาค)  พ.ศ.๒๔๑๙ - ๒๔๓๗
               พระราชพงษานุรักษ์ ฯ  (แฉ่  บุนนาค)  พ.ศ.๒๔๓๘ - ๒๔๓๙
               หลวงอร่ามเรืองฤทธิ์  (ชวน  บุนนาค)  พ.ศ.๒๔๓๙ - ๒๔๔๑
               พระยาวรวิไชย  (ปลอด บุนนาค)  พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๔๔๓
               พระยาราชพงษานุรักษ์ ฯ  (ชาย บุนนาค)  พ.ศ.๒๔๔๓ - ๒๔๖๐
               พระยารัษฎานุประดิษฐ  (สิน  เทพหัสดิน ฯ)  พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๖๒
               พระยาบริหารราชอาณาเขต  (เจิม วิเศษรัตน์)  พ.ศ.๒๔๖๒ - ๒๔๖๖
               พระยาวิชิตภักดีศรีสุราษฎร์ธานินทร  (รอด สาริมาน)  พ.ศ.๒๔๖๖ - ๒๔๗๑
               พระยาราชญาติรักษา  (ประกอบ บุนนาค)  พ.ศ.๒๔๗๑ - ๒๔๗๔
               พระยานิกรบดี  (จอน สาริกานนท์)  พ.ศ.๒๔๗๔ - ๒๔๗๗
               หลวงบุเรศบำรุงการ  (เจริญ วงศ์ตลาดขวัญ)  พ.ศ.๒๔๗๘ - ๒๔๗๙

ฯลฯ

| หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์