ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

แหล่งโบราณคดีเพิงผาเขาขนาบน้ำ

            อยู่ที่เขาขนาบน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง ฯ เป็นภูเขาหินปูนอยู่กลางน้ำตรงปากคลองกระบี่ใหญ่ หรือแม่น้ำกระบี่มีเพิงผาและโพรงถ้ำ  ขนาดเพิงผากว้างประมาณ ๗ เมตร ยาวประมาณ ๒๓ เมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๕ เมตร  โพรงถ้ำภายในอากาศถ่ายเทได้สะดวก  ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามพอสมควร นอกจากโพรงผาใหญ่ดังกล่าวแล้ว ยังมีโพรงถ้ำขนาดเล็กอยู่ทั่วไปโดยรอบ
            จากการสำรวจพบว่าที่เพิงผาเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยหินขัด  พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑.๕๐ เมตร  สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จากหิน  รู้จักทำภาชนะดินเผาขึ้นมาใช้มีอายุอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปี  และจากการที่ได้พบพระพิมพ์ดินดิบสมัยคุปตะ แสดงให้เห็นถึงร่องรอยการเดินทางของชาวอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิในยุคโบราณ  หลักฐานทางโบราณคดีที่พบได้แก่
            เครื่องมือสะเก็ดหิน  เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ  เศษภาชนะดินเผาพื้นเรียบ  ชิ้นส่วนภาชนะหม้อ ๓ ขา ใบมีดหินขัด  พระพิมพ์ดินดิบสมัยคุปตะ
แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ
            อยู่ที่บ้านถ้ำเสือ ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง ฯ เป็นเขาหินปูนติดต่อกันหลายลูก  หน้าเพิงถ้ำหันไปทางทิศตะวันออกซึ่งลาดลงสู่ที่ราบ  เขาด้านในด้านทิศเหนือเป็นหุบเขาเรียกว่าหุบเขาคีรีวง  มีเขาล้อมอยู่ทุกด้านมีถ้ำอยู่เป็นจำนวนมาก  สภาพป่ายังคงสภาพดั้งเดิมอยู่มาก
            เพิงผาและโพรงถ้ำมีอยู่หลายถ้ำอยู่ใกล้เคียงกัน  เพิงถ้ำด้านหน้ายาวขนานไปกับพืดเขา สูงจากพื้นดินประมาณ ๕ เมตร  เป็นแหล่งโบราณคดีสองสมัยในที่เดียวกัน  หลักฐานทางโบราณคดีที่พบได้แก่ เครื่องมือหิน พระพิมพ์ดินดิบ และเศษภาชนะดินเผา
แหล่งโบราณคดีเพิงหินหน้าชิง
            อยู่ที่บ้านหน้าชิง ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง ฯ สภาพทั่วไปเป็นที่ราบมีภูเขาหินปูนลูกโดด ๆ เป็นแนวจากถ้ำเสือ  เพิงหินในเทือกเขาหินปูนดังกล่าวอยู่สูงจากระดับพื้นดินประมาณ ๑๐ เมตร  เป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์  หลักฐานทางโบราณคดีที่พบได้แก่ ชิ้นส่วนหม้อสามขา ขวานมีดหินขัด เครื่องมือสะเก็ดหิน นับว่าเป็นโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

แหล่งโบราณคดีแหล่งถ้ำไสไทย

            อยู่ที่บ้านคลองจิหลาด ตำบลไสไทย อำเภอเมือง ฯ สภาพทั่วไปเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา  ค่อย ๆ ลาดเทไปทางตะวันออกและทางใต้  อยู่ไม่ไกลจากทะเลมากนัก  พันธุ์ไม้ทะเลจากสภาพป่าชายเลนเดิมยังปรากฏอยู่ทั่วไปทางด้านที่ติดกับทะเล  โพรงถ้ำมีซากหอยเกาะจับอยู่แสดงให้เห็นว่าน้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน  ภายในถ้ำแบ่งออกเป็น ๒ ตอน ตอนหน้าไม่ลึกนัก  ตอนในอยู่สูงขึ้นไปประมาณ ๓ เมตร เป็นโพรงถ้ำกว้างและทะลุไปอีกด้านหนึ่งได้  เป็นแหล่งโบราณคดีหลายสมัยในที่เดียวกัน  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบ ได้แก่ ขวานหิน พระพิมพ์ดินดิบ เทวรูปสำริดขนาดเล็ก  โบราณวัตถุรูปร่างคล้ายเจดีย์สำริด ภายในบรรจุด้วยวัตถุสีทอง และดวงแก้วใส ชาวบ้านเรียกว่า กรอบแก้ว
แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน

            อยู่ที่บ้านทับปริก ตำบลทับปริก อำเภอเมือง ฯ เพิงผาอยู่ในที่โล่งตามรอยบากของภูเขา  ภูมิประเทศรอบด้านเป็นที่ราบและที่ราบระหว่างหุบเขา  สภาพถ้ำในรอยบากของภูเขาหินปูน ยาวไปตามหุบเขาประมาณ ๓๕ เมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๗๕ เมตร  หลักฐานที่พบมีอายุประมาณ ๒๗,๐๐๐ - ๓๗,๐๐๐ ปี นับเป็นแหล่งที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  หลักฐานทางโบราณคดีที่พบได้แก่  หลุมฝังศพและโครงกระดูก เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ เครื่องมือหิน เครื่องมือทำจากเขาสัตว์และกระดูก กระดูกสัตว์ขนาดใหญ่และเปลือกหอย
            จากการขุดค้นครั้งแรกได้ขุดลึกลงไปถึงดินชั้นที่ ๑๐  ได้คำนวณอายุในชั้นที่ ๙ ได้อายุถึง ๓๗,๐๐๐ ปี ผลจากการคำนวณอายุนี้ แสดงถึงการพัฒนาการของมนุษย์ในเอเซีย  เมื่อหมู่เกาะพิลิปปินส์ และอินโดเนเซียกับแผ่นดินใหญ่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผืนแผ่นดินติดต่อกัน  เป็นยุคของการอพยพครั้งแรกของมนุษย์ลงไปทางใต้  จากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่นิวกินีและออสเตรเลีย
            เครื่องมือในยุคนี้ที่พบในถ้ำหลังโรงเรียน ส่วนมากเป็นเครื่องมือหินกะเทาะที่มีการแต่งขอบภายหลังดังเช่นที่พบในจีนและอินโดเนเซีย  เครื่องมือหินเหล่านี้คงใช้ในการดำรงชีวิตแบบล่าสัตว์ และเก็บพืชผลป่ามาบริโภค
แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือนอก (ถ้ำเทพนิมิต)

            อยู่ที่บ้านถ้ำเสือนอก ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก  ที่ตั้งถ้ำอยู่บนภูเขาที่ตั้งอยู่บนที่ราบเป็นเขาลูกโดดติดต่อกันหลายลูก  เป็นแนวทางไปต่อกับพืดเขาถ้ำเสือใน  ระหว่างหุบเขาจะเป็นที่ราบสลับกันไป  เพิงผาและโพรงถ้ำอยู่ในภูเขาหินปูน  มีถ้ำอยู่ใกล้เคียงกัน ๒ ถ้ำ คือถ้ำเทพนิมิต และถ้ำอรหันต์ ถ้ำเทพนิมิตมีเพิงผาที่เต็มไปด้วยเปลือกหอยเป็นจำนวนมาก มีอุโมงค์น้ำทะลุลอด  ชั้นบนเป็นถ้ำมืดที่กว้างขวาง  ส่วนถ้ำอรหันต์อยู่ห่างออกไปประมาณ ๕๐ เมตร มีหินย้อยระย้าเหมือนหลอดแก้ว
            โบราณวัตถุที่พบมีเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกบนพืดหิน เครื่องประดับ และจากพระพุทธรูป
แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือน้อย
            อยู่ที่บ้านถ้ำเสือน้อย อำเภออ่าวลึก สภาพถ้ำสวยงามและเงียบสงบตามธรรมชาติ เศษภาชนะดินเผาที่พบ มีเนื้อค่อนข้างประสานกันดี ผสมดินเหนียวมากขึ้นร่วมกับทรายละเอียด มักขัดผิวนอกให้เรียบมันกว่าลายเชือก  ค่อนข้างบางและมีขนาดไม่โตนัก เป็นภาชนะกลุ่มเดียวกันกับที่พบในถ้ำต้มเหรียง ถ้ำสระ ถ้ำเขาเขียน เป็นต้น  หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบได้แก่ ภาชนะดินเผาทรงพานแบบหม้อทรงกลม ทรงเต้าปูน แม่พิมพ์หินทราย และโครงกระดูกมนุษย์
ชุมชนคลองท่อม

            บริเวณอำเภอคลองท่อม ได้ขุดพบลูกปัดตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ทำให้สันนิษฐานว่า บริเวณนี้น่าจะเป็นแหล่งชุมชนโบราณแห่งหนึ่ง
            ในบริเวณควนลูกปัด ได้พบเครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับที่ทำจากหิน และดินเผา  นอกจากนี้ยังพบ รูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ลิง ไก่ เต่า ฯลฯ  รูปสัตว์เหล่านี้อาจจะเนื่องด้วยลัทธิศาสนาก็ได้  ส่วนรูปคนนั้นบางท่านสันนิษฐานว่า เป็นรูปพระสุริยเทพ สมัยเมื่อ ๖ - ๗ พันปีมาแล้วของอียิปต์  บางท่านก็สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นของอินเดียรุ่นเก่าก่อน ลูกปัดบางเม็ดมีลวดลายคล้ายเครื่องหมายสวัสดิกะ  พบตัวอักษรซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นภาษาใด  พบหอยสังข์ทำด้วยทองคำ กำไลข้อมือและข้อเท้า
            จากการที่พบเครื่องมือเบ้าหินลูกปัด  เศษลูกปัดที่แตก ก้อนหินสีต่าง ๆ ลูกปัดที่ชำรุดที่ถอดจากเบ้าทิ้งไว้  แสดงว่าควนลูกปัดเป็นแหล่งผลิตลูกปัด
แขวงเมืองปกาไส
            ตามประวัติกล่าวว่า เมืองกระบี่เดิมเรียกว่า เมืองปกาไสเป็นแขวงเมืองขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช โดยพระปลัดเมืองได้มาตั้งเพนียดจับช้าง เพื่อส่งไปยังเมืองนคร ฯ การตั้งเพนียดจับช้างนี้อยู่ในห้วงเวลาประมาณปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ในจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๘ ปรากฏชื่อตำแหน่งขุนนางในกำกับดูแลของเมืองนคร ฯ ทำหน้าที่รักษาด่านปากน้ำปกาไส  มีขุนวินิจเป็นนายด่านถือศักดินา ๔๐๐ ขุนทิพย์เป็นปลัดด่านถือศักดินา ๓๐๐ และมีหมื่นวิชิต หมื่นเพชร หมื่นชนะ หมื่นอาจ เป็นกองลาด ถือศักดินา ๒๐๐
            จากตำนานพื้นบ้านมีว่า  สมัยพญาศรีธรรมโศกราช บูรณะพระบรมธาตุเสร็จใหม่ ๆ ได้มีฝูงกาเป็นจำนวนมาก  มาบินโฉบเฉี่ยวพระบรมธาตุ  พระองค์จึงทรงสั้งให้ทหารไล่กาออกไป  ฝูงกาจึงหนีไปอยู่ที่ป่าใหญ่แห่งหนึ่งคือบ้านปกาไส  คำว่ากาไสแปลว่า แหล่งกา หรือถิ่นของกา
            ดินแดนบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีช้างชุกชุมมาก  เจ้าพระยานคร ฯ ทุกสมัยได้ส่งคนมาตั้งเพนียดจับช้างไปใช้งาน  ในสมัยเจ้าพระยานคร ฯ (น้อย) ถึงกับต่อเรือสินค้าขนาดใหญ่ส่งช้างที่จับได้ส่งไปขายถึงต่างประเทศ  โดยลงเรือที่ทางเมืองตรังและท่าเรืออื่น ๆ ที่ปรากฏร่องรอยสะพานช้าง เช่นคลองท่อม  คลองปกาไส เป็นต้น เส้นทางเหล่านี้รู้จักกันในนาม เส้นทางเจ้าพระยานครค้าช้าง
จารึก
            จารึกในจังหวัดกระบี่ พบที่แหล่งชุมชนโบราณคดีควนลูกปัด  ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนคลองท่อม ตำบลคลองท่อม อำเภอคลองท่อม เป็นจารึกในตราประทับเป็นอักษรอินเดียใต้ ภาษาสันสกฤต  อักษรปัลลวะ  มีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๒
            ตราประทับศิลารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส  เป็นแผ่นศิลาคาร์เนเลี่ยนสีแดงขนาด ๑ เซ็นติเมตร  รูปอักษรในตราประทับ เป็นอักษรด้านกลับ และเมื่อกลับอักษรเป็นด้านตรงแล้ว  จะเห็นว่าเหมือนกับรูปอักษรที่ใช้อยู่ในสมัยพระเจ้าศิวสกันทวรมัน  กษัตริย์แห่งราชวงศ์ปัลลวะประเทศอินเดีย มีคำอ่านและคำแปลดังนี้
            คำจารึกถอดเป็นอักษรไทย ทาดวยํ  คำแปล  ควรให้สมควรให้  หมายถึง อนุญาต  จึงสันนิษฐานว่าอาจจะใช้เป็นตราประทับเพื่อกิจการใดกิจการหนึ่ง
            ตราประทับทองคำรูปกลม  มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซ็นติเมตร  กึ่งกลางตรามีอักษรจารึก ๑ บรรทัด ด้วยรูปอักษรด้านกลับ  เป็นอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ เมื่อถอดอักษรที่จารึกแล้วอ่านได้ความหมายในทางสร้างสรรค์จรรโลงใจ  ทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในทางคุ้มครองป้องกันภยันตราย ให้แก่ผู้ที่ได้รับใช้ติดตัวประจำกาย
            คำจารึกถอดเป็นอักษรไทย  สรุธรฺมฺสมฺย  คำแปล  แห่งธรรมอันดีงาม หรือ แห่งธรรมอันละเอียดอ่อน
            ตราประทับแผ่นศิลารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  เป็นแผ่นศิลาเนื้อเขียว ขนาดกว้าง ๑.๕ เซ็นติเมตร ยาว ๔ เซ็นติเมตร เป็นรูปอักษรด้านกลับ ตัวอักษรเหมือนรูปอักษรในตราประทับทั้งสองชนิดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ซึ่งมีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ เป็นอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต มีคำอ่านและคำแปลดังนี้
            คำจารึกถอดเป็นอักษรไทย  อปฺรลสนสฺย  คำแปล ห้ามเคลื่อนย้าย
            ตราประทับแผ่นศิลารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  เป็นแผ่นศิลาสีเขียว ขนาดกว้าง ๑.๕ เซ็นติเมตร  ยาว ๔ เซ็นติเมตร เป็นรูปอักษรด้านกลับ  อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤตมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ มีคำอ่านและคำแปลดังนี้
            คำจารึกถอดเป็นอักษรไทย  วีรฺเพนฺธตฺรสฺย  คำแปล  เหล่ากอผู้กล้าผ่านไปได้
            ตราประทับแก้วรูปวงรี  มีอักษรจารึก ๑ บรรทัด  เป็นรูปอักษรด้านกลับ  เป็นอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต มีขนาดยาว ๑.๕ เซ็นติเมตร  กว้าง ๑ เซ็นติเมตร  มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒
            คำจารึกถอดเป็นภาษาไทย  ศรฺมฺมโน  คำแปล  ความสุข ความเบิกบานใจ ความปิติยินดี
            ตราประทับรูปแก้ววงรี  มีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๕ - ๘ เป็นอักษรด้านกลับ เป็นอักษรพราหมี  ภาษาปรากฤต หรือภาษาสันสกฤตโบราณ  มีคำอ่านและคำแปลดังนี้
            คำจารึกถอดเป็นอักษรไทย  รูชฺโช  คำแปล  ทำลาย
ตำนาน
            จังหวัดกระบี่มีตำนานที่เล่าสืบกันมาหลายชั่วอายุคนอยู่หลายเรื่องด้วยกัน  พอจะแบ่งเป็นกลุ่มของที่มาได้ดังนี้
            ชื่อตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ตำนานเขาสามหน่วย  ตำนานเขาขนาบน้ำ  ตำนานเขาขาว
            ชื่อตามประวัติศาสตร์ เช่นตำนานควนลูกปัด  ตำนานเขา  ตำนานเขาชวาปราบ  ตำนานดอกพม่า  ตำนานบ้านหูดม  ตำนานวัดนทีมุขาราม
            ชื่อตามเรื่องนิทาน  เช่นตำนานลูกสาวชาวเลกับปลาดุหยง  ตำนานเขาเขียน  ตำนานบ่อคุรี
            ชื่อตามชื่อบุคคล  เช่นตำนานนางเบญจา  ตำนานขุนสาแหงะ  ตำนานโต๊ะแชน  ตำนานโต๊ะบุหรง  ตำนานโต๊ะอาดับ
            ชื่อจากชื่อสัตว์ เช่น ตำนานพญายอดน้ำ  ตำนานช้างแม่ลูกอ่อน  ตำนานควนนกหว้า
            ชื่อตามสถานที่เกิด เช่น ตำนานบ้านลำหับ  ตำนานโต๊ะหินขวาง  ตำนานแหลมโพธิ์  ตำนานวังจ่า  ตำนานบ้านคลองพน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์