ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๑ มกราคม ๒๔๘๔
            รัฐบาลไทยโดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ออกประกาศกำหนดให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นต้นไป เพื่อให้เหมือนกับนานาอารยะประเทศ แบบสากลนิยม ดังนั้นปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงมีเพียง ๙ เดือน (เดิมใช้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) คือนับตั้งแต่ ๑ เมษายน ๒๔๘๓ สิ้นปี ๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๓

๗ มกราคม ๒๔๘๔
            เกิดกรณีพิพาทด้วยกำลังระหว่างไทยกับฝรั่งเศส รัฐบาลไทยได้ตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ใช้กำลังทหารปรับปรุงเขตแดนไทย และอินโดจีนฝรั่งเศส ผลปรากฎว่าไทยชนะ ได้ดินแดน ๔ จังหวัด คือ เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ และนครจำปาศักดิ์ กลับคืนมาเป็นของไทย โดยมีญี่ปุ่นอาสาเข้ามาไกล่เกลี่ย

๘ มกราคม ๒๔๘๔
            เครื่องบินของกองทัพอากาศไทย ได้ไปทิ้งระเบิดที่ เมืองเสียมราฐ พระตะบอง เป็นครั้งแรก ในกรณีพิพาทไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส

๑๖ มกราคม ๒๔๘๔
            กองพันทหารราบที่ ๓ ในสงครามอินโดจีน ชนะข้าศึกที่บ้านพร้าว ยึดธงชัยเฉลิมพลได้

๑๗ มกราคม ๒๔๘๔
            ได้มีการรบกันที่บริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง จังหวัดตราด ระหว่างกำลังรบทางเรือของไทยกับกองเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส เรียกว่า ยุทธนาวีที่เกาะช้าง ทำให้กองกำลังทางเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส ต้องล่าถอยออกไปจาก เขตน่านน้ำไทยในบริเวณดังกล่าว ดังนั้นวันนี้ของทุก ๆ ปี กองทัพเรือถือว่าเป็นวันสดุดีและบำเพ็ญกุศลแก่ผู้เสียชีวิตในการรบแห่งราชนาวี

๒๘ มกราคม ๒๔๘๔
            กรณีพิพาทไทยอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสยุติลง โดยญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ไกล่เลี่ย มีการลงนามในข้อตกลงพักรบ

๑๑ มีนาคม ๒๔๘๔
            ไทยกับฝรั่งเศส ตกลงทำสัญญาเลิกรบกัน ในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยไทยได้แคว้นหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ คืนจากฝรั่งเศส

๑๑ มีนาคม ๒๔๘๔
            มีการลงนามกันที่กรุงโตเกียว จากผลการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่นระหว่างไทย

๙ พฤษภาคม ๒๔๘๔
            ไทยกับฝรั่งเศส ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หลังจากยุติกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ประเทศไทยได้รับดินแดนแคว้นหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ แคว้นเขมรบางส่วน ซึ่งรวมทั้งจังหวัดศรีโสภณ และพระตะบอง คืนมา รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒๙,๐๓๙ ตารางกิโลเมตร

๙ พฤษภาคม ๒๔๘๔
            ไทยกับฝรั่งเศสได้ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างกันที่กรุงโตเกียว หลังจากที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน ฝรั่งเศส ระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศส ใน ๖ - ๒๘ มกราคม ๒๔๘๔

๙ พฤษภาคม ๒๔๘๔
            มีพระบรมราชโองการ ฯ ให้ประกาศยุบตำแหน่ง ผบ.ทหารสูงสุด แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ และแม่ทัพอากาศ ซึ่งตั้งขึ้นในกรณีพิพาทอินโดจีนของฝรั่งเศส

๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เสด็จสวรรคต ด้วยพระหทัยพิการ ที่อังกฤษ พระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา พระบรมอัฐิของพระองค์ได้อัญเชิญกลับประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ (พระราชสมภพ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๓๖ สละราชสมบัติ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗)

๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
            ถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ที่ประเทศอังกฤษ

๒๓ กรกฎาคม ๒๔๘๔
            นายควง อภัยวงศ์ นำธงชาติไทยไปชักขึ้นที่เสาธงเมืองพระตะบอง กัมพูชา

๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๔
            ตราพระราชบัญญัติโรคไข้จับสั่น

๑ สิงหาคม ๒๔๘๔
            ฝรั่งเศส ถอนทหารออกจากดินแดน พระตระบอง จำปาสัก ดินแดนที่มอบให้ไทยตามสัญญาสันติภาพ

๑๐ กันยายน ๒๔๘๔
            ตั้งภาคการปกครอง แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๕ ภาค โดยรวมจังหวัดต่าง ๆ เป็นหน่วยงาน เรียกว่า "ภาค" ดังนี้
                ภาคที่  ๑  ตั้งที่จังหวัดพระนคร มี ๒๐ จังหวัด
                ภาคที่  ๒  ตั้งที่จังหวัดปราจีนบุรี มี ๑๐ จังหวัด
                ภาคที่  ๓  ตั้งที่จังหวัดนครราชสีมา มี ๑๕ จังหวัด
                ภาคที่  ๔  ตั้งที่จังหวัดสงขลา มี ๑๔ จังหวัด
                ภาคที่  ๕  ตั้งที่จังหวัดลำปาง มี ๑๕ จังหวัด

๓๐ กันยายน ๒๔๘๔
            หลังจากยุติกรณีพิพาทอินโดจีนของฝรั่งเศส สงครามเรียกร้องดินแดนคืน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๔๘๔ มีการปักปันเส้นเขตแดนใหม่ ระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ทำให้ไทยได้เกาะต่าง ๆ ในลำน้ำโขง ๗๗ เกาะ และดินแดนในเขมรบางส่วนกลับคืนมาเป็นของไทย

๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๔
            ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้มีอำนาจสิทธิขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ และแต่งตั้งข้าราชการได้ตามที่ท่านเห็นสมควร

๒ ธันวาคม ๒๔๘๔
            มีพิธีลงนามกติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

๗ ธันวาคม ๒๔๘๔
            รัฐบาลญี่ปุ่นยื่นคำขาดต่อ ดร.ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีต่างประเทศ ขอให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยเป็นการด่วน เพื่อจะส่งกำลังไปโจนตีพม่าและสิงคโปร์

๗ ธันวาคม ๒๔๘๔
            กองพลรักษาพระองค์ของกองทัพญี่ปุ่นยกกำลังเข้าสู่ประเทศไทยทางบกทางด้านอรัญประเทศ และทางเรือได้ยกพลขึ้นบกที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้ายึดกรุงเทพ ฯ

๘ ธันวาคม ๒๔๘๔
            ญี่ปุ่นบุกรุกไทยในสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยยกพลขึ้นบกทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาและปัตตานี โดยมีอีกส่วนหนึ่งขึ้นบกที่ทางจังหวัดสมุทรปราการ

๘ ธันวาคม ๒๔๘๔
            คณะรัฐมนตรี มีมติให้นำข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น ให้ทหารญี่ปุ่นผ่านดินแดนของประเทศไทยไปได้

๘ ธันวาคม ๒๔๘๔
            กองทหารญี่ปุ่น บุกเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี และยกพลขึ้นบกในเขตจังหวัดชายทะเลภาคใต้ของไทยทาง ด้านอ่าวไทย รวม ๗ จังหวัด คือ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร และประชาชนได้ร่วมกันต่อสู้ต้านทานอย่างแข็งขัน แต่ในที่สุดรัฐบาลไทยต้องยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยได้

๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔
            เปิดธนาคารแห่งประเทศไทย ณ อาคารที่ทำการของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา โดยการเช่าสถานที่จากธนาคารดังกล่าว ต่อมาจึงย้ายเข้าสู่วังบางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘

๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๔
            ได้มีการลงนามตามหลักการยุทธร่วมระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ในสงครามมหาอาเชียบูรพา กำหนดให้ต่างฝ่ายต่างทำการยุทธในด้านของตน ถ้ามีความจำเป็นกองทัพอากาศยี่ปุ่นจะปฏิบัติการร่วมรบกับกองทัพอากาศไทยด้วย

๑๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
            กำหนดเครื่องหมายชั้นของข้าราชการนพลเรือนที่อินธนู ตั้งแต่ชั้นรัฐมนตรี ชั้นพิเศษ ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นจัตวา

๒๐ ธันวาคม ๒๔๘๔
            ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามเป็นพันธมิตรในกติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นได้กระทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงนามแทนในนามรัฐบาลไทย และนายทสุโบกามิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ลงนามแทนในนามรัฐบาลญี่ปุ่น

๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๔
            กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดตั้งกองทัพพายัพขึ้นมี พลโท หลวงจรูญ เริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุลเสรี เริงฤทธิ์) เป็นแม่ทัพ ประกอบด้วยกองพลทหารราบ ๓ กองพล (กองพลที่ ๒,๓ และ ๔) และกองพลทหารม้า ๑ กองพล เพื่อเข้าปฏิบัติการในดินแดนสหรัฐไทยเดิม ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย โดยสนธิกำลังจากหน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามคำร้องขอของกองทัพญี่ปุ่น ที่ต้องการให้ไทยส่งทหารไปร่วมรบกับญี่ปุ่นในพม่า โดยแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบดังกล่าว เพื่อป้องกันปีกขวาของกองทัพญี่ปุ่นเข้าสู่พม่า

๒๓ ธันวาคม ๒๔๘๔
            ประกาศสนธิสัญญาระหว่าง ไทย - ญี่ปุ่น เรื่องสัมพันธไมตรี และบูรณภาพอาณาเขตแห่งกันและกัน

๒๔ มกราคม ๒๔๘๕
            กรุงเทพ ฯ ถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ลูกระเบิดถูกมุขด้านเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคมพังลงมา เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดครั้งแรกของฝ่ายพันธมิตรต่อประเทศไทย

๒๕ มกราคม ๒๔๘๕
            รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ (บริเตนใหญ่) และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยเหตุผลว่าฝ่ายอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ได้ทำการรุกรานประเทศไทย โดยส่งทหารรุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย ส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิด เป็นการระเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและมนุษยธรรม รัฐบาลอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศสงครามกับประเทศทั้งสอง ตั้งแต่เวลาเที่ยงของวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นต้นไป

๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕
            ได้มีการลงนามในกิจที่เกี่ยวกับการยุทธร่วมกัน ระหว่างไทย กับญี่ปุ่น โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย กับแม่ทัพกองทัพที่ ๑๕ ของญี่ปุ่น ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกญี่ปุ่นในไทย ร่วมกับผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น

๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕
            ประเทศอังกฤษได้ประกาศสงครามกับไทย ในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยให้ถือว่ามีสถานะสงครามกับไทย ตั้งแต่ ๒๕มกราคม ๒๔๘๕ และได้โทรเลขถึงข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำประเทศคานาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ แสดงความหวังว่าประเทศในเครือจักรภพจะดำเนินการอย่างเดียวกัน

๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕
            รัฐบาลแอฟริกาได้ประกาศสถานะสงครามกับไทย โดยมีผลตั้งแต่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ แต่รัฐบาลไทยประกาศไม่รับรู้ประกาศดังกล่าว เนื่องจากไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะก่อให้เกิดสงครามระหว่างกัน

๒ มีนาคม ๒๔๘๕
            ออสเตรเลียประกาศสถานะสงครามกับไทย ตามความต้องการของอังกฤษ แต่รัฐบาลไทยประกาศไม่รับรู้ประกาศดังกล่าว เนื่องจากไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะก่อให้เกิดสงครามระหว่างกัน

๑๖ มีนาคม ๒๔๘๕
            นิวซีแลนด์ประกาศสถานะสงครามกับไทย โดยให้มีผลตั้งแต่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ แต่รัฐบาลไทยประกาศไม่รับรู้ประกาศดังกล่าว เนื่องจากไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะก่อให้เกิดสงครามระหว่างกัน

๒๗ มีนาคม ๒๔๘๕
            ประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณศาลาแดง กรุงเทพ ฯ

๑๐ พฤษภาคม ๒๔๘๕
            กองทัพพายัพเริ่มเคลื่อนกำลังเข้าสู่สหรัฐไทยเดิม และได้ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงไปตามลำดับ จนไปถึงชายแดนพม่า – จีน และได้ถอนตัวกลับหลังจากปฏิบัติการอยู่ได้ ๘ เดือน เศษ

๑๓ พฤษภาคม ๒๔๘๕
            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ และการใช้ราชทินนาม

๒๖ พฤษภาคม ๒๔๘๕
            กองพลที่ ๓ ของกองทัพพายัพยึดเมืองเชียงตุง อันเป็นเมืองหลวงของสหรัฐไทยเดิมได้ในสงครามมหาเอเซียบูรพา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์