ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

โบราณสถานและโบราณวัตถุ
    โบราณวัตถุ
            พระพิมพ์ดินดิบ  นิยมสร้างในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในสมัยโบราณโดยเฉพาะสมัยศรีวิชัย สร้างขึ้นเพื่อเป็นสิ่งเคารพบูชาแทนองค์พระศาสดา บ้างก็เชื่อว่าสร้างขึ้นเมื่อพระผู้ใหญ่มรณภาพลง เมื่อเผาแล้วก็เอาอัฐิธาตุโขลกผสมดินทำเป็นพระพิมพ์เพื่อบูชา
            จากวัตถุโบราณที่พบในบริเวณแห่งนี้ นับแต่ขวานหินและชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผา มีลายเชือกทาบ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้ มีความเป็นมาตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์
    โบราณสถาน
            พระพุทธไสยาสน์  ทางภาคใต้เรียกกันว่า พระนอน  และทางตำบลหน้าถ้ำเรียกว่า พ่อท่านบรรทม อยู่ในถ้ำพระนอนหรือถ้ำแจ้ง ภูเขาวัดถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำอำเภอเมือง ฯ องค์พระยาว ๘๑ ฟุต มีพญานาคทอดตัวอยู่เหนือองค์พระและแผ่พังพานอยู่เหนือพระเศียร พระกรขวาทอดศอกออกไปข้างหน้าตามแบบอินเดีย
    แหล่งโบราณคดี
           ชุมชนโบราณบ้านท่าสาป ทุ่งกาโล ภูเขากำปั่น ภูเขาวัดถ้ำ  นอกตัวเมืองยะลา ไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๙ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๔ ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๘ อันเป็นที่ตั้งของตำบลท่าสาปและตำบลหน้าถ้ำ มีที่ราบที่ชาวบ้านเรียกว่า ทุ่งกาโล ด้านตะวันออกของทุ่งมีแม่น้ำปัตตานี ไหลผ่านเป็นแนวเขตระหว่างพื้นที่กับตัวเมืองยะลา  ด้านตะวันตกมีภูเขาวัดถ้ำและภูเขากำปั่นกั้นเป็นฉากหลัง พื้นที่บริเวณดังกล่าวนี้รวมทั้งถ้ำต่าง ๆ ในภูเขาวัดถ้ำและภูเขากำปั่นถือเป็นชุมชนโบราณบริเวณเดียวกัน
                - บ้านท่าสาป  ได้มีการจัดตั้งเป็นเมืองยะลา ในปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปัตตานี เป็นท่าเรือที่จะรับส่งสินค้า จากต้นน้ำคือบริเวณอำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา ตลอดจนเป็นจุดที่ล่องเรือสู่ปากน้ำปัตตานีด้วย

                - ทุ่งกาโล  เดิมเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้านท่าสาปและหน้าถ้ำ ในพื้นที่มีโคกอิฐเนินดินปรากฎอยู่เรียงราย มักพบเครื่องปั้นดินเผาที่ยังสมบูรณ์อยู่บ้างเป็นเศษชำรุดบ้าง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ ได้พบพระพุทธรูป เทวรูป เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ มีการปรับพื้นที่เพื่อสร้างสนามบินท่าสาป พบว่ามีซากกำแพงเมืองและได้พบเครื่องถ้วยชามฝังดินอยู่ไม่น้อย พบเทวรูปพระนารายณ์สี่กร สำริด สูงประมาณหนึ่งศอกและพระพุทธรูปอีกหลายองค์
                - ภูเขาวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น  อยู่ทางทิศตะวันตกของทุ่งกาโล ตำบลหน้าถ้ำ ซึ่งมีภูเขาวัดถ้ำและภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำใหญ่น้อยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภูเขาวัดถ้ำ มีถ้ำสำคัญคือ ถ้ำแจ้ง หรือถ้ำพระนอน ซึ่งมีโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ และถ้ำศิลป ซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยศรีวิชัย พระพุทธไสยาสน์
            ถ้ำสำเภา  และถ้ำคนโท ถ้ำสำเภาอยู่ทางด้านทิศเหนือของภูเขา ปากถ้ำสูงกว่าพื้นดินประมาณ ๓ เมตร เคยมีผู้ขุดพบพระพุทธรูปปูนปั้นพระพิมพ์ดินเผาและพระสำริด ในถ้ำมีหินงอกหินย้อยงดงาม มีถ้ำเล็ก ๆ แยกออกไปเป็นซอกซอย บางช่วงเป็นห้องกว้าง ที่ผนังถ้ำมีลวดลายของหินตามธรรมชาติ ผนังถ้ำบางแห่งเคยมีปูนปั้นเป็นรูปราชรถ มีเทวดาประทับอยู่บนราชรถ แต่ปัจจุบันได้หายไปหมดแล้ว

            ถ้ำคนโท  อยู่ตอนกลางของภูเขากำปั่น อยู่สูงจากพื้นดินมาก เป็นถ้ำที่สำคัญและใหญ่ที่สุดของภูเขากำปั่น เป็นถ้ำหินอ่อน มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก จากการขุดค้นในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้พบวัตถุโบราณได้แก่พระพิมพ์ดินดิบ พระพุทธรูปและเครื่องถ้วยจากถ้ำนี้มากกว่าถ้ำอื่น ๆ วพระพุทธรูปที่พบในถ้ำแห่งนี้เป็นพระพุทธรูปสลักในแผ่นหินมีอยู่สามองค์ องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดสลักในแผ่นหิน กว้าง ๒๒ เซนติเมตร สูง ๓๐ เซนติเมตร สลักเป็นภาพนูนต่ำปางสมาธิ ส่วนพระพุทธรูปสำริดที่พบมักมีอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งที่เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง บางองค์ก็สันนิษฐานว่า เป็นสมัยศรีวิชัย
    แหล่งประวัติศาสตร์
            เมืองเก่าโกตาบารู  เคยเป็นเมืองเก่าในสมัยการแบ่งมณฑลปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง เป็นที่ตั้งของเมืองรามัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ ได้เปลี่ยนเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอรามัน ร่องรอยของความเป็นเมืองเก่าของโกตาบารู ที่ยังคงเหลืออยู่คือ
                - กำแพงดิน  ขนาดฐานกว้าง ๓ - ๔ เมตร สูง ๒ เมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รอบพื้นที่ประมาณ ๒๕ ไร่ ส่วนของกำแพงยังพอเห็นเป็นแนวกำแพงอยู่ในสวนยางพาราของเอกชน

                - หลุมฝังศพพระยารามัน  ตั้งวอยู่ในสุสานสาธารณะ หลังตลาดโกตาบารู ห่างจากกำแพงเมืองเก่าประมาณ ๑๐๐ เมตร
            เมืองรามันเดิม หรือโกตาบารู เป็นเมืองที่เจริญและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีทั้งช้าง ป่าไม้ ทอง และแร่ทับทิม รามันมีอาณาเขตกว้างขวาง ติดต่อกับเมืองสายบุรี เมืองยะลา เมืองระแงะ และเมืองเปอร์ลิสของมาเลเซีย มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาหลายคน ที่สำคัญและเป็นที่นับถือของชาวไทงยพุทธ ชาวไทยอิสลามและชาวจีน ทั้งในถิ่นและนอกถิ่นคือ โต๊ะนิจาแว เรียกสั้น ๆ ว่า โต๊ะนิ เล่ากันว่าเจ้าเมืองเป็นคนที่ชอบการเล่นกิจกรรมสนุกสนาน ชอบเล่นกีฬา โดยเฉพาะศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า สิละมาก เมื่อวถึงวันวสำคัญก็จะมีการแข่งขันการรำสิละ ตกกลางคืนจะมีการแสดงลิเกฮูลู เล่ากันว่าลิเกฮูลู ถือกำเนิดที่เมืองนี้เป็นครั้งแรก เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า โกตอราไม แปลว่าเมืองรื่นเริง เช่นเจ้าเมืองบนบานอะไรไว้ เมื่อสำเร็จผลก็มีการแก้บนกัน โดยเฉพาะวันโกนจุกและวันแต่งงานของลูกเจ้าเมือง จะเชิญเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงมาร่วมในงานด้วย
            เมื่อรายอจาแว (โต๊ะนิ) ถึงแก่กรรม บรรดาลูก ๆ ก็พัฒนาวังเก่าให้ใหม่และใหญ่ขึ้น โดยย้ายจากที่เก่ามาตั้งใกล้ถนนใหญ่ แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น โกตาบารู แปลว่าวังใหม่

            เมืองเก่ายะลา บ้านยะลา  เมื่อครั้งที่เมืองปัตตานี แบ่งออกเป็นเจ็ดหัวเมือง ในปี พ.ศ.๒๓๕๗ เมืองยะลาเป็นเมืองหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองนั้น ตอนนั้นเมืองยะลาตั้งอยู่ที่บ้านยะลอ ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลบ้านยะลา อำเภอเมือง ฯ  ประชาชนทั่วไปบริเวณนี้เรียกพื้นที่แห่งนี้ว่า เมืองเก่ายะลา ตัวเรือนที่เหลือเป็นร่องรอยว่าเป็นจวนเจ้าเมือง
            ตามพงศาวดารเมืองปัตตานี ฉบับของพระยาวิเชียรคีรี ฯ (ชม) เจ้าเมืองสงขลา ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑ - ๒๔๔๔ ได้กล่าวถึงอาณาเขตเมืองยะลา ที่แบ่งแยกออกมาจากเมืองปัตตานีไว้ว่า
            เขตแดนเมืองยะลารอบตัวตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เขาปะราหมะปักหลักเรียงลงไปตะวันออก ถึงปะฆะหลอสะเตาะเหนือบ้าน จินเหรตลอดไปถึงบ้านกะลั่นอะหรอ จนถึงคลองใหญ่ท่าสาปจดบ้านบะนางสะตาฟากเหนือ เป็นเขตเมืองยะลา ฟากใต้เป็นเขตเมืองรามันห์ ฟากตะวันตกเป็นเขตเมืองยะลา ปากคลองตะวันออก เป็นเขตเมืองปัตตานี ฝ่ายเหนือต่อพรมแดนหนองจิก เขาศาลาคีรีเป็นแดนฝ่านตะวันตกต่อพรมแดนเมืองไทรบุรี มีคลองบาโงยเป็นเขตแดนขึ้นไปถึงบ้านยินัง ตลอดไปบ้านบะเหลาะฝ่ายตะวันตก ตลอดไปจดเขาเมืองดิคะล่าบูสิ้นเขตเมืองยะลา
            กำแพงเมืองบ้านกาแป๊ะกอตอ  เป็นกำแพงดินฐานกว้างประมาณ ๓ เมตร สูง ๒ เมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒๐ ไร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู อยู่ที่บ้านกาแป๊ะกอตอ ตำบลเบตง อำเภอเบตง
            เมื่อมีการแบ่งเมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมืองนั้น เบตงขึ้นกับเมืองรามัน เจ้าเมืองรามันบางคนได้มาสร้างวังอยู่ที่เบตง คือที่บ้านกาแป๊ะกอตอแห่งนี้ มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นวังของรายอซิยง (ราชาเขี้ยวงอก) เป็นราชาอธรรม ข่มเหงรังแกชาวบ้าน ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันขับไล่ไปอยู่ทางตอนใต้ (อยู่ในประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน)
            กำแพงเมืองที่บาโงยบาแต  อยู่ที่บ้านบาโงยบาแต ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง ฯ  มีคันดินฐานกว้างประมาณ ๓ เมตร สูงประมาณ ๑.๕ เมตร เป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ยาวประมาณ ๑๕๐ เมตร ด้านนอกของคันดินมีคูลึกประมาณ ๑.๕๐ - ๒.๐๐ เมตร  ห่างจากคันดินดังกล่าวมีเนินดินขนาดฐานกว้าง ๑๕ เมตร สูงประมาณ ๓ เมตร ภายในเนินดินเป็นแผ่นอิฐวางระเกะระกะ ขนาดแผ่นอิฐหนา ๒ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว
            โบราณสถานดังกล่าวไม่มีหลักฐานบอกถึงความเป็นมา แต่มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่าเดิมเป็นวังของราชาเขี้ยวงอกผู้ดุร้าย ภายหลังต้องหนีไปอยู่ที่อื่น
            จากการสำรวจ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นกำแพงดินและคูเมืองสมัยอยุธยา ส่วนเนินอิฐนั้นยังไม่ได้มีการขุดแต่ง จึงยังสันนิษฐานไม่ได้ว่า เป็นซากสิ่งก่อสร้างประเภทใด

            วังเก่าพระยายะลา (ต่วนสุไลมาน)  ตั้งอยู่ที่บ้านเปาะเส้ง ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมือง ฯ ในพื้นที่ประมาณ ๓ ไร่ มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับสวนยาง ทิศใต้ติดกับคลองยะหา เป็นบ้านทรงปั้นหยา หลังคาทรงลีมะ เป็นเรือนแฝด มีชานเรือนอยู่กลาง  เรือนหลังใหญ่กว้างประมาณ ๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร  หลังเล็กกว้างประมาณ ๔ เมตร ยาว ๒๐ เมตร  เรือนหลังใหญ่ด้านหน้ามีระเบียงด้านหลังเป็นห้องละหมาด ชานเรือนข้างหลังเป็นบ่อน้ำและอ่างน้ำละหมาด  ด้านหลังของเรือนหลังเล็กเป็นห้องครัว
            วังเก่าหลังนี้เป็นเรือนใต้ถุนสูง มีเสาไม้เป็นจำนวนมาก พื้นไม้กระดาน ฝาไม้กระดาน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาซึ่งนำมาจากเตาเผาที่เมืองปัตตานี ช่างที่สร้างชื่อ หะยีลีมะ เป็นช่างคนเดียวกันกับที่สร้างวังที่เมืองปัตตานี เป็นผู้ออกแบบเอง และสร้างเองโดยมีชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเป็นลูกมือ

            หลุมฝังศพ (กุโบ) พระยายะลา (ต่วนสุไลมาน)  ตั้งอยู่ในบริเวณมัสยิดบ้านลางา หมู่บ้านเปาะเส้ง ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมือง ฯ ในพื้นที่ประมาณ ๑๐ ไร่ มีอาณาเขตทิศเหนือติดสวนยาง ทิศตะวันตกติดทุ่งนา ทิศใต้ติดสวนยาง เหนือหลุมศพประดับด้วยเครื่อง ครอบคลุมศพ แกะสลักด้วยหินอ่อนเป็นรูปหลังคาและโดม เหนือหลุมศพมีอาคารกว้าง ๗ เมตร สูงประมาณ ๒.๕ เมตร หลังคาทรงลีมะมุงด้วยกระเบื้องดินจากเตาเผากระเบื้องที่เมืองปัตตานี ภายนอกตัวอาคาร มีกำแพงอิฐถือปูนกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ประตูอยู่ทางด้านทิศเหนือ บานประตูทำด้วยไม้แผ่นแข็งแรง
            ภายในกำแพง นอกจากเป็นที่ฝังศพพระยายะลาแล้ว ยังมีหลุมฝังศพของลูกหลานพระยายะลาอยู่ด้วย ส่วนภายนอกกำแพง เป็นหลุมฝังศพของชาวบ้าน บริเวณตำบลนี้เรียงรายอยู่ทั่วทั้งกุโบ
            สำหรับที่ครอบคลุมศพของต่วนสุไลมาน ภาษามลายูเรียกว่า กาแอปอรี มีคำจารึกบนหินอ่อนเขียนเป็นภาษามลายู
            เรือนจำภาคธารโต มีจุดประสงค์เพื่อจัดตั้งเป็นทัณฑนิคม อยู่ในเขตตำบลแม่หวาด อำเภอบันนังสตา มีพื้นที่ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์ พ.ศ.๒๔๘๐
            จุดมุ่งหมายเพื่อย้ายนักโทษจากที่อื่นมาอยู่เพื่อฝึกหัดวิชาเกษตรให้นักโทษ โดยคัดเลือกนักโทษที่มีเวลาพอจะพ้นโทษ ประมาณ ๔ - ๗ ปี อายุไม่เกิน ๕๐ ปี ร่างกายแข็งแรง และเมื่อพ้นโทษแล้วไม่มีอาชีพอื่นใดและสมัครใจจะอยู่
            ผู้บัญชาการเรือนจำคนแรกคือ นายสงวน  ตุลารักษ์  มีกองงานกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อทำงาน เช่น ทำงานในโรงเลื่อยเครื่องจักรไอน้ำ ตัดหวายป่า เผาถ่าน เลี้ยงสุกร ทำสวนมะนาว ยางพารา ทำฟืน ทำเหมืองแร่ดีบุก แต่การดำเนินงานไม่ได้ผลเท่าที่ควร จำเป็นต้องย้ายเรือนจำเขตธารโต ไปขึ้นกับเรือนจำประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เลิกไปและโอนให้กรมประชาสงเคราะห์จัดเป็นนิคม

            อุโมงค์เบตง  ตั้งอยู่ที่บ้านปิยะมิตร ตำบลตาเนาะแบเราะ อำเภอเบตง ใกล้กับบ่อน้ำร้อนเบตง เป็นอุโมงค์ที่อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) ได้ขุดขึ้นเพื่อใช้เป็นที่สะสมเสบียง หลบภัยทางอากาศและเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ อุโมงค์เดิมเป็นอุโมงค์ดิน ขนาดกว้างประมาณสองคนเดินสวนกันได้ ความสูงสูงกว่าศีรษะของคนยืนทั่วไปประมาณหนึ่งฟุต ขุดเจาะเข้าไปในเนินดินที่มีต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ มีความยาวประมาณหนึ่งกิโลเมตร มีทางแยกเพื่อเข้า - ออก ได้เก้าทาง  ภายในอุโมงค์บางตอนจะเป็นห้องบัญชาการ ห้องส่งวิทยุท ห้องเก็บอาวุธและห้องพยาบาล เป็นต้น

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์