ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            ที่ราบลุ่ม แม่น้ำน่าน เป็นบริเวณหนึ่งที่พบหลักฐานการเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์  ตามเส้นทางแม่น้ำน่าน บริเวณตอนใต้เขื่อนสิริกิติ์ลงมาที่บ้านพังแหวน แก่งตาน และปากห้วยฉลอง ตำบลผาเมือง อำเภอท่าปลา  หลักฐานที่พบเป็นเครื่องมือหินเมื่อประมาณ ๘,๐๐๐ - ๙,๐๐๐ ปีมาแล้ว  จากหลักฐานที่มีอยู่ไม่มาก  สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ในลักษณะสังคมแบบเร่ร่อน จับสัตว์และหาปลา  ยกเว้นที่ปากห้วยฉลองได้พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรของมนุษย์ใช้เครื่องมือหินขัด
            หลักฐานทางโบราณคดีส่วนหนึ่งพบที่บริเวณเหนือสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง อำเภอเมือง ฯ มีโบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น  ลูกปัดหิน  มีดสำริด  ขวานสำริด  ลูกปัดสำริด  กระดูก และเศษภาชนะดินเผามีลายเส้นและลายขีด

            นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีอีกส่วนหนึ่งได้แก่ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาตาพรม และเครื่องมือใบหอกสำริด  กำไลหิน  ภาชนะดินเผาชนิดไม่ขัดผิว  แต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ ผสมกับลายขีด ที่ถ้ำเขากระดูก  เขาหน้าผาตั้ง ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน  หลักฐานเหล่านี้อยู่ร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์  เครื่องมือโลหะที่พบเหล่านี้น่าจะมีความสัมพันธ์กับชุดเครื่องสำริดที่พบมาก่อนแล้ว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่บริเวณม่อนหรือเนินเขาเตี้ย ๆ ในเขตตำบลท่าเสา อำเภอเมือง ฯ ซึ่งวัตถุที่พบประกอบด้วย กลองมโหระทึก  กาน้ำ  พร้าสำริด เป็นต้น

            เมื่อประมวลหลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่ค้นพบแล้ว ทำให้ทราบในขั้นต้นว่า ในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ได้เคยมีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของหลักฐานทางโบราณคดี ระหว่างท้องถิ่นต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา  แสดงว่าน่าจะมีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ในท้องถิ่น จนเกิดเป็นชุมชนขึ้นมา และมีความสัมพันธ์ไปถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้แก่ดินแดนทางภาคอิสานเหนือของไทย แขวงไชยบุรีของลาว และอาจจะเลยไปถึงแหล่งวัฒนธรรมดองซอนในเวียดนามด้วย
สมัยประวัติศาสตร์

            บริเวณเก่าแก่ที่น่าจะเป็นชุมชนสมัยแรกได้แก่เวียงเจ้าเงาะ  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำน่านห่างจากบริเวณปากคลองโพไปประมาณ ๕ กิโลเมตร  เชื่อว่าเป็นเมืองโบราณที่เก่ากว่าสมัยสุโขทัย  จากร่องรอยกำแพงที่เหลืออยู่  สันนิษฐานว่า เวียงเจ้าเงาะน่าจะสร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘

            บริเวณใกล้เคียงกันกับเวียงเจ้าเงาะได้พบร่องรอยเมืองโบราณที่ชื่อว่าเมืองทุ่งยั้ง  มีกำแพงเมืองล้อมรอบลัดเลาะไปตามเนินเขา  มีพื้นที่กว้างขวางพอสมควร  เป็นเมืองซ้อนเมืองกันอยู่กับเวียงเจ้าเงาะ  เป็นเมืองสมัยเดียวกันกับสุโขทัย และศรีสัชนาลัย  เพราะกำแพงเมืองที่เหลืออยู่มีลักษณะ ๓ ชั้น ที่เรียกว่าตรีบูร อันเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย  ความเป็นมาของเมืองทุ่งยั้งไม่ชัดเจนเช่นเดียวกันกับเวียงเจ้าเงาะ  มีเพียงที่เป็นตำนานปรำปราถึงประวัติความเป็นมา  และได้มีการกล่าวอ้างถึงชื่อเมืองนี้ในพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงเมืองทุ่งยั้งว่า มีพญาคนหนึ่ง ชื่อ บาธรรมราช ผู้ครองเมืองสวรรคโลก เป็นผู้สร้างเมืองทุ่งยั้ง เพื่อให้โอรสองค์หนึ่งไปครอง ให้ชื่อว่ากัมโพชนคร  จากศิลาจารึกหลักที่ ๓๘ ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๐ ปรากฎชื่อเมืองทุ่งยั้งอยู่ด้วย ในกฎหมายลักษณะลักพา ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้กล่าวถึงชื่อเมืองทุ่งยั้งไว้คู่กับเมืองบางยม
            ได้มีการศึกษาในประเด็นที่ว่าเมืองทุ่งยั้งอาจเป็นเมือง ๆ เดียวกับเมืองราด ซึ่งเป็นเมืองที่พ่อขุนผาเมืองปกครองอยู่ก่อนที่จะร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาว เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัยคืนมาจากขอม สมาสโขลญลำพังได้สำเร็จ และสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

            บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านอีกแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญคือเมืองฝาง  เมืองฝางปรากฏชื่ออยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๒  ซึ่งได้กล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง ว่าก่อนที่ท่านจะเดินทางไปจาริก แสวงบุญที่ลังกา ในสมัยพญาเลอไท ได้แวะมานมัสการพระธาตุวัดพระฝาง แล้วจึงเดินทางต่อไปยังเมืองแพร่ ลำพูน และลงเรือที่อ่าวเมาะตะมะไปลังกา นอกจากนี้ในศิลาจารึกหลักที่ ๓  ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๐ ก็ได้ปรากฏชื่อเมืองฝางอยู่ด้วยเช่นกัน
สมัยอยุธยา

            อุตรดิตถ์เป็นหัวเมืองชายแดนเหนือสุดของราชอาณาจักรอยุธยา  ชุมชนอยู่กันอย่างหนาแน่นมั่นคง อยู่บริเวณที่ราบแถบปากคลองโพ  ชาวลุ่มแม่น้ำภาคกลางเรียกว่าชาวเหนือ มาตั้งแต่ต้นสมัยอยุธยา อุตรดิตถ์เป็นชุมทางการเดินทางไปมาระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ จึงเปรียบเสมือนประตูสู่ล้านนา  และกลายเป็นเมืองหน้าด่าน และย่านการค้าที่สำคัญ
            ประมาณปี พ.ศ. ๒๐๐๖ ได้มีการอพยพของคนกลุ่มไท - ยวน จากเชียงแสนเข้ามายังบริเวณเมืองลับแล และต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๑๒๗ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้อิสระภาพจากพม่า ได้มีการกวาดต้อนผู้คนจากอุตรดิตถ์มายังภาคกลาง แถบกรุงศรีอยุธยา เพื่อเตรียมกำลังไว้รับศึกพม่า  หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒  เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ บริเวณเมืองอุตรดิตถ์ได้เป็นแหล่งหลบภัยของราษฎรเป็นจำนวนมาก  เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเส้นทางเดินทัพของพม่า และได้เกิดเป็นที่ตั้งของชุมนุมเจ้าพระฝาง  มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฝาง
สมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์

            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงเล็งเห็นความสำคัญของเมืองอุตรดิตถ์ ในฐานะที่เป็นเมืองหน้าด่านทางด้านนี้  จึงได้ทรงแต่งตั้งนายทหารคนสนิทหลายคน ขึ้นครองหัวเมืองทางเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองพิชัย ได้ให้พระยาสีหราชเดโชชัย (จ้อยหรือ ทองดี วิชัยขัตคะ) เป็นเจ้าเมือง  ซึ่งท่านได้สร้างวีรกรรมในการต่อสู้กับข้าศึก จนได้รับสมญานามว่า พระยาพิชัยดาบหัก
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกรณีกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๙ - ๒๓๗๕  เมื่อปราบกบฎได้ราบคาบ ก็ได้กวาดต้อนผู้คนกลุ่มลาวเวียงจันทน์มาอยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ แถบเมืองพิชัย และเมืองตรอน
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕  เมืองพิชัยได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นหัวเมืองชั้นโท  และพระราชทานชื่อเมืองให้ชื่อว่า อุตรดิตถ์ ซึ่งหมายถึงเมืองท่าทางทิศเหนือ และในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงตุง ใช้เส้นทางผ่านเมืองอุตรดิตถ์ ได้เสด็จมาพักอยู่ที่หาดท่าอิฐ ๑ เดือน  ก่อนจะเดินทัพข้ามเขาพลึง  ผ่านเข้าเมืองแพร่ เมืองน่าน เชียงราย แล้วออกนอกเขตแดนที่สบรวกที่เชียงแสน  แล้วจึงเข้าสู่เมืองเชียงตุง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พวกฮ่อได้ก่อการกบฎขึ้นในดินแดนพระเทศราชฝั่งลาว ทำให้มีผู้อพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการค้าขายในแถบบางโพ - ท่าอิฐ
            ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๓๑  ไทยได้ส่งกองทัพเข้าไปปราบฮ่อหลายครั้ง  การเดินทัพได้ใช้เส้นทาง จากอุตรดิตถ์ เข้าบ้านน้ำพี้ ไปยังเมืองน้ำปาด  ผ่านภูดู่ ไปบ้านปากลาย  แล้วลงเรือไปตามแม่น้ำโขง จนถึงเมืองหลวงพระบาง
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗  พระวิภาคภูวดล (เจมส์  ฟิตซรอย  แมคคาร์ธี เอสไควร์ - ชาวอังกฤษ) ได้เดินทางไปทำแผนที่ในฝั่งลาวตามเส้นทางแถบแขวงไชยบุรี เชียงขวาง ตลอดไปถึงเวียงจันทน์
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าาเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองอุตรดิตถ์โดยชลมารค เจ้านครลำปางเจ้าบุญแพร่ และเจ้านครน่าน ได้เดินทางมารับเสด็จที่เมืองอุตรดิตถ์  โดยที่เจ้านครลำปางกับเจ้านครแพร่มาทางบก  ส่วนเจ้านครน่านมาทางเรือ
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พวกเงี้ยวได้ก่อการจลาจลขึ้นที่เมืองแพร่ ทางกรุงเทพ ฯ ได้ให้เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (เจิม - แสง - ชูโต) เป็นแม่ทัพขึ้นมาระงับเหตุ  เมืองอุตรดิตถ์ก็ได้เป็นที่ประชุมพลของบรรดาหัวเมืองทางเหนือที่ส่งกำลังมาช่วยปราบเงี้ยว

            ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ - ๒๔๔๙  ได้สร้างทางรถไฟสายเหนือผ่านเมืองอุตรดิตถ์  ทำให้อุตรดิตถ์มีบทบาทโดดเด่นเหมือนเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต คือ เป็นชุมทางคมนาคม และการค้าขาย ทางรถไฟสร้างเสร็จและรถไฟแล่นมาถึงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒  ทำให้อุตรดิตถ์กลายเป็นย่านรถไฟใหญ่ มีสถานีใหญ่อยู่ใกล้เคียงกันถึง ๒ สถานีคือ สถานีอุตรดิตถ์ และสถานีศิลาอาสน์  ซึ่งเป็นจุดที่ทางรถไฟเริ่มขึ้นสู่ที่สูง ผ่านภูเขาสูงชันต้องเพิ่มจำนวนหัวรถจักรในการลากจูงขบวนรถ
            ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓  เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ไทยได้เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส จังหวัดอุตรดิตถ์มีเขตแดนติดต่อกับอิโดจีนด้านเมืองปากลาย  ซึ่งเคยเป็นดินแดนไทยมาก่อน  จึงได้ใช้จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นที่มั่น รวบรวมกำลังซึ่งยกมาจากนครสวรรค์  เพื่อเข้ายึดเมืองปากลายกลับคืนมา
            ปี พ.ศ. ๒๔๘๖  กองทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์  ในขณะที่เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ทางกองทัพไทยจึงได้จัดตั้งกองพันทหารม้าที่ ๖ ขึ้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ในปีเดียวกัน  ด้วยเหตุผลที่ว่าจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดสำคัญที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอินโดจีน  ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ จังหวัดอุตรดิตถ์ ถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ณ ปมคมนาคม อันได้แก่สะพานข้ามแม่น้ำน่าน และชุมทางรถไฟบ้านดารา
            ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เริ่มสร้างเขื่อนสิริกิติ์ที่ผาซ่อม อำเภอท่าปลา สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐
 
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์