ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐาน

            สภาพทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดตากเอื้ออำนวยต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบบนเทือกเขาถนนธงชัย ในเส้นทางตาก - แม่สอด มีอยู่เป็นจำนวนมากและหลายชนิด มีแหล่งโบราณคดีไม่น้อยกว่าห้าแห่งคือ
                แหล่งโบราณคดีดอยมณฑา  อยู่ที่บ้านห้วยปลาหลด ตำบลพระวอ พบเศษภาชนะดินเผา แหวนสำริด ปลอกสำริด ไหบรจุกระดูกเผาไฟ
                แหล่งโบราณคดีดอยส้มป่อย  อยู่ที่บ้านมูเซอร์ส้มป่อย อำเภอแม่สอด พบเศษภาชนะดินเผาแบบเคลือบและไม่เคลือบผิว เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับทำด้วยสำริด และลูกแก้ว เครื่องมือสะกัดหิน
                แหล่งโบราณคดีดอยมะขามป้อม ๑,๒  อยู่ที่บ้านปลากด ในเขตอุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่ ตำบลพะวอ พบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ แบบเคลือบ และแบบไม่เคลือบผิว เครื่องมือหินรูปขวาน เศษชามเซลาดอนจีน เวียดนาม มีลายเขียนสี วัตถุสำริดและเครื่องมือเหล็กชนิดต่าง ๆ มีด ดาบ สิ่ว ลิ่ม เสียม และหอก
                แหล่งโบราณคดีดอนสระกลี  อยู่ในตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง ฯ พบเศษภาชนะดินเผา ทั้งชนิดที่มีลายขูดขีดและผิวเรียบมัน เศษชามเคลือบไทย เครื่องเซลาดอนจีน เวียดนาม เครื่องกะเทาะหิน เศษภาชนะสำริด เครื่องมือเหล็ก
                สันนิษฐานว่า แหล่งโบราณคดีเหล่านี้ เคยมีมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินใหม่อาศัยอยู่ โดยมีการใช้ขวานหินขัด และภาชนะดินเผา และอาจเป็นแหล่งฝังศพมีการฝังถ้วยชาม และเครื่องเหล็กลงไปในสมัยประวัติศาสตร์ นอกจากนี้แหล่งโบราณคดีน่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพของไทย และพม่าในสมัยอยุธยา โดยผ่านด่านแม่ละเมา จากโบราณวัตถุที่ขุดพบประเภทอาวุธเหล็ก ใบหอก และมีดดาบ เป็นต้น
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
            สมัยก่อนกรุงสุโขทัย  ตากเป็นเมืองที่สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่บนดอยเล็กๆ ลูกหนึ่ง ที่หมู่บ้านท่าพระธาตุ ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก อยู่ห่างจากแม่น้ำปิงไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๔๐๐ เมตร สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมเป็นเมืองที่พวกมอญสร้างไว้ เพราะอยู่ทางฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวา) ของแม่น้ำปิงและอยู่ตรงปากน้ำวัง ไปเมืองนครลำปาง เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยนั้น
            ในหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยของพระบริหารเทพธานี ได้กล่าวถึงความสำคัญของเมืองตาก โดยผูกเรื่องจากเรื่องราวในตำนานว่า เดิมเคยเป็นเมืองราชธานีของแคว้นเหนือมาก่อน ต่อมาในสมัยพระยากาฬวรรณดิษได้ย้ายจากเมืองตากไปครองเมืองละโว้ เมืองตากจึงถูกทิ้งเป็นเมืองร้าง ต่อมาเมื่อพระนางจามเทวีเสด็จไปครองเมืองหริภุญไชย เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๒๐๐  พระนางจามเทวีได้บูระณะเมืองตากขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

            สมัยสุโขทัย  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๒  เมืองตากเริ่มมีบทบาทคือ เป็นสมรภูมิในการยุทธหัตถีระหว่างพ่อขุนศรีอิทราทิตย์กับ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ผู้มารุกรานเมืองตาก เมืองตากรอดพ้นจากการรุกรานของขุนสามชนในครั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ปรากฎเรื่องราวในศิลาจารึกตลอดสมัยสุโขทัย
            บนดอยช้างเหนือวัดบรมธาตุ ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก อยู่ทางฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวา) ของแม่น้ำปิง มีเจดีย์ทรงดอกบัวตูม อิทธิพลศิลปะสุโขทัยอยู่องค์หนึ่ง ทำให้เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถี ที่ระลึกที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชชนช้างชนะขุนสามชน

            สมัยอยุธยา  ในสมัยอยุธยาตอนต้น ไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ เกี่ยวกับเมืองตาก จนกระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ทางพม่ามีกษัตริย์พระนามพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ร่วมกับเชื้อพระวงศ์องค์หนึ่งพระนามว่า บุเรงนอง ทั้งสองพระองค์ได้ทำสงครามแผ่อาณาจักรให้กว้างขวาง ยกกองทัพไปปราบปรามได้เมืองมอญ และไทยใหญ่ไว้ในอำนาจได้ทั้งสิ้น เมื่อทราบว่าเกิดจลาจลในกรุงศรีอยุธยา และผลัดแผ่นดินใหม่ เห็นว่าจะตีกรุงศรีอยุธยาไว้เป็นเมืองขึ้นเพิ่มขึ้นอีก จึงให้เกณฑ์กองทัพมาตั้งประชุมพลที่เมืองเมาะตะมะ แล้วยกทัพมาถึงชานกรุงศรีอยุธยา พม่าล้อมพระนครอยู่จนได้ข่าว พระมหาธรรมราชายกทัพจากเมืองพิษณุโลกมาช่วย พม่าเกรงจะถูกตีกระหนาบจึงเลิกทัพกลับไป แต่ไม่ไปทางด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ยกทัพเข้ามา แต่ให้ยกทัพไปทางเหนือ ออกไปทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก
            การส่งครามได้ว่างเว้นมาเป็นเวลา ๑๕ ปี ทางพม่าเมื่อสิ้นพระเจ้าตะเบงชเวตี้แล้ว บุเรงนองได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าหงสาวดี เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๖ ได้เริ่มทำสงครามแผ่นอาณาจักรตลอดมาเป็นเวลาสิบปีจนได้ประเทศน้อยใหญ่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่าไว้ได้หมดสิ้น จากนั้นก็หาเหตุยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา และได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๖
            ในสงครามครั้งนั้น กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งฝ่ายพม่าได้คุมกองเรือลำเลียงเสบียงอาหาร ลงมาบรรจบกับทัพหลวงของพม่าที่เมืองตาก แล้วลาดตระเวณหาเสบียงอาหารในเขตเมืองตากสำหรับใช้ในกองทัพต่อไป
            พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกกองทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เข้าตีหัวเมืองต่าง ๆ ทางเหนือรายทางลงมา ได้รบกับเมืองใหญ่ ๆ หลายเมืองเช่นพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย แต่ไม่ปรากฎว่าเมืองตากได้มีการสู้รบกับกองทัพพม่า ทั้งนี้คงเนื่องจากเมืองตากเก่า ตั้งอยู่เหนือด่านแม่ละเมาขึ้นไปมาก ทัพพม่าจึงไม่จำเป็นตัองอ้อมขึ้นไปตีเมืองตาก ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๓๐ กิโลเมตร คงเดินทัพตัดตรงเข้ามายังบ้านป่ามะม่วง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับบ้านระแหง แล้วเดินทัพไปทางทิศตะวันออก เข้าตีเมืองสุโขทัย และเมืองพิษณุโลกทางหนึ่ง อีกทัพหนึ่งแยกลงไปทางใต้เข้าตีเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครสวรรค์แล้วรวมกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป
            จากศึกพม่าครั้งนี้ทำให้ฝ่ายไทยคิดเห็นว่าตัวเมืองตากเก่าตั้งอยู่ลึกเข้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมาก กองทัพพม่าซึ่งยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา สามารถเดินทัพเข้ามาได้อย่างสะดวก จึงได้ย้ายตัวเมืองตากลงมาตั้ง ณ ที่ซึ่งพม่าต้องเดินทัพผ่านคือที่บ้านป่ามะม่วง การย้ายเมืองตากดังกล่าว คงจะย้ายในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาภายหลังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสระภาพแล้ว
            เมืองตากที่ย้ายมาตั้งที่บ้านป่ามะม่วง มิใช่แต่เป็นเมืองหน้าด่านสำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพใช้เป็นที่ชุมนุมมพลในการยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วย ดังเช่นที่ปรากฎในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
            หลังรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไทยว่างเว้นการทำสงครามกับพม่าประมาณ ๑๕๐ ปี เมืองตากก็อยู่มาด้วยความสงบสุขจนถึง พ.ศ.๒๓๐๘ กองทัพพม่ายกมาทางเมืองเชียงใหม่ได้เข้าตีเมืองจากด้วย เมืองตากได้ต่อสู้ต้านทานพม่าเพียงเมืองเดียวจากในบรรดาหัวเมืองเหนืออื่น ๆ เช่นเมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย เมืองกำแพงเพชรและเมืองนครสวรรค์ ผลจากการสู้รบในครั้งนั้นพม่าตีเมืองได้ บ้านเมืองถูกเผาผลาญทำลายไปหมดสิ้น เมืองตากจึงกลายเป็นเมืองร้างจนถึงสมัยกรุงธนบุรี
            สมัยธนบุรี  ในปี พ.ศ.๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จไปตีได้เมืองพิษณุโลก และเมืองฝาง แล้ววทรงจัดการปกครองหัวเมืองเหนือทั้งปวง โดยทรงตั้งเจ้าเมืองไปปกครองเมืองเหนือใหม่ทุกเมือง เมืองตากจึงมีเจ้าเมืองมาปกครองโดยขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้นพลเมืองตากคงเหลืออยู่ไม่มากนัก ประมาณ ว่าคงไม่ถึง ๑,๐๐๐ คน
            ในปี พ.ศ.๒๓๑๗ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง และในเวลาใกล้ ๆ กันก็ได้รบกับกองทัพพม่า ที่ยกติดตามครัวมอญเข้ามาทางด่านแม่ละเมา ในครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ตรัสสั่งให้พระยากำ แหงวิชิต คุมกำลัง ๒,๐๐๐ คน คอยตั้งรับครัวมอญอยู่ที่บ้านระแหง แขวงเมืองตากทางหนึ่ง และให้พระยายมราช (แขก) คุมกำลังไปตั้งขัดตาทัพอยู่ที่ท่าดินแดงในลำน้ำไทรโยค คอยรับครัวมอญที่จะเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์อีกทางหนึ่ง
            เมื่อตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว ทรงทราบข่าวว่ามีกองทัพพม่ายกล่วงด่านแม่ละเมาเข้ามาในแดนเมืองตาก จึงรีบเสด็จลงมาถึงท่าเมืองตาก ตรัสสั่งให้หลวงมหาเทพ กับจมื่นไวยวรนาถคุมทหาร ๒,๐๐๐ คน ยกไปตีกองทัพพม่า พม่าถอยหนีไป มีรับสั่งให้พระยากำแหงวิชิตรีบยกองทัพไปก้าวสกัดตัดหลังกองทัพพม่า ที่ยกตนเข้ามาทางด่านแม่ละเมาให้ถอยหนีไปโดยสิ้นเชิง
            ในปี พ.ศ.๒๓๑๘ อะแซหวุ่นกี้ ยกกองทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย กองทัพพม่าเดินทัพผ่านด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก เจ้าเมืองตากเห็นว่ากำลังไพร่พลมีน้อย ไม่สามารถต่อสู้กับกองทัพใหญ่ของอะแซหวุ่นกี้ได้ จึงได้อพยพครอบครัวราษฎรหลบหนีออกจากเมืองจากไป กองทัพพม่าจึงยกจากเมืองตากไปทางบ้านด่านลานหอย ตรงไปยังเมืองสุโขทัยและพิษณุโลก
            เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองตาก ราษฎรนิยมเรียกชื่อว่า พระยาตาก ซึ่งเป็นที่มาของพระนามที่เรียกกันเป็นสามัญว่า พระเจ้าตาก พระองค์ได้ทรงสร้างตำหนักเรียกว่า ตำหนักสวนมะม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังคงอยู่ในตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง ฯ อยู่ทางฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวา) ของแม่น้ำปิง ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดตากในปัจจุบัน
            สมัยรัตนโกสินทร์  ในปี พ.ศ.๒๓๒๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพมาทำสงครามกับไทย หลายทิศทางเป็นจำนวนถึงเก้าทัพ กองทัพที่เก้ามีออซองนรธา เป็นแม่ทัพยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก แล้วข้ามฟากไปตั้งอยู่ที่บ้านระแหง เมื่อทราบว่ากองทัพพม่าที่ปากพิงถูกตีแตกถอยไปแล้ว และทราบว่ากองทัพไทยได้ยกขึ้นมาถึงเมืองกำแพงเพชร จึงรีบถอยทัพกลับไปทางด่านแม่ละเมา
            หลังสงครามเก้าทัพแล้ว เมืองตากก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นอะไรอีก ชาวเมืองตากที่อพยพหนีข้าศึกไปก็ค่อย ๆ กลับเข้ามาอยู่ในเมืองตากต่อไปตามเดิม
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์มีพระราชดำริเห็นว่า ตัวเมืองตากเดิมเอาแม่น้ำปิงไว้ข้างหลัง ในเวลาถอยทัพย่อมลำบาก จึงโปรดให้ย้ายตัวเมืองตากจากที่เดิมมาตั้งใหม่ที่บ้านระแหง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองตาก ที่บ้านป่ามะม่วง ตัวเมืองใหม่จึงอยู่ทางฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้าย) ของแม่น้ำปิง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์