ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนากาทางประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐาน

           จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขาไฟมาก่อน จึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไป ที่สำคัญอยู่ทั่วไปที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำนางรอง ลำปลายมาศ และลำจังหับ เป็นต้น เป็นปัจจัยที่เกื้อกูลต่อการตั้งถิ่นฐาน
           ฐานการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ และการสำรวจขุดค้นทางโบราคดี ได้พบหลักฐานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ที่แสดงถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์
    สมัยก่อนประวัติศาสตร์
           ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ได้สำรวจพบชุมชนโบราณกว่า ๑๔๔ แห่ง จากการขุดค้นที่บ้านดงพลอง อำเภอสตึก ที่บ้านตะโก อำเภอเมือง ฯ และที่บ้านเมืองไผ่ อำเภอกระสัง ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมาก เช่น โครงกระดูก ขวานหินขัด ขวานสำริด ขวานเหล็ก กำไลสำริด และเครื่องปั้นดินเผาหยาบหนา ตลอดจนเศษอาหารที่เป็นกระดูกสัตว์ และเปลือกหอยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จากหลักฐานดังกล่าว สามารถบอกให้ทราบถึงวิถีชีวิต คติ ความเชื่อ และระบบนิเวศของคนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
           หลักฐานที่ขุดพบที่บ้านเมืองไผ่ ในระดับความลึก ๔.๖๐  เมตร พบว่ามีอายุระหว่าง ๒,๘๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี สอดคล้องกับหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆ ที่ได้จากการขุดค้น เช่น ขวานหิน ขวานสำริด ขวานเหล็ก และภาชนะดินเผาหยาบหนา อันเป็นลักษณะของเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคหินใหม่ เป็นสังคมที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย หลักฐานที่สำคัญ เช่น มีการฝังศพ ไม่ได้เผาแบบอินเดีย มีการใช้ภาษาดั้งเดิม สภาพสังคมเมืองน่าจะเริ่มต้นแต่สมัยนี้
    สมัยรับวัฒนธรรมเดีย (สมัยทวารวดี)
           มีอายุประมาณ ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ปรากฏชุมชนโบราณเป็นรูปวงรี และรูปทรงอื่น ๆ มีคูน้ำล้อมรอบตั้งแต่ชั้นเดียวถึงสามชั้น พบอยู่หนาแน่นตามสองฝั่งแม่น้ำมูล และลำน้ำสาขาบางชุมชนมีการสร้างทับซ้อนกับชุมชนในสมัยก่อน ชุมชนจะอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มทั้งสิ้น เช่น บ้านปะเคียบ บ้านดงพลอง และบ้านทุ่งวังเป็นต้น ชุมชนดังกล่าว อาจวิเคราะห์ได้ตามรูปลักษณะ และสภาพแวดล้อมได้ดังนี้
           แบบที่เป็นเนินสูง  จากระดับ ๕ เมตรขึ้นไป จากที่ราบสูงในบริเวณรอบ ๆ ไม่มีคูน้ำ และคันดินล้อมรอบ บางแห่งก็เป็นเนินเดี่ยว บางแห่งก็เป็นสองสามเนินติดต่อกัน ตามเนินดินจะมีเศษเครื่องปั้นดินเผา ที่สำคัญได้แก่ บ้านกระเบื้อง ซึ่งเป็นเนินดินขนาดใหญ่สามเนินติดต่อกัน จากชั้นดินลึกประมาณ ๓ - ๔ เมตร แสดงให้เห็นถึงชั้นดินที่มีการอยู่อาศัยสืบต่อกันมาอย่างน้อย ๒ - ๓ ชั้น ชั้นต่ำสุดสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาแบบหนาและหยาบ เปลือกหอยและกระดูกสัตว์ ซึ่งสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาแบบบาง มีลายเชือกทาบ นอกจากนั้นยังพบเศษของซากแร่โลหะ
           แบบที่เป็นเนินดินที่มีคูน้ำล้อมรอบ  ได้แก่ บ้านแพ บ้านโคก บ้านเมืองไซ บ้านเมืองน้อย บ้านดงพลอย บ้านโคกเมือง และบ้านทุ่งวัง ชุมชนโบราณเหล่านี้ บางแห่งมีคูน้ำล้อมรอบชั้นเดียว บางแห่งก็มีคูน้ำล้อมรอบหลายชั้นขึ้นไป เช่น บ้านดงพลอย และบ้านโคกเมือง บ้านดงพลอง มีลักษณะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีคูน้ำล้อมรอบสองชั้น พบเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะใส่กระดูกที่ตายแล้ว และเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล แสดงให้เห็นว่า ชุมชนคงอยู่สืบต่อมาจนถึงสมัยลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗)  บ้านโคกเมือง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นชุมชนแบบรูปวงกลม มีคูน้ำล้อมลอบถึงสามชั้น ภายในชุมชนพบเศษภาชนะดินเผา หม้อใส่กระดูก และขี้โลหะที่ถลุงแล้ว เป็นจำนวนมาก บ้านทุ่งวัง เป็นเนินดินสองสามเนิน มีคูน้ำโอบรอบเข้าหากัน พบเสมาหินทรายแบบทวารวดี และเนินดิ เป็นแหล่งถลุงโลหะโดยเฉพาะ นอกจากนั้นพบเทวรูป และเครื่องปั้นดินเผาแบบเขมร ซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ลงมา บ้านปะเคียบ ได้พบเนินดินที่ใช้เป็นบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้เป็นที่ฝังอัฐิคนตายที่บรรจุไว้ในหม้อดิน ต่อมาบริเวณดังกล่าวได้กลายเป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนา มีเสมาหินที่สลักเป็นรูปและฐานกลีบบัวปักอยู่หลายหลัก มีชิ้นส่วนของธรณีประตูหิน อันแสดงว่าเคยมีการสร้างอาคารในรูปของวิหารที่เนินนี้ด้วย ได้พบชิ้นส่วนของสำริดรูปวงกลม และชิ้นส่วนของเทวรูปในบริเวณนี้ด้วย แสดงว่าชุมชนแห่งนี้มีวิวัฒนาการสืบต่อกันมา จนถึงสมัยทวารวดี และลพบุรี
            ทางด้านเหนือของแม่น้ำมูล ในรัศมี ๒ - ๗ กิโลเมตร ได้สำรวจแห่งโบราณคดีจำนวน ๑๗ แห่งคือ บ้านเมืองไผ่ บ้านขี้เหล็ก บ้านจาน บ้านน้ำอ้อยใหญ่ บ้านแสนสุข บ้านยะวัก บ้านขี้ตุ่น บ้านน้ำออม บ้านกระเบื้องใหญ่ บ้านกระเบื้องน้อย บ้านหัวมาคำ บ้านตึกชุม บ้านโนนยาว บ้านเข้โค้ง บ้านกระเบื้อง แหล่งโบราณคดีเหล่านี้ เหมือนกับทางตอนใต้ของแม่น้ำมูล คือ แบ่งออกเป็นสองแบบใหญ่ ๆ คือ แบบที่เป็นเนินดินไม่มีคูน้ำล้อมรอบ และแบบที่มีคูน้ำล้อมรอบ
            แบบที่ไม่มีคูน้ำล้อมรอบ  ที่น่าสนใจได้แก่ บ้านกระเบื้องใหญ่ ตำบลยะวึก เป็นเนินดินขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นถึงการทับถมของที่อยู่อาศัยหลายสมัย จุดที่สูงสุดของเนินดินปัจจุบันเป็นเขตวัดประจำหมู่บ้าน น่าจะถูกจัดไว้เป็นที่ศักดิ์สิทธิของชุมชนสมัยโบราณ เนื่องจากพบเครื่องปั้นดินเผา ที่ใช้บรรจุกระดูกคนตายอยู่หนาแน่นมากกว่าที่อื่น เนินดินที่บ้านโนนยางร้าง ตั้งอยู่กับแม่น้ำมูลในเขตตำบลบ้านกระเบื้อง อำเภอชุมพลคีรี พบชั้นดินที่อยู่อาศัยชั้นล่างสุดที่ลึกถึง ๔ เมตร
            มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่บ้านเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ที่อำเภอพุทไธสง ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกหลายองค์ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ ที่บ้านปะเคียบ อำเภอเมือง ฯ พบใบเสมาหินขนาดสูง ๖๐ - ๘๐ เซนติเมตร บนเขาอังคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ พบใบเสมาขัดเรียบสลักรูปเจดีย์ไว้ตรงกลาง และเล่าเรื่องชาดกในพระพุทธศาสนาไว้ด้วย พบพระพุทธรูปที่บ้านวังปลัด เป็นพระพุทธรูปสำริดที่มีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากรูปแบบที่อื่น มีทั้งปางประทานพร และปางนาคปรก มีเค้าศิลปะคุปตะชัดเจนมาก
            ชุมชนโบราณดังกล่าว มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ ๕๐ - ๑๐๐ ไร่ การใช้พื้นที่บริเวณตัวเมืองจึงแตกต่างกันออกไป ที่อาศัยอาจอยู่ภายในหรือภายนอกคูน้ำคันดิน บางแห่งอาจเป็นที่อยู่อาศัยของหัวหน้าหรือชนชั้นปกครอง หรือศาสนสถาน ความแตกต่างของขนาดพื้นที่ และจำนวนคูน้ำที่ล้อมรอบชุมชนเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงจำนวนประชากร และศักยภาพในการควบคุมพลเมืองในชุมชนแต่ละแห่ง ในการนำแรงงานมาช่วยกันขุดน้ำให้แก่ชุมชน
            เมืองโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบ อาศัยสระหรือบาราย ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ มี ๑๔๔ แห่ง
            การกำหนดอายุชุมชนโบราณที่มีผังเมืองเป็นรูปวงกลม หรือวงรี มีคูน้ำล้อมรอบ ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ จาการศึกษาโดยเปรียบเทียบรูปแบบผังเมือง ร่วมกับหลักฐานทางโบราณคดีแบบเดียวกัน ชุมชนโบราณบ้านสองชั้น บ้านเมืองไผ่ บ้านโคกเมือง พบเครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดแก้ว ลูกปัดดินเผา มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ ในสมัยทวารวดี ร่วมสมัยกับชุมชนโบราณสมัยทวารวดีภาคกลาง
            การกำหนดอายุชุมชนโบราณโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ยังมีไม่มากนัก มีอยู่เพียงชุมชนโบราณบ้านพลอง และบ้านตะโคง ชุมชนโบราณบ้านเมืองไผ่ อำเภอกระสัง ด้วยวิธีคาร์บอน ๑๔ ปรากฏว่า ชุมชนโบราณบ้านเมืองไผ่มีอายุประมาณ ๒,๘๐๐ ปี นอกจากนี้ยังพลเครื่องปั้นดินเผา ใบเสมาหินรูปเคารพทางศาสนา และศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๙ ด้วย
    สมัยวัฒนธรรมเขมร (สมัยลพบุรี)

             ศูนย์กลางความเจริญได้เปลี่ยนจากบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำมูล ไปอยู่บริเวณที่ราบสูงทางตอนใต้ของแม่น้ำมูล โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขาดงรัก ปรากฏชุมชนเกิดขึ้นใหม่ในบริเวณดังกล่าวค่อนข้างหนาแน่น มีการพัฒนาโครงสร้างทางสังคม ได้แก่ การปกครอง วิถีชีวิต และคติความเชื่อต่าง ๆ แตกต่างออกไปจากชุมชนบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำมูลเป็นอันมาก มีพัฒนาการของชุมชนบริเวณนี้หลายประการด้วยกันคือ
             พัฒนาการด้านผังเมือง  มีการเปลี่ยนแปลงการสร้างผังเมืองที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ มีคูน้ำคันดินหลายชั้นมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส ไม่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ แต่จะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า บาราย พร้อมทั้งศาสนสถาน และสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น ชุมชนบริเวณปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทพนมรุ้ง เป็นต้น
             ยังมีเมืองโบราณที่มีการสร้างผังเมืองแบบเดิมที่กล่าวมาแล้ว ยังคงเป็นเมืองตลอดมาจนถึงสมัยนี้ แต่ลักษณะบางอย่างที่เป็นวัฒนธรรมเขมรเข้ามาเพิ่มเติม คือ มีการสร้างศาสนสถาน สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ และอ่างเก็บน้ำเป็นต้น
             พัฒนาการทางด้านศาสนา และความเชื่อ  หลักฐานที่แสดงให้เห็นในเรื่องนี้ได้แก่ โบราณ และโบราณวัตถุ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก โบราณวัตถุที่พบส่วนใหญ่เป็นของใช้ในศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันไปตามกาลสมัย และขนาดความสำคัญของชุมชน ส่วนศาสนสถานโดยทั่วไปมักทำคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสระน้ำอยู่ใกล้ บางแห่งมีสระน้ำขนาดใหญ่ถึง ๒ - ๓ สระอยู่ใกล้ ๆ  ถ้าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ก็มักจะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือบารายไว้ใกล้ ๆ เช่นเดียวกัน
             การสร้างเทวาลัย มีการเกณฑ์แรงงานคนมาสร้าง ซึ่งจะมีแรงงานอยู่ ๒ ประเภทคือ
             กลุ่มแรงงานธรรมดา เกณฑ์มาจากราษฎรและชาวเมือง เพื่อใช้ในการจัดทำ และเคลื่อนย้ายวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐ หินทราย และศิลาแลง
             ช่างฝีมือ  จะเป็นช่างที่กษัตริย์หรือเจ้านายชุบเลี้ยงไว้ ทำหน้าที่แกะสลักลวดลายต่าง ๆ ตลอดจนการออกแบบสถาปัตยกรรม ศาสนสถานขนาดใหญ่ ๆ เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทเขาพระวิหาร มีการสร้างไม่แล้วเสร็จในรัชกาลเดียว
             ปราสาทในจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งที่เป็นปราสาทอิฐ หินทราย และศิลาแลง เท่าที่สำรวจพบในปัจจุบัน มีอยู่ ๖๙ แห่ง กระจายอยู่ในเขตอำเภอต่าง ๆ ที่มีมากที่สุดคือ อำเภอประโคนชัย มีอยู่ถึง ๑๓ แห่ง น้อยที่สุดคือ อำเภอหนองกี่ มีอยู่เพียงแห่งเดียว ส่วนที่ตัวอำเภอเมือง ฯ มีอยู่ ๓ แห่ง
    พัฒนาการอุตสาหกรรม  ประกอบด้วย เครื่องเคลือบ และโลหะกรรม
             เตาเผาเครื่องเคลือบ  พบกระจายอยู่บริเวณเขาดงรัก ตั้งแต่เขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  อำเภอละหานทราย  อำเภอบ้านกรวด จากการสำรวจพบเตาเผาเคลือบดินมากกว่า ๓๐๐ เตา นับว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ จากการขุดค้นพบว่าภายในเตาเผามีการกั้นแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยใช้คันดินกั้นแต่ละห้องที่เป็นที่เผาเคาาาารื่องปั้นดินเผาแต่ละชนิด เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาเหล่านี้ ส่วนมากเป็นเครื่องเคลือบสีน้ำตาลแก่ สีขาวนวล และสีเขียวอ่อน มีขนาดและชนิดต่าง ๆ กันตั้งแต่ไหขนาดใหญ่ คนโท โถ จาน ชาม ตลอดจนขวด และกระปุกเล็ก ๆ โถ และกระปุกบางชนิด ทำเป็นรูปผลไม้ และรูปสัตว์ เช่น นก ช้าง ไก่ กระต่าย หมี ฯลฯ ผลิตภัณฑ์บางชนิดมีการเคลือบสองสีในใบเดียวกัน บริเวณปากภาชนะเคลือบสีเขียว ตัวภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแก่
             ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งจากเตาเผาเหล่านี้คือ เครื่องประดับสถาปัตยกรรมได้แก่ กระเบื้องเคลือบมุงหลังคากระเบื้องชายคามีลวดลาย และบราลี เป็นต้น เครื่องเคลือบดินเผาที่ผลิตจากเตาเผาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ พบกระจายอยู่ทั่วไปตามเมืองโบราณ และชุมชนต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี และแม่น้ำโขง นอกจากนั้นยังขยายไปยังบริเวณภาคกลางของประเทศไทยด้วย เช่น ที่เมืองสุโขทัย ลพบุรี ศรีสัชนาลัย และที่เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
             แหล่งโลหะกรรม  หรือแหล่งที่พบตะกรันขี้แร่ ซึ่งเกิดจากการหลอมหรือแปรรูปโลหะ วิธีการถลุงโลหะคงใช้วิธีพื้นฐาน คือ ใช้ถ่านให้ความร้อนแก่ท่อ และเบ้าหลอม ซึ่งทำด้วยดินเผา ทั้งสองอย่างนี้จะพบอยู่ทั่วไปโดยปะปนอยู่กับตะกรัน ส่วนสูบที่น่าจะเป็นท่อไม้คู่ ไม่เหลือซากให้เห็น
             แหล่งถลุงโลหะมีการกระจายอยู่ทุกอำเภอ มี่พบมากอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ (บ้านยาง บ้านรุน บ้านโคตรีทอง) อำเภอคูเมือง (บ้านโนนมาลัย) อำเภอบ้านกรวด (บ้านสายโท ฯ บ้านเขาดิน) อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก (บ้านชุมแสง บ้านโคกเมือง)
    สมัยกรุงศรีอยุธยา
             ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนในเขตเมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง เมืองตลุง เมืองนางรอง ต่างก็ขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงแห่งเมืองนครราชสีมา มีเมืองนางรองเป็นเมืองเอก
             ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้ทรงตั้งให้พระยายมราช ครองเมืองนครราชสีมา และในสมัยนั้นเมืองนครราชสีมามีเมืองขึ้นอยู่ ๕ เมืองคือ นครจันทึก ชัยภูมิ พิมาย บุรีรัมย์ นางรอง ต่อมาได้ขยายเป็น ๙ เมืองคือ จตุรัส ภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ ชนบท พุทไธสง ประโคนชัย รัตนบุรี ปักธงชัย และบำเหน็จณรงค์
    สมัยกรุงธนบุรี
             ในสมัยกรุงธนบุรี พระยานางรอง เจ้าเมืองนางรอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา เอาเมืองนางรองไปขึ้นต่อเจ้าโอ เจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ พระยานครราชสีมาจึงแจ้งเข้ามายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบเมืองนางรอง เมืองนครจำปาศักดิ์ โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์คุมกำลังไปช่วยเหลือ เจ้าโอและเจ้าอินแห่งนครจำปาศักดิ์ สู้ไม่ได้จึงหลบหนีไป กองทัพไทยตามจับได้ที่เมืองสีทันดร
             หลังจากพระยาจักรีตีได้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองสีทันดร และเมืองอัตบือแล้ว เจ้าพระยาจักรีได้เกลี้ยกล่อมหัวเมืองเขมรป่าดง คือ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ ให้มาอยู่ในอำนาจของกรุงธนบุรี ระหว่างเดินทัพกลับได้พบเมืองร้างที่ลุ่มแม่น้ำห้วยจระเข้มาก เห็นว่าเป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะตั้งเมือง แต่สถานที่เดิมเป็นป่าดงดิบมีไข้ป่าชุกชุม จึงได้อพยพผู้คนที่อยู่กระจัดกระจายอยู่รอบนอก ให้มาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณบ้านโคกหัวช้าง บ้านทะมาน (บริเวณรอบ ๆ วัดกลางบุรีรัมย์ในปัจจุบัน แล้วตั้งเมืองใหม่เรียกว่า เมืองแปะ อันเป็นที่มาของการก่อกำเนิดเมืองบุรีรัมย์ในเวลาต่อมา แล้วให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสมัน เป็นผู้ครองเมืองแปะ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยานครภักดี
    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
             ในปี พ.ศ.๒๓๗๐ เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฎ ได้ให้เจ้าราชวงศ์ยกทัพมากวาดต้อนผู้คน และเสบียงอาหารแถบเมืองพุทไธสง เมืองนางรอง และเมืองแปะ พระนครภักดี (หงส์) นำราษฎรออกต่อสู้ แต่มีกำลังน้อยกว่า จึงได้ถอยหนีไปตั้งอยู่ที่เมืองพุทไธสง พวกเวียงจันทน์ติดตามจับพระนครภักดี และครอบครัวได้ที่ช่องเสม็ด นำไปให้เจ้าราชวงศ์ ซึ่งตั้งทัพรออยู่ที่ทุ่งสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด) พระนครภักดีถูกฆ่าตาย ต่อมาเมื่อทัพหลวงของไทยตีกองทัพเจ้าอนุเวียงจันทน์แตกกลับไปแล้ว จึงได้ตั้งให้หลวงปลัด บุตรชายพระนครภักดี (หงส์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแทน
             เมืองแปะเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองบุรีรัมย์ น่าจะอยู่ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อมีการปรับปรุงการปกครอง เมืองบุรีรัมย์ได้เปลี่ยนไปขึ้นต่อหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีเมืองขึ้น ๑ เมืองคือ เมืองนางรอง ส่วนเมืองอื่น ๆ บางเมืองเช่น พุทไธสง ตะลุง (ประโคนชัย) ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภออยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เปลี่ยนเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา และขึ้นต่อหัวเมืองลาวกลาง
             ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลง กำหนดชื่อและพื้นที่มณฑลขึ้นใหม่ เมืองนางรอง บุรีรัมย์ ประโคนชัย พุทไธสง และเมืองรัตนบุรี รวมเรียกว่า บริเวณนางรอง ได้ใหม่ให้เรียกว่า เมืองนางรองยกให้เป็นเมืองจัตวา
             ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงมหาดไทย ปรับปรุงหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมณฑล เมืองและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา มีอำเภอในสังกัด ๔ อำเภอคือ อำเภอพุทไธสง รัตนบุรี นางรอง และอำเภอประโคนชัย
             ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ มณฑลอีสานแบ่งออกเป็นสองมณฑลคือ มณฑลอุบล ฯ และมณฑลร้อยเอ็ด ต่อมามฌฑลทั้งสอง ดังกล่าวได้รวมเข้ากับมณฑลนครราชสีมา
             ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ ได้มีการปรับปรุงชื่อเขตและอำนาจบริหารหลายครั้งจนเป็นจังหวัด อำเภอและตำบล อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
             หลังปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารอาณาจักรสยาม พ.ศ.๒๔๗๖ จัดระเบียบการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด อำเภอ และตำบล

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์