ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดชลบุรี >พระพุทธมิ่งเมือง/ 

พระพุทธมิ่งเมือง/

 

พระพุทธมิ่งเมือง เป็นพระรูปปางมารวิชัย แกะสลักด้วยไม้ประดู่ ลักษณะเป็นศิลปะของชาวลาว สร้างในราว พ.ศ. 2371 เป็นการสร้างขึ้นของชาวลาวอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแถบนี้ เดิมประดิษฐานอยู่ในวัดร้าง "วัดผ้าขาวใหญ่" ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนเป็นวัดแรกในเขตตำบลพนัสนิคม ต่อมาเทศบาลเมืองพนัสนิคม ได้ปรับปรุงสถานที่และบริเวณวัดร้างนั้น พร้อมทั้งดำเนินการก่อสร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ณ ที่ตั้งอุโบสถเดิม ปัจจุบันอยู่ใกล้กับศาลาประชาคม เทศบาลเมืองพนัสนิคม

อันบุญญาบารมีอภินิหารอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงใครจะปฏิเสธเสียมิได้ และแข่งขัน ให้เท่าเทียมกันได้ยา ทั้งเป็นสิ่งที่เหนือเหตุเหนือผลของการพิสูจน์ดัง พระพุทธองค์ ตรัสไว้ ว่า " สิ่งมหัสจรรย์นั้นเป็นอาจิณไตย " ทรงหมายความว่าใคร ๆ ไม่ควรคิดความศักดิ์สิทธิ์จะดลบันดาลให้เกิดมีเฉพาะแก่ผู้มีบุญวาสนาเลื่อมใสเชื่อมั่นเท่านั้น หลวงพ่อพระยืน (วัดสุวรรณาวาส)หลวงพ่อพระยืน (วัดพุทธมงคล)ทั้งสองพระองค์ทรงอานุภาพ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียวัตถุ ที่ควรแก่กาสักการะเคารพบูชายิ่ง ทั้งสององค์นี้ชาวบ้านนิยมเรียกกัน ว่า " หลวงพ่อพระยืน " เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเป็นมิ่งขวัญเป็นที่พึ่งพาทางใจของชาวพุทธทุกถ้วนหน้าโดยเฉพาะ ชาว กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ เป็นปรางสรงน้ำ มีความสูงตลอดองค์ประมาณ 8 ศอก กว้าง 2 ศอก พระเนตรและเนื้อองค์พระ สร้างด้วยศิลาแลงอย่างดี เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยขอมก่อนยุคสุโขทัยหลวงพ่อพระยืนทั้งสอง ผินพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์อยู่ห่างกันประมาณ 1,250 เมตร เป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองตามตำนาน หรือประวัติที่หาหลักฐานยืนยันได้จากใบเสมาที่ฝังอยู่ใกล้องค์พระ เขียนเป็นอักษรขอมว่า สร้างปี ฮวยสง่า พุทธศักราช 1399 ปัจจุบันยัง มีตัวอักษรปรากฏที่ใบเสมาแต่เลอะเลือนมากแล้ว ตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมาผู้ เฒ่าผู้แก่บอกว่าได้รับฟังจากบรรพบุรุษเล่า

ประวัติ

เดิมที่ดินแถบนี้ขอมได้ครอบครองมาก่อน ต่อมาทางนครเวียงจันทร์มีอำนาจเข้าครอบครองจากขอม มีเจ้าผู้เข้าครอบครองจากขอม มีเจ้าผู้ครองโดยอิสระ เรียกกันว่า " เมืองกันทาง " หรือ " เมืองคันธาธิราช "ก่อนปีมะเส็ง จุลศักราช 147 (ปี พ.ศ. 1328) ผู้ครองเมืองคนสุดท้ายที่นามว่า " ท้าวลินจง " ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น " หลวงบริเวณ " มีภรรยาชื่อ บัวคำ ปกครองราษฎรหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา หัวเมืองต่าง ๆ ส่งส่วยขึ้นต่อเมืองคันธาธิราชที่หลวงบริเวณปกครองอยู่เป็นประจำ ท้าวลินจงมีบุตรชายคนเดียวชื่อว่า " ท้าวสิงห์โต " หรือ" ท้าวลินทอง " บุตรชายของท้าวลินจง เป็นผู้มีจิตใจโหดเหี้ยมทารุณมาก เจ้าเมืองผู้เป็นพ่อชราลงจึงพิจารณาผู้ที่จะมาปกครองบ้าน เมืองแทนตน หากจะให้ท้าวลินทองผู้บุตร เป็นผู้ปกครองเมืองแทนตนก็เป็นการไม่เหมาะสม เพราะบุตรมีนิสัยโหดร้ายทารุณ ดังกล่าว จะเป็นเหตุให้ราษฎรเดือดร้อนเนื่องจากขาดเมตตาความได้ทราบถึงท้าวลินทอง จึงมีความโกรธแค้นบิดาอย่างยิ่ง จึงได้ตัดพ้อต่อว่าบิดาต่าง ๆ นา ๆ

แล้วบังคับให้บิดาตั้งตนเป็น ผู้ปกครองเมืองแทน ผู้เป็นบิดาไม่ยินยอม ท้าวลินทองผู้เป็นบุตร จับขังทรมานด้วยการเฆี่ยน ทุบ ตี ใช้มีดกรีดตามเนื้อตัว เพื่อบังคับให้ บิดายกเมืองให้แก่ตน บิดาก็หาได้ยอมไม่ บิดาได้รับการทรมานต่อไปด้วยการขังในห้องมืด ห้ามข้าว ห้ามน้ำ มิให้ผู้ใดเข้าเยี่ยมเด็ดขาด นอกจากมารดาเพียงผู้เดียว แต่ห้ามมิให้นำน้ำและอาหารไปให้บิดา มารดาได้ทัดทานอ้อนวอนอย่างใดท้าวลินทองก็หาได้ฟังไม่ ด้วยความรักและห่วงใยสามี นางจึงทำอุบายนำข้าว น้ำ ให้เอาผ้าสะใบเฉียง ชุบข้าวบดผสมน้ำนำไปเยี่ยมสามี ให้สามีได้ดูดกินประทังชีวิตไปวัน ๆ แต่หาได้พ้นสายตาของบุตรไม่ ท้าวลินทองผู้เป็นบุตร จึงห้ามมารดาเข้าเยี่ยมอีกต่อไป ท้าวลินจงอดข้าว อดน้ำ ได้รับความทรมานแสนสาหัส ถึงแก่ความตายในที่สุด แต่ก่อนที่จะสิ้นลมปราณ ท้าวลินจงได้ตั้งจิตอธิษฐานฝากเทพยดาผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมผู้สถิตย์อยู่ ณ พื้นธรณี นั้นว่า " ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า เพื่อหวังความสงบสุขของบ้านเมือง อันเป็นที่ตั้งอยู่อาศัยของข้าพเจ้า แต่ ่เหตุการณ์ในชีวิตกลับมีการเป็นไปได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัสขอให้เทพยดา ฟ้าดิน ผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ขอให้ข้าพเจ้าไปเกิดในที่สุขเถิดพระพุทธมิ่งเมือง เทศบาลตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

และขอให้มนุษย์มีจิตใจโหดร้าย ทารุณ ขาดคุณธรรม ไม่มีสัจจะ พูดโกหก หลอกลวง ไม่สัตย์ซื่อ นับแต่นี้ไปข้างหน้าจะเป็นผู้ใดก็ตาม หากมาเป็นเจ้าเมืองนี้แล้ว ขออย่าให้มีความสุขความเจริญเลย ขอให้ประสบแต่ความวิบัติ ความพินาศฉิบหาย ขอให้เกิดความเดือดร้อนหายนะ ต่าง ๆ นา ๆ เถิด เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วก็สิ้นลมหายใจ เมื่อท้าวลินจงถึงแก่ความตายแล้ว นางบัวคำผู้เป็นมารดาจึงได้ต่อว่าท้าวลินทองผู้บุตรว่าทรมานบิดาของตนถึงแก่ความตาย ท้าวลินทองไม่พอใจเกิดโทสะจริตกอปรด้วยโมหะจริต จึงฆ่ามารดาของตนอีกคนหนึ่ง เมื่อท้าวลินจงกับนางบัวคำตายแล้ว ท้าวลินทองก็ได้ปกครองเมือง " คันธาธิราชสืบ " สืบมานับแต่ท้าวลินทองปกครองเมืองคันธาธิราชเป็นต้นมา บ้านเมืองมีแต่ความระส่ำระสาย ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ได้รับความเดือดร้อน ท้าวลินทองเองก็รู้สึกไม่สบายกายใจ ไม่เป็นอันกินอันนอน ทั้งที่มีทรัพย์มากมายก่ายกอง จึงหาโหรมาทำนายทายทักโหรทำนายว่า ท้าวลินทองได้กระทำบาปกรรมมหันตโทษผลกรรมจึงทำให้เดือดร้อน

 เป็นผลมาจากการอธิษฐานจิตอันแน่วแน่ของบิดาที่ได้สาปแช่งเอาไว้ก่อนที่จะสิ้นลมหายใจ กอปรกับมาตุฆาตฆ่ามารดาตนเอง ทั้งนี้การจะล้างบาปกรรมได้ก็โดยการสร้างพระพุทธรูปเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลผลบุญ เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา ให้ลุกะทายหายกะโทษดังนั้นท้าวลินทองจึงได้สร้างพระพุทธรูป 2 องค์ขึ้นไว้เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา พระพุทธรูปองค์หนึ่งสร้างอุทิศเพื่อทดแทนคุณมารดา สร้างที่นอกเขตกำแพงเมือง ทางทิศอุดร ผินพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ (คือพระพุทธมิ่งเมือง) ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดสุวรรณาวาสเมื่อสร้างองค์หนึ่งเสร็จแล้ว ก็ได้สร้างพระพุทธรูปยืนองค์ที่ สอง ขึ้นเพื่อทดแทนคุณบิดา โดยสร้างขึ้นในกำแพงเมือง ผินพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ (การพิมพ์ประวัติหลวงพ่อพระยืนมีการผิดพลาดมาหลายครั้ง การพิมพ์ครั้งนี้นับว่าสมบูรณ์ที่สุด หลวงพ่อพระครูปัญญาวุฒิชัย เจ้าคณะอำเภอซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธมลคลองค์ปัจจุบัน ) ได้ตรวจสอบหลักฐานหนังสืออ้างอิง และสันนิษฐานว่าอยู่วัดบ้านสระ (วัดพุทธมงคล) มีลักษณะหน้าตาคล้าย ๆ บิดา และสร้างอยู่ภายในเขตกำแพงเมือง ซึ่งมีคูคลองปรากฏให้เห็นเด่นชัดอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือคูคลองที่ติดต่อกับบ้านสระ-บ้านคันธาร์ ระหว่างบ้านสระกับบ้านส้มป่อย ทุกวันนี้ยังคงสภาพคูคลองให้เห็นสภาพเด่นชัดอยู่ พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในกำแพงเมืองก็มีลักษณะคล้ายชายโดยเด่นชัด

ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นนอกเขตกำแพงเมืองที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดสุวรรณาวาสมีลักษณะละมุนละมัยคล้ายมารดา ซึ่งสร้างไว้นอกเมืองทางด้านทิศเหนือตามทางสันนิษฐานดังกล่าวแล้วจึงคิดว่า การพิมพ์ประวัติหลวงพ่อพระยืนครั้งนี้คงสมบูรณ์ที่สุดเมื่อท้าวลินทองได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์เสร็จแล้ว ความกระวนกระวายหายใจก็มิได้เบาบางลง ท้าวลินทองก็ได้ล้มป่วยลงอย่างกระทันหันพอดีโหรจากเมืองพิมายเดินทางผ่านมา และขอเข้าทำนายดวงชะตาชีวิตของท้าวลินทอง โหรได้ทำนายว่า ท้าวลินทองจะตายภายใน 7 วัน ท้าวลินทองได้ยินถึงกับบันดาลโทษะสั่งประหารชีวิตโหรทันที แต่พวกข้าราชการที่ปรึกษาได้ขอชีวิตไว้โหรจึงได้ทำนายต่อไปว่า หากท้าวลินทองสร้างพระพุทธรูปปางพุทธไสยาสน์ ด้วยทองคำหนักเท่าตัวขึ้นอีกองค์ หนึ่งความทุกข์ร้อนที่มีอยู่ก็จะบรรเทาเบาบางลง ท้าวลินทองก็ได้สร้างพระพุทธรูปปางพุทธไสยาสน์ด้วยทองคำตามคำทำนายของโหรขึ้น แล้วจึงสร้างพระอุโบสถขึ้นเพื่อครอบองค์พระไว้ แต่ด้วยบาปกรรมของท้าวลินทองเป็นมหันตโทษ คือ มาตุฆาตปิตุฆาต จึงไม่สามารถสร้างให้สำเร็จได้ ท้าวลินทองก็ถึงแก่ความตาย แต่ก่อนจะสิ้นลมหายใจ ท้าวลินทองก็ได้อธิษฐานว่า " ขอองค์พระพุทธรูปทองคำ อย่าให้คนพบเห็นเป็นอันขาด หากผู้ใดมีเคราะห์กรรมได้พบเห็นขอให้ผู้นั้นล้มป่วย พินาศฉิบหายและให้ถึงแก่ความตาย "

ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีผู้ใดได้กล้ำกรายพระอุโบสถ (พระพุทธรูปทองคำ) นั้นเลย กาลล่วงเลยมานาน จนเกิดเป็นป่าร้างต้นไม้ปกคลุมหนาทึบพระพุทธรูปทองคำจึงไม่มีใครพบเห็น ถ้าผู้ใดชะตากรรมถึงฆาต พบเห็นก็จะเกิดอาเพทป่วยไข้ถึงตายทุกราย ความศักดิ์สิทธิเป็นที่เล่าลือตราบเท่าทุกวันนี้ ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าว คณะสงฆ์อำเภอกันทรวิชัย โดยมีท่านหลวงปู่พระครูประจักษ์ธรรมวิชัย(อดีตเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย) กับหลวงพ่อพระครูปัญญาวุฒิชัยเจ้าคณะอำเภอ (เจ้าอาวาสวัดพุทธมงคล) บ้านสระ หลวงพ่อพระครูวิชัยกิตติคุณ รองเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย ( เจ้าอาวาสวัดสุวรรณมงคล ) บ้านคันธาร์ ได้ปรับปรุงเป็นสำนักเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ของคณะสงฆ์ และผู้สนใจในการปฏิบัติธรรมสถานที่ร่มรื่น เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง ให้ชื่อว่า วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดดอนพระนอน)หลวงพ่อพระยืนกันทรวิชัยเป็นที่เคารพบูชาของชาวอำเภอกันทรวิชัยและใกล้เคียงโดยทั่วไป

   


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวพระพุทธมิ่งเมือง

 
ชลบุรี/Information of CHONBURI

  พระพุทธมิ่งเมือง

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ชลบุรี พัทยา แผนที่ชลบุรี แผนที่พัทยา โรงแรมพัทยา ที่พักพัทยา
แหล่งท่องเที่ยวพัทยา
 
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบ่อทอง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอพนัสนิคม



วัดโบสถ์
Wat Bot

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอศรีราชา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสัตหีบ
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะสีชัง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
เทศกาล-งานประเพณี
แผนที่จังหวัดชลบุรี/map of CHONBURI
โรงแรมในพัทยา ชลบุรี/Hotel of PATTAYA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์