ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์
          พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซัมบี ณ ระนอง )  เป็นผู้พัฒนาเมืองตรังให้เจริญก้าวหน้าจากที่ได้ชื่อว่าเมืองป่า เมืองลี้ลับ จนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม และเมืองท่าค้าขายที่ยิ่งใหญ่ทางภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นบุตรพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซูเจียง ณ ระนอง)  อดีตเจ้าเมืองระนอง เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐ ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ ในขณะดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตและองคมนตรี
           พระยารัษฎา ฯ ไม่ปรากฎว่าได้เข้าศึกษาในสำนักใด แต่สามารถพูดภาษาต่าง ๆ ได้ถึงเก้าภาษา คือภาษาไทย อังกฤษ มลายู ฮินดูสตานี และภาษาจีนต่าง ๆ อีกห้าภาษา พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) พี่ชายซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองระนอง ได้นำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๕ และในปีเดียวกัน ได้เป็นผู้ช่วยเมืองระนอง มีบรรดาศักดิ์เป็นพี่หลวงบริรักษ์โลหะวิสัย ต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองกระบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ พระอัษฎงคตทิศรักษา และได้เป็นเจ้าเมืองตรังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ พระรัษฎานุประดิษฐ์ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓
           พระยารัษฎา ฯ ได้เร่งรัดปรับปรุงเมืองตรังตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรับปรุงด้านการคมนาคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญด้านการพัฒนา ปรับปรุงเมืองตรังให้เป็นเมืองเกษตรกรรม ได้จัดการดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ด้วยการให้ทุกบ้านมีเลขทะเบียนบ้าน มีรายละเอียดของผู้อยู่อาศัย จำนวนโคกระบือ จัดทำรูปพรรณโค กระบือ จดทะเบียนเรือ กำหนดสถานที่จอดเรือเพื่อป้องกันการลักลอบขนดินปืนจากเรือต่างประเทศ อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ ติดตามจับโจรผู้ร้ายได้ข้ามแดน โดยไม่ต้องกลับมาเอาหนังสือสูตรนารายณ์หรือหนังสืออนุญาตจับผู้ร้าย วิธีตามจับโคกระบือที่ถูกขโมย ให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน ตามรอยเท้าโคกระบือไป รอยเท้าไปสิ้นสุดหมู่บ้านใดตำบลใด ก็ให้เจ้าหน้าที่หมู่บ้านนั้นตามรอยต่อไป บ้านเรือนราษฎรทุกหลังต้องมีเกราะ (เหลาะ) สำหรับไว้ตีบอกเหตุเมื่อถูกโจรผู้ร้ายเข้าปล้นทุกบ้านจะต้องตีเกาะบอกต่อ ๆ กันไป พร้อมทั้งช่วยกันจับผู้ร้าย บ้านใดไม่ให้ความร่วมมือจะถูกพิจารณาโทษตามควรแก่เหตุ

           เมื่อเมืองตรังเข้าสู่ความสงบเรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ.๒๓๓๖ พระยารัษฎา ฯ ได้ดำเนินการย้ายที่ตั้งเมืองจากควนธานี ไปที่กันตังด้วยความมุ่งมั่น ที่จะให้เมืองใหม่ที่กันตัง มีความเจริญเท่าเทียมกับเมืองปีนัง มีการวางผังเมืองใหม่โดยมีช่างชาวอิตาลีมาช่วย พัฒนาทางน้ำให้กันตังเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือ ด้านการคมนาคมทางบกให้เร่งดำเนินการตัดถนนหลายสาย ในปี พ.ศ.๒๔๓๘ ได้สำรวจและตัดถนนบนเขาบรรทัดเพื่อติดต่อกับเมืองพัทลุง เป็นการเชื่อมดินแดนฝั่งตะวันตก กับตะวันออกโดยผ่านเขาพับผ้า
           ตลอดเวลา ๑๑ ปี ในตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ทำให้เมืองตรังเจริญรุดหน้าในทุกด้านและมีความสงบสุขอย่างแท้จริง
           พระยารัษฎา ฯ เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานสนองพระราชดำริห์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเร่งรัดปรับปรุงเมืองตรัง ให้สำเร็จผลอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นเมื่อท่านได้ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง จนเกิดผลดีเป็นที่ประจักษ์ ถึงขีดความสามารถจนได้รับพิจารณา ให้ไปดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ แต่พระยารัษฎา ฯ ได้ปฏิเสธการขึ้นไปดำรงตำแหน่งสูงและเกียรติยศสูงกว่าสมุหเทศาภิบาล บ้านนอกอย่างเทียบกันไม่ได้ ด้วยเหตุผลอันน่าสรรเสริญสมควรเป็นเยี่ยงอย่างว่า
           "ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเสนาบดีนั้นเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ฯ แต่ข้าพระพุทธเจ้าเห็นความจำเป็นของประเทศว่าเสนาบดี เป็นแต่เพียงผู้สั่งงาน และมีเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญอยู่แล้ว ไม่สำคัญเท่าสมุหเทศาภิบาล ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้รับราชการฉลองพระกรุณาอยู่ขณะนี้ เป็นตำแหน่งที่รับผิดชอบแทนพระองค์ ในหน้าที่ปกครองประชาชนให้ได้ผลสมความมุ่งหมายของรัฐบาล ถ้าได้ทรงพระกรุณาเลือกหาตัว เสนาบดีกระทรวงเกษตรได้ใหม่แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะขอฉลองพระกรุณาธิคุณในตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลไปตามเดิม..."

          พระครูบริสุทธิศีลาจารย์ทิสังฆปาโมกข์ (หลวงปู่ลบ) เป็นปูชนียบุคคลที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา และการศึกษาในเมืองตรัง และจัดว่าเป็นผู้วางรากฐานทางการศึกษาของเมืองตรังอย่างเท้จริงผู้หนึ่ง
           หลวงปู่ลบ เป็นบุตรขุนรามสุรเดช (ปาน) เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๗ ที่ตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี พออายุได้ ๑๙ ปี ได้ลาสิกขา เข้ารับราชการเป็นเสมียนตรีอยู่สองปี ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดควนธานี และได้เป็นเจ้าคณะจังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓
           ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ พระยารัษฎา ฯ ได้ย้ายเมืองจากควนธานีไปตั้งใหม่ที่กันตัง ได้นิมนต์หลวงปู่ลบจากวัดควนธานีให้ไปร่วมสร้างบ้านแปงเมือง โดยได้สร้างวัดกันตัง เดิมอยู่ใกล้สถานที่ราชการอื่น ๆ ที่คับแคบ ต่อมาจึงย้ายมาตั้งวัดอยู่ ณ ที่ตั้งอยู่ปัจจุบัน
           หลวงปู่ลบ ได้ช่วยพระยารัษฎา ฯ ในด้านการศึกษาอย่างเต็มกำลัง โดยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณวัดชื่อว่า โรงเรียนลบจรุงวิทยา นับเป็นโรงเรียนตัวอย่างของจังหวัดตรังแห่งแรก โดยได้จัดหาครูจากที่ต่าง ๆ เช่น นครศรีธรรมราช โรงเรียนดังกล่าวปัจจุบันคือ โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส

          พระครูสุทธิโสภณ  เป็นพระนักพัฒนาที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวัด และชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้า อย่างแท้จริง ในระยะเวลาอันต่อเนื่องยาวนาน มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชนเป็นเอนกประการ
           พระครูพิสิทธิโสภณ (เอก สิรินทโร) เจ้าอาวาสวัดรัตนาภิมุข (วัดปากเหมือง) นามเดิม เอก ทองหนับ เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙ โยมบิดามารดาชื่อ นายหลบ นางเขียว ทองหนัน บ้านเดิมอยู่ที่ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดพระพุทธสิหิงค์ ตำบลนาโยง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙
           งานสำคัญในขั้นต้นคือ ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิวิสุทธิโสภณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่เยาวชน บำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ช่วยเหลือชาวบ้านที่เจ็บป่วยและยากจนในท้องถิ่น ให้มีที่พัก อาหาร และฝึกวิชาชีพให้ เมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา เชลยญี่ปุ่นที่ได้รับการสงเคราะห์จากท่าน ทหารเชลยญี่ปุ่นที่มาอาศัยวัดได้ช่วยกันบุกเบิกตัดถนนเข้าวัด สำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙
           ในอดีตพื้นที่ตำบลนาโยงเป็นที่ช่องสุมของผู้ก่อการร้าย ท่านได้ช่วยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองติดต่อกับผู้ก่อการร้าย ให้ผู้ก่อการร้ายเข้ามอบตัวต่อทางราชการ และท่านได้รับพวกนี้มาฝึกอบรมโดยความร่วมมือของ กอ.รมน.ภาค ๔
           - ด้านการศึกษา  ท่านได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พร้อมกับริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำตำบล และจัดหาทุนเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลน ริเริ่มจัดตั้งและอำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดรัตนาภิมุข และศูนย์อบรมเด็กก่อนวัยเรียนที่วัดควนสวรรค์ ตำบลนาหมื่นศรี
           - ด้านสาธารณสุข  ได้จัดทำโครงการน้ำประปาหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่วัดเป็นสถานที่ผลิตน้ำประปา แล้วแจกจ่ายให้ชาวบ้าน โดยไม่คิดค่าตอบแทน มีการขุดบ่อบาดาลขยายการผลิตประปาหมู่บ้าน มีการรวบรวมสมุนไพรในท้องถิ่นสร้างสวนสมุนไพรขึ้น จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรขึ้นที่วัดรัตนาภิมุข ตามโครงการใช้สมุนไพรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
           - ด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  ท่านได้จัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ และส่งเสริมเผยแพร่การละเล่นตามประเพณีพื้นบ้านเช่น หนังตะลุง มโนราห์ ชัดต้ม ชักพระบก โดยจัดในรูปการสาธิต การแสดง และการแข่งขัน สนับสนุนส่งเสริมฟื้นฟูการทอผ้าของกลุ่มสตรีนาหมื่นศรี โดยทำหน้าที่เป็นประธานอำนวยการและที่ปรึกษา
           ท่านได้นำโครงการบวร ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน โครงการส่งเสริมการเกษตร เพื่อทำนาแบบวัฒนธรรมพื้นบ้าน สร้างองค์ความรู้เรื่องการทำนาสู่ภาคปฏิบัติ มีผู้ร่วมโครงการคือกลุ่มชาวบ้าน ผู้ปกครอง นักเรียน มาร่วมกันสอนนักเรียน
           จากผลงานของท่านที่ได้สร้างสรรค์ไว้เป็นจำนวนมาก ตลอดเวลาอันยาวนาน ทำให้ท่านได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย สถาบันราชภัฎภูเก็ต ฯลฯ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์