ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

    การทำมาหากิน

            การฝึกลิงกังเพื่อการเกษตร  ชาวภาคใต้นิยมนำลิงกังมาฝึกให้ขึ้นเก็บมะพร้าว แทนการใช้คนมาแต่อดีต มีขั้นตอนการฝึกจากโรงเรียนฝึกลิง ที่ตำบลทุ่งทอง อำเภอเมือง ฯ มีดังนี้
                -  ฝึกให้ลิงปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ผ่อนคลายความตื่นกลัว โดยการให้ผลไม้และหญ้า ใช้เวลาประมาณ ๑๕ วัน
                -  ฝึกลิงให้เชื่อง โดยผูกลิงไว้ระหว่างลิงที่เชื่องแล้ว เพื่อให้ลิงใหม่ค่อย ๆ สงบลง ตามอากัปกิริยาของลิงที่เชื่องแล้ว
                -  เมื่อลิงเชื่องแล้วจะนำมาฝึกให้หมุนลูกมะพร้าวที่ใช่เหล็กเสียบกลาง วางอยู่ในกล่องที่เปิดสามด้านคือ ด้านบน ด้านล่าง และด้านหน้า โดยผู้ฝึกจะสาธิตให้ดูก่อนครั้งละ ๓๐ นาที เช้า - เย็น ใช้เวลาประมาณ ๔๕ วัน

                -  จับลิงมาให้หมุนมะพร้าวจากเครื่องมือที่ผู้ฝึกเคยสาธิต ระยะแรกลิงจะขัดขืนไม่ยอมแบมือ ผู้ฝึกจะจับแบมือให้ และจับให้หมุนมะพร้าวด้วยมือข้างเดียวไปก่อน และค่อย ๆ ฝึกไปจนให้ลิงหมุนทั้งสองมือโดยแบมือได้เอง ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน
                -  ฝึกให้ลิงปลิดมะพร้าวโดยเฉพาะเปลือกมะพร้าว ออกมาเป็นสายหิ้วชูขึ้นแล้วผู้ฝึกอุ้มลิงให้หมุนจนสายหิ้วขาดตกลงบนพื้น ใช้เวลาฝึกประมาณหนึ่งเดือน ลิงจะหมุนมะพร้าวได้เองโดยไม่ต้องอุ้ม
                -  เฉาะเปลือกมะพร้าวทำเป็นสายผูกแขวนบนราวได้หลาย ๆ ลูก ลูกสุดท้ายผูกไว้ที่ต้นมะพร้าว ให้ลิงปลิดมะพร้าวที่ราวจนหมด แล้วกระโดดไปปลิดลูกที่ผูกไว้กับต้นมะพร้าว เพื่อนำไปสู่การให้ลิงปีนขึ้นปลิดมะพร้าวบนต้น และฝึกการกระโดดจากต้นมะพร้าวต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
            การฝึกให้ลิงรู้จักปลิดมะพร้าวตามที่ต้องการ จะฝึกให้รู้จักฟังเสียงน้ำมะพร้าว และสังเกตสีของเปลือกมะพร้าว ตั้งแต่ขั้นตอนที่เริ่มฝึกให้หมุนมะพร้าว ลิงจะสามารถจำแนกมะพร้าวที่ต้องการและไม่ต้องการได้

            การเลี้ยงหอยนางรม  หอยนางรมมีอยู่สองพันธุ์ พันธุ์ตัวเล็กเรียกว่า หอยเจาะ หรือหอยปากจีบ พันธุ์ใหญ่เรียกว่า หอยตะโกรม ลักษณะเป็นหอยสองฝา มีอยู่ทั่วไปตามบริเวณน้ำตื้นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำลำคลอง ทั้งในแถบอบอุ่นและแถบร้อน
            บริเวณที่พัฒนามาเป็นแหล่งเลี้ยงหอยนางรมที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสุราษฎรธานีคือ บริเวณอ่าวที่ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ ชาวท่าทองได้ริเริ่มเลี้ยง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ โดยเก็บลูกหอยในคลองท่าทองไปปล่อยให้เกาะติดกับหลักไม้บริเวณที่เป็นโคลนเลน มีน้ำท่วมไม่ลึกนัก
            หอยนางรมจะวางไข่ตลอดปี แต่จะพบมากระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน จากการศึกษาพบว่าหอยนางรมวางไข่ครั้งหนึ่งประมาณ ๑ - ๙ ล้านฟอง ลูกหอยนางรมจะลอยไปตามกระแสน้ำเพื่อหาที่ยึดเกาะ เมื่อเลือกที่เกาะได้เหมาะสมแล้วก็จะเกาะติดแน่นไม่เคลื่อนย้ายไปไหนอีกเลย จนอายุได้ ๙ เดือน จึงเริ่มถูกแกะออกขาย ตัวที่เหลืออยู่ก็เริ่มวางไข่ หอยนางรมมีอายุอยู่ประมาณ ๑๐ - ๑๕ ปี
            การทำฟาร์มหอยนางรม ใช้ไม้ไผ่หรือหลักปูนซีเมนต์ ขนาดยาว ๑ - ๑.๕ เมตร ปักในบริเวณที่เป็นโคลนเลน ระดับน้ำไม่สูงนัก และเป็นบริเวณที่น้ำแห้ง หรือเกือบแห้งในช่วงน้ำลด ปกติจะต่ำกว่าระดับน้ำตอนสูงขึ้นประมาณ ๐.๕ เมตร การปักหลักถ้าใช้ลำไม้ไผ่จะต้องปักให้ชิดกันเป็นแนวยาวเท่าใดก็ได้ ถ้าใช้หลักปูนซิเมนต์จะต้องมีช่องระหว่างหลักพอที่ตัวหอยจะเกาะและเจริญเติบโตได้โดยรอบหลัก ในระหว่างแถวจะต้องเว้นพื้นที่ไว้ประมาณ ๑.๕๐ เมตร เพื่อใช้เป็นทางไปเก็บหอย
            เวลาที่เหมาะในการปักหลักในบริเวณอ่าวท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ คือ ช่วงที่น้ำทะเลลดลงจนเกือบแห้งทั่วบริเวณอ่าวคือระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม
            หอยนางรมที่มีอายุไม่เกินสามเดือน จะมีศัตรูทั้งจากภัยธรรมชาติและสัตว์อื่นรังแก ภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดคือ บรรดาโคลนตมที่ไหลไปติดหลักทำให้ลูกหอยตาย หรือทำให้ลูกหอยไม่สามารถเกาะติดหลักได้ จึงต้องปักหลักเป็นแนวยาวไปตามกระแสน้ำ ส่วนศัตรูที่เป็นสัตว์ด้วยกันได้แก่ หอยกะพงและปู เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุด แต่หลังจากลูกหอยมีอายุเกินสามเดือนไปแล้ว ศัตรูเหล่านี้จะไม่สามารถทำอันตรายหอยนางรมได้ เพราะมันจะมีเปลือกหุ้มเนื้ออย่างแข็งแรง

            ลายผ้าทอพุมเรียง  ลายผ้าทอพุมเรียงเป็นภูมิปัญญาของชาวพุมเรียงคือลายราชวัตร ลายดอกพิกุล ลานนพเก้า ลายก้านต่อดอก ลายผ้ายกเชิงครุฑ และลายยกเป็ด ห้าลายแรกยังทอจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ส่วนลายยกเป็ดเป็นลายโบราณ ที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก เพราะขาดการสืบทอด

            การทำไข่เค็มไชยา  การทำไข่เค็มของชาวไชยาที่ทำให้ได้ไข่เค็มที่มีสีสวย รสดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับชาวไชยาอย่างกว้างขวาง การผลิตไข่เค็มดังกล่าว เริ่มขบวนการตั้งแต่การเลี้ยงเป็ด จนถึงการปรุงเป็นอาหาร
            การเลี้ยงเป็ดใช้วิธีเลี้ยงปล่อยทุ่งให้อาหารจำพวกหอย ปู ปลา ซึ่งมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในทุ่งนา ส่วนอาหารที่เจ้าของเตรียมไว้คือข้าวเปลือก ด้วยการเลี้ยงดังกล่าวจะทำให้ได้ไข่แดงมีสีเข้ม ไม่มีกลิ่นคาวและมีรสมันจัด
            การเตรียมและเลือกวัสดุทำไข่เค็ม คือ ดินเกลือและขี้เถ้าแกลบ มีหลักการเลือกดังนี้
            การเลือกดิน ใช้เฉพาะดินจอมปลวกที่มีสีแกมเหลือง แห้งสนิท ไม่มีทรายและเศษอินทรีย์วัตถุเจือปน เมื่อจะนำไปใช้จะต้องบดให้ละเอียดและร่อนด้วยตะแกงถี่ เพื่อแยกทรายและเศษขยะทุกอย่างออกให้หมด
                -  การเลือกเกลือ ใช้เกลือป่น ห้ามใช้น้ำเกลือ
                -  การเลือกซื้อขี้เถ้าแกลบ เลือกเฉพาะขี้เถ้าแกลบที่สุกจัดสม่ำเสมอ ไม่มีแกลบหรือเศษของดิน กรวดปะปนอยู่
            กระบวนการผลิต มีขั้นตอนตามลำดับดังนี้
                -  คัดเลือกไข่ที่สด สมบูรณ์ เปลือกไข่ไม่บุบหรือร้าว
                -  ผสมดินป่นละเอียดผสมเกลือป่นในอัตราส่วน ๓ ต่อ ๑ คลุกเคล้ากันให้ทั่ว เติมน้ำลงผสมพอไม่ให้เหลวหรือเหนียวเกินไป
                -  นำไข่เป็ดที่คัดเลือกไว้แล้วลงคลุกดินที่เตรียมไว้ ใช้ดินพอกไข่หนาประมาณ ๒ - ๕ มิลลิเมตร
                -  นำไข่เป็ดที่คลุกดินแล้วมาคลุกขี้เถ้าแกลบให้ทั่ว แล้วนำไปเก็บไว้ประมาณ ๑๐ วัน จึงได้ที่

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์