ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


ศิลปหัตถกรรมและงานท้องถิ่น
   สถาปัตยกรรม

            อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา  เดิมเป็นบ้านพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา ) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๑  ต่อมาได้ใช้เป็นบ้านพักข้าหลวงตรวจราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เป็นศาลากลางจังหวัดสงขลา  และมาเป็นพิพิธภัณฑสถาน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕
            ลักษณะเป็นอาคารเรือนตึก สองชั้น ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงเก๋ง หันหน้าไปทางทิศตะวันตกสู่ทะเลสาบสงขลา ตัวตึกด้านหน้ามีบันไดโค้งแยกขึ้นลงสองข้างตึก ชั้นบนเป็นห้องแคบ ๆ ยาวเป็นปีกสองข้างมีประตูใหญ่อยู่ตรงกลาง ถัดเข้าไปเป็นเรือนขวางซ้าย - ขวา มีระเบียงทางเดินเชื่อมต่อกันตลอด ขื่อภายในห้องปีกชั้นบนสองห้อง จะติดเครื่องหมายหยิน - หยาง และยันต์แปดทิศเพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามที่คนจีนเชื่อกัน
            ด้านหน้าเป็นเรือนยาวอีกหลังหนึ่ง ด้านหลังมีบานประตูทำเป็นบานเฟี้ยม แกะสลักฉลุโปร่งเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้าของจีน สลับกับสายพรรณพฤกษา บานประตูบางคู่มีภาพสลักมังกรดั้นเมฆชิงไข่มุกไฟอย่างสวยงาม เป็นลักษณะของการสร้างเรือนแบบจีนอย่างแท้จริง
            สถาปัตยกรรมจีนในเขตจังหวัดสงขลา  มีปรากฎอยู่สี่ประเภทคือ อาคารที่พักอาศัย ศาลเจ้า ที่ฝังศพ (ฮวงซุ้ย) และวัด

            อาคารที่พักอาศัย จะเป็นตึกก่ออิฐทึบ มีทั้งแบบเรือนหมู่ เรือนแถวเดี่ยว มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ มีหลังคาทรงเก๋งจีน มีจั่วยอด จั่วมีทั้งแบบโค้งมน จั่วเหลี่ยม  มีทั้งหลังคาเดี่ยวและสองหลังคา สันหลังคาก่ออิฐถือปูน ฉาบผิวตกแต่งด้วยกระเบื้องปรุเคลือบ และลายปูนปั้น บริเวณชายคาถ้าเป็นบ้านของผู้ที่มีฐานะตำแหน่งทางราชการ จะนิยมตกแต่งบริเวณลอดบัวชายคาเป็นลายเขียนสี นิยมเจาะช่องหน้าต่างเฉพาะด้านหน้า ด้านข้างเจาะช่องลมขนาดเล็ก รูปแบบดังกล่าวเป็นลักษณะเดียวกันกับศาลเจ้า เพียงแต่ศาลเจ้าจะเปิดโล่งด้านหน้า โครงสร้างของอาคารจะใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก วัสดุใช้อิฐ หินปูน บางส่วนอาจใช้ซุงกลมหรือเหลี่ยมเป็นส่วนประกอบ มีการใช้หินแกรนิตมาใช้ร่วมด้วย เช่น สะกัดเป็นกรอบประตูปูพื้น และบันได  อาคารแทบทุกหลังจะมีลานโล่งอยู่กลางบ้าน

            อาคารที่พักอาศัยและศาลเจ้ามีจะมีที่บริเวณถนนนางงาม ถนนนครนอก นครใน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง ฯ และบริเวณใกล้สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ในเขตอำเภอหาดใหญ่  ส่วนสถาปัตยกรรมที่เป็นสุสานคือ สุสานต้นตระกูลสงขลา ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร ส่วนสถาปัตยกรรมจีนในวัด ได้แก่ เจดีย์จีน ที่วัดสุวรรณคึรี อำเภอสิงหนคร วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร อำเภอเมือง ที่มีประตูแบบจีน วัดดอนแย้ อยู่ที่ถนนไทรบุรี มีอุโบสถแบบเก๋งจีน และมีกุฏิหลังหนึ่งเป็นสถาปัตยกรรมจีน
    ประติมากรรม
            งานประติมากรรมโบราณที่พบในเขตจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่พบจากแหล่งโบราณคดี และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานต่าง ๆ มักเป็นรูปเคารพ เนื่องในลัทธิศาสนาของชุมชน มีทั้งประติมากรรมที่สลักจากหินหรือไม้ หล่อด้วยสำริด ปั้นด้วยดินเผา ซึ่งปรากฏรายละเอียดอยู่ในเรื่องโบราณสถานและโบราณวัตถุแล้ว
            ประติมากรรมที่เป็นตัวอย่างได้แก่ ประติมากรรมที่วัดดีหลวง ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ วัดแหลมพ้อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง วัดสลักป่าเก่า ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร วัดหนองหอย ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร และวัดคูเต่า ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ เป็นต้น
   จิตรกรรม
            งานจิตรกรรมที่พบในเขตจังหวัดสงขลามีอยู่หลายประเภท เช่น ปรากฏอยู่ในหนังสือบุด ภาพพระบฏ ตู้พระธรรม และภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก  งานจิตรกรรมที่ดูโดดเด่นคือ งานจิตรกรรมฝาผนังในวัดต่าง ๆ งานที่สำคัญที่แสดงฝีมือช่าง และมีคุณค่าควรแก่การศึกษามีดังต่อไปนี้คือ

            จิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร  ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง มีอยู่สองแห่งคือที่พระอุโบสถและที่ศาลาฤาษี งานจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถ เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนผนังปูน เป็นงานฝีมือช่างหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นภาพพุทธประวัติ ทศชาติชาดก และเทพชุมนุม  ถือว่าเป็นจิตรกรรมที่เด่นและสำคัญยิ่ง  องค์ประกอบของภาพมีความงดงาม และบรรจุเรื่องราวไว้สมบูรณ์มาก ทั้งได้สะท้อนภาพของสังคม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกาย การละเล่น ประเพณี ความเชื่อ ตลอดจนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยนั้น
            ส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่ศาลาฤาษี  เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนผนังปูน เป็นภาพฤาษีดัดตน ภาพเครื่องยาไทย และโต๊ะหมู่บูชาของจีน
            จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณคีรี  บ้านบ่อเตย ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร งานจิตรกรรมฝาผนังที่ฝาผนังด้านในพระอุโบสถ เป็นภาพเขียนสีฝุ่น มีรองพื้น ฝีมือช่างหลวง  เป็นจิตรกรรมที่สวยงามด้วยเส้นสีและองค์ประกอบเป็นอย่างยิ่ง เป็นภาพพุทธประวัติ ไตรภูมิและทศชาติชาดก ตอนล่างเป็นภาพพระมาลัยโปรดสัตว์นรก  บนเพดานเขียนลายดาวทองบนพื้นรักแดง

            จิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิปฐมาวาส  ถนนไทรบุรี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง ฯ  ลักษณะจิตรกรรมมีลักษณะและเรื่องราวที่แตกต่างกันในแต่ละภาพ บางภาพเป็นฝีมือช่างชั้นครูเขียนได้ละเอียดบรรจง แต่บางผนังน่าจะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่นที่เขียนในลักษณะง่าย ๆ สำหรับเสาหลอกรูปลำไผ่ ก็มีลักษณะแปลกออกไป ยังไม่พบในงานจิตรกรรมฝาผนังในที่อื่น ๆ
            มีภาพขบวนแห่เจ้าเซ็นอยู่หลังหลืบประตูด้านหน้า เป็นภาพสาวกของเจ้าเซ็นกำลังแห่ศพเจ้าเซ็นหรือฮุสเซนซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะห์ ที่โลงศพตกแต่งสวยงาม มีรูปมือห้านิ้วติดปลายไม้มีคนถือนำขบวน บรรดาสาวกที่แต่งกายโดยการนุ่งดำลักษณะคล้ายกางเกง หรืออาจเป็นการนุ่งโจงกระเบนแบบแขกก็ได้ ไม่สวมเสื้อ ต่างมีเลือดโซมกาย อันเกิดจากการกรีดศีรษะ หรือทำร้ายร่างกายของตนเอง ภาพแห่เจ้าเซ็นเป็นภาพที่ยากจะพบในจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ แสดงว่าชาวสงขลามิได้รังเกียจเดียดฉันท์ว่าต่างลัทธิศาสนา
            จิตรกรรมฝาผนังวัดจะทิ้งพระ  บ้านจะทิ้งพระ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จิตรกรรฝาผนังอยู่ที่ผนังด้านในของวิหารพระนอน เป็นภาพเขียน บนพื้นสีเหลืองอ่อนแล้วเขียนภาพด้วยสีเทาสีฟ้า สีเขียว เขียนระบายบาง ๆ ตัดเส้นด้วยสีอ่อน เขียนเป็นภาพพุทธประวัติ
            จิตรกรรมแห่งนี้เป็นฝีมือช่างชาวบ้าน มีภาพที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและสังคมเช่นเครื่องแต่งกายและอาวุธอย่างทหารฝรั่ง ภาพการแต่งกายไปวัดของชาวบ้านที่เรียบง่าย เช่น นุ่งผ้าพื้นสีน้ำเงิน และมีผ้าห่มคาดอกสีขาว เป็นต้น
            จิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่า  ตำบลแม่ทอน อำเภอบางกล่ำ จิตรกรรมอยู่ที่โบสถ์และมณฑป งานจิตรกรรมที่อุโบสถเป็นภาพเขียนสีฝุ่น ฝีมือช่างพื้นบ้าน เป็นจิตรกรรมพื้นบ้านที่สมบูรณ์ แสดงเอกลักษณ์เชิงช่างท้องถิ่น อิสระทั้งเทคนิควิธีการใช้สี ลายเส้นและองค์ประกอบของภาพตลอดจนคตินิยมทางศิลปะทั่ว ๆ ไป ภาพคนในเรื่องมีลักษณะเกี่ยวกับหนังตะลุง เนื้อเรื่องที่เขียนก็เป็นเรื่องที่แพร่หลายในวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้
            จิตรกรรมฝาผนังวัดพะโค๊ะ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ เป็นภาพเขียนรุ่นใหม ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ โดยเขียนไว้ที่ฝาผนังศาลาการเปรียญ เป็นภาพปริศนาธรรม ที่สวนโมกพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีรูปแบบการเขียนและศิลปหลากหลายรูปแบบ แตกต่างจากภาพจิตรกรรมฝาผนังทั่วไป มีการให้แสงเงา แต่ละชุดแบ่งเป็นกรอบ ๆ ขนาดต่าง ๆ กัน เน้นเนื้อหามากกว่าศิลปะ ขาดความปราณีตบรรจง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |