ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

           ขนบธรรเนียมประเพณีคนไทยเชื้อสายมอญ  มอญได้อยพเข้ามาสู่ประเทศไทยหลายครั้ง ที่มีหลักฐานคือ ในปี พ.ศ.๒๑๒๗ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงประกาศอิสระภาพที่เมืองแครง ต่อมาได้มีการอพยพครั้งสำคัญของมอญอีกแปดครั้งคือ ในสมัยอยุธยาห้าครั้ง สมัยธนบุรีหนึ่งครั้ง และสมัยรัตนโกสินทรอีกสองครั้ง คือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
           การอพยพเข้ามามักจะกระจายกันไปตั้งหลักแหล่งที่อยู่ตามบริเวณแม่น้ำ เช่นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดอยุธยา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนลำน้ำแม่กลอง ในอำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และในเขตจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังไปอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร ลพบุรี อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และกระจายอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ
ในจังหวัดธนบุรี (เดิม) สมุทรสงคราม เพชรบุรี นครปฐม กรุงเทพ ฯ ฉะเชิงเทรา อยุธยา สุพรรณบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ และปราจีนบุรี เป็นต้น
           ชาวมอญในจังหวัดสมุทรสาคร ได้อพยพเข้ามา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๗ ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บริเวณป้อมวิเชียรโชฎก หรือบ้านป้อม หรือวัดป้อมวิเชียรโชติการาม  ต่อมาได้มีชาวมอญจากจังหวัดปทุมธานีและบ้านมอญกรุงเทพ ฯ อพยพมาสมทบ ในประมาณรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตตำบลท่าทราย ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง ฯ ต่อมาได้ขยายไปที่อำเภอบ้านแพ้ว ในตำบลต่าง ๆ เช่น ตำบลเจ็ดริ้ว ตำบลหลักสอง ตำบลหลักสาม ตำบลบ้านแพ้ว ตำบลฮำแพง ฯลฯ ดำรงชีพด้วยอาชีเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา มาจนถึงปัจจุบัน
           ชาวไทยเชื้อสายมอญ ในจังหวัดสมุทรสาครโดยทั่วไปดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย และยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีตามแบบเดิมไว้บ้างเช่น ลักษณะการสร้างบ้านเรือน ภาษา ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ
               - บ้านเรือน  มีลักษณะแตกต่างไปจากบ้านชาวไทยในด้านการก่อสร้างคือ นิยมหันขื่อของเรือนไปทางแม่น้ำลำคลอง หรือหันหน้าไปทางทิศตะวันตก จนมีคำพังเพยว่า มอญขวาง เสาเรือนที่เป็นเสาเอกของบ้านจะต้องจัดให้เป็นที่อยู่ของผีบ้านผีเรือน ตามความเชื่อของมอญอีกด้วย
               - ภาษา  ใช้ภาษมอญเป็นสื่อกลางระหว่างกลุ่มชาวไทยเชื้อสายมอญด้วยกัน รวมถึงบทสวดมนต์และการเทศน์ของพระภิกษุ ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนา แต่เมื่อติดต่อกับคนทั่วไปจะใช้ภาษาไทยกลาง
               - การแต่งกาย  ผู้ชายสูงอายุจะนุ่งผ้าที่เรียกว่า สะล่ง ที่ไทยเรียกว่า โสร่ง เป็นผ้าลายตาหมากรุก ส่วนผู้หญิงจะนุ่งผ้าคานิน หรือนิน คล้ายการนุ่งผ้าถุงของหญิงไทย แต่ยาวกรอมส้นเท้า เมื่อไปทำบุญที่วัดหรือมีงานสำคัญจะใช้ผ้าสไบห่มเฉียงไหล่ นิยมไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวยต่ำ ค่อนไปข้างหลัง
               - ผีประจำหมู่บ้าน  แม้จะนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด แต่ยังมีความเชื่อเรื่องผีควบคู่กันไปเชื่อกันว่า เป็นบรรพบุรุษของตนตามมาคุ้มครองพวกตนจากเมืองมอญ จะต้องทำพิธีเซ่นไหว้อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คนในหมู่บ้าน โดยมีคนทรงเป็นผู้ประกอบพิธี
               - ผีบ้านผีเรือน  เป็นผีประจำตระกูล ส่วนใหญ่จะตกทอดการสืบผีไปยังบุตรชายคนหัวปีเรื่อยไป หากไม่มีบุตรชายสืบสกุลผีนั้นก็ขาดจากสกุลนั้นไป ประเพณีการสืบผีประจำตระกูล ต้องมีพิธีรับผีประจำตระกูลจากบิดา ผู้ที่จะรับต้องทำหน้าที่เก็บรักษาสมบัติประจำตัวผี อันประกอบด้วย แหวนผีหนึ่งวง เสื้อหนึ่งตัว ผ้าโพกหัวหนึ่งผืน โสร่งหนึ่งผืน หม้อหนึ่งใบ ของทั้งหมดจะเก็บรวมไว้ในตะกร้า แขวนไว้ที่เสาตรงหัวนอนของผู้รับผีนั้น และหน้าที่ของผู้รับผีประการหนึ่งคือ ทำการรำผีตามประเพณีอยู่เสมอ
           เมื่อมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ปกติเกิดขึ้นแก่คนในครอบครัว แต่ละครอบครัวจะต้องจัดให้มีการรำผี เพื่อขอขมาโทษต่อผี
               - ประเพณีสงกรานต์  กำหนดให้วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน ของทุกปี จะมีการประกอบประเพณีทางศาสนา อย่างพร้อมเพรียงกัน ถึงสามวัน ติดต่อกันเริ่มตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระด้วยข้าวสงกรานต์ (ข้าวแช่) การแห่นกแห่ปลาไปปล่อยที่วัด การแห่นางหงส์ การสรงน้ำพระ การรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ตลอดจนการเล่นสาดน้ำสงกรานต์ เล่นสะบ้า และเล่นทะแยมอญ
               - การเล่นสะบ้าและทะแยมอญ  เป็นการละเล่นของชาวมอญที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ ปัจจุบันหาดูได้ยาก ยังคงเหลืออยู่เพียงบางแห่งเท่านั้น เช่นที่ตำบลบางกะดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ ฯ กับที่ตำบลปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และวัดคลองครุ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง ฯ

               - การเล่นสะบ้า  เดิมนิยมเล่นกันในหมู่หนุ่มสาวที่ยังเป็นโสด ในตอนเย็นหลังจากว่างงานหรือเสร็จสิ้นการทำบุญสงกรานต์แล้ว จะนัดหมายกัน ณ บริเวณลานบันไดบ้านหนึ่ง ภายในหมู่บ้านของตน การเล่นสะบ้านั้นแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายหญิงกับฝ่ายชายในจำนวนเท่า ๆ กัน ใช้ลูกสะบ้าซึ่งทำด้วยไม้ลักษณะกลม ๆ แบน ๆ สำหรับทอยหรือเขย่งเตะ หรือโยนด้วยเท้าแล้วแต่โอกาสกะให้ถูกคู่เล่นของตน เพื่อจะได้ออกมาเล่นกันเป็นคู่ต่อไป

               - การเล่นทะแยมอญ  เป็นการเล่นที่ใช้ได้เกือบทุกโอกาสตั้งแต่โกนจุก บวชนาค แต่งงาน ฉลองพระ ขึ้นบ้านใหม่แก้บน งานศพ ฯลฯ การเล่นประกอบด้วยผู้เล่นซึ่งทำหน้าที่ทั้งร้องและรำ ฝ่ายชายและหญิงฝ่ายละหนึ่งคน มีเครื่องดนตรีประกอบการเล่นห้าอย่างคือ ซอสามสาย ขลุ่ย จะเข้ กลองเล็กสองหน้าและฉิ่ง ผู้เล่นจะรำและร้องโต้ตอบด้วยเรื่องต่าง ๆ เป็นภาษามอญตามที่นิยมกัน หรือตามความประสงค์ของเจ้าภาพเช่น เรื่องทศชาติชาดก ธรรมสอนใจ วัฒนธรรมสิบสองเดือน เพลงเกี้ยวพาราสี เป็นต้น ทำนองเดียวกับเล่นลำตัดของไทยนั่นเอง จึงมีชาวเมืองบางคนเรียกทะแยมอญว่า ลำตัดมอญ

               - ประเพณีรำผี  เป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งของชาวไทยเชื้อสายมอญ ซึ่งปฎิบัติสืบต่อกันมาและปัจจุบันยังคงประกอบพิธีนี้บ้างในอำเภอบ้านแพ้ว ด้วยมีความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องจากความเคารพนับถือผี ตั้งแต่ผีประจำหมู่บ้าน ผีบ้านผีเรือน ผีเต่า ผีงู ผีปลาไหล ผีไก่ ผีข้าวเหนียว เป็นต้น เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บุคคลในครอบครัว ถ้าคนในครอบครัวเจ็บป่วยบ่อย สมบัติผีชำรุด ของหาย ตลอดจนเกิดเรื่องเดือดร้อนต่าง ๆ อันถือว่าเป็นการผิดผี ในแต่ละครอบครัวจะต้องจัดให้มีการรำผี เพื่อขอขมาต่อผีให้ผีหายโกรธ
           ในการรำผีนอกจากต้องจัดเครื่องเซ่นตามประเพณีแล้ว ยังต้องสร้างโรงพิธีสำหรับใช้ในการรำผี รวมทั้งจะต้องมีเครื่องดนตรีต่าง ๆ ประกอบเช่น พิณพาทย์ ตะโพน ฉิ่ง ฯลฯ โดยให้ญาติพี่น้องที่นับถือผีเดียวกันและผู้ป่วยร่วมกันร่ายรำไปตามจังหวะดนตรีจนกว่าจะเสร็จพิธี

               - ประเพณีล้างเท้าพระ  ทำในวันทำบุญออกพรรษ โดยจะนำดอกไม้สีต่าง ๆ พร้อมทั้งขันใส่น้ำและจอกเล็ก ๆ มาวางบนผ้าที่ปูลาดไว้กับพื้นดิน เมื่อพระสงฆ์กำลังเดินเข้าสู่อุโบสถพอมาถึงตรงหน้าก็จะตักน้ำในขันรดไปบนหลังเท้าของพระสงฆ์ ถือเป็นการล้างเท้าพระภิกษุที่ได้รักษาศีลมาตลอดพรรษา พร้อมทั้งถวายดอกไม้ที่เตรียมมาด้วย นับเป็นอีกประเพณีซึ่งจัดว่าเป็นศิริมงคลแก่ผู้ปฎิบัติ

           ขนบธรรมเนียมประเพณีของลาวโซ่ง  ลาวโซ่งหรือผู้ไท เป็นชนชาติไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น ไทดำ ผู้ไทดำ ไทซงดำ ผู้ไทซงดำ ลาวทรงดำ ลาวซ่วง ลาวซ่วงดำ ลาวโซ่ง ไทโซง ฯลฯ หมายถึงผู้ที่นุ่งห่มด้วยผ้าสีดำ มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ต่อมาได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาทางตอนใต้กับตะวันออกเฉียงใต้ และกระจายกันอยู่บริเวณมณฑลกวางสี ยูนนาน ตังเกี๋ย ลุ่มแม่น้ำและแม่น้ำแดง จนถึงแคว้นสิบสองจุไท โดยมีเมืองแถง หรือเดียนเบียนฟู เป็นศูนย์การปกครองตนเองอย่างอิสระ ภายหลังได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาตั้งหลักแหล่งกระจายกันอยู่ในที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่สมัยธนบุรีเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๒ จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
           ลาวโซ่ง ถูกกวาดต้อนจากเขตเมืองญวน เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้ยกกองทัพไปตีเวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๒ ได้ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรีเป็นแห่งแรก ครั้งสุดท้ายได้กวาดต้อนมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ต่อมาบรรดาลาวโซ่งเหล่านี้ได้กระจายกันอพยพไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย เนื่องจากลาวโซ่งรุ่นเก่ามีความปรารถนาจะกลับไปยังถิ่นฐานเดิมของตนที่เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไทอีกครั้ง จึงพยายามเดินทางจากเพชรบุรีขึ้นไป ทางเหนือเรื่อยไป เมื่อถึงฤดูฝนก็หยุดพักทำนาเพื่อหาเสบียงเดินทางจนสิ้นฤดูฝนก็ออกเดินทางต่อไป บรรดาผู้สูงอายุซึ่งเป็นผู้นำทางได้ตายจากไปในระหว่างการเดินทาง บรรดาลูกหลานไม่สามารถเดินทางต่อไปให้ถึงที่หมายได้ จึงพากันตั้งหลักแหล่งไปตามระยะทางเป็นแห่ง ๆ ทำให้มีกลุ่มลาวโซ่งกระจายกันอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่งเช่น จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร กาญจนบุรี ลพบุรี พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย และเลย เป็นตน
           ลาวโซ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ได้เข้ามาตั้งรกรากและกระจายกันอยู่เฉพาะในบริเวณตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว เป็นผู้ที่มาจากจังหวัดเพชรบุรี และยังติดต่อสัมพันธ์กับญาติพี่น้องในจังหวัดเพชรบุรี
               - ความเชื่อของลาวโซ่ง  ส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องผี และขวัญอยู่มาก เชื่อว่าผีนั้นเป็นเทพยดาที่ให้ความคุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีเรือน หากทำสิ่งไม่ดีจะเป็นการผิดผี ซึ่งผีเรือนอาจจะลงโทษได้
                   ผีแถนหรือผีฟ้า  เชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่บนฟ้า สามารถบันดาลความเป็นไปแก่มนุษย์ทั้งด้านดีและด้านร้าย ต้องปฎิบัติตนให้ถูกต้องตามความประสงค์ของแถน เพื่อจะได้รับความเมตตาได้รับความสุข
                   ผีบ้านผีเรือน  เป็นผีที่คุ้มครองป้องกันบ้านเรือนให้ร่มเย็นเป็นสุขและอุดมสมบูรณ์ อาจสิงสถิตอยู่ตามป่า ภูเขาหรือต้นไม้บางแห่ง ก็สร้างศาลให้อยู่บริเวณที่มีหลักเมือง ถือว่าเป็นเขตหวงห้ามใช้เฉพาะการประกอบพิธีเซ่นไหว้ หรือที่เรียกว่า เสน เท่านั้น ส่วนผีประจำหมู่บ้านให้อยู่ต่างหากเรียกว่สา ศาลเจ้าปู่ หรือศาลตาปู่ และต้องทำพิธีเซ่นไหว้ทุกปี
                   ผีบรรพบุรุษ  เป็นผีของปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว จะถูกเชิญขึ้นไว้บนเรือน ณ ห้องผีเรือน หรือห้องของบรรพบุรุษที่เรียกว่า กะล่อท่อง และต้องจัดพิธีเซ่นไหว้ทุกปี เรียกว่า พิธีเสนเรือน
                   ผีป่าขวงและผีอื่น ๆ ที่สถิตอยู่ตามป่า ภูเขา แม่น้ำ หรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งหากคนทำให้ไม่พอใจก็อาจลงโทษให้เจ็บป่วยได้เช่นกัน
           ความเชื่อในเรื่องขวัญ เชื่อว่าแถนเป็นผู้สร้างให้มนุษย์มาเกิด และมีขวัญแต่ละคนติดตัวมาอยู่ในร่างกายรวม ๓๒ ขวัญ ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวทำงานได้ ขวัญอาจตกหล่นหรือสูญหายได้ง่าย ถ้าตกใจหรือเจ็บป่วยขวัญจะไม่อยู่กับตัว จึงต้องทำพิธีเรียกขวัญ หรือสู่ขวัญ เพื่อให้ขวัญกลับมาอยู่ในร่างกายอย่างปกติสุขตามเดิม
               - สภาพความเป็นอยู่  ลาวโซ่งมีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ สร้างบ้านเรือนในที่ราบเป็นเรือนใต้ถุนสูง ดำรงชีพด้วยการทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ผู้ชายนิยมทำเครื่องจักสาน ผู้หญิงนิยมการทอผ้า เย็บปักถักร้อย ไม่มีการทำเครื่องปั้นดินเผา หรือหล่อหลอมโลหะ
               - ภาษา  มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง และใช้อยู่ในหมู่ของพวกตน และใช้ภาษาไทยกลางติดต่อกับผู้อื่น

               - พิธีเสนเรือน  เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน
           การทำพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญหมอเสน มาเป็นผู้ประกอบพิธีพร้อมกับแจ้งญาติพี่น้องให้ทราบ กำหนดวันทำพิธี และจัดเตรียมเครื่องใช้ในการทำพิธีให้เรียบร้อย เช่น เสื้อฮี - ส้วงฮี  สำหรับเจ้าภาพสวมใส่ในขณะทำพิธี ปานเผือน (ภาชนะคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ใช้บรรจุอาหารและเครื่องเซ่นผีเรือน) ปานข้าว (ภาชนะใส่อาหารในหม้อเสน) ตั่งก๋า (เก้าอี้หรือม้านั่งสำหรับหมอเสนนั่งทำพิธีในห้องผีเรือน) และอาหารที่เป็นเครื่องเซ่นต่าง ๆ หมูจุ๊บ (เนื้อหมู เครื่องในหมูยำ) แกงไก่กับหน่อไม้เปรี้ยว เนื้อหมูดิบ ซึ่โครงหมู ไส้หมู ข้าต้มผัด มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนมและผลไม้ต่าง ๆ ตามฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่งเจ็ดห่อ ตะเกียบเจ็ดคู่ หมากพลู บุหรี่และเหล้า เป็นต้น
           เมื่อได้เวลาเซ่นไหว้ผีเรือน เจ้าภาพจะจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ บรรจุลงในปานเผือนที่เตรียมไว้ และยกเข้าไปวางไว้ในห้องผีเรือนที่เรียกว่า กะล่อห่อง ซึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี หมอเสนจะเริ่มพิธีด้วยการกล่าวเชิญบรรดาผีเรือนที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าภาพ โดยเรียกชื่อบรรพบุรุษตามบัญชีรายชื่อที่เจ้าภาพจดไว้ในสมุดผีเรือน เรียกว่า ปั๊บผีเรือน จนครบทุกชื่อสามครั้ง เมื่อครบแต่ละครั้ง หมอเสนจะใช้ตะเกียบคืบหมูกับขนมทิ้งลงไปในช่องเล็ก ๆ ด้านขวาของห้องผีเรือนแล้วเซ่นเหล้าแก่ผีเรือนอีกสองครั้ง
           หลังจากเซ่นไหว้ผีเรืนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทำพิธีเสี่ยงทายให้แก่เจ้าภาพเรียกว่า ส่องไก่ ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวที่เจ้าภาพนำมาให้ และทำนายตามลักษณะของตีนไก่ จากนั้นเจ้าภาพจะทำพิธีขอบคุณหมอเสน เรียกว่า ฟายหมอ แล้วจึงเลี้ยงอาหารแขกที่มาช่วยงานเป็นอันเสร็จพิธี
               - พิธีแต่งงาน  ภาษาลาวโซ่งเรียกว่า กินดอง การทำพิธีจะจัดทำที่บ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวจะต้องทำพิธีไหวผีเรือนบ้านเจ้าสาวและกล่าวอาสาว่า ตกลงจะอยู่รับใช้หรือช่วยทำงานให้ครอบครัวของพ่อตาแม่ยาย เป็นเวลากี่ปีแล้วแต่จะตกลงกันเพื่อให้ผีเรือนรับรู้ เนื่องจากเมื่อแต่งงานแล้ว เจ้าสาวจะต้องออกจากผีเรือนของตนไปนับถือทางฝ่ายชาย และไปอยู่บ้านฝ่ายชายเว้นแต่ว่าเจ้าสาวจะเป็นลูกคนเดียวของครอบครัว ก็อาจต้องตกลงกับฝ่ายชายให้มานับถือผีตามฝ่ายหญิง และมาอยู่บ้านฝ่ายหญิงเรียกว่า อาสาขาด ต่อจากนั้นเจ้าบ่าวจะมอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับพ่อแม่ของฝ่ายเจ้าสาว นอกเหนือไปจากเงินสินสอดตามที่ตกลงกันไว้ เงินจำนวนนี้เรียกว่า เงินตามแม่โค หมายถึงเงินค่าตัวของแม่ฝ่ายหญิงที่เคยได้รับค่าตัวเท่าใดตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษเช่น อาจเป็น ๑๐ - ๒๐ บาท ลูกสาวก็จะได้รับตามจำนวนเท่านั้น หลังจากเสร็จพิธีแล้วเจ้าภาพจะเลี้ยงแขกที่ไปช่วยงาน
               - พิธีศพ  จะเชิญหมอเสนมาประกอบพิธี เริ่มตั้งแต่การเอาผีลงเรือน และการเอาผีขึ้นเรือน
                   การเอาผีลงเรือน  ถ้าผู้ตายถึงแก่กรรมในบ้านเรือน และตั้งศพไว้ในบ้านก่อนจะเคลื่อนย้ายไปประกอบพิธีต่อที่วัด เจ้าภาพจะเชิญหมอเสนมาทำพิธีเรียกขวัญ (ช้อนขวัญ) คนในบ้านก่อนไม่ให้ติดตามผู้ตายไปอยู่ที่อื่น
                   การช้อนขวัญ เริ่มด้วยหมอเสนถือสวิงเดินนำหน้าขบวนและทำท่าช้อนไปรอบ ๆ บริเวณที่ตั้งโลงศพของผู้ตาย ตามด้วยเจ้าภาพ ซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เดินถือเสื้อผ้าของคนในบ้านหนึ่งชุด บรรดาญาติพี่น้อง และบุตรหลานทั้งหมดเดินตามหลัง เมื่อวนสามรอบแล้วต้องเข้าไปในห้องผีเรือน เพื่อไหว้ผีเรือนให้ช่วยคุ้มครองอันตราย หรือเคราะห์ร้ายทั้งปวง และให้ขวัญของแต่ละคนกลับมาอยู่กับตนเอง
                   หลังจากนั้นจึงทำพิธีเคลื่อนย้ายศพจากเรือนไปวัด โดยจัดขบวนแห่ให้สวยงาม เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ตายมีการตกแต่งด้วยธง
                   การเอาผีขึ้นเรือน  จะทำเมื่อบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ในบ้านตายเท่านั้น เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้ตาย มิให้วิญญาณของผู้ตายต้องเร่ร่อน เป็นการเชื้อเชิญวิญญาณของผู้ตายให้เข้าไปอยู่ร่วมกับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อจะได้คุ้มครองบุตรหลาน
                   หมอเสน จะเป็นผู้กำหนดวันเอาผีขึ้นเรือนและเตรียมพิธี หลังจากเผาศพผู้ตายเรียบร้อยแล้ว วันรุ่งขึ้นหมอเสนจะเก็บอัฐิของผู้ตายบรรจุโกศส่วนหนึ่ง เพื่อให้บุตรหลานนำไปบูชา ณ ห้องผีเรือน ส่วนอัฐิที่เหลือจะใส่ไหนำไปฝังยังสถานที่ที่เตรียมไว้ในป่าช้า และนำบ้านเล็ก ๆ ทำด้วยตอกไม้ไผ่เรียกว่า หอแก้ว ปลูกคร่อมบนบริเวณที่ฝังไหอัฐิไว้ หากผู้ตายเป็นชายเช่น บิดา ปู่ ตา ฯลฯ จะตกแต่งหอแก้วให้สวยงามด้วยธงไม้ไผ่สูงประมาณ ห้าวา เรียกว่า ลำกาว พร้อมทั้งนำผ้าดิบสีขาวขลิบรอบ ๆ ขอบผ้าด้วยผ้าสีต่าง ๆ สลับกันสามสีคือ แดง เหลือง ดำ ผูกติดกับยอดไม้ไผ่ให้มีความยาวพอเหมาะกับลำกาว ปลายยอดลำกาวติดรูปหงส์ตัวเล็ก ๆ ทำด้วยไม้งิ้วแกะสลักงดงาม เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพาหนะพาผู้ตายกลับไปเมืองแถน หลังจากนั้นจะนำอาหารมาเซ่นไหว้ผู้ตาย ทุกเช้าจนครบสามวัน แล้วหมอเสนจะรื้อหอแก้ว และลำกาวทิ้งหมดด้วยเชื่อว่าจะได้ไม่มีการตายเกิดขึ้นในครอบครัวนี้อีก และนัดกำหนดวันเอาผีขึ้นเรือนตามความพร้อมของเจ้าภาพ
                   เมื่อถึงวันกำหนดเอาผีขึ้นเรือน หมอเสนจะเป็นผู้กล่าวเชิญวิญญาณของผู้ตายและทำพิธีเซ่นไหว้ในห้องผีเรือน โดยทำพิธีคล้ายการเสนผีเรือน เริ่มด้วยหมอเสนจะกล่าวเชิญวิญญาณของผู้ตายให้มารับอาหารที่เตรียมไว้ก่อน แล้วจึงเชิญบรรพบุรุษตามลำดับรายชื่อที่จดไว้ในสมุดผีเรือน ให้มารับอาหารจนครบทุกชื่อ เสร็จแล้วจึงทำพิธีกู้เผือนคือ การนำอาหารที่เหลือออกจากปานเผือน ทั้งหมด
                   หลังจากเสร็จพิธีเอาผีเรือนขึ้นเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนต้องทำพิธีสู่ขวัญ หรือเรียกขวัญญาติพี่น้องบุตรหลานในครอบครัวผู้ตาย
               - ประเพณีการเล่นคอนหรืออิ้นกอน  เป็นการเล่นของหนุ่มสาวในเดือนห้า หรือทุกเดือนหกอันเป็นระยะที่ว่างจากการทำนา พวกหนุ่มสาวในแต่ละหมู่บ้าน จะพากันจับกลุ่มเล่นคอน โดยผู้ใหญ่ไม่หวงห้ามเปิดโอกาสให้พวกหนุ่มสาวทำความรู้จักมักคุ้นกันยิ่งขึ้น โดยใช้ลูกช่วงเป็นอุปกรณ์การเล่น ให้หนุ่มสาวโยนให้ถูกกัน เป็นการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างหนุ่มสาว ให้มีโอกาสได้รู้จักสนิทสนมกันในที่สุด

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์