ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


           วัดเกาะ  อยู่ในเขตตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง ฯ ลักษณะที่ตั้งดั้งเดิมมีแม่น้ำท่าจีนล้อมรอบ ต่อมาแม่น้ำเปลี่ยนเส้นทาง ทำให้บริเวณดังกล่าวตื้นเขินเป็นที่ราบ
           จากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันว่า วัดเกาะสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๒๔๗ สันนิษฐานว่า ชาวจีนสร้างเนื่องจากบริเวณวัดส่วนใหญ่เป็นชุมชนชาวจีน ต่อมาพวกมอญอพยพหนีสงครามจากพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้ช่วยกันบูรณะซอมแซมเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน
               - อุโบสถ (หลังเก่า)  สร้างสมัยพระอธิการสอนเจ้าอาวาสรูปที่เจ็ด ลักษณะของโบสถ์ก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผาลดสองชั้น ชั้นละสองแถว ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ เป็นไม้แกะสลักประดับประจก หน้าบันทำเป็นรูปเทพพนมประดับตกแต่งลายก้านขด ด้านล่างมีลายดอกไม้ มีสาหร่ายและรวงผึ้งด้านล่าง เสารองรับหลังคาเป็นเสาก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ หัวเสามีดอกบัวปูนปั้นทาสี มีระเบียงเดินได้รอบอุโบสถ ผนังก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานบัว ด้านหน้ามีประตูเข้าออกสองบาน มีหน้าต่างด้านละห้าช่อง บานประตูหน้าต่างทำเป็นบานเรียบ
               - ใบเสมาและซุ้มเสมา  ซุ้มเสมาก่ออิฐถือปูนทรงมณฑปสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานบัว ส่วนยอดเป็นชุดบัวกลุ่มเถา ซุ้มเสมารองรับเป็นฐานสี่เหลี่ยมรองรับดอกบัว ใบเสมาทำจากหินแกรนิต
               - เจดีย์ทรงระฆัง  ตั้งอยู่ด้านหน้าอุโบสถ มีอยู่สององค์ ตามประวัติกล่าวว่าสร้างสมัยพระอธิการเติม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆัง ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยม มีระเบียงล้อมรอบ ประดับกระเบื้องเคลือบรูปหกเหลี่ยมแบบจีน ฐานหน้ากระดานกลมและมาลัยเถาสามชั้น ปากระฆังมีลวดลายปูนปั้นตกแต่ง องค์ระฆังกลม ส่วนยอดเป็นบัลลังก์สี่เหลี่ยมและเสาหินรองรับปล้องไฉน

               - เจดีย์มอญ  ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ ตามประวัติกล่าวว่า พระครูกร่าง รมนโณ ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างเจดีย์มอญขนาดใหญ่ไว้หน้าอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลมก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมกึ่งกลางฐานแต่ละด้านเป็นซุ้มโค้ง ภายในมีเทวดาปูนปั้น มุมทั้งสี่เป็นรูปครุฑ ฐานเจดีย์เป็นฐานหน้ากระดานรองรับบัวถลาห้าชั้น ส่วนยอดมีบัลลังก์เป็นรูปสี่เหลี่ยมประดับลวดลายปูนปั้น รองรับปล้องไฉนขนาดใหญ่และมีเม็ดน้ำค้าง ยอดมีฉัตรโลหะปักคลุมอยู่
               - เสาหงส์  ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด เป็นเสาไม้แปดเหลี่ยม หัวเสาตกแต่งเป็นหัวเปิด มีเสาประกบด้านข้างทั้งสองด้าน

           วัดพันธุวงษ์  ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดเก่า ชาวบ้านเกาะได้ร่วมใจกันบูรณะขึ้นใหม่ และประกาศเป็นวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗
               - อุโบสถ (หลังเก่า)  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องซีเมนต์หางแหลม ลดชั้นละสองแถว เครื่องลำยองเป็นไม้แกะสลักประดับกระจก หน้าบันลายก้านขดตรงกลางเป็นลายประจำ ที่หน้าบันส่วนล่างและหน้าอุดปีกนก ด้านหน้าและหลังมีมุขลดด้านละแห่ง ด้านข้างมีชายคาปีกนก รองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูนสี่เหลี่ยมรูปบัวแวง มีบันไดขึ้นลงสองด้านมีระเบียงทางเดินโดยรอบอาคาร ผนังก่ออิฐถือปูนอยู่บนฐานบัว มีหน้าต่างข้าละห้าบาน สันนิษฐานว่า เดิมซุ้มประตูและหน้าต่างทั้งหมดประดับด้วยลายปูนปั้น
               - เสมาและซุ้มเสมา  ในเสมาทำด้วยหินทรายสีแดงอยู่บนฐานบัว ส่วนซุ้มก่ออิฐถือปูนทรงเจดีย์ ยอดซุ้มเป็นชุดบัวกลุ่ม บัวเถา

           วัดราษฎร์บำรุง (วัดหงอนไก่)  ตั้งอยู่ที่บ้านคลองมะเดื่อ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่โล่ง ตั้งเป็นสำนักสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ อุโบสถหลังเก่าสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ผูกพัทธสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐

               - อุโบสถหลังเก่า  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก หลังคาเครื่องไม้มุ่งกระเบื้องว่าว มีพาไล (เรือนหรือเพิงโถงต่อจากเรือนเดิมใช้เป็นที่นั่งเล่นหรืออื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่หลังนอน) มุงสังกะสียื่นออกมา ทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละห้อง รองรับโครงหลังคาด้วยเสาไม้กลม ช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้แบบมอญ หน้าบันตกแต่งลวดลายปูนปั้น แบ่งออกเป็นสองส่วน ด้านบนเป็นรูปเทพพนม ถัดลงมาเป็นหงส์สองตัวหันหน้าเข้าหากัน มีลวดลายดอกไม้ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามเคลือบสี และเครื่องลายครามแบบจีน เป็นอิทธิพลศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
           ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละสองบาน ซุ้มประตูและหน้าต่างมีปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายแดงศิลปะอยุธยาตอนปลาย

           วัดหงส์อรุณรัศมี (วัดน้อยนางหงส์)  อยู่ในเขตตำบลท่าจีน อำเภอเมือง ฯ สันนิษฐานว่า สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เดิมชื่อวัดน้อยนางหงส์
               - อุโบสถ  เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย คล้ายเรือสำเภามีเจดีย์เก็บอัฐิ เรียงรายอยู่บนฐานของโบสถ์ อิฐิที่ใช้ก่อสร้างนำมาจากประเทศจีน แช่ด้วยน้ำมันตังอิ๊ว ก่อนมาสร้างเพื่อให้อิฐไม่ละลายน้ำ หน้าบันประดับลวดลายด้วยเครื่องถ้วยจีน
               - อนุสรณ์สถานท่านจี  มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างแบบยุโรป สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้สร้างวัดนี้

           วัดใหญ่บ้านบ่อ  สันนิษฐานว่า สร้างก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ มีพื้นที่ของวัดกว้างขวางมีถาวรวัตถุที่มีอายุเก่าแก่เช่น โบสถ์ วิหาร หอไตรและเจดีย์ หลังคาอาคารต่าง ๆ ภายในวัดส่วนใหญ่จะมุงด้วยกระเบื้องรามัญ
               - อุโบสถ  หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในมีพระประธานปูนปั้นปิดทอง หน้าตักกว้างสี่ศอก มีอัครสาวกนั่งอยู่สองข้างซ้าย - ขวา พื้นอุโบสถเป็นหินอ่อน ฝาผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน ตัวอุโบสถยาวหกวา สองศอก กว้างสี่วา ที่ผนังโบสถ์มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ปูนปั้นหนึ่งองค์ โดยทำเป็นคูหาลึกเข้าไปหลังคาโบสถ์ มุงด้วยกระเบื้องรามัญ มีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนบรมราชาภิเษกอยู่หนึ่งรูป หน้าโบสถ์มีเจดีย์สององค์ รูปร่างคล้ายพระปฐมเจดีย์
               - หอไตร  สร้างอยู่กลางสระน้ำ ซึ่งหล่อและเทคอนกรีตยาว หกวา สองศอก ภายในหอไตรแบ่งออกเป็นสามห้องเล็ก ๆ ฝากระดานเฟี้ยม มีพาไลโดยรอบ มีตู้พระธรรมลายรดน้ำอยู่หนึ่งใบ

           วัดป้อมวิเชียรโชติการาม  อยู่ในเขตตำบลมหาชัย อำเภอเมือง ฯ เดิมโบสถ์สร้างด้วยไม้ มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปสลักจากศิลาแลง ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อแดง ซึ่งชาวบ้านเคารพนับถือกันมาก
           เนื่องจากเดิมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวัดสร้างด้วยไม้ ทำให้มีการเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา จึงได้มีการปรับปรุงให้เป็นคอนกรีต ลักษณะทรงไทยที่สวยงาม
           จากการที่วัดแห่งนี้ได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จึงได้รับการยกย่องจากกรมการศาสนา ให้เป็นวัดพัฒนาตัวย่าง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ และเป็นวัดพัฒนาดีเด่น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙

           วัดท่ากระบือ  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ที่บ้านบางยาง ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน เดิมเป็นสำนักสงฆ์ตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัด
               - อุโบสถ  สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้นสองชั้น ซ้อนกันชั้นละสองแถว ช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ หน้าบันเป็นไม้แกะสลักประดับกระจกสี ด้านหน้ามีมุขลดรองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูนสี่เหลี่ยม ด้านข้างมีคันทวย ผนังก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานบัว ด้านหน้ามีประตูทางเข้าสองประตู ซุ้มประตูทรงมณฑป ผนังตอนบนระหว่างซุ้มหน้าต่างมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง รอบอาคารเป็นระเบียงทางเดินมีบันไดทางขึ้นลงด้านหน้า และด้านข้าง
           ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
               - วิหาร  มีอยู่สองหลังตั้งอยู่ด้านข้างอุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้นสองชั้น ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ ด้านหน้าลดมุขรองรับโครงหลังคาด้วยเสาสี่ต้น ด้านข้างมีชายคาปีกนก และคันทวย ผนังก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานบัว
               - เจดีย์ราย  ตั้งอยู่ด้านหน้าอุโบสถ จำนวนสี่องค์ เจดีย์ในเรือสามองค์ ด้านข้างวิหารแปดองค์ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ต่อขึ้นไปเป็นชุดฐานสิงห์ มีบัวรองรับปากระฆัง องค์ระฆังย่อไม้สิบสอง ส่วยยอดเป็นบัวกลุ่มเถา ปล้องไฉนและปลียอด
               - พระปรางค์  มีจำนวนสี่องค์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงปรางค์ก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานเขียง ที่ฐานมีคำอุทิศจารึกบนแผ่นหินอ่อน ต่อขึ้นไปเป็นชุดฐานสิงห์เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้งสี่ทิศ ยอดปรางค์มีนภศูลโลหะปักอยู่
               - ศาลาการเปรียญ  เป็นอาคารทรงไทยยกพื้นสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีชายคาปีกนกโดยรอบ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒
               - ศาลาไม้ทรงจตุรมุข  ด้านล่างโปร่ง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง หน้าบันชายคา และไม้คอสูงตกแต่งด้วยไม้ลายฉลุ

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์