ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

การทำมาหากิน
          ในอดีตเมืองเพชรบุรีได้ชื่อว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยต้นตาลและนาข้าว การผลิตน้ำตาลโตนดส่งเป็นสินค้าออกทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด และต่อมายังทำหม้อตาลสำหรับใส่น้ำตาลโตนดเป็นสินค้าออกควบคู่ไปด้วย ส่วนข้าวโดยเฉพาะข้าวพันธุ์ปิ่นแก้วของเมืองเพชร ซึ่งส่งเข้าประกวดได้เป็นข้าวพันธุ์ดีเลิศที่หนึ่งของโลก ทำให้ข้าวเกรียบงาของเมืองเพชรมีชื่อเสียงไปด้วย ในนามของข้าวเกรียบปิ่นแก้ว
          ทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดเป็นฝั่งทะเลโดยตลอด ทำให้มีการประกอบอาชีพทำนาเกลือ ส่งออกไปจำหน่ายเป็นสินค้าออกที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง

          การทำน้ำตาลโตนด ผลผลิตน้ำตาลจากต้นตาลอันเป็นสินค้าหลักเพื่อการส่งออกของเมืองเพชรบุรี เป็นที่รู้จักกันดีจนมีคำกล่าวว่า ตาลโตนดมีมากที่สุดในเมืองเพชรบุรี
          แหล่งน้ำตาลที่มีชื่อเสียงได้แก่ บ้านโรงเข้ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกใหล้กับเขาบันไดอิฐ น้ำตาลที่ผลิตได้จะมีรสหวาน หอม น่ารับประทาน จนมีคำกล่าวว่า
          ข้าวเม่าดอนคาน น้ำตาลโรงเข้ ขนมจีนบ้านนา น้ำยาปากทะเล
          นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลบ้านหนองไม้เหลือง ซึ่งมีรสหวานกลมกล่อมและออกรสเค็มเล็กน้อย อาจจะอยู่ใกล้ทะเล นับเป็นเอกลักษณ์ของน้ำตาลฝั่งตะวันออกที่แตกต่างไปจากน้ำตาลฝั่งตะวันตก
          การทำน้ำตาลโตนด  ต้องเริ่มทำตามฤดูกาลในช่วงเวลาที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เมื่อปลีตาลแทงยอดอ่อน ซึ่งจะอยู่ประมาณเดือนพฤษภาคม มีระยะเวลาประมาณ ๔ - ๕ เดือน ที่จะปาดน้ำตาล เมื่อย่างเข้าฤดูฝนจะถึงเวลาที่ตาลเข้าก้าน เรียกว่า หมดงวงตาล
          อุปกรณ์ในการทำน้ำตาลโตนดมีดังนี้

               -  กระบอกตาล  ใช้ไม้ไผ่สีสุกปล้องค่อนข้างใหญ่ เป็นไม้แก่อายุอย่างน้อยสองปี เลือกเอาส่วนที่อยู่ตอนกลางของลำต้น จากนั้นตัดข้างหนึ่งทำเป็นปากกระบอก เจาะส่วนที่เป็นกระบอกให้พอดีสำหรับร้อยเชือกผูกกระบอก เพื่อนำกระบอกไปรองน้ำตาลจะใช้เชือกผูกกระบอกไว้กับงวงตาล ปกติกระบอกตาลหนึ่งกระบอกใช้รองงวงตาลเพียงหนึ่งที แต่ถ้างวงตาลใดมีน้ำตาลหยดมาก อาจต้องใช้กระบอกใหญ่พิเศษ ที่มีความยาวสองปล้องไม้ไผ่ เรียกว่า กะเลิง
          ก่อนนำกระบอกตาลไปรองน้ำตาลต้องทำการรมควันกระบอกตาลเสียก่อน เพื่อให้กระบอกแห้ง และป้องกันน้ำตาลบูด ทำให้มีรสเปรี้ยว ในการนี้จะต้องใช้ไม้พะยอมสับใส่ไปในกระบอกก่อนเพื่อให้น้ำตาลไม่บูดเสียง่าย และปรัปให้น้ำตาลแห้งเร็วเวลานำไปเคี่ยวไฟ
          การรองน้ำตาลอาจเริ่มในตอนบ่ายหรือตอนเย็นจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น จึงนำเอากระบอกตาลลง ในน้ำตาลอาจมีแมลงตกลงไปในกระบอกตาล เช่น แมลงภู่ ผึ้ง ตัวต่อ ตัวแตน และยังมีดอกตาลด้วย จึงต้องมีตะแกรงเพื่อกรองสิ่งแปลกปลอมที่ค้างอยู่
               -  เชือกสายกระบอก  ใช้เชือกที่ทำจากปอกระเจา เพื่อความคงทน
          มีดปาดตาล  ใบมีดค่อนข้างกว้าง กว้างเกือบเท่าฝ่ามือ มีความบางและคมมาก ถ้ามีดไม่คมพอจะทำให้ผิวหน้าของตาลช้ำเสียได้ ส่วนที่เป็นด้ามมีดจะใช้เป็นที่สำหรับแขวนเชือกผูกกระบอกตาล ซึ่งอาจมีจำนวนกถึง ๖ - ๘ กระบอก

               -  พะอง  เป็นลำไม้ไผ่สำหรับพาดขึ้นต้นตาลต่างบันได ใช้ไม้ไผ่ป่าทั้งลำมีตาทุกข้อลิดปลายออก เหลือยาวพอสำหรับเหยียบไต่เป็นบันไดขึ้นสู่ยอดต้นตาล ต้นตาลที่สูงมากต้องใช้พะองมากลำ พะองที่สูงมากจะใช้ไม้ไผ่ประมาณสี่ลำ พะอง ๆ หนึ่งยาวประมาณสิบศอกถึงสามวา
               -  ตอกรัดตาล  คือตอกสำหรับมัดพะองให้ติดกับต้นตาล นิยมใช้ตอกที่จักได้จากผิวนอกและชั้นรองของไผ่สีสุก บางเส้นยาวประมาณ ๓ - ๔ เมตร มัดยึดพะองให้ติดกับต้นตาลให้แน่น โดยเริ่มจากโคนต้นตาลก่อน แล้วไล่ไปตามลำดับจนถึงยอดตาล ต้องต่อให้พะองแต่ละลำได้ระยะหรือจังหวะก้าวขึ้นและลงด้วย
               -  เตาเคี่ยวตาล  นิยมก่ออิฐเรียงแถวเจาะรูเตา ๓ - ๕ รู ที่กระทะที่อยู่ในสุดเป็นเตาที่ได้รับความร้อนสูง น้ำตาลที่ถูกเคี่ยวจะเดือดเร็วที่สุดเรียกว่า ปุดเร็ว เมื่อยกกระทะลงมาจะคนน้ำตาลด้วยไม้สำหรับคนน้ำตาล จะได้น้ำตาลเหลวข้นพร้อมที่จะหยอดทำปึก หรือเทรวมลงโอ่งหรือลงทะนบต่อไป กระทะน้ำตาลที่เคี่ยวอยู่ตรงกลางเท่ากับเป็นกระทะสำรอง จึงได้รับความร้อนไม่มากนัก เป็นน้ำตาลอุ่น ต้องย้ายไปเคี่ยวที่เตาด้านในสุดแทน เพื่อเคี่ยวจนเป็นน้ำตาลโตนดต่อไป
          ส่วนหน้าสุดของเตาเคี่ยวตาลไม่มีช่องสำหรับตั้งกระทะเหมือนอยู่ด้านใน แต่ปิดส่วนบนของเตาไว้เป็นพื้นเรียบ เจาะรูเป็นแถว ๆ เพื่อคว่ำกระบอกตาลให้รมควันจากไอร้อนของเตาข้างล่าง เรียกว่า รมกระบอกตาล
               -  กระทะเคี่ยวตาล  ใช้กระทะเหล็กใบบัวขนาดใหญ่ปากกว้างประมาณ สามฟุต นอกจากนี้ต้องมีภาชนะสำหรับตักน้ำตาลใส น้ำตาลข้น เป็นกาลามะพร้าวขนาดใหญ่ต่อด้ามเรียกว่า กะโหลก หรืออาจใช่ไม้เบา ๆ ขุดเป็นหลุมเรียกว่า โพล่
          การกรองน้ำตาลใสก่อนนำลงมาเคี่ยวในกระทะ ใช้ภาชนะคล้ายกระชอนก้นลึก สานด้วยไม้ไผ่ตาห่าง ๆ รองด้านบนด้วยผ้าขาวบาง อาจใช้ฟางข้าวหรือตะแกรงก็ได้ จากนั้นเทน้ำตาลใสจากกระบอกผ่านที่กรองลงสู่กระทะ
               -  เชื้อเพลืงที่เคี่ยวน้ำตาล  เดิมใช้ใบสะแกที่มีอยู่ในพื้นที่ เมื่อไม้สะแกขาดแคลนจึงหันมาใช้วัสดุอื่นแทนเช่น ใบไผ่ ใบไม้ ใบหญ้า นำมาผสมกับแกลบขี้เลื่อยชานอ้อย กะลามะพร้าว ซังข้าวโพด กาบมะพร้าว และซังขาวในนา เป็นต้น
               -  ขั้นตอนการทำน้ำตาลโตนด  ต้องเลือกดูงวงตาลที่เหมาะสมสำหรับทำน้ำตาลโตนด ต้นหนึ่ง ๆ อาจมีมากถึง ๘ งวง แต่อาจเลือกเพียง ๔ - ๕ งวง สำหรับทำน้ำตาลเท่านั้น แล้วนำกระบอกตาลผูกทิ้งไว้ตั้งแต่บ่ายหรือเย็น และจะขึ้นไปปลดกระบอกตาลในเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น วิธีที่จะได้น้ำตาลจากงวงตาลต้องมีการนวดตาลและแช่งวงตาลก่อน การนวดใช้ไม้คาบทำจากไม้เนื้อแข็ง การแช่งวงตาลใช่น้ำใส่กระบอกแช่ไว้หลังจากนั้น ใช้มีดปาดตาลฝานหรือปาดงวงตาลบาง ๆ ก็จะมีน้ำตาลใส ๆ ไหลออกมา ใช้กระบอกตาลรองน้ำตาลที่ไหลออกมานั้น ถ้าไม่มีน้ำตาลไหลออกมาต้องเพิ่มเวลานวดและแช่ตาล จากสองวันเป็นสามถึงสี่วัน แต่ถ้าแช่มากกว่านี้จะทำให้งวงตาลเน่าและเสียได้
          การเคี่ยวน้ำตาลต้องคอยใส่ไฟให้สม่ำเสมอ และเรียงกระทะที่ ๑ - ๒ - ๓ ตามลำดับ เมื่อกระทะที่หนึ่งน้ำตาลเดือดได้ที่จึงยกลง แล้วเลื่อนกระทะใบอื่นที่อุ่นอยู่เข้าที่เคี่ยวน้ำตาลต่อไป
          การเคี่ยวน้ำตาลใสให้มีความข้นจนเหนียวเหมือนยางมะตูมเรียกว่า น้ำตาลปูด น้ำตาลจะมีสีคล้ำและจะค่อย ๆ กลายเป็นสีขาวนวล เมื่อใช้ไม้คนน้ำตาลจนกระทั่งมีความข้นจับกันเป็นก้อน พร้อมที่จะตักใส่พิมพ์ทำปึกเรียกว่า น้ำตาลปึก อาจจะใส่ทะนบ หรือปีปก็ได้ หากใช้เวลาเคี่ยวนาน น้ำตาลที่ได้จะมีสีขาวนวลและแห้ง

          การทำนาเกลือ  เพชรบุรีเป็นแหล่งผลิตเกลือสมุทรที่สำคัญเมืองหนึ่งในสี่เมืองของไทยมาแต่โบราณ การทำเกลือสมุทรเป็นอาชีพหนึ่งของชาวบ้านแหลม
          กระบวนการผลิตเกลือสมุทรต้องใช้พื้นที่ในการทำนาเกลือ และต้องการแสงแดดเผาน้ำทะเลให้เข้มข้นจนตกผลึกเป็นเม็ดเกลือ การทำนาเกลือต้องมีพื้นที่ประมาณ ๓๐ ไร่ ขึ้นไป เป็นพื้นที่อยู่ใกล้ทะเลหรือชายคลองที่สามารถดันน้ำเข้าแปลงนาเกลือได้ แปลงนาเกลือแต่ละส่วนเรียกว่า กระทง
          พื้นที่ที่สามารถชักน้ำหรือดันน้ำอย่างต่อเนื่องกันในแต่ละกระทงเรียกว่า นายืน  หากพื้นที่ไม่ต่อเนื่องกันในแต่ละกระทง ต้องดันน้ำสลับไปมาเรียกว่า นาวน  ทั้งนาผืนและนาวนจะต้องจัดเตรียมผืนนาเกลือเชื่อมโยงกันถึงห้าส่วน เพราะจะต้องมีการดันน้ำจากส่วนแรกไปถึงส่วนที่ห้าตามลำดับ โดยใช้กังหันลมหมุนเพื่อดันน้ำ โดยเริ่มจากส่วนแรกเรียกว่า วังน้ำ ซึ่งเป็นแปลงสำหรับเก็บกักน้ำทะเล ชาวนาเกลือเรียกว่า น้ำอ่อน
          การทำนาเกลือเริ่มประมาณเดือนตุลาคม และจะเริ่มปล่อนน้ำเข้าสู่นาตาก ซึ่งเป็นส่วนที่สองในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งพ้นหน้าฝนแล้ว จากนั้นก็จะดันน้ำเข้าสู่นาแผ่ เป็นส่วนที่สาม พักไว้ประมาณ ๕ - ๗ วัน แสงแดดจะค่อย ๆ เผาน้ำให้ค่อย ๆ งวด มีความเค็มเพิ่มขึ้น จะมีความเค็มประมาณ ๒๒ - ๒๔ องศา เดิมชาวนาเกลือจะใช้วิธีสังเกตุความเค็มจากคราบสีน้ำที่จับอยู่ริมกระทงนา หากได้ระดับความเค็มพร้อมจะปล่อยเข้าสู่นาเกลือ ส่วนที่สามเรียกว่า นาวาง  บางแห่งเรียกนาแปลง เป็นการเตรียมปรับพื้นที่เพื่อรองรับน้ำจากนาเกลือส่วนที่ห้าเรียกว่า นาดอก ที่จะกลายเป็นเม็ดเกลือในที่สุด  จากนั้นจะใช้วัสดุกลิ้งบดทับพื้นผิวดินให้เรียบแนบไม่มีรอยแตกประมาณ ๔ - ๕ ครั้ง ๆ ละ ๓ - ๕ วัน การกลิ้งบดแต่ละครั้งควรห่างกันประมาณ ๕ - ๗ วัน ตามสภาพของผิวดิน เมื่อปล่อยน้ำเชื้อลงมาก็จะค่อย ๆ ตกผลึกเป็นเม็ดเกลือ มีค่าความเค็มประมาณ ๘๒ - ๘๗ %
          กระบวนการผลิตเกลือ ต้องอาศัยธรรมชาติโดยเฉพาะแสงแดด ตั้งแต่เริ่มกระบวนการจนเป็นเม็ดเกลือ ใช้เวลาประมาณ ๔ - ๕ เดือน หากมีฝนตกหรือน้ำท่วมกระบวนการผลิตต้องใช้เวลามากกว่านี้ หรือบางครั้งอาจไม่ได้เกลือเลย

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์