ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดนครศรีธรรมราช >พระพุทธสิหิงค์/Phra Phuttha Sihing 

พระพุทธสิหิงค์/ Phra Phuttha Sihing

 

พระพุทธสิหิงค์

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยาม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฉะนั้น จึงต้องนับว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศสยามอย่างแท้จริง แต่ในเมืองไทย พระพุทธรูปที่ทรงพระนามว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นมีอยู่ ๓ องค์ ๓ แห่ง คือ

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ ข้างศาลากลาง จ.นครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ เป็นพระพุทธรูปปางนั่งขัดสมาธิสูง ๙๖ ซม. หน้าตักกว้าง ๖๖ ซม. หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปิดทองคำเปลว พระสรีระได้สัดส่วนและงดงามที่สุดจะหา พระพุทธโบราณในเมืองไทยที่งดงาม และได้สัดส่วนเทียมพระพุทธสิหิงค์องค์นี้มิได้เลย ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ องค์นี้ศิลปะสุโขทัยประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์ในกรุงเทพฯ และเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปที่งดงามมาก องค์นี้ศิลปะเชียงแสน

พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสัมฤทธิ์ปิดทองคำเปลว หนักตักกว้าง ๔๐ นิ้ว ศิลปะเชียงแสนรุ่นแรก ปัจจุบันประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์เมืองเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แบบขนมต้ม มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน หล่อด้วยสัมฤทธ์ ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล ประดิษฐานอยู่ในบุษบกไม้ ณ หอพระ ระหว่างศาลกับศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์นี้ศิลปะศรีวิชัย

พระพุทธสิหิงค์ทั้ง ๓ องค์ ๓ สมัย ๓ ภาค สร้างในสมัยเดียวกัน ผู้สร้างคือ มหากษัตริย์ลังกา ๓ พระองค์ ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ.๗๐๐

ตำนานของพระโพธิรังสีกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่ เจ้าลังกา ๓ พระองค์ ได้ร่วมพระทัยกันพร้อมด้วยพระอรหันต์ใน เกาะลังกาสร้างขึ้นราว พ.ศ.๗๐๐ โดยหมายจะให้ได้พระพุทธรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆ ถึงกับตำนานกล่าวว่า พญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้ามาแปลงกายให้ดูเป็นตัวอย่าง

มาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ.๑๘๒๐-๑๘๖๐) มีพระภิกษุลังการ เข้าสู่ประเทศสยาม พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทราบกิติศัพท์เลื่องชื่อ ว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีพุทธลักษณะที่งดงาม พ่อขุนรามคำแหง จึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช แต่งทูตเชิญพระสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากเจ้ากรุงลังกา

เนื่องด้วยว่าเป็นเมืองที่มีการติดต่อสัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็ได้ตามพระราชประสงค์ อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงานพิธีสมโภชใหญ่โตเป็นเวลา ๗ วัน พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่นจำลองไว้บูชา ๑ องค์ โดยกล่าวไว้ว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับ พระพุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราช ด้วยพระองค์เอง แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยทุกพระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา

พระพุทธสิหิงค์ ที่ประดิษฐานอยู่ที่นครศรีธรรมราชนี้ มีลักษณะ ตามแบบสกุลช่างท้องถิ่น เรียกว่า แบบขนมต้ม คือมีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิสั้นระดับพระถัน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ ชาวนครศรีธรรมราชเป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูป และสัดส่วนที่งดงามมาก

ครั้งเมื่อได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น ทางสุโขทัยอ่อนกำลังลง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้สุโขทัยไว้ในอำนาจเมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๐ พญาไสยลือไทย เจ้ากรุงสุโขทัย ถูกลดตำแหน่งเป็นเจ้าประเทศราช ลงมาครองพิษณุโลก จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานไว้ที่พิษณุโลกด้วย เมื่อพระยาไสยลือไทย สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ก็ทรงโปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์โดยมาทางเรือลงมาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา

เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยไว้ในอำนาจแล้ว ได้จัดแบ่งการปกครอง ออกเป็นสองมณฑลคือเมืองตาก, สวรรคโลก กับพิษณุโลก เป็นมณฑลสอง ให้เจ้านายในราชวงศ์พระร่วงปกครอง พระยาธิษฐิระ ผู้ครองกำแพงเพชรนั้นปรากฏว่า ราชบุตรเลี้ยงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ปรารถนาจะได้พระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานไว้เมืองกำแพงเพชร จึงให้มเหสีผู้เป็นมารดาตนขอพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แล้วติดสินบนขุนพุทธบาลผู้รักษาพระ เลือกพระพุทธสิหิงค์ส่งไป

เรื่องมีต่อว่า ใน พ.ศ.๑๙๓๑ นี้เองมีพระภิกษุรูปหนึ่งในเมืองกำแพงเพชรปั้นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ด้วยขี้ผึ้ง และนำพระพุทธรูปจำลองนี้ไปเชียงราย เมื่อเจ้ามหาพรหมผู้ครองนครเชียงรายได้เห็นจึงชวนเจ้ากือนา พี่ชายผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกองทัพไปกำแพงเพชรและ ขู่ขอพระพุทธสิหิงค์ พระยาธิษฐิระต้องยอมยกพระพุทธสิหิงค์ให้ไป พระพุทธสิหิงค์จึงได้ไปประดิษฐานอยู่เชียงราย ในปี พ.ศ.๑๙๓๑

พอถึง พ.ศ.๑๙๕๐ เชียงใหม่กับเชียงรายเกิดรบกัน เชียงรายแพ้ เจ้าแสนเมืองมาเจ้านครเชียงใหม่ก็อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานอยู่เชียงใหม่ราว ๒๕๕ ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีเมืองเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ.๒๒๐๕ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพชรกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ ๒ เชียงใหม่เป็นพวกพ้องพม่า จึงสามารถอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐

มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเชียงใหม่ได้รวมอยู่กับคนไทยแล้ว พม่ายกกองทัพมาล้อมเชียงใหม่ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่าพ้นเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระกรมพระราชวังบวรฯ จึงได้ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มากรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๓๓๔) ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยนัยนี้ นับว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของสยามประเทศ มาตั้งแต่ต้นประวัติกาล

ผู้แต่งตำนานคือพระโพธิรังสี ได้พรรณนาอานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ไว้เป็นอันมาก มีข้อที่น่าฟังตอนหนึ่งกล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์หามีชีวิตได้ก็จริง แต่มีอิทธานุภาพด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ อธิษฐานพละของพระอรหันต์ อธิษฐานพละของเจ้าลังกาหลายพระองค์ และศาสนพละของพระพุทธเจ้า" ซึ่งหมายความว่ากำลังใจของพระอรหันต์ และกำลังใจของเจ้าลังกาพร้อมทั้งกำลังแห่งพระพุทธศาสนา กระทำให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงอานุภาพ

อีกตอนหนึ่งพระโพธิรังสี กล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์เมื่อประทับอยู่ ณ ที่ใด ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดั่งดวงประทีปชัชวาล เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่"

ในส่วนของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ซึ่งได้รวบรวมตำนาน พระพุทธสิหิงค์เองมีความเชื่อมั่นในอานุภาพ ของพระพุทธสิหิงค์อยู่มาก "อย่างน้อยก็สามารถบำบัดทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจท้อถอยหมดมานะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้าได้มาจุดธูปเทียนบูชาและนั่งนิ่งๆ มองดูพระองค์สัก ๑๐ นาที ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่หวาดกลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านจะกลับขยัน ผู้ที่หมดหวังจะกลับมีความหวัง"

คุณานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ดังกล่าวมานี้ กระทำให้ท่านเชื่อเหตุผลของ พระโพธิรังสีว่าอธิษฐานพละ คือกำลังใจของพระอรหันต์ และเจ้าลังกาผู้สร้างพระพุทธสิหิงค์ได้เข้าไปอยู่ในองค์พระพุทธสิ หิงค์พร้อมทั้งศาสนพละของพระพุทธเจ้า และข้อที่พระโพธิรังสีกล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์ประทับอยู่ใดก็เหมือนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น"

ข้อนี้ก็สมจริง ใครที่ได้เห็น พระพุทธเจ้าแม้แต่ยังมิได้ฟังธรรมเทศนาเลย ก็มีความสบายใจในทันทีที่ได้เห็นผู้ใดที่ได้เห็น พระพุทธสิหิงค์ย่อมได้รับผลอย่างเดียวกัน พระพุทธสิหิงค์เป็นที่เคารพสักการะบูชาของ องค์พระมหากษัตริย์ ของประชาชนชาวสยามมาเป็นเวลาช้านาน จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของสยามประเทศเลยทีเดียว



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวพระพุทธสิหิงค์

 
นครศรีธรรมราช/Information of NAKHONSITHAMMARAT

  Phra Phuttha Sihing
is housed in the Phra Phuttha Sihing hall near the Provincial Hall. This sacred image was believed to
have been ordered by the king of Lanka in 157 AD and was brought to Thailand during the reign of King
Ramkhamhaeng the Great. There are currently 3 similar images in Thailand which are at the National
Museum in Bangkok, Wat Phra Sing in Chiang Mai and this image in Nakhon Si Thammarat

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

นครศรีธรรมราช แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอขนอม


ถ้ำเขาวังทอง

Khao Wang Thongcave
(นครศรีธรรมราช)


เขาพลายดำ
Phrai Dam Hill
(นครศรีธรรมราช)


หาดในเพลา
Nai Phlao Beach
(นครศรีธรรมราช)


หาดหน้าด่าน
Na Dan Beach
(นครศรีธรรมราช)


หาดในเปร็ต

Nai Praet Beach
(นครศรีธรรมราช)


อ่าวท้องหยี

Ao Thong Yi
(นครศรีธรรมราช)


อ่าวท้องยาง

Thong Yang Beach
(นครศรีธรรมราช)

วัดสุวรรณบรรพต
Wat Suwan Banphot

(นครศรีธรรมราช)


วัดกระดังงา

Wat Kradangnga
(นครศรีธรรมราช)


วัดเจดีย์หลวง
Wat Chedi Luang

(นครศรีธรรมราช)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทุ่งสง


น้ำตกเขานัน
Khao Nan Waterfall

(นครศรีธรรมราช)


น้ำตกปลิว

Plio Waterfall
(นครศรีธรรมราช)
 


หาดสระบัว

Sa Bua Beach
(นครศรีธรรมราช)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอพรหมคีรี


น้ำตกพรหมโลก

Phrom Lok waterfall
(นครศรีธรรมราช)


วัดเขาขุนพนม

Wat Khao Khun Phanom
(นครศรีธรรมราช)


บ้านคีรีวง
Ban Khiri Wong
(นครศรีธรรมราช)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอลานสกา


น้ำตกกรุงชิง
Krung Ching waterfall
(นครศรีธรรมราช)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสิชล


น้ำตกสิชล

Sichon Waterfall
(นครศรีธรรมราช)


หาดหินงาม

Hin Ngam beach
(นครศรีธรรมราช)


หาดสิชล
Sichon beach
(นครศรีธรรมราช)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


พระพุทธสิหิงค์

Phra Phuttha Sihing
(นครศรีธรรมราช)


วัดเสมาชัย

Wat Samao Chai
(นครศรีธรรมราช)


วัดเสมาเมือง

Wat Sema Mueang
(นครศรีธรรมราช)


หอพระนารายณ์

Ho Phra Narai
(นครศรีธรรมราช)


พระวิหารสูง

Phra Wihan Sung
(นครศรีธรรมราช)


เจดีย์ยักษ์

Chedi Yak
(นครศรีธรรมราช)


กำแพงเมืองเก่า

Kamphaeng Mueang Kao
(นครศรีธรรมราช)
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช/map of NAKHONSITHAMMARAT
โรงแรมจังหวัดนครศรีธรรมราช/Hotel of NAKHONSITHAMMARAT

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์