ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดนครสวรรค์ >บ้านโคกไม้เดน/Baan Kho Mai Den Ancient City 

บ้านโคกไม้เดน/ Baan Kho Mai Den Ancient City

 

บ้านโคกไม้เดน เป็นสถานที่ที่มีโบราณวัตถุ ซึ่งแสดงถึงเมืองเก่าแก่สมัยสุโขทัย ได้แก่ ซากกำแพงเนินดิน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ขุดพบโบราณวัตถุเป็นรูปปั้นช้างพญาฉัททันต์ ซึ่งมีอายุกว่า 1,000 ปี คำว่า "โคกไม้เดน" เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ศิลป โบราณที่บ้านโคกไม้เดน เช่น รูปปั้นต่าง ๆ ได้ถูกนำออกแสดงที่ต่างประเทศ โดยนักโบราณคดีชาวอเมริกันและออสเตรเลีย คนสมัยเก่าเรียกบ้านโคกไม้เดนว่า "เมืองบน" สร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 ตัวเมืองบนมีลัษณะ เป็นรูปรีคล้ายหอยสังข์ขนาดยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 600 เมตร คล้ายเมืองกำแพงนครปฐมเมืองเสมาจังหวัดนคร ราชสีมา และเมืองพญาแร่จังหวัดชลบุร

ประวัติความเป็นมา

ณ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีหมู่บ้านติดต่อใกล้เคียงกันหนาแน่นหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านโคกไม้เดน, บ้านท่าน้ำอ้อย, บ้านหางน้ำบ้านบน, บ้านหางน้ำหนองแขม ฯลฯณ บริเวณหมู่บ้านโคกไม้เดน, หางน้ำบ้านบน และท่าน้ำอ้อยนั้น ได้พบโบราณสถานและพบบริเวณคูเมืองเก่าอยู่ใกล้วัดบ้านบน ระหว่างถนนพหลโยธินและวัดพระปรางค์เหลืองเมื่อสอบถามชาวบ้านดู ก็ได้รับบอกไปตามชื่อหมู่บ้านและวัดว่า “เมืองบน”

ถ้าเป็นเมืองบน ก็น่าจะมีเมืองล่างเป็นของคู่กัน บังเอิญมีผู้จำคำพังเพยเก่าแก่พูดกันมาติดปากว่า “ฝูงกษัตริย์เมืองบน ฝูงคนลพบุรี…” (จากความจำของ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร) ถ้าเมืองลพบุรีเป็นเมืองล่างได้ เมืองที่พบโบราณสถานและคูเมืองนี้ ก็อาจเป็นเมืองบนได้กระมัง

แต่ก็มีท่านผู้สูงอายุบางท่านเล่าว่า เดิมบริเวณนี้เป็นอู่เรือสำเภา เรียกกันว่า อู่บน คู่กับ อู่ล่าง คือบ้านอู่ตะเภา ในอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เพราะเหตุนี้กระมัง ผู้ฟังที่ไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด จึงทึกทักเรียกเสียใหม่ว่า เมืองอุบล

โบราณสถานและคูเมืองดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่ตรงฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยาและตะวันตกของเทือกภูเขาโคกไม้เดน (ไม้เดน เป็นชื่อของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง มีขึ้นอยู่ทั่วไปตามภูเขา) ระหว่างกิโลเมตรที่ 307-308 ถนนพหลโยธิน

เส้นทางถนนพหลโยธินแล่นผ่านทับคูเมืองชั้นนอกด้านตะวันออกไปบางตอน และมีโบราณสถาน เข้าใจว่าเป็นฐานของพระสถูปเจดีย์อยู่ทางเชิงเขาโคกไม้เดน ด้านตะวันออกและบนยอดเขาปกล้น เท่าที่สำรวจพบแล้วมี 16 แห่ง



ต้นเหตุที่จะพบคูเมืองและโบราณสถานแห่งนี้ สืบเนื่องมาจากเมื่อกลางปีที่แล้ว ดร. ควอริตซ์ เวลส์ (H.G. Quaritch Wales) นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้มีหนังสือมาถึงข้าพเจ้า ว่าจะเข้ามาสำรวจโบราณวัตถุสถานในประเทศทางตะวันออก และจะเข้ามาประเทศไทยในราวปลายเดือนธันวาคม 2506 หรือราวต้นเดือนมกราคม 2507 แล้วดอกเตอร์เวลส์ กับภรรยาก็เดินทางผ่านประเทศมาเลเซีย และเข้ามาเมืองไทยทางปักษ์ใต้เมื่อต้นเดือนมกราคม

เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ ได้พบกับข้าพเจ้าและขอร้องให้จัดเจ้าหน้าที่พาไปตรวจดูโบราณวัตถุสถานหลายแห่ง เช่น ที่คูบัว จังหวัดราชบุรี อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และที่ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อปลายเดือนมกราคม 2507 ข้าพเจ้าก็จัดเจ้าหน้าที่และพาหนะให้นำไปทุกแห่งตามประสงค์

ณ ที่ตำบลท่าน้ำอ้อยนั้น ดอกเตอร์เวลส์มีภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งทหารอังกฤษและอเมริกันได้ถ่ายไว้เมื่อครั้งมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นแผนที่ตั้งเมืองและโบราณสถาน เมื่อดอกเตอร์เวลส์ได้ไปตรวจดูแล้ว ก็ขอขุดค้นที่บริเวณคูเมืองเพื่อพิสูจน์ดู และได้โทรเลขมาขออนุญาตขุดดูที่โบราณสถานริมวัดโคกไม้เดนด้วย

ข้าพเจ้าได้ตอบโทรเลขว่า ยินดีอนุญาตให้ขุดค้นได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องขุดค้นให้ตลอด จะทิ้งไว้ครึ่งๆกลางๆมิได้ และถ้าทุนรอนไม่พอ กรมศิลปากรยินดีช่วยเหลือ

ดอกเตอร์เวลส์เดินทางมาครั้งนี้ โดยทุนของสำนักโบราณคดีและประวัติศาสตร์ให้มาสำรวจเพื่อไปแสดงปาฐกถา คงจะไม่มีทุนรอนเพียงพอ และอยู่ไม่ได้นาน จึงมิได้ดำเนินงานขุดค้นตามที่ขออนุญาต ข้าพเจ้าได้ออกปากยืมภาพถ่ายทางอากาศจากดอกเตอร์เวลส์ให้เจ้าหน้าที่คัดลอกไว้

ต่อมาได้ปรึกษากันกับท่านผู้รู้ในกรมศิลปากร ต่างก็อยากให้สำรวจขุดค้นให้เป็นที่เปิดเผย เพื่อประโยชน์เป็นความรู้ก้าวหน้าในทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีบนผืนแผ่นดินไทย

กรมศิลปากรจึงจัดส่งเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร มีนายบรรจบ เทียมทัด หัวหน้าแผนกขุดแต่งและบูรณะ กองโบราณคดี ในกรมศิลปากรเป็นหัวหน้า ไปสำรวจและดำเนินการขุดแต่ง ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2507 โดยเริ่มขุดแต่งฐานพระสถูปเจดีย์ ข้างวัดโคกไม้เดนเป็นแห่งแรก (ได้ขุดแต่งมาจนถึงเดือนกรกฎาคม 2507เข้าฤดูฝนก็หยุด และต่อมาได้มอบให้นายระพีศักดิ์ ชัชวาลย์ เป็นหัวหน้าไปดำเนินการขุดแต่งอีกใน พ.ศ. 2507ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2508 จึงงดไว้ก่อน)

ข้าพเจ้าพร้อมด้วยหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และคณะ ได้เดินทางไปตรวจการขุดค้นและพิจารณาศิลปโบราณวัตถุ เมื่อวันที่ 8 และที่ 9 พฤษภาคม 2507 นี้ ปรากฏว่าโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ขุดพบเป็นศิลปแบบสมัยทวารวดี เช่น ที่พบที่จังหวัดนครปฐม, ที่คูบัว จังหวัดราชบุรี, ที่พงตึก จังหวัดกาญจนบุรี และที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

แต่สิ่งของที่ได้พบซึ่งไม่มากนัก ฝีมือไม่ประณีตเท่าของที่พบ ณ สถานที่ดังกล่าวข้างต้น ถึงกระนั้นก็เป็นหลักฐานสำคัญยิ่งในการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยทวารวดี

เมืองบน ซึ่ง ดร. ควอริตซ์ เวลส์ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรสำรวจพบ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2507มีลัษณะเป็นรูปรี หรือหอยสังข์ ขนาดยาวประมาณ 750 เมตร กว้าง 600 เมตร คล้ายเมืองกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, เมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา, เมืองฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์, เมืองพระรถ จังหวัดปราจีนบุรี และเมืองพญาเร่ จังหวัดชลบุรี I เรียบเรียงโดย บรรจบ เทียมทัด (พ.ศ. 2508)


เมื่อเปรียบเทียบกับตะเกียงของชาวโรมัน อายุราว 1,900 ปี ซึ่งขุดพบที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีแล้ว ลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน อันเป็นหลักฐานส่วนหนึ่งยืนยันจดหมายเหตุของชาวกรีก ชาวโรมันสมัย พ.ศ. 600-700 ซึ่งกล่าวว่าได้มีการคมนาคมติดต่อมายังแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ

ศาสตราจารย์ Ch. Picard ได้เขียนบทความเรื่องตะเกียงสำริดซึ่งค้นพบที่ตำบลพงตึก ในประเทศไทย ลงเป็นภาษาฝรั่งเศสตีพิมพ์ในวารสาร Artibus Asiae, Vol. XVIII 2 ซึ่ง มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแปลและเรียบเรียงว่า เรื่องตะเกียงสำริดนี้ ศาสตราจารย์ G.Coed?s เป็นผู้เขียนขึ้นเป็นคนแรก ตีพิมพ์ใน Journal of the Siam Society, Vol.XXI, Pt.2 บทความของศาสตราจารย์ Ch. Picard มีทั้งคล้อยตามและขัดแย้งกับบทความของศาสตราจารย์ G.Coed?s

ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่าตะเกียงสำริดที่พงตึกนี้เป็นแบบที่ทำขึ้น ณ เมืองอเล็กซานเดรีย ในประเทศอียิปต์ ในสมัยปโตเลเม คือสมัยที่ชาวกรีกเข้าปกครองประเทศอียิปต์ตั้งแต่ พ.ศ. 220-513 เหตุนั้นตะเกียงนี้คงมีอายุอยู่ก่อนคริสตกาล คือก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 เป็นแน่ ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ Picard ได้อ้างถึงภาพสลักรูปหน้าชายชราคือเทพเจ้า Silenus ซึ่งสลักอยู่อยู่บนฝาที่เปิดใส่น้ำมัน หน้านี้มีเถาวัลย์เป็นเครื่องประดับอยู่ข้างบน Silenus เป็นครูผู้เฒ่าของเทพเจ้า Dionysus ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ลัทธิการเคารพบูชา Dionysus นี้แพร่หลายอยู่ในประเทศอียิปต์ ตั้งแต่สมัยปโตเลเมลงมา เหตุนั้นจึงเป็นพยานอีกอย่างหนึ่งว่า ตะเกียงนี้คงจะได้สร้างขึ้นในสมัยนั้น

ในตอนนี้ศาสตราจารย์ Picard ได้แสดงความเห็นแตกต่างกับศาสตราจารย์ เซเดส์ ได้กล่าวว่าตะเกียงนี้คงจะใช้จุดในที่ฝังศพ เพราะเหตุว่ารูปปลา Dolphin สองตัวบนด้ามถือนั้น นอกจากจะใช้เป็นเครื่องหมายของเมืองที่อยู่ริมทะเลแล้ว ยังถือกันว่าเป็นพาหนะที่จะนำผู้ที่พระเจ้าประทานความเป็นผู้ไม่ตายให้ไปยังเกาะแห่งความสงบสุขด้วย นอกจากนี้ Silenus เองก็เป็นลูกของแผ่นดิน และเกี่ยวข้องกับกิจพิธีในการศพ ศาสตราจารย์ Picard ยอมรับความหมายของปลา Dolphin แต่กล่าวว่า Silenus นั้นมีชื่อเสียงในการเป็นทหารเอกของ Dionysus ยิ่งกว่า และยังเป็นทหารเอกของ Dionysus ในการยกทัพไปอินเดียด้วย ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ถ้าตะเกียงโรมันที่พงตึกนี้ใช้สำหรับแขวนในที่ฝังศพจริง ก็คงจะไม่ได้เป็นสินค้าส่งออกมานอกประเทศ และคงจะไม่ได้พบกันในประเทศไทยเป็นแน่

ต่อจากนั้น ศาสตราจารย์ Picard ได้กล่าวยืนยันถึงการที่ตะเกียงโรมันนี้ได้เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ โดยเทียบเคียงกับตะเกียงแบบ Copte ในประเทศอียิปต์ เลขที่ E.II. 685 ในพิพิธภัณฑสถาน Louvre กรุงปารีส ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ตะเกียงที่พงตึกนี้คงเก่ากว่าตะเกียง Copte ในพิพิธภัณฑสถาน Louver เพราะด้ามที่ตะเกียง Copte มีลวดลายเป็นรูปพรรณพฤกษามากกว่า ตะเกียงแบบนี้พบกันแพร่หลายทั่วไปในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่าในสมัยปโตเลเมนี้ ได้มีการค้าขายอย่างกว้างขวางไปจนถึงประเทศอัฟกานิสถาน และแหลมอินโดจีน เมืองอเล็กซานเดรียในประเทศอียิปต์ ก็ได้มีส่วนสำคัญในการค้าขายสมัยนี้ ศาสตราจารย์ Picard ได้กล่าวย้ำถึงข้อความที่ศาสตราจารย์เซเดส์ได้กล่าวไว้แล้วว่า ภายหลังที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้บุกรุกเข้ามาในประเทศอินเดียราวต้นพุทธศตวรรษที่ 3 แล้วก็เกิดมีการค้าขายทางเรืออย่างกว้างขวางระหว่างเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ประเทศอินเดีย และภาคตะวันออกไกล

ท้ายสุด ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ที่มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า เมืองชื่ออเล็กซานดรา ดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือทางพระพุทธศาสนา น่าจะเป็น เมืองอเล็กซาน เดรียในประเทศอียิปต์นั้นก็เป็นของน่าคิดอยู่เหมือนกัน ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ตะเกียงสำริดนี้ คงมาในสมัยปโตเลเม (พ.ศ. 220-503) ก่อนหน้าที่จะมีคณะทูตโรมันไปยังประเทศจีนใน พ.ศ. 709 ดังที่ศาสตราจารย์เซเดส์ได้กล่าวไว้ การค้นพบโบราณวัตถุที่เมืองออกแก้วในแหลมโคชินไชน่าและประเทศอินเดียเอง ก็ดูจะสนับสนุนความข้อนี้ I เรียบเรียงโดย บรรจบ เทียมทัด (พ.ศ. 2508)

เดิมทีวัดโคกไม้เดนเป็นสันรวก ซึ่งหลวงพ่อพระครูเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ได้นำพระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา มาธุดงค์ในที่นี้ 7 วัน แล้วจึงเดินทางกลับ

ต่อมา พระอาจารย์หุ่น วัดเขาแก้ว กับผู้ใหญ่ยา ปานพรม ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนบ้านโคกไม้เดน ได้ร่วมกันสร้างวัดโคกไม้เดนขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือน 12 พ.ศ. 2448 (อยู่ทางทิศตะวันออกของที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) รวมอายุวัดโคกไม้เดน ถึง พ.ศ. 2552 นับได้ 104 ปีพ.ศ. 2462 พระปลัดเอี่ยม ได้สร้างเจดีย์บนเขาขึ้นมาองค์หนึ่ง ซึ่งเห็นอยู่บนยอดเขาไม้เดนต่อมาได้ย้ายที่ตั้งวัดมาตั้งที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดเขาไม้เดน ออกโฉนดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497

ปัจจุบันมีพระอธิการธีรศักดิ์ ธีรธมฺโม เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาไม้เดน เก็บรวบรวมโบราณศิลปวัตถุที่พบบริเวณบ้านโคกไม้เดน ซึ่งมีทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ยุคสุวรรณภูมิ ราว 2,000 ปีมาแล้ว กับยุคทวารวดี ราว 1,500 ปีมาแล้วเตรียมจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่สร้างอาคาร 2 ชั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

แต่ขณะนี้ไม่มีทุนจะจัดแสดงให้เสร็จสมบูรณ์ได้ แล้วเกรงว่าโบราณศิลปวัตถุจะเสื่อมสูญไป จึงขอบอกบุญให้ผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดเขาไม้เดน บ้านโคกไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพะยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์


 


ลักษณะของสถานที่
เป็นสถานที่ที่มีโบราณวัตถุซึ่งแสดงถึงเมืองเก่าแก่สมัยสุโขทัย ได้แก่ ซากกำแพงเนินดิน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ขุดพบโบราณวัตถุเป็นรูปปั้นช้างพญาฉัททันต์ อายุกว่า1,000 ปี คำว่า"โคกไม้เดน" เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง คนสมัยเก่าเรียกบ้านโคกไม้เดนว่า เมืองบน

ข้อมูลอาหารพื้นเมือง ( ถ้ามี )
ลูกชิ้นปลากรายลวก,ปลาช่อนตะไคร้,ปลาบึกผัดฉ่า,ปลาตะโกกนึ่งบ๊วย,กุ้งแช่น้ำปลา

ของฝากของที่ระลึก
ขนมเปี๊ยะนมสด-โมจิ,น้ำผึ้ง,กุนเชียง,แหนมเนื้อ,ผลิตภัณฑ์หินอ่อน,ผลิตภัณฑ์งาช้างแกะสลัก,เครื่องจักสาน|

ข้อมูลอื่นๆ ( มีโชว์ การแสดง )
ชมโบราณสถานและโบราณวัตถุ

ที่อยู่
ต.ท่าน้ำอ้อย

การเดินทางโดยรถยนต์
ห่างจากตัวเมือง 33 กิโลเมตร ตามถนนพหลโยธิน มีทางแยกเข้าบ้านโคกไม้เดน ระยะทาง 3 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคกลางเขต 7 โทร. 0-3642-2768-9 โทรสาร 0-3642-4089 หรือหมายเลขโทรศัพท์ 1672










 


Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวบ้านโคกไม้เดน

 
นครสวรรค์/Information of NAKHONSAWAN

  Baan Kho Mai Den Ancient City
Located in Tambon Tha Nam Aoi, Amphoe Phayuhakhiri, 33 kms. from Nakhon Sawan city on highway
1 (Phaholyothin Rd.). This area represents the Sukhothai period as you can see from many ancient
historical buildings and the remains of the city wall. The officials of the department of Fine Arts
discoverd the 1,000 years old ancient sculture called "Phraya Chat Than". This village has foreign
exhibitions by the American and Australians Archaelogist. In the past, this village was called "Muang
Bon", was built in dharavafhi period from 1100-1600 B.C. The city was oval shape that looked like conch
shell, 200 meters londg and 600 meters wide, similar to Nakhom Pathom city wall, Sae Ma City in Nakhon
Ratchasima province and Phraya Rae city of Chon Buri province.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เว็บไซต์ท่องเที่ยงประจำจังหวัดนครสวรรค์ แผนที่จังหวัดนครสวรรค์
อำเภอเมือง


ถ้ำบ่อยา

Bo Ya Cave
(จังหวัดนครสวรรค์)


อุทยานสวรรค์
Sawan Park
(จังหวัดนครสวรรค์)


วัดวรนาถบรรพต(เขากบ)

Wat Woranat Banphot
(จังหวัดนครสวรรค์)


วัดเกรียงไกรกลาง

Wat Kriang Krai Klang
(จังหวัดนครสวรรค์)


บึงบอระเพ็ด
Bueng Boraphet
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอตากฟ้า


วัดถ้ำพรสวรรค์

Wat Tham Phonsawan
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอตาคลี


เขาถ้ำบุณนาค

Tham Bun Nak Hill
(จังหวัดนครสวรรค์)


วัดจันเสน

Chan Sen Ancient City
(จังหวัดนครสวรรค์)


วนอุทยานเขาหลวง
Khao Luang Forest Park
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอบรรพตพิสัย


เขาหน่อ-เขาแก้ว

Khao Nor–Khao Kaeo
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอพยุหะคีรี


บ้านโคกไม้เดน
Baan Kho Mai Den Ancient City
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอหนองบัว


เขาพระ

Khao Phra
(จังหวัดนครสวรรค์)
อำเภอโกรกพระ


เขื่อนวังรอ

Wang Ro Dam
(จังหวัดนครสวรรค์)


เขาถ้ำพระ

Tham Phra Hill
(จังหวัดนครสวรรค์)
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์/map of NAKHONSAWAN
รายชื่อโรงแรมจังหวัดนครสวรรค์/Hotel of NAKHONSAWAN

โรงแรมในจังหวัดนครสวรรค์

โรงแรมในจังหวัดนครสวรรค์ ข้อมูลเบอร์โทร ที่อยู่โรงแรม ที่พัก รีสอร์ท โฮมสเตย์ บ้านพัก ในจังหวัดนครสวรรค์

ร้านอาหารในจังหวัดนครสวรรค์

ร้านอาหารในจังหวัดนครสวรรค์ ข้อมูลเบอร์โทร ที่อยู่ร้านอาหารในจังหวัดนครสวรรค์


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์