ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดเชียงใหม่ >ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่/Old Chaing Mai Cultural Centre 

ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่/ Old Chaing Mai Cultural Centre

 

     ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนถนนสาย เชียงใหม่-หางดง เป็นที่รวมศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนาเป็นหมู่เรือนไทย ไม้สักประตูหน้าต่างประดับด้วยไม้แกะสลักอย่างสวยงาม มีร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้านและมีหมู่บ้านชาวเขาให้เที่ยวชม ส่วนในตอนกลางคืนมีบริการอาหารเย็นแบบขันโตก ซึ่งประกอบด้วยอาหารเหนือ เช่นแกงฮังเลน้ำพริกอ่อง แคบหมู เป็นต้น โดยนักท่องเทียวจะรับประทานอาหารและชมการแสดงฟ้อนพื้นเมือง ไปพร้อมๆ กัน โดยแสดงทุกวันตั้งแต่เวลา 19.00 - 21.30 น.

ลิ้มรสอาหารเมือง

    
ขันโตก เป็นภาชนะที่มีลักษณะเป็นถาดมีขาตั้งสูง ใช้วางอาหาร ใช้กันในหมู่คนที่นิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ขันโตกมีสองชนิด คือ ขันโตกยวนซึ่งทำด้วยไม้สัก ใช้กันแพร่หลายในแถบภาคเหนือของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่งคือขันโตกลาว ทำด้วยไม้ไผ่สานประกอบด้วยหวายในบางส่วน นิยมใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลาว และแถบสิบสองปันนาในทางตอนใต้ของจีน ชาวเขาบางกลุ่มก็นิยมใช้ขันโตกดังกล่าวนี้ด้วย ในสมัยโบราณขันโตกเป็นเครื่องใช้ส่วนหนึ่ง ของงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ และพิธีทำบุญบ้านเป็นต้น อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นอาหารของคนไทยทางภาคเหนือและจะเป็นอาหารของภาคอื่นๆ ณ ที่นี่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ได้จัดเตรียมอาหารพื้นเมืองไว้คอยบริการท่าน ดังต่อไปนี้ คือ น้ำพริกหนุ่ม, ไก่ทอด, แกงฮังเล, ผัดผัก, น้ำพริกอ่อง, แคบหมูและผักสดผักนึ่ง, หมี่กรอบ และยังมีข้าวแต๋น กล้วยทอด ซึ่งเป็นขนมขบเคี้ยวของคนโบราณ พร้อมชา, กาแฟ ที่เราจัดเตรียมเพื่อต้อนรับแขกของเรา ข้าวที่นำมาบริการ มีทั้งข้าวจ้าว และข้าวเหนียว ซึ่งข้าวเหนียวบรรจุมาในกระติ๊บ(กล่องข้าว) สำหรับผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติหรืออาหารอิสลามและอาหารอื่น ๆ สามารถแจ้งเราได้ล่วงหน้าเพื่อความรวดเร็วและสะดวกในการบริการ  คุณประโยชน์ของอาหารล้านนาอยู่ที่ความหลากหลายและชนิดของส่วนประกอบ เช่น ผักพืชนานาชนิด มีเครื่องเทศ เทคนิคการปรุงเหมาะสมและรสชาติอร่อยและยังส่งเสริมสุขภาพต่อต้านโรคได้อีกด้วย

รายการอาหารขันโตก (อาหารเติมได้ตลอด)

รายการอาหารปกติ
1. แกงฮังเลหมู
2. น้ำพริกอ่องหมู
3. น้ำพริกหนุ่ม
4. ไก่ทอด
5. ผัดผักรวม
6. ซุปไก่
7. แคบหมู
8. ผักสด
9. กล้วยทอด
10.หมี่กรอบ
11.ข้าวเหนียว
12.ชา , กาแฟ
13.ขนมนางเล็ด (ข้าวแต๋น)

อาหารเจ
1. น้ำพริกอ่องเจ
2. หมี่กรอบ
3. ผัดเปรี้ยวหวาน
4. ผัดผัก
5. แคบหมูเจ (โปรตีน)
6. ผักซุปแป้งทอด (เทมปุระ)
7. เต้าหู้สามรส
8. ผักสด
9. กล้วยทอด
10.ข้าวเหนียว , ข้าวสวย
11.ขนมนางเล็ด (ข้าวแต๋น)
12.ชา , กาแฟ
13.ขนมนางเล็ด (ข้าวแต๋น)


อาหารอิสลาม
1. แกงฮังเลไก่
2. น้ำพริกอ่องเจ
3. แคบหมูเจ (โปรตีน)
4. ผัดผัก
5. ไก่ทอด
6. ผักสด
7. หมี่กรอบ
8. กล้วยทอด
9. ซุปไก่
10.ข้าวเหนียว , ข้าวสวย
11.ขนมนางเล็ด (ข้าวแต๋น)
12.ชา , กาแฟ
13.ขนมนางเล็ด (ข้าวแต๋น)


นาฏศิลป์ล้านนา

     ที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ นอกจากจะจัดเตรียมอาหารรสเลิศไว้บริการแขกคนพิเศษของเราแล้ว เรายังเตรียมการแสดงพื้นเมืองแท้ ไว้เป็นอาหารตาชิ้นพิเศษสำหรับทุกท่าน ให้คุณได้ลิ้มลองไปพร้อมกับการรับประทานอาหารอีกด้วย การแสดงของเราแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแสดงพื้นเมืองและการแสดงชาวเขา ในส่วนของการแสดงพื้นเมือง เรามีการแสดงทั้งสิ้น 13 ชนิดสลับสับเปลี่ยนกันแสดงทุกคืน

1. ฟ้อนเล็บ เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวลานนาไทย ซึ่งมักจะแสดงในโอกาสพิเศษเพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติหรือฟ้อนสมโภชในทางพุทธศาสนา ท่าเดินของฟ้อนเล็บนี้ถือกันว่าได้เลียนแบบมาจากการเยื้องย่างของช้าง ซึ่งในโบราณถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงมีคุณค่ามาก แต่เดิมการฟ้อนเล็บนี้ไม่มีท่ารำเฉพาะแน่นอน พระราชชายาเจ้าดารารัศมี (ณ เชียงใหม่) ในรัชการที่ 5 (พ.ศ. 2416-2476) ได้ทรงโปรดปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามและมีท่ารำเฉพาะแน่นอน

2.  ฟ้อนดาบ เป็นการแสดงศิลปะอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ป้องกันตัวเป็นการแสดงชั้นเชิงของการต่อสู้รวมกับท่าฟ้อนที่สวยงาม


3.  ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก) ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกันในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียวขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเอง การฟ้อนของทางศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เป็นการรวบรวมท่ารำที่สวยงามของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน

4.  ระบำไก่ เป็นระบำชุดหนึ่งจากละครเรื่องพระลอตามไก่ เป็นการร่ายรำของบริวารของไก่แก้ว พระราชชายาได้ทรงคิดท่ารำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกู่ (ที่บรรจุอัฐิ) ของเจ้านายเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2452 ที่ท่านทรงนำมารวบรวมไว้ที่วัดสวนดอก จากงานพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนรา-ธิปประพันธ์พงศ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงประทานให้แก่ท่าน เรื่องพระลอนี้เป็นเรื่องทางลานนา เชื่อกันว่ามีเค้าโครงจากเรื่องจริง ซึ่งเกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1629-1693 ระหว่างเมืองสองเมือง เมืองของพระลอกับเมืองของพระเพื่อนพระแพง สันนิษฐานว่าอยู่ในตอนเหนือของจังหวัดลำปางและจังหวัดแพร่ในปัจจุบันตามลำดับ ผู้เล่าเรื่องดั้งเดิมเป็นคนเมืองแพร่ เพราะเรื่องพระลอไม่ได้แพร่หลายในลานนาตะวันตก และเพราะว่าในสมัยโบราณแพร่ติดต่อกับกรุงศรีอยุธยามากกว่าติดต่อกับลานนาตะวันตก จึงทำให้เรื่องพระลอถูกเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกโดยกวีกรุงศรีอยุธยาในลักษณะลิลิตระหว่างพ.ศ.1991-2076


5.  ฟ้อนเงี้ยว เป็นการฟ้อนของเมืองเหนือ ที่ได้ดัดแปลงมาจากการละเล่นของไทยใหญ่ (เงี้ยว) ต่อมาครูช่างฟ้อนในคุ้มหลวงเชียงใหม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามขึ้น การแต่งกายสำหรับผู้ฟ้อนนิยมเป็น 2 แบบ แบบไทยใหญ่ใช้กางเกงเป้ากว้าง และแบบพม่าใช้ผ้าโสร่ง จะใส่ลอยชายหรือโจงกระเบนก็ได้
6.  ระบำซอ ได้ถูกแต่งและประดิษฐ์จากครูเพลงและครูช่างฟ้อนในวังของเจ้าดารารัศมีในปี พ.ศ. 2470 ใช้ฟ้อนในโอกาสที่ถวายต้อนรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2478) เสด็จประพาสเชียงใหม่ และในโอกาสสมโภชน์ช้างเผือกซึ่งน้อมเกล้าฯถวายให้ท่าน การแต่งกายเป็นชุดกระเหรี่ยง

7.  ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นการฟ้อนผสมระหว่างการฟ้อนในราชสำนักพม่าและรำไทยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงให้ครูช่างฟ้อนชาวพม่าและครูช่างฟ้อนในวังของท่านคิดท่ารำขึ้นมาระหว่างปี พ.ศ. 2458-2469 เครื่องแต่งกายเป็นแบบหญิงในราชสำนักพม่าสมัยพระเจ้าสีป้อ(พ.ศ.2421-2428)กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า

8.  ฟ้อนลื้อ การฟ้อนนี้เดิมเป็นการฟ้อนของชาวไทยลื้อ หมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน บรรพบุรุษของชาวไทยลื้อนี้เดิมเป็นพวกอพยพสงครามจากแคว้นสิบสองปันนาในมณฑลยูนานของจีน ชาวไทยลื้อเหล่านี้หลบหนีการต่อสู้ระหว่างพระเจ้าสิบสองปันนาและหลานชายซึ่งสู้รบกันในระหว่างปี พ.ศ.2365-2366 แตกต่างจากบรรพบุรุษของชาวไทยลื้อกลุ่มอื่นในทางตอนเหนือของประเทศไทยซึ่งอพยพมาก่อนหน้านี้ประมาณ 22 ปี ในฐานะเชลยสงครามบางพวกก็ถูกชักชวนให้มาตั้งถิ่นฐานใหม่

9.  ฟ้อนโยคีถวายไฟ เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ. 2454-2482) เจ้าครองเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายได้ทรงให้นักดนตรีในวังของท่านและครูช่างฟ้อนชาวพม่าร่วมกันคิดท่ารำและบทเพลงขึ้นมาในโอกาสเสด็จประพาสเชียงใหม่ของกรมพระนครสวรรค์วรพินิจ โอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2465 ท่ารำได้ดัดแปลงมาจากท่าฤษีดัดตน เดิมเป็นการแสดงของผู้ชาย ในปี พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนให้เป็นท่ารำของผู้หญิงเนื่องจากช่างฟ้อนผู้ชายหายาก

10  ฟ้อนน้อยใจยา เป็นฉากหนึ่งของละครเพลงชื่อเดียวกัน ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 โดยท้าวสุนทรโวหาร คนเขียนหนังสือของอนุชาเจ้าดารารัศมี และถวายแก่เจ้าดารารัศมีในวันเกิดของท่าน ต่อมาเจ้าดารารัศมีได้ขัดเกลาบางตอนของละครและแต่งเพลงน้อยใจยาขึ้น ฉากนี้แสดงถึงน้อยใจยาชายหนุ่มผู้ยากจนได้ตัดพ้อต่อว่าแว่นแก้วสาวงามแห่งหมู่บ้าน ซึ่งจะแต่งงานกับส่างนันตาชายหนุ่มผู้ร่ำรวยแต่หน้าตาอัปลัษณ์ของอีกหมู่บ้านหนึ่ง แว่นแก้วบอกน้อยใจยาว่าเรื่องทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความผิดของเธอ แต่เป็นความเห็นชอบของบิดามารดาและได้ยืนยันความรักของเธอที่มีต่อเขา หลังจากปรับความเข้าใจกันแล้วก็พากันหนีไป

11.  ฟ้อนเทียน ใช้ฟ้อนในเวลากลางคืน ไม่สวมเล็บ แต่ถือเทียนสองข้างประกอบการฟ้อนพระราชชายาฯได้ทรงปรับปรุงขึ้นจากการฟ้อนเล็บ เพื่อจะฟ้อนรับเสด็จรัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จประภาสเชียงใหม่พ.ศ.2469

12.  ฟ้อนไต ไตคือชื่อที่คนไทยใหญ่เรียกตัวเอง คนไทยใหญ่นี้นอกจากจะอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์แล้วยังอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย ฟ้อนไตได้ถูกคิดท่ารำโดยครูแก้วและนางละหยิ่น ทองเขียวผู้เป็นภรรยา ผู้ซึ่งเป็นคนไทยใหญ่ด้วย โดยในระหว่าง พ.ศ. 2483-97 ขณะที่ นางละหยิ่นได้อาศัยที่เชียงใหม่กับครูแก้ว นางได้เห็นการแสดงฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาและได้ประทับใจมาก เมื่อนางกับครูแก้วกลังไปอยู่แม่ฮ่องสอนแล้ว จึงได้คิดท่ารำของฟ้อนไตขึ้นจากท่ารำของรำไทย พม่า และฟ้อนเชียงใหม่ ในปีพ.ศ.2500

13.  รำวง เกิดจากรำโทนของนครพนมและได้แพร่หลายไปยังภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย ต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีคำสั่งให้กรมศิล์ปากรจัดท่ารำเป็นรำวงมาตรฐานขึ้น

รายการแสดงพื้นเมือง (จะสลับการแสดงในแต่ละชุดต่อวัน)
การแสดงพื้นบ้านและการแสดงชาวเขาจริงจากเผ่าต่างๆ

อัตราค่าบริการ
 

เปิดบริการทุกวัน
เวลา 19.00 น. - 21.30 น.
ราคาเต็ม
ราคาสำหรับลูกค้า
ใช้บริการลายไทย
ราคาสำหรับลูกค้า
สมาชิกลายไทย

ขันโตก + ชมการแสดง ผู้ใหญ่

(ไม่รวมรถรับ-ส่ง)

370
335
300

เด็กสูงไม่เกิน 140 ซม.

185
170
150

ขันโตก + ชมการแสดง ผู้ใหญ่

(รวมรถรับ-ส่ง)

370
360
350

เด็กสูงไม่เกิน 140 ซม.

185
180
170













หมายเหตุ: อัตราดังกล่าวรวมค่าบริการอาหารขันโตกพร้อมการแสดงไว้แล้ว

สนใจจอง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ โทร 02-8879680 02-8878802 02-8878803

แผนที่การเดินทางไปร้านขันโตก ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่




Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

 
เชียงใหม่/Information of CHIANGMAI

  Old Chaing Mai Cultural Centre (ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่)
Located on the road to Chom Thong, the centre stages Lanna Thai cultural performances with
a Khan Tok Dinner. Objects d'art are displayed.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ โรงแรม+ร้านอาหาร แผนที่เชียงใหม่
อำเภอเมือง
เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้



น้ำตกสิริภูมิ
Siri Phum Waterfall

เส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ(สาย 1001 เชียงใหม่-พร้าว)
เส้นทางสายตะวันตก
 


สวนสัตว์เชียงใหม่
Chiang Mai Zoo
(ชมแพนด้าที่เชียงใหม่)
 
เส้นทางสายตะวันออก(สาย 118 และสาย 1006)
เส้นทางสายเหนือ(สาย 107 เชียงใหม่-ฝาง)



ดอยผาหลวง
Doi pha Luang



ศูนย์ฝึกช้างแตงดาว
Elephant Training Centre

เส้นทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม-สะเมิง



ฟาร์มผีเสื้อแม่สา
Mae sa Butterfly Farm

เส้นทางหลวงหมายเลข 1269 หางดง-สะเมิง
โรงแรมรีสอร์ทที่แนะนำในเชียงใหม่
โรงแรมทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์