ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดเชียงใหม่ > สวนสัตว์เชียงใหม่ / Chiang Mai Zoo 

สวนสัตว์เชียงใหม่/ Chiang Mai Zoo


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.chiangmaizoo.com 

 

นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง

















จุดกำเนิดของสวนสัตว์เชียใหม่มีลักษณะที่แตกต่างจากสวนสัตว์ทั่วไปในประเทศไทย กล่าวคือเป็นการ เริ่มต้นด้วยการสะสมสัตว์ชนิดต่างๆ โดยชาวต่างประเทศคนหนึ่ง คือ นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง มิชชั่นนารีอเมริกัน ผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่พวกทหารและตำรวจชายแดน ในช่วงสงครามเกาหลี ( พ.ศ.2493-2496 ) โดยอาศัยพื้นที่บ้านที่ตนเช่าอยู่คือ บ้านเวฬุวัน เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นของนาย กี   นิมมานเหมินท์ ( พ.ศ.2431-2508 ) และนาง กิมฮ้อ   นิมมานเหมินท์ ( พ.ศ. 2437-2524 ) เป็นสถานที่เริ่มต้น โดยเริ่มเปิดเป็นสวนสัตว์เล็กๆ ของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ
พ.ศ.2495 โดยจ้างคนพื้นเมืองและชาวเขาจำนวนไม่มากนักช่วยดูแล

เหตุผลของการสะสมสัตว์ชนิดต่างๆ ของนาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง จนสามารถจัดเป็นสวนสัตว์เอกชนขึ้นได้นั้น แม้ไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่คงเนื่องด้วยความรักเมตตาต่อสัตว์เป็นพื้นฐาน และเพื่อศึกษานิสัยอากัปกิริยาต่างๆ ของสัตว์ชนิดต่างๆ อย่างใกล้ชิดด้วยเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหารและตำรวจชายแดน ซึ่งต้องผจญกับสัตว์ป่านานาชนิดเสมอ

นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง เป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกัน เกิดที่รัฐฉาน ( Shan State ) ประเทศพม่าเคยทำงานในฐานะมิชชั่นนารีในรัฐฉาน ( Shan State ) ดินแดนของชาวไต ซึ่งอุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิดมาก่อน และเหตุผลที่ทำให้นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง ต้องเข้ามาทำงานในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจชายแดนในประเทศไทย ก็คงเนื่องด้วยพันธะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีต่อรัฐบาลไทย ในการสนับสนุนทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ อย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ตาม สนธิสัญญาไทย-อเมริกัน 3 ฉบับ คือ ความตกลงทางการศึกษาและ วัฒนธรรมในเดือนกรกฎาคม 2493 ความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจ
และเทคนิคในเดือนกันยายน 2493 และความตกลงทางการช่วยเหลือ ทางทหารในเดือนตุลาคม 2493 เป็นต้นมา เพราะปรากฎว่าหลังจากปี พ.ศ.2493 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้จัดส่ง คณะที่ปรึกษา อาสาสมัคร และกำลังสนับสนุนด้านต่างๆ เข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก

เฉพาะด้านทหารและตำรวจนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะที่ปรึกษาทางทหาร ( MAAG ) มาประจำประเทศไทยใน พ.ศ.2493 ต่อมาขยายเป็นหน่วย JUSMAG เพื่อช่วยยวางแผนการจัดกองพล การจัดกรมผสม จัดระบบ ส่งกำลังกองทัพบก ฯลฯ ขณะที่กองกำลังตำรวจขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของ พลตำรวจเอก เผ่า   ศรีานนท์
ก็ได้รับการขยายกำลังออกไปอย่างกว้างขวาง โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนผ่านทางบริษัทซี ซัปพลาย ( Sea Supply Coporation ) การเข้ามาทำงานในประเทศไทยในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจตระเวรชายแดนของนายฮาโรลด์   เมสัน ยัง ก็คงอยู่ในบริษัท ( Context ) ทางการเมืองดังกล่าวนี้ด้วย

การสะสมสัตว์นานาชนิดของนาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง ภายในบริเวณบ้านเวฬุวันที่ตนเช่าอยู่นั้น คงมี มากขึ้นๆ และคงสร้างต้องอาศัยพื้นที่ในบริเวณบ้านเวฬุวันมากขึ้น คงทำให้พื้นที่อันสวยงามของบ้านเวฬุวัน เช่น สนามหญ้าหน้าบ้านถูกใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ไปโดยปริยาย ผลการะทบที่สำคัญอีกประการคือกลิ่นต่างๆ จากสัตว์อบ
อวล สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยละแวกข้างเคียงเป็นประจำ

จากคำบอกเล่าของศาสตราจารย์ อัน   นิมมานเหมินท์ ( พ.ศ.2460-ปัจจุบัน ) ทายาทคนหนึ่งของ นาย กี-นาง กิมฮ้อ   นิมมานเหมินท์ ได้ขอให้ นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง ผู้เช่นบ้านเวฬุวันย้ายสวนสัตว์ของเขาไปไว้ที่ ที่ดินอีกแปลงหนึ่งของนาย กี-นาง กิมฮ้อ   นิมมานเหมินท์ ซึ่งอยู่เชิงดอยสุเทพเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ส่วน หนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่คงโดยเหตุที่นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง เป็นชาวอเมริกัน ประชาชนของประเทศที่ มีอิทธิพลทางการเมืองสูงยิ่งของโลก เขาจึงติดต่อขอที่ดินป่าสงวนเชิงดอสุเทพ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่โดยตรง จนได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนเชิงดอยสุเทพ ประมาณ 60 ไร่ เป็นที่ตั้งสวนสัตว์ของเอกชน เปิดบริการให้เข้าชมตั้งแต่วันจักรี 6 เมษายน พ.ศ.2500 จนกระทั่งนาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง ถึงแก่อนิจกรรม ใน พ.ศ.2518 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้พิจารณาเห็นคุณค่าของสวนสัตว์ของนาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง ทั้งในฐานะเป็นแหล่ง พักผ่อนศึกษาสัตว์ของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวแหล่งหนึ่งตามโครงการปรับ
ปรุงดอยสุเทพเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จึงรับกิจการสวนสัตว์ของนาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง ไว้ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จนกระทั่ง พ.ศ.2520 จึงโอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย สำ
นักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ วันที่ 16 มิถุนายน 2520 เป็นต้นมา เนื่องนับ ถึง 16 มิถุนายน 2530 สวนสัตว์เชียงใหม่ก็มีอายุราชการครบ 10 ปีเต็ม ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่จากเดิมที่จังหวัดเชียงใหม่อนุมัติให้นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง จัดตั้งสวนสัตว์ประมาณ 60 ไร่ ได้รับการขยายเป็น 130 ไร่และตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 หลังการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เป็น
ต้นมา สวนสัตว์เชียงใหม่ก็ได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะรัฐมนตรีให้
ขยายพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ เพิ่มเติมอีกประมาณ 500 ไร่ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนา
สวนสัตว์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนหนึ่ง โดยมี ศาสตราจารย์ อัน   นิมมานเหมินท์ เป็นประธานดำเนินงานวางผังหลักกำหนดแนวทางพัฒนาสวนสัตว์เชียงใหม่ ต่อไปในอนาคตอย่างน่าสนใจยิ่งสวนสัตว์เชียงใหม่ในทศวรรษที่สอง คงกลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจทีผสมผสานระหว่าง ธรรมชาติ กับฝีมือมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติวิทยาทั้งประเภทของจริงและของในพิพิธภัณฑสัตว์ ที่น่าติดตามยิ่งอย่างไรก็ดี ในทศวรรษที่ผ่านมามีประเด็นที่ใคร่ขอตั้งข้อสังเกตดังนี้

ประการแรก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งประเภทตำนาน จารึก และภาพถ่ายทางอากาศยืนยัน
ชัดว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนสัตว์เชียงใหม่คือส่วนหนึ่งของเวียงเจ็ดสิน เวียงโบราณรูปวงกลมที่สร้างขึ้นในสมัย
พญาสามฝั่งแก่น กษัตริย์แห่งราชวงค์มังราย ลำดับที่ 8 ( พ.ศ.1945-1984 ) ร่องรอยคูน้ำ คันดินบางส่วนก็ยัง
ปรากฎอยู่ในปัจจุบันซากอิฐจำนวนไม่น้อยยังคงปรากฎทั่วไปในบริเวณสวนสัตว์เชียยงใหม่ โดยเฉพาะบนเนินเนิน
เหนือที่เลี้ยงช้าง เป็นกองอิฐก้อนใหญ่มาก เป็นร่องรอยให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับ
ทางศาสนา

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่บรรพชนล้านนาได้สร้างสมไว้ หากได้รับการดูแล ไม่ทำลาย และใช้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ เช่น ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เขียนป้ายแนะนำเรื่องราวบางประการ เกี่ยวกับกองอิฐเหล่านั้นแบบง่ายๆ คนทุกเพศ ทุกวัยที่เข้าไปสวนสัตว์เชียงใหม่ก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับอดีตบางประการของท้องถิ่นที่เขาอยู่ ที่เขาเยือนแถมกลับบ้านบอกเล่าลูกหลานผู้ใกล้ชิดต่อๆ กัน หากสวนสัตว์เชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพอจะดำเนการอนุรักษ์มรดก ทางวัฒธรรมที่หลงเหลืออยู่ บางส่วนในบริเวณสวนสัตว์เชียงใหม่ได้ ก็คงนับเป็นหน่วยราชการเพียงแห่งแรกและแห่งเดียวในแถบเชิงดอยสุเทพที่คิดคำนึงถึง "เรื่องพรรค์นี้"

ประการสอง โดยเหตุที่ นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง เป็นผู้ริเริ่มสะสมสัตว์นานาชนิดจนสามารถจัดตั้งสวนสัตว์ ส่วนตัว
อันเป็นรากฐานของสวนสัตว์เชียงใหม่ในปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลเกี่ยวกับนาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง เท่าที่ทราบกันใน
ปัจจุบันมีไม่มากนักส่วนใหญ่อยู่ในความทรงจำของผู้ร่วมสมัยที่เคยเห็นนาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง หรือเคยทำงานร่วมกัน เช่น
หัวหน้าบำรุงสถานีรักษาสัตว์คนปัจจุบัน แม้เรื่องรวบรวมประวัติบุคคลจะไม่ใช่หน้าที่ของสวนสัตว์ แต่เนื่องจากนาย
ฮาโรลด์   เมสัน ยัง เกี่ยวข้องกับสวนสัตว์เชียงใหม่โดยตรง หากสวนสัตว์เชียงใหม่ได้ขอร้อง ให้ผู้ร่วมสมัยกับนาย
ฮาโรลด์   เมสัน ยัง รวบรวมเรื่องราวบางประการเกี่ยวกับนาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง เท่าที่จะสามารถกระทำได้ คงจะ
เป็นประโยชน์ทางการศึกษาแก่อนุชนผู้สนใจอดีตของสวนสัตว์เชียงใหม่ไม่มากก็น้อย

ประการสุดท้าย ในฐานะผู้ปกครองที่สมัครใจหาลูกไปสวนสัตว์เชียงใหม่เป็นประจำ ใคร่ขอตั้งข้อสังเกต
เกี่ยวกับความปลอดภัยบางประการเช่น
(1) ระบบจราจรที่เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เองปฎิบัติทั้งในขณะนำอาหารสัตว์
และสัญจรไปมาค่อนข้างรวดเร็วเกินกว่าสภาพพื้นที่ของสวนสัตว์ เส้นทางที่ประสบเหตุบ่อยครั้งคือ ทางลาดเลียบ
รั้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีสัตว์ที่เด็กๆ ชอบมากเช่น ฮิปโปฯ ยีราฟ ฯลฯ ลำพังผู้ปกครองที่ต้องระมัดระวังลูก
มิให้ล้มลงในทางลาดก็คงเพียงพอแล้ว ไม่ควรให้ต้องพะวงยานพาหนะนานาชนิดที่ค่อนข้างรวดเร็ว ราวกับอยู่ใจกลางเมืองเลย คงจะต้องมีการทำความเข้าใจกันกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป
(2) ระบบลวดหนาม ในพื้นที่บางส่วนทางสวนสัตว์เชียงใหม่คงไม่ประสงค์ให้คนเข้าไป และเท่าที่สังเกตมักใช้ลวดหนามกั้น ซึ่งอาจมีเหตุผลบางประการ แต่ในด้านความปลอดภัยของเด็กๆ และที่บริเวณบางแห่งเช่น เส้นทางเดินจากกรงนกข้างฮิปโปขึ้นไป ร้านเครื่องดื่มเป็นรั้วลวดหนาม ระดับใบหน้าเด็กวัย 3-4 ขวบพอดี น่า
จะได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมก่อนเกิดปัญหาขึ้น

บทความนี้มุ่งหมายเพียงเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเป็นหลัก ด้วยเห็นว่าจุดเด่นประการหนึ่งของสวน
สัตว์เชียงใหม่ คือ ความเป็นมาก่อนหน้าได้รับการสถาปนาเป็น หน่วยงานสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เพราะหากนับถึงการเปิดบริการครั้งแรกของสวนสัตว์นาย ฮาโรลด์   เมสัน ยัง ที่บ้านเวฬุวัน เมื่อพ.ศ.2495 ถึงปัจจุบันก็เป็นเวลาถึง 35 ปีแล้ว และนับเฉพาะเมื่อสวนสัตว์เชียงใหม่เปิดบริการในสถานที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ.2500
ก็เป็นเวลา 30 ปีเต็ม ความสืบเนื่องอันยาวนานพอสมควรเหล่านี้แม้จะมีผู้รู้อยู่ไม่น้อย แต่ก็ยังไม่แพร่หลายนัก จึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไป ขณะเดียวกันในฐานะผู้ปกครองที่สมัครใจชักชวนลูกเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่
เป็นประจำ ได้พบข้อน่าสังเกตบางประการ จึงถือโอกาสนำเสนอด้วย โดยพยายามเข้าใจถึงเงื่อนไขต่างๆ เช่น ภาระหน้าที่ของสวนสัตว์ งบประมาณ ฯลฯ ด้วยความหวังว่า จะเป็นประโยชน์แก่สวนสัตว์เชียงใหม่ และผู้เข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่ทั่วไป

พื้นที่สวนสัตว์เชียงใหม่ 531 ไร่ แบ่งการพัฒนาและปรับปรุงตามแผนผังหลัก
1. พื้นที่สวนสัตว์ชั้นนอก 100 ไร่
2. พื้นที่สวนสัตว์ใหม่ 170 ไร่
3. พื้นที่สวนสัตว์เปิด 100 ไร่
4. พื้นที่พักแรม 100 ไร่
5. พื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์   61 ไร่

บริเวณที่ติดกับสวนสัตว์เชียงใหม่
ทิศเหนือ จดน้ำตกห้วยแก้วและถนนห้วยแก้ว
ทิศใต้ จดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และศูนย์เกษตรภาคเหนือ
ทิศตะวันออก จดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทิศตะวันตก จดวนอุทยานสุเทพ-ปุย

ที่ตั้งของสวนสัตว์เชียงใหม่
สวนสัตว์เชียงใหม่ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ เลขที่ 100 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียใหม่ 50200
หมายเลขโทรศัพท์ (053)221179, 222283 สามารถเข้าชมได้ 2 เส้นทางคือ
1. เส้นทางถนนห้วยแก้ว เป็นเส้นทางขึ้นสู่วัดพระธารฃตุดอยสุเทพวรมหาวิหาร สวนสัตว์เชียงใหม่ตั้งอยู่ด้านซ้าย มือห่างจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพียง 800 เมตร เท่านั้น
2. เส้นทางถนนสุเทพ ผ่านสถานที่สำคัญคือโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, คณะเกษตรศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, วัดอุโมงค์, วัดฝายหิน สวนสัตว์เชียงใหม่ตั้งอยู่ทางขวามือก่อนถึง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

หมีแพนด้า

ลักษณะเด่น
ลักษณะที่โดดเด่นของ หมีแพนด้า คือมีขนสีดำและสีขาว บริเวณหัว คอ ตะโพก จะมีสีขาว ส่วนรอบๆตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ ขาหน้า และขาหลังจะมีสีดำ หัวของหมีแพนด้า จะใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของตัว กว่าหมีชนิดอื่นๆ เท้าหน้ามี 6 นิ้ว พร้อมที่จะกางกว้างออกเมื่อปะทะกัน หรือปีนต้นไม้
ขนาด
หมีแพนด้าเพศผู้ขนาดตัวโตเต็มที่ สูงประมาณ 160-190 ซม. จะสูงกว่าเพศเมียเล็กน้อย มีขาหน้าที่แข็งแรง และหนัก 85-125 กก. เพศเมียหนัก 70-100 กก. ลูกหมีเพิ่งคลอดหนักเพียง 85-140 กรัม
ถิ่นที่อยู่
หมีแพนด้าจะอาศัยอยู่ที่ระดับสูง 1200-3500 เมตร ในป่าเขา ซึ่งมีต้นไม้ไผ่ขึ้นหนาแน่น

การกระจาย
จะพบหมีแพนด้าเพียงตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แนวเขตที่ราบสูงของ ทิเบต ใน 6 พื้นที่เล็กๆ ของจังหวัด Sichuan Gansu และ Shaanzi รวมแล้วมีพื้นที่เพียง 14000 ตร.กม.

การสื่อสาร
หมีแพนด้าจะใช้กลิ่น อะซิติค ที่หลั่งออกมาจากบริเวณ ต่อมที่อยู่ใกล้ๆกับอวัยวะสืบพันธุ์ ไว้ตามต้นไม้ ก้อนหิน และใช้เสียงในการกำหนดขอบเขต โดยส่วนมากจะเป็นหมีเพศผู้ ส่วนการใช้เสียงของหมีเพศเมีย จะมีในช่วงที่จะผสมพันธุ์
อาหาร
อาหารของหมีแพนด้า 99% จะมาจากต้นไผ่ ตัวโตเต็มที่ จะกิน 12-15 กก./วัน แต่ถ้าเป็น ต้นหรือใบอ่อนของต้นไผ่ หมีแพนด้าสามารถกินได้ถึง 38 กก/วัน ซึ่งหนักถึง 40%ของน้ำหนักตัวมันเอง และอาหารอีกที่เหลือ จะเป็นพืชชนิดอื่นๆ รวมทั้งเนื้อด้วย ส่วนมาก หมีแพนด้าจะกินอาหารที่พื้น บางครั้งถึงจะปีนขึ้นไป กินอาหารบนต้นไม้
การสืบพันธุ์
หมีแพนด้าพร้อมที่จะขยายพันธุ์เมื่ออายุ 4.5-6.5 ปี จะจับคู่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ต้นเดือน มี.ค.-พ.ค.เพศเมียมีช่วงเวลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์ 1-3 สัปห์ดา และ จะยอมให้มีการผสม 2-3 วันเท่านั้น จำนวนลูกที่คลอดออกมา มีเพียง 1-3 ตัว โดยปกติจะมีชีวิตรอดเพียงตัวเดียว ลูกหมีจะหย่านมเมื่ออายุ 9 เดือน แม่หมีแพนด้าจะคอยดูแลลูกตน จนกว่าจะถึง 18 เดือน

ระบบสังคม
ส่วนมากหมีแพนด้าจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ตัวเดียว ยกเว้นหมีแพนด้าแม่ลูกอ่อน ในช่วงฤดูกาลให้นมลูก หมีเพศผู้จะต่อสู้กัน เพื่อแย่งเข้าไป หากลุ่มแม่หมี อาณาเขตของหมีเพศเมีย ปกติแล้ว จะอาศัยซึ่งกันและกัน อาณาเขต จะซ้อนทับกันเป็นบางครั้ง ในขณะที่หมีแพนด้าเพศผู้ จะมีอาณาเขตที่กว้างครอบคลุมหมีเพศเมียทั้งหม

 
สวนสัตว์เชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมด 531 ไร่ เป็นสถานที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนพร้อมกับสัมผัสสัตว์นานาชนิดกว่า 7,000 ตัว ท่ามกลางกลิ่นไอของขุนเขา และที่พลาดชมไม่ได้ก็คือ หมีแพนด้า ช่วง ช่วง และ หลินฮุ้ย อันเป็นทูตสันตวไมตรีจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง ช่วง ช่วง และ หลินฮุ้ย จะอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่เป็นเวลา 10ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2547 ถึง 2557 

ตั้งอยู่เลขที่ 
100 ถ.ห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทร. (053) 221-179,(053) 358-116 โทรสาร (053) 222-283

เวลาทำการ 08.00-18.00 น. ทุกวัน

อัตราค่าเข้าชม
  • ผู้ใหญ่ 50 บาท
  • นักเรียน 10 บาท
  • บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) 10 บาท

บริการทั่วไป

  • รถบริการชมสวนสัตว์
  • ร้านขายของที่ระลึก
  • ร้านอาหาร
  • กิจกรรม
  • การแสดงความสามารถของสัตว์

การเดินทาง
ขับรถมาตามถนนห้วยแก้ว ผ่านมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 
เชียงใหม่/Information of CHIANGMAI

  Chiang Mai Zoo (สวนสัตว์เชียงใหม่)
Next to the Chiang Mai Arboretum, this artfully landscaped complex occupies the lower
forested slopes of Doi Suthep mountain, and contains a fascinating collection of Asian
and African mammals and birds.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ โรงแรม+ร้านอาหาร แผนที่เชียงใหม่
อำเภอเมือง
เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้



น้ำตกสิริภูมิ
Siri Phum Waterfall

เส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ(สาย 1001 เชียงใหม่-พร้าว)
เส้นทางสายตะวันตก
 


สวนสัตว์เชียงใหม่
Chiang Mai Zoo
(ชมแพนด้าที่เชียงใหม่)
 
เส้นทางสายตะวันออก(สาย 118 และสาย 1006)
เส้นทางสายเหนือ(สาย 107 เชียงใหม่-ฝาง)



ดอยผาหลวง
Doi pha Luang



ศูนย์ฝึกช้างแตงดาว
Elephant Training Centre

เส้นทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม-สะเมิง



ฟาร์มผีเสื้อแม่สา
Mae sa Butterfly Farm

เส้นทางหลวงหมายเลข 1269 หางดง-สะเมิง
โรงแรมรีสอร์ทที่แนะนำในเชียงใหม่
โรงแรมทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์