ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดเชียงใหม่ > อุทยานแห่งชาติออบหลวง

อุทยานแห่งชาติออบหลวง

 

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติออบหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศทุกประการ ทั้งมีความสวยงาม และ ความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ มีคุณค่าทางโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ทั้งทาง ธรณีวิทยาและคุณค่าทางสถาปัตยกรรมทางธรรมชาติ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ และเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและความสวยงามอย่างยิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 345,625 ไร่ หรือ 553 ตารางกิโลเมตร

บ้านไร่ไผ่งาม ความเป็นมา ในปี พ.ศ. 2508 กรมป่าไม้เห็นว่าบริเวณริมถนนในท้องที่ตำบลหางดง อำเภอฮอดและตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ร่มรื่น สภาพภูมิประเทศสวยงามแปลกตา มีความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ประกอบด้วยโขดผา แมกไม้และลำน้ำที่ไหลแรงผ่านหลืบเขา ที่ชาวเมืองเหนือเรียกว่า “ออบหลวง” เป็นที่ซึ่งประชาชนชอบไปพักผ่อนชมธรรมชาติความรื่นรมย์อยู่เป็นประจำ จึงได้จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของ ประชาชนในรูปแบบของวนอุทยานตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2509 อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่

ในส่วนที่ได้จัดตั้งเป็นวนอุทยานออบหลวง ในอดีตเป็นสถานที่พักของพวกทำไม้บริษัทบอร์เนียว ซึ่งในสมัยนั้นการทำไม้สักใช้วิธีลำเลียงล่องมาตามลำน้ำแม่แจ่ม ไม้จะมาวนอยู่ที่ออบหลวงซึ่งเป็นวังน้ำวนและลึกมาก จากออบหลวงที่มีหน้าผาสูงชัน น้ำตกจากหน้าผาสูง บริษัททำไม้จึงตั้งปางพักตรงจุดนี้เพื่อคอยเก็บไม้ที่ไหลมา ไม่ให้ไหลลงไปวังน้ำวน ตามประวัติดั้งเดิมเล่าสืบต่อกันมาว่า ลำน้ำแม่แจ่มสมัยก่อนเรียกว่า “แม่น้ำสลักหิน” เนื่องจากแม่น้ำนี้ได้เจาะภูเขาหินลูกหนึ่งจนทะลุไหลผ่านเป็นลำน้ำตรงที่เรียกว่า “ออบหลวง” ในปัจจุบัน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้

ต่อมากรมป่าไม้ได้โอนวนอุทยานออบหลวง มาอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ และในต้นปี พ.ศ. 2531 นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้ให้นโยบายและสั่งการให้วนอุทยานออบหลวงดำเนินการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ข้างเคียงโดยรอบวนอุทยาน เพื่อยกฐานะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(อล)/พิเศษ ลงวันที่ 27 เมษายน 2531 และ ที่ กษ 0713(อล)/พิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 รายงานว่าป่าจอมทอง ป่าแม่แจ่ม-แม่ตื่น และป่าแม่แจ่ม ที่ทำการ สำรวจพื้นที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาตินี้แต่เดิมได้กำหนดให้เป็นป่าถาวรของชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2509

ต่อมาได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กล่าวคือ ป่าจอมทองเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 212 (พ.ศ. 2510) ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 84 ตอนที่ 82 วันที่ 21 สิงหาคม 2510 ป่าแม่แจ่ม-แม่ตื่นเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2509) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 83 ตอนที่ 119 วันที่ 31 ธันวาคม 2509 ป่าแม่แจ่มเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 712 (พ.ศ. 2571) ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 91 ตอน 225 วันที่ 29 ธันวาคม 2517 เนื้อที่ทำการสำรวจประมาณ 630 ตารางกิโลเมตร มีสภาพป่าสมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศทุกประการมีจุดเด่นทางธรรมชาติสวยงาม และเป็นแหล่งทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง เหมาะสมสำหรับ การจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ทำการตรวจสอบและได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/1403 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 824/2531 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2531 ให้ นายไชโย ยิ่งเภตรา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมและได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 108 ตอน 211 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 68 ของประเทศ

ออบหลวงลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อนติดต่อกันเป็นเทือกเขายาวในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยต่อจากดอยอินทนนท์ มีแม่น้ำสายใหญ่ คือ ลำน้ำแม่แจ่มกั้นกลางอันเป็นเขตแบ่งระหว่างอำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่ง มีลำห้วยหลายสายไหลลงลำน้ำแม่แจ่มและลำน้ำแม่ปิงตอนล่าง ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีที่ราบน้อยมาก เนื่องจากเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน

จากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาหน้าผาสูงชัน และมีโขดหินขนาดใหญ่น้อยมากมาย หินที่เป็นองค์ประกอบของพื้นที่ได้แก่ หินแกรนิตและแกรโนไดออไรท์ สลับกับหินซอลท์และหินตระกูลแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ ในชุดหินบลูโตนิคของยุคครีเตเซียส และไทรแอสสีค ประกอบด้วยแร่ควอร์ท และเฟสด์สปาร์ ในท้องน้ำแม่แจ่มมีเกาะแก่งหินขนาดใหญ่มากมาย ริมฝั่งลำน้ำจะมีหาดทรายเกิดจากน้ำพัดพามาเป็นช่วงๆ หลายแห่ง มีก้อนหินกลมประเภทกรวดห้องน้ำของหินควอร์ทไซด์ ควอร์ทแจสเปอร์ และหินชนิดอื่นๆ อยู่หนาแน่น

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน

พืชพรรณและสัตว์ป่า
เนื่องจากสภาพป่ามีทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าสนเขา จึงมีพันธุ์ไม้แตกต่างกันหลายชนิด เช่น สัก ยาง ประดู่ แดง ตะเคียน ยมหอม มะค่าโมง มะเกลือ ขะเจ๊าะ เก็ดดำ เก็ดแดง รกฟ้า อินทนิล กะบาก จำปีป่า สารภีป่า แคหิน เหียง พลวง เต็ง รัง และไม้สนเขาหรือเกี๊ยะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลก่อต่างๆ พืชพื้นล่างที่สำคัญมี ไผ่ ปาล์ม และเฟิร์น

สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ เลียงผา เสือ หมี กวางป่า หมูป่า เก้ง ชะนี ลิง ชะมด กระต่ายป่า นิ่ม ตะกวด และมีนกนานาชนิดประมาณ 200 ชนิด เช่น นกกางเขนดง นกพญาไฟ นกเขาใหญ่ นกเขาเขียว นกดุเหว่า นกหัวขวาน นกกะปูด นกขุนทอง นกแก้ว เหยี่ยวรุ้ง นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกกะทา เป็นต้น

ดินแดนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อยู่ใกล้เคียงกับช่องแคบออบหลวง กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขุดค้นเพื่อศึกษาวิจัยร่วมกับประเทศฝรั่งเศส เรื่อง Research on Chronology and Evolution of the Prehistoric Cultures of Northern Central Thailand and their Antropological Characteristics โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา

บริเวณออบหลวง ทั้งสองฝั่งอำเภอจอมทอง และฝั่งอำเภอฮอด ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น เครื่องมือหินกระเทาะแกนหินและสะเก็ดหิน ขวานหินขัด ชิ้นส่วน เครื่องประดับและภาชนะสำริด ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ที่สำคัญคือ พบโครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยยุคสำริด มีอายุระหว่าง 2,500 - 3,500 ปี ก่อนคริสตกาล
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - ชมทิวทัศน์ - ชมประวัติศาสตร์ 

ดอยผาช้าง
เป็นหินแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ทั้งแท่ง ก้อนใหญ่มหึมา สีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ 300 เมตร สูงประมาณ 80 เมตร จากระดับพื้นดิน มีลักษณะเหมือนช้างตัวใหญ่นอนหมอบอยู่ บนยอดดอยผาช้างเป็นจุดชมวิว มองลงไปทางทิศใต้จะเห็นน้ำตกแม่บัวคำอยู่ลิบๆ ใกล้เข้ามาตรงหน้า ดอยผาช้างเห็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ลดเลี้ยวเลียบเหลี่ยมเขาผ่านหน้าผาออบหลวง ลึกจากผาออบหลวงลงไปจะมองเห็นสายธารแม่แจ่มไหลคดเคี้ยวซอกซอนผาหินหายลับไปทางทิศตะวันออก

บริเวณดอยผาช้างด้านตะวันตกมีเพิงผาคล้ายถ้ำเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์และได้วาดภาพช้างด้วยสีขาวและสีแดงไว้ จากรายงานของนักโบราณคดี กรมศิลปากรยืนยันว่าเป็นครั้งแรกที่พบภาพเขียนโบราณในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ (พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยนายสายันต์ ไพรชาญจิตร และนายประทีป เพ็งตะโก นักโบราณคดีฝ่ายวิชาการกองโบราณคดี) สันนิษฐานว่าภาพเขียนนี้มีอายุไม่น้อยกว่า 7,500 - 8,500 ปี มาแล้ว
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมประวัติศาสตร์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ 

ออบหลวง
ตั้งอยู่ที่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 17 ของทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108 คาบเกี่ยวระหว่างตำบลหางดง อำเภอฮอด ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง เป็นช่องแคบเขาขาดที่มีหน้าผาหินขนาบลำน้ำ ทำให้เกิดหุบผาลึก ความลึกของหน้าผาวัดจากสะพาน ออบหลวงถึงระดับน้ำปกติประมาณ 32 เมตร ส่วนแคบสุด 2 เมตร ความยาวของช่องแคบประมาณ 300 เมตร ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ความน่าพิศวงให้กับแผ่นดินส่วนนี้อย่างมหัศจรรย์

คำว่า “อ๊อบ” หรือ “ออบ” เป็นภาษาท้องถิ่นหมายถึงช่องแคบ “หลวง” หมายถึง ใหญ่ “ออบหลวง” คือชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกช่องแคบหินขนาดยักษ์ที่มีลำน้ำแม่แจ่มบีบตัวแทรกผ่านไป อีกนัยหนึ่งคือ หุบเขา ที่มีสายธารไหลผ่าน (Canyon) ภายในออบ น้ำที่ตกไปกระทบแก่งหินละอองน้ำจะกระจายฟุ้งเสียงดังสนั่นหวั่นไหวตลอดเวลา ลานหินและโตรกผาที่ถูกน้ำอันเชี่ยวกรากกัดกร่อนปีแล้วปีเล่า ทำให้หินมีลักษณะเป็นลวดลายรูปร่างแปลกตาสวยงามมาก ทำให้ผู้ไปเยือนต้องพิศวงว่ากำแพงหินสูงใหญ่ที่ขวางลำน้ำอยู่นั้น แตกทะลุหรือแยกตัวให้น้ำผ่านไปได้อย่างไร
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา 

น้ำตกแม่จอน น้ำตกแม่บัวคำ
เกิดจากห้วยแม่บัวคำอยู่ในเขตตำบลหางดง อำเภอฮอด ห่างจากออบหลวงไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่มากน้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 50 เมตร ลดหลั่นลงมาเป็นเพิงชั้นลงสู่อ่างหินซึ่งซ่อนตัวอยู่ในหลืบผาและแมกไม้ ด้านหน้าน้ำตกมีลานหินกว้าง
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกแม่จอน
เกิดจากห้วยแม่จอนหลวง อยู่ในเขตตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายฮอด - แม่สะเรียง ตรงหลักกิโลเมตร ที่ 9 เดินตามลำห้วย แม่จอนเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่

ลักษณะเด่นของน้ำตกนี้เป็นหน้าผาที่กว้างใหญ่มีความสูงไม่น้อยกว่า 100 เมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร น้ำตกที่ตกลงมาเป็นสายเหมือนใยแก้ว แผ่กระจายอยู่ทั่วแผ่นผาและลานหินกว้างไม่ขาดสาย หน้าน้ำตกสวยงามมากเป็นหินแกรนิตผสมหินแปรสีขาวเจือสีเทาอ่อน สูงขึ้นไปจากน้ำตกชั้นนี้ยังมีน้ำตกเล็ก ๆ สวยงามแปลกตาอีกสองชั้นอยู่ห่างประมาณ 500 เมตร และ 1,500 เมตร ตามลำดับ
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกแม่เตี๊ยะ
อยู่บริเวณกลางป่าลึกในห้วยแม่เตี๊ยะตอนกลางในท้องที่ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง เป็นน้ำตกที่สวยงาม สูงประมาณ 80 เมตร ความกว้าง 40 เมตร น้ำในห้วยแม่เตี๊ยะมีมากตลอดปี ทำให้น้ำตกมีความงามตลอดเวลา นักท่องเที่ยวต้องเดินทางจากบ้านแม่เตี๊ยะเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร
กิจกรรม -เดินป่าระยะไกล - เที่ยวน้ำตก

บ่อน้ำร้อนเทพพนม บ่อน้ำร้อนเทพพนม
อยู่ในเขตป่าแม่แจ่ม ตำบลห่าผา อำเภอแม่แจ่ม ห่างจาก ออบหลวง 14 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 108 ตรงกิโลเมตรที่ 22 เข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้พิภพ มีแรงดันพุ่งขึ้นมากระทบน้ำเย็นใต้ดินเกิดเป็นไอร้อนคุอยู่ตลอดเวลา ความร้อนสูงถึง 99 องศาเซลเซียส บริเวณเป็นที่ราบโล่งเตียนประมาณ 10 ไร่ มีลำห้วยเล็ก ๆ คือ ห้วยโป่งไหลผ่าน จึงมีทั้งธารน้ำร้อนและน้ำเย็นบริเวณเดียวกัน
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - อาบน้ำแร่

ถ้ำตอง
อยู่ในท้องที่ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง “ดอยผาเลียบ” เป็นภูเขาหินแกรนิตและหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนถูกผ่าครึ่งแล้วแยกกันอยู่คนละฝั่งลำน้ำแม่แปะ ซีกที่อยู่ทางฝั่งขวามีถ้ำลึกที่มีตำนานเล่าขานกันว่าถ้ำนี้เป็นอุโมงค์หินที่มีความยาวมากกล่าวว่าทะลุถึงดอยเชียงดาวทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ทีเดียว บริเวณปากอุโมงค์เป็นคูหาขนาดประมาณ 5 X 10 เมตร สูง 3 เมตร ลึกเข้าไปจากนั้นเป็นโพรงหินเล็ก ๆ ขนาดพอตัวคนคลานเข้าไปได้

สภาพภายในคูหาปากถ้ำถูกสกัดตกแต่งใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนักวิปัสสนาถ้ำตอง โดยรอบในหุบเขา ร่มครึ้มด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบที่มีขนาดใหญ่ ๆ เช่น มะม่วงป่า ตะเคียนทอง มะหาด กระท้อน หน้าถ้ำมีธารน้ำแม่แปะไหลผ่าน ซึ่งต้นแม่น้ำแปะห่างจากถ้ำตองขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกเล็ก ๆ
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำตุ๊ปู่
อยู่ในท้องที่ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบกว้างยาวประมาณ 1 X 1.5 เมตร ต้องนั่งยอง ๆ เข้าไป ภายในกว้างขวางรูปร่างค่อนข้างกลมเหมือน คณโฑขนาดใหญ่บรรจุได้ประมาณ 20-30 คน มีน้ำหยดจากเพดานถ้ำตลอดเวลา ทำให้เกิดหินงอก หินย้อยอยู่ทั่วไป บริเวณเพดานค่อนไปทางก้นถ้ำทะลุเป็นวงกลมใหญ่ ๆ 3 ช่องติดกัน จึงทำให้ถ้ำสว่างไสวไม่มืดทึบเหมือนถ้ำโดยทั่วไป
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ลำน้ำแม่แจ่ม
ธารน้ำแจ่มหรือแม่น้ำสลักหิน กำเนิดจากเทือกเขาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไหลผ่านอำเภอแม่แจ่มออกสู่แม่น้ำปิงที่อำเภอฮอด เป็นลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลเชี่ยวคดเคี้ยวไประหว่างโขดเขาและหุบผา มีเกาะแก่งอยู่กลางลำน้ำ สลับกับหาดทรายขาวทิวป่าเขียวขจีและเทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้ลำน้ำแม่แจ่มมีทัศนียภาพสวยงามยิ่ง นักท่องเที่ยวนิยมไปล่องแพ จากบ้านอมขลูถึงบ้านท่าเรือในท้องที่อำเภอแม่แจ่มอยู่เป็นประจำ

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น
บ้านไร่ไผ่งาม รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม
รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม
กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติออบหลวง
บ้านไร่ไผ่งาม
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
บ้านไร่ไผ่งาม
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
บ้านไร่ไผ่งาม
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
บ้านไร่ไผ่งาม
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
น้ำตกแม่จอน
อุทยานแห่งชาติออบหลวง

น้ำตกแม่บัวคำ
อุทยานแห่งชาติออบหลวง

บ้านไร่ไผ่งาม
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
ดอยผาช้าง
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
บ่อน้ำร้อนเทพพนม
อุทยานแห่งชาติออบหลวง

ลำน้ำแม่แจ่ม
บ้านไร่ไผ่งาม
Op Khan National Park


   
อุทยานแห่งชาติออบหลวง

 

General Information
Ob Khan National Park covers the areas of Pha Samoeng National Conserved Forest including areas of Tambol Samoeng Tai, Tambol Mae Sarb, Tambol Borkaew of Samoeng District; Pa Mae Khan-Mae Wang National Conserved Forest including Tambol Mae Win, Tambol Ban Kard, Mae Wang Sub-district, Sanpatong District, Tambol San Klang of Sanpatong District; and Pha Chang-Mae Khanin National Conserved Forest including Tambol Namprae, Tambol Banpong of Hang Dong District, Chiang Mai Province, within an approximate area of 574 square kilometers or 341,875 rai. The geographical features of the National Park mostly consist of high mountains. And “Yod Khun Tien” is the highest mountaintop of the National Park, at the altitude of 1,550 meters. The National Park has beautiful natural tourist attractions and varieties of major plants and wild animals.

Topography
The geographical features of the National Park consist of high and low mountains, extending from mountains in the area of Mae Chaem District, Chaing Mai Province. The majority of mountains in the National Park are not much high. And “Yod Khun Tien” is the highest mountaintop of the National Park, at the altitude of 1,550 meters, followed by “Doi Khun Huay Prachao” at the altitude of 1,443 meters, and “Doi Khun Win” at the altitude of 1,424 meters above the medium sea level, etc. The National Park is the source of major rivers and gullies flowing into Ping River including Nan River, Lan River, Tien River, Win Gully, Mae Toa Gully, Mae Kamin Gully, Lah Luang Gully, etc. Most areas of the National Park are mountains at the average altitude of 800 meters above the medium sea level. There are small plains along rivers and gullies, including hillside plains where villages are situated.

Climate
The National Park has the tropical weather condition, i.e., summer is the longest period of the year. The weather is rather hot in summer and cold in winter. And there are frequent, short rains in the rainy season.

Flora and Fauna
Since the geographical features of the National Park consist of high and low mountains, there are various kinds of forests within the area of the National Park, including arid, evergreen forests, virgin forests, pinery, and mixed forests. Major plants include Irvingia Malayana Oliv. (Krabok), Anisoptera Costata (Krabak), Indian Mahogany, Pometia Pinnata, Sompong, rubber trees, clustered plants, Michela Alba, Talo, Cinnamon, Benzoin, Pinus Merkusii Jungh (two-leaf pines), Pinus Kesiya Royle Ex Gordon (three-leaf pines), teak, Leguminosae (Pradoo), Lagerstroemia (Tabaek), Schleichera Oleosa, Vitex Pinnata Linn. (Teen Nok), Terminalia Chebula, and different kinds of bamboo. Wild animals found in the National Park include gorals, Muliacus Muntjak, bears, fishing cats, mouse deer, masked palm civets, wild rabbits, wild boars, monkeys, slow loris, mongooses, porcupines, squirrels, tree shrews, rats, etc.

Ob Khan
Ob Khan is a strange and beautiful natural sightseeing spot in the area of Maekhan River, near the boundary of Hangdong District and Samoeng District, where the office of the Ob Khan National Park is located. The sightseeing spot is originated from the erosion of cliffs on both sides of Maekhan River.

Ob Hi
Ob Hi is a small natural sightseeing spot (approximately 40 meters long), which is similar to Ob Khan and situated in the area of Maekhan River, approximately 1 km away from Ob Khan to the north.

Pha Toob
Pha Toob is a small cliff standing beside the hill. The sightseeing spot is situated in the area of Nan River, approximately 2 km. away from Ob Hi to the north. From the base of Pha Toob, there is smooth detritus extending to Maekhan River.

Tukkatan cave
Tukkatan cave is a large cave on the left-hand side of Huai Khanin, situated in the area of Tambol Banpong, Hangdong District (near Namsoom Royal Project). At the mount of the cave, there are beautiful stalactites and stalagmites. The depth of the cave has not yet been surveyed due to extreme coolness and humidity inside the cave. The cave should be developed as a tourist attraction. And the National Park’s Protection Unit should also be established at this site.

Maetien Waterfall
Maetien Waterfall is a single-step waterfall, originated from Maetien River. At present, Maetien Power Plant of the Provincial Electricity Authority is located at the Waterfall, in the area of Tambol Mae Win, Mae Wang Sub-district, Sanpatong District of Chiang Mai Province.

 Mae Sapok Waterfall
Mae Sapok Waterfall is a small sized waterfall, originated from Mae Sapok River, situated in the area of Mae Sapok Royal Project, Ban Mae Sapok, Tambol Mae Win, Mae Wang Sub-district, Sanpatong District of Chiang Mai Province.

Khun Win Waterfall
Huai Mae Win Waterfall is a 3-step small sized waterfall, situated in the central part of Mae Win River (between Ban Huai Yuak and Ban Khun Win, Tambol Mae Win, Mae Wang Sub-district, Sanpatong District). Step 1 of the Waterfall is about 10 meters high (approximately 20 meters away from Ban Huai Yuak or Ban Kariang), meanwhile, Step 3 is about 15 meters high and 9 meters wide (approximately 800 meters away from Step 2 of the Waterfall). Huai Mae Win Waterfall must be reached by walking from Ban Huai Yuak since there is no access road.

Contact Address
Op Khan National Park
Nam Phrae Sub-district, Amphur Hang Dong Chiang Mai Thailand 50230
Tel. 0 6181 1068 

How to go?
By Car
You may take the routes around the area of the National Park, which are used as borderlines of the National Park, including Highway No. 1269 (Hangdong-Samoeng), Ror.Por.Chor. Road No. 12066 (Samoeng-Borkaew), Ror.Por.Chor. Road No. 12040 (Borkaew-Maehey), Ror.Por.Chor. Road No. 12039 (Maehe-Sobwin), Highway No. 1103 (Sobwin-Sanpatong).


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ โรงแรม+ร้านอาหาร แผนที่เชียงใหม่
อำเภอเมือง
เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้



น้ำตกสิริภูมิ
Siri Phum Waterfall

เส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ(สาย 1001 เชียงใหม่-พร้าว)
เส้นทางสายตะวันตก
 


สวนสัตว์เชียงใหม่
Chiang Mai Zoo
(ชมแพนด้าที่เชียงใหม่)
 
เส้นทางสายตะวันออก(สาย 118 และสาย 1006)
เส้นทางสายเหนือ(สาย 107 เชียงใหม่-ฝาง)



ดอยผาหลวง
Doi pha Luang



ศูนย์ฝึกช้างแตงดาว
Elephant Training Centre

เส้นทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม-สะเมิง



ฟาร์มผีเสื้อแม่สา
Mae sa Butterfly Farm

เส้นทางหลวงหมายเลข 1269 หางดง-สะเมิง
โรงแรมรีสอร์ทที่แนะนำในเชียงใหม่
โรงแรมทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์