ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

เวียงกุมกาม


www.dooasia.com > จังหวัดเชียงใหม่ > เวียงกุมกาม / Wiang Kum Kam 

เวียงกุมกาม/ Wiang Kum Kam


  ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.montfort.ac.th

 
เวียงกุมกาม : เมืองประวัติศาสตร์ใต้แผ่นดิน
สมโชติ อ๋องสกุล บทความ : กฤษนรา ภิมุข ถ่ายภาพ

น้ำท่วมใหญ่ในสมัยเรา

น้ำท่วมใหญ่ในภูมิภาคของไทยเกิดขึ้นตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ในยุคของเรามีน้ำท่วมใหญ่ผู้คนล้มตายจำนวน มากอย่างน้อย 4 ครั้งดังนี้ (1.) 22 พฤศจิกายน 2531 สมัยพลเอกชาติชาย เป็นนายกฯ เหตุเกิดที่ ต.กระทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช คนตามไม่น้อยกว่า 700 ราย (2.) สิงหาคม 2542 สมัยนายยกชวน เป็นนายก ฯ เหตุเกิดที่เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด (3.) 4 พฤษภาคม 2544 สมัย พตท.ทักษิณ เป็นนายก ฯ เหตุเกิดที่ ต.สรอย /ต.แม่พุง /ต.แม่กระต๋อม / ต.แม่ลา อ.วังชิ้น จ.แพร่ คนตายไม่น้อยกว่า 32 ราย (4.) 11 สิงหาคม 2544 สมัยนายยกชวน เป็นนายก ฯ เหตุเกิดที่ ต.น้ำก้อ ต.น้ำชุน ต.หนองไขว่ อ.หล่มสัก จ.เพรชบูรณ์ คนตายไม่น้อยกว่า 73 ราย และในปัจจุบันน้ำเริ่มเข้าท่วมบ้านเรือนในจังหวัดต่างๆ หลายจังหวัดในขณะนี้ ในอดีตราวสามร้อยปีที่ผ่านมา เหตุเกิดที่เชียงใหม่ กรณีเวียงกุมกามและประมาณพันกว่าปีที่ผ่านมาเหตุเกิดที่เชียงแสน จ. เชียงราย กรณีเวียงหนองล่มและก่อนหน้านั้นเหตุเกิดที่ริมแม่น้ำโขงกรณีเมืองสุวรรณโคมคำ เมืองต่างๆ ดังกล่าวเป็นเมืองใน ตำนานที่มีจริงและล่มสลายด้วยพลังสายน้ำ
2527 ร่องรอยโบราณคดีเวียงกุมกามเริ่มปรากฏ 
ร่องรอยเวียงกุมกามเมืองในตำนานปรากฏให้เห็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยชาวบ้านขุดพบพระพิมพ์ดินเผาแบบต่างๆ จำนวนมากในวัดช้างค้ำ บริเวณสนามหญ้าหนาโรงเรียนวัดช้างค้ำ หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ต้องเข้า ระงับแล้วดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีพบว่า บริเวณสนามหญ้าหน้าโรงเรียน เป็นวิหารใหญ่ (2528) จากนั้นได้ขุดแต่งแหล่งอื่นๆ ที่ใกล้เคียงเช่นโบราณ สถานวัดอีก้าง วัดปู่เปี้ย วัดน้อย (2529) วัดหัวหนอง วัดกู่ไม้ซ้ง วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพระธาตุขาว  (2532)(ดูรายงานการขุดแต่งศึกษาและบูรณะ โบราณสถานเวียงกุมกาม หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ พ.ศ.2531-2532) และมีการสำรวจเรื่อยมาล่าสุด (2545)พบว่ามีร่องรอยวัดร้างในเขตกำแพงเวียงกุมกาม 25 แห่ง และนอกกำแพง 5 แห่ง (ไทยรัฐ 16 สค. 2545 )
2529 ร่องรอยประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม
การขุดแต่งทางโบราณคดีพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งที่ เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรจำนวนมาก ซึ่งเป็นการขุดพบข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ถิ่น รัติกนก(2451-2538)เคยพบเศษจารึกวัดกานโถมเมื่อ พ.ศ. 2509-2511 2529 สรัสวดี อ๋องสกุล ได้เริ่มทำวิจัยเรื่องเวียงกุมกาม ทำให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 รุ่นเดียวกันกับชุมชนโบราณริมน้ำปิงแห่งอื่นเช่น เวียงมโน เวียงท่ากาน เวียงเถาะ โดยมีเศษจารึกภาษามอญโบราณเป็นหลักฐานครั้นพญามังรายเข้ายึดครองเมืองลำพูนได้แล้ว ก็มาตั้งเวียงกุมกามเป็นศูนย์กลางการปกครองก่อนคิดสร้างเมืองเชียงใหม่ในเวลาต่อมา จาการสำรวจร่องน้ำปิงห่างและปิงเก่าประกอบกับข้อมูลทางธรณีวิทยา ทำให้ทราบสาเหตุที่ทำให้เวียงกุมกามอยู่ใต้แผ่นดินคือการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของสายน้ำปิงห่างโดยการทับถมของตะกอนทราบปรากกให้เห็นเด่นชัด(ดู สรัสวดี อ๋องสกุล เวียงกุมกาม:การศึกษาชุมชนโบราณในล้านนา เชียงใหม่ 2537) ศักราชสร้างเวียงกุมกาม 
ปีสร้างเวียงเชียงใหม่ชัดเจนเพราะมีจารึกวัดเชียงมั่น ระบุตรงกับ พ.ศ.1839 เวียงกุมกามสร้างก่อนเชียงใหม่ต้องมีอายุมากกว่า 700 ปี และไม่มีหลักฐานร่วมสมัยยืนยัน เอกสารที่เขียนสมัยราชวงค์มังรายเช่นชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ล้วนเขียนหลังสมัยหลายปีจึงระบุปีที่สร้างเวียงกุมกามต่างกัน แต่กุญแจสำคัญคือเวียงกุมกามสร้างหลังพญามังราย ยึดเมืองหริภุญไชยได้แล้วปีที่พญามังราย ตีได้เมืองหริภุญไชยมาจาก 2 แหล่ง ทำให้เกิดแหล่งความรู้ 2 ชุดคือ 1.จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ คือ จุลศักราช 643(ตรงกับ พ.ศ. 1824) หลักฐานนี้ระบุว่าจากนั้นพญามังรายสร้างเมืองแม่แช่ว อยู่ 3 ปี แล้วมาสร้างเวียงกุมกาม เมื่อจุลศักราช 648(ตรงกับ พ.ศ. 1835)(ดู ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี ) 2.จากชิลกาลมาลีปกรณ์ซึ่งเขียนโดยพระรัตนปัญญาเถระ เมื่อ พ.ศ.2067 ระบุว่าพญามังรายตีได้เมืองลำพูนเมื่อจุลศักราช 654(ตรงกับ พ.ศ. 1835)โดยมีแผนยุธศาสตร์ทำสัญญาสามกษัตริย์ เมื่อ จุลศักราช 649(ตรงกับ พ.ศ.1830) หลักฐานนี้ระบุว่าเมื่อยึดลำพูนได้แล้วก็มาสราง"นครกุมกาม"ต่อมาจึงมาสร้างเมืองเชียงใหม่ (ดู ชิลกาลมาลีปกรณ์ : รตท.แสง มนวิทูร 2517) โดยไม่ได้กล่าวถึงการสร้างเมืองแช่ว หลังจากยึดเมืองลำพูนได้แล้วพญามังรายอยู่ลำพูนได้ 2 ปี จึงสร้างเวียงแห่งใหม่ พญามังรายคงสร้าง เวียงกุมกามขึ้นเมื่อ พ.ศ.1837 ตำนานกล่าวว่าพญามังรายได้แผ่อำนาจ ไปทางพม่าได้กำลังคนเป็นช่างฝีมือกลับมาจำนวนมาก ร่องรอยฝีมือช่างพม่าจึงปรากฏ ชัดเจนที่เวียงกุมกามเช่นหัวบันใดขึ้นวิหาร (จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ 5 กย. 2545)


การดำรงอยู่และหายไปของเวียงกุมกามยุคแรก
การดำรงอยู่และหายไปของเวียงกุมกามยุคแรก
เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1839 แล้ว เวียงกุมกามยังได้รับการบำรุงสืบมา ร่องรอยปูนปั้นเจดีย์วัดปู่เปี้ย ซึ่งเหมือนกับวัดเจ็ดยอดเป็นหลักฐานที่ทำให้ทราบว่ามีการทนุบำรุงถึงสมัยพญาเมืองแก้วเป็นอย่างน้อยทั้งนี้มีหลักฐานเอกสาร ระบุว่าพญาเมืองแก้วเสด็จไปเวียงกุมกามเมื่อ พ.ศ. 2062 (สรัสวดี อ๋องสกุลเวียงกุมกาม )

ปลายสมัยพญาเมืองแก้วใน พ.ศ. 2067 เกิดอุทกภัยใหญ่ในเมืองเชียงใหม่คนตายมาก(ตำนานเพื้นเมืองเชียงใหม่)แม้น ไม่ได้กล่าวถึงเวียงกุมกามซึ่งนำปิงท่วมเป็นประจำดังหลักฐานกล่าวว่า "ยามกลาววรรษาน้ำท่วมฉิบหายมากนัก" (พศาวดารภาคที่ 61)ก็กล่าวได้ว่าครั้งนั้นเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เวียงกุมกามด้วย ปลายสมัยราชวงศ์มังรายคือสมัยท้าวแม่กุ (พ.ศ.2094-2101) แม่นำปิงนังใหลอยู่ตามแนวปิงห่างแสดงว่านำปิงยังไม่ เปลี่ยนสายทางเดิน แต่สมัยกองทัพธนบุรีที่ขึ้นมาขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.2317มาพักทัพที่ท่าวังตาลริมน้ำปิง เส้นทางปัจจุบันแล้ว แสดงว่าแม่น้ำปิงเปลี่ยนทางเดินครั้งใหญ่ในช่วงพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2101-2317)โดยไม่พบเอกสารระบุปี หลังจากการขุดแต่งทางโบราณคดีตั้งแต่ 2527 พบแต่ตะกอนดิน ทรายและกรวดทับถมโบราณสถานหนาประมาณ1.50-2.30 เมตร (สรัสวดี อ๋องสกุล เวียงกุมกาม )

เวียงกุมกาม:เมืองประวัติศาสตร์ใต้ดิน
หลังจากกรมศิลปากรขุดแต่งโบราณคดีช่วงแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2532 ร่องรอยวัดที่อยู่ใต้ดินก็เริ่มปรากฏให้เห็นทั้งวัดพบรากฐานค่อนข้างสมบุรณ์ ครั้น พ.ศ.2544 รัฐบาล พตท.ทักษิณ ชินวัตร จัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาทให้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกามจำนาน 39.4 ล้านบาท งบประมาณดังกล่าว ส่วนหนึ่งใช้ในการขุดแต่งทางโบราณคดีเพิ่มเติมอีก 3-4 แหล่ง พบวัดแห่งใหม่เพิ่มขึ้น
1. พบซุ้มประตูโขงบริเวณริมแม่น้ำปิงห่าง ทางเดินปูด้วยอิฐเข้าวัด
 
ยิ่งขุดยิ่ง พบร่องรอยถาวรวัตถุในวัดมากขึ้น 2.พบวิหารขนาดใหญ่ 2 วิหารคู่กันโดยเปิดหน้าดินไว้ เพียงวิหารเดียวส่วนอีวิหารหนึ่งยังคงอยู่ใต้ดิน 3. พบวิหารอยู่ริมถนนเข้าชุมชนเวียงกุมกาม ทำให้เห็นว่าถ้าหากทำการสำรวจเพิ่มขึ้น ทั้งหมดของเวียงกุมกามและมีการขุดแต่ง ทางโบราณคดีทุกแหล่งรวมกันรวมทั้ง ร่องรอยของปิงห่างเมืองประวัติศาสตร ใต้ดินก็จะปรากฏชัดมากขึ้นอีกและอย่างข่อนข้างสมบูรณ์ 
ทิศทางอนุรักษ์เพื่อการเป็นมรดกโลก (The Word Heritage)
ปี 2534 UNESCO ขึ้นบัญชีให้ไทยเป็นมรดกโลก 3 แห่ง 
1.อุทยานประวิศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร 
2.นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 
3.เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ท่งใหญ่นเรศวร 
ต่อมาปี 2535 มีมติให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อ.หนองหาร จ.อุดรเป็นมรดกโลกแห่งที่ 4 ของไทย เงื่อนไขหนึ่งการเป็นมรดกโลกของ UNESCO คือต้องเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่เป็นของแท้ดังเดิม และมีรูปแบบ พิเศษทางสถาปัตยกรรมหรือมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีความสัมพันธ์กับแนวคิดหรือความเชื่อที่มีความสำคัญเป็นสากลหรือ อาจเป็นตัวอย่างที่เด่นของวิถีชีวิต ตามโบราณประเพณีดังนั้นกรณีเวียงกุมกามหากทุกฝ่ายช่วยกันเช่น 
1.สนับสนุนทุนในการเปิด หน้าดินแหล่งโบราณคดีทั้งหมด
2.ดูแลรักษาโบราณสถานส่วนที่เปิดหน้าดินไปแล้วอย่างมีระบบเช่นมีผังเมืองเฉพาะเป็นต้น
เวียงกุมกามซึ่งมีลักษณ์พิเศษในฐานะเมืองประวัติศาสตร์ ที่อยู่ใต้ดินเพราะน้ำท่วมครั้งใหญ่ ก็อาจจะได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแหล่งต่อไป

  ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ http://lanna.arc.cmu.ac.th/L

เวียงกุมกามคือชื่อของ เวียงโบราณแห่งหนึ่ง บนแอ่งที่ราบ เชียงใหม่-ลำพูน มีความสัมพันธ์ กับอาณาจักรหริภุญไชยในฐานะชุมชนโบราณแห่งหนึ่ง ที่ขยายตัวเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรล้านนาในเวลาต่อมา สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1837 ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตก ของเมืองเชียงใหม่ ในเขต ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันยังคงปรากฎหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรม และโบราณคดี จำนวนมากมาย

 เรื่องราวของเวียงกุมกามในระยะแรกเป็นที่รู้จักกันเฉพาะผู้ที่สนใจทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี จนกระทั่งต่อมา มีราษฎรในพื้นที่ ขุดพบพระพิมพ์ดินเผาจำนวนมากบริเวณวัดกานโถม เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลทำให้ทางราชการเริ่ม ให้ความสนใจเรื่องราว ของเวียงกุมกาม และในที่สุดใ นปี พ.ศ. 2527 กรมศิลปากรก็ได้เข้าไปทำการขุดค้น และบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานต่างๆ และทำต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลาดังกล่าวเรื่องราวของเวียงกุมกามในแง่มุมต่างๆ ได้ถูกเปิดเผยขึ้นเป็นระยะๆ ผลงานที่สำคัญได้แก่รายงานการขุดค้นของกรมศิลปากร ซึ่งได้ให้ข้อมูลในแนวกว้างจากการขุดค้นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง รายละเอียดส่วนใหญ่จึงเป็นการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลและสันนิษฐานเบื้องต้นเป็นสำคัญ 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง อีกส่วนหนึ่งคือการค้นคว้าของนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ในกลุ่มนี้จะทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ในทางลึกโดยให้ความสนใจถึงข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ และหลักฐานทางด้านโบราณเป็นสำคัญ อาทิเช่นผลงานการศึกษาจารึก ของ อ.ฮันส์ เพนธ์ จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผลงานของ คุณก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ คุณเทิม มีเต็ม จากกองหอสมุดแห่งชาติ ได้เน้นศึกษาถึงจารึกต่างๆที่พบในเวียงกุมกาม และผลงานที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งได้แก่ งานวิจัย ของ อ.สรัสวดี อ๋องสกุล ทำการศึกษาถึงเรื่อง "เวียงกุมกาม การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา" 

ผลงานเหล่านี้ช่วยให้ภาพ ของเวียงกุมกามที่เคยคลุมเครือ กระจ่างขึ้นเป็นลำดับ ในส่วนของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม เวียงกุมกาม ยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าผลงานของ อ.สุรพล ดำริห์กุล อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 4 และผู้ดำเนินการขุดค้นเวียงกุมกาม ได้เสนอบทความ เรื่อง เวียงกุมกาม : แหล่งความรู้ของล้านนายุคทอง ซึ่งถือว่าเป็นผลงานการศึกษา ในเชิงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในทางลึกได้ไกลที่สุดในขณะนี้ ปัญหาอย่างหนึ่งของการชะลอตัวในการศึกษา อาจจะเนื่องมาจากข้อจำกัดของหลักฐานที่เหลืออยู่ ส่วนใหญ่ไม่สามารถตอบข้อสงสัยให้กระจ่างได้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือก็ยังไม่ได้รับการขุดค้น ด้วยจำกัดในเรื่องงบประมาณ แต่เป็นที่น่ายินดีว่าทางกรมศิลปกรเอง ก็ไม่ได้หยุดเสียทีเดียว เวียงกุมกามยังคงเป็นโครงการที่กรมศิลปากร ให้ความสนใจอยู่อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญขณะนี้ก็กำลังอยู่ในระหว่างการขุดค้นกลุ่มโบราณสถานใหม่ อีก 8 แห่ง หลังเสร็จสิ้นโครงการเราน่าจะพบหลักฐานใหม่ ่อันเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมมากยิ่งขึ้น

ผลการศึกษาที่ผ่านมา

1.เวียงกุมกามจากศิลาจารึก และเอกสารโบราณ เรื่องราวของเวียงกุมกาม เริ่มปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก และเอกสารโบราณ ประเภท คัมภีร์ทางศาสนา, ตำนาน และพงศาวดาร หลายฉบับ เอกสารที่สำคัญได้แก่

  • 1. ศิลาจารึกหลักที่ 38 วัดพระยืน จ.ลำพูน มีอายุราวจุลศักราช 732 (พ.ศ.1913) ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนา ราชวงค์มังราย

  • 2. ตำนานมูลศาสนา น่าจะเป็นเอกสารที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งเอกสารในช่วงหลังใช้เป็นต้นเค้า

  • 3. ชินกาลมาลีปกรณ์ แต่งโดย พระรัตนปัญญา เถระ ราว ปี พ.ศ. 2059

  • 4. พงศาวดารภาคที่ 61 ตำนานประวัติศาสตร์ของล้านนา

  • 5. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เป็นเอกสารจากใบลาน นายสงวน โชติสุขรัตน์ได้รวบรวมและปริวรรต และจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514

  • 6. พงศาวดารโยนก เป็นเอกสารชั้นรอง รวบรวมและเรียบเรียงจากเอกสารโบราณต่างๆ โดยพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุญนาค) พิมพ์เป็นตอนๆ ในหนังสือวชิรญาณ ระหว่างปี พ.ศ. 2441-2442 และจัดพิมพ์รวมเล่ม เมื่อ ปี พ.ศ. 2450

จารึกและ เอกสารโบราณดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นและชั้นรองที่เก่าแก่ที่สุด ที่มีการกล่าวถึง เวียงกุมกาม เรื่องราวส่วนใหญ่ในเอกสารดังกล่าว เขียนสอดคล้องกันเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของ เวียงโบราณแห่งหนึ่งลุ่มแม่น้ำปิง สร้างโดยพญามังราย แต่ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่มาก ในเรื่องการระบุศักราชที่สร้างเวียงกุมกาม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของเอกสารโบราณ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรวมเรียบเรียง จากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์ต่างๆ เป็นเวลานาน ย่อมมีข้อผิดพลาดในการคัดลอก 

อย่างไรก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็สามารถใช้อ้างอิงเป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องอาศัยการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี และสถาปัตยกรรมรอบข้าง ประกอบเป็นสำคัญ สำหรับเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม เอกสารได้กล่าวถึงเรื่องสำคัญๆ ประกอบประกอบไปด้วย เรื่องของการสร้างเมือง, และเรื่องของการสร้างวัด เรื่องของการสร้างเมือง ส่วนใหญ่กล่าวถูกต้องตรงกันว่า เวียงกุมกามสร้างโดยพระยามังราย โดยเลือกชัยภูมิอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของเมืองหริภุญไชย แปลงบ้านอยู่ 3 แห่ง คือบ้านกลาง บ้านลุ่ม และบ้านแหม (บ้านแห้มแล) โปรดให้ขุดเวียงทั้งสี่ด้าน ไขแม่น้ำระมิงค์เข้าใส่คือ ตั้งลำเวียงรอดทุกเบื้อง ตั้งบ้านเรือนอยู่มากนัก 

.. ยามกลางวรรษาน้ำท่วมฉิบหายมากนัก…ยามฤดูพรรษา ช้างม้า โค กระบือ หาที่อาศัยมิได้…แล้วให้ขุดหนองสระอันหนึ่ง ณ ที่ใกล้เรือนหลวง ยามเมื่อขุดนั้นพระยาเมงรายเยี่ยมพระแกลดูคนทำการทุกวัน เหตุฉะนั้นจึงให้ชื่อสระนั้นว่า หนองต่าง(คือหน้าต่าง) ปรากฎมาจนทุกวันนี้…..แล้วพระยามังรายให้ตั้งตลาดกุมกามเป็นที่ประชุมซื้อขายแห่งชนทั้งหลาย ตลาดนั้นเป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก….. เจ้าเมงรายเห็นคนชาวแจ้ช้าง เชียงเรือ ขี่เรือข้ามน้ำมาตลาด เรือคับคั่งกันล่มหลายลำ เหตุนั้นเธอจึงสร้างสะพานข้าม แม่น้ำเรียนกว่าสะพานกุมกามแต่นั้นมา

นี่คือส่วนหนึ่งของการบรรยายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเวียงกุมกาม หลักฐานทางด้านโบราณและสภาพภูมิศาสตร์กายภาพในปัจจุบันมีความสอดคล้องกันกับ เรื่องของการสร้างวัด ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงการสร้างวัดกู่คำ และวัดกานโถม ในชินกาลมาลีปกรณ์ ความว่า ต่อจากได้ชัยชนะพระเจ้าญีบาแล้ว พระเจ้ามังรายได้สร้างนครกุมาม เมื่อจุลศักราช 665 แล้วโปรดให้สร้างเจดีย์กู่คำ ขึ้นในนครนั้น เรียงรายไปด้วยพระพุทธรูป 60 องค์ ในพงศวดารโยนก กล่าวว่า ลุจุลศักราช 650 ปีชวด สัมฤทธิศก เจ้าเมงรายให้เอาดินที่ขุดหนองต่างมาทำอิฐก่อเจดีย์กู่คำไว้ในเวียงกุมกาม ส่วนการสร้างวัดกานโถมนั้นปรากฎ หลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่...และพงศวดารโยนก กล่าวถึงช่างกานโถม..โดยโปรดให้ช่างกานโถม ปรุงเครื่องไม้พระวิหาร มาจากเมืองเชียงแสนแล้วนำมาสร้างที่เวียงกุมกาม และโปรดให้ก่อเจดีย์ที่วัดการโถม..เจดีย์นั้นตีนธรณีกว้าง 6 วา สูง 4 วา แปงที่อยู่พระเจ้า 2 ชั้น ชั้นลุ่มพระเจ้านั่ง 3 องค์ ชั้นบนไว้พระเจ้ายืนองค์หนึ่งแปงรูปพระสารีบุตรโมคคัลลานและรูปพระยาอินทร์และนางธรณีรักษา พระพุทธรูปนั้นแล

2.การศึกษาประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ภายหลัง ปี พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้เสนอรายงานการขุดค้นและบูรณะโบราณสถานในเวียงกุมกาม เป็นระยะๆ ได้แก่

  • - รายงานการขุดแต่งศึกษาและบูรณะวัดน้อย เวียงกุมกาม ปี พ.ศ. 2528

  • - รายงานการปฏิบัติงานทางโบราณคดี โบราณสถานวัดอีก้าง บ้านช้างค้ำ พ.ศ. 2528-2529

  • - รายงานการปฏิบัติงานทางโบราณคดี กลุ่มโบราณสถานวัดปูเปี้ยฯ พ.ศ. 2529

  • -รายงานการขุดค้นศึกษาโบราณสถานวัดกุมกาม บ้านช้างค้ำ หมู่ที่11 ปี พ.ศ. 2529

  • -รายงานการปฏิบัติงานทางโบราณคดี โบราณสถานวัดธาตุขาว ต.ท่าวังตาล พ.ศ. 2529

  • -รายงานการขุดแต่ง และบูรณะเสริมความมั่นคง วัดหัวหนอง เวียงกุมกาม ปี พ.ศ. 2531

  • - รายงานการปฏิบัติงานทางโบราณคดีแหล่งโบราณคดี วัดพระเจ้าองค์ดำ ปี พ.ศ. 2532

  • - รายงานการขุดแต่งและบูรณะเสริมความมั่นคงแหล่งโบราณคดี "กู่ไม้ซ้ง" พ.ศ.2532

  • - เวียงกุมกาม รายงานการขุดแต่งศึกษาและบูรณะโบาณสถาน พ.ศ. 2531-2532

รายงานการขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะ โบราณสถานต่างๆ ในเวียงกุมกามนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจขุดค้น ประกอบไปด้วย ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ของกลุ่มโบราณสถานต่าง ๆ มีการสันนิษฐานรูปแบบและกำหนดอายุ ในเบื้องต้น ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุด ที่ช่วยทำให้การศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสถาปัตยกรรมเกิดความเคลื่อนไหว ผลงานจากการศึกษาของนักวิชาการรุ่นต่อๆมา ได้ใช้ข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการศึกษาต่อไป ควบคู่กับการศึกษาและค้นคว้าของกรมศิลปากร นักวิชาการทางด้านโบราณคดี ที่สนใจทางด้านจารึกก็ได้เสนอผลการศึกษาที่น่าสนใจ และสามารถสนับสนุนการศึกษาในส่วนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ผลงานที่สำคัญได้แก่การศึกษาของ อ.ดร.ฮันส์ เพนธ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจารึกอักษรล้านนา จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษา จารึกพบที่วัดกานโถม ในปีพ.ศ. 2528 ตลอดจนถึง ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ คุณเทิม มีเต็ม จากกองหอสมุดแห่งชาติ ได้ศึกษาจารึกที่วัดกานโถม วัดหัวหนอง และที่วัดเจดีย์เหลี่ยม 

ผลจากการศึกษาเราพบว่า จารึกหลักที่เก่าที่สุด เป็นจารึกที่เขียนด้วยอักษรมอญ ซึ่งแสดงว่า ชุมชนบริเวณวัดกานโถมเป็นชุมชนร่วม สมัยกับหริภุญไชย มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 17 ร่วมสมัยกับชุมชนเวียงมโน เวียงท่ากาน และเวียงเถาะ ส่วนทางด้านประวัติศาสตร์ ปรากฏผลงานวิจัยชิ้นสำคัญที่สุดในการเปิดประตูสู่กระบวนการศึกษาเรื่องเมืองโบราณเวียงกุมกาม ได้แก่ผลงานของ อ.สรัสวดี อ๋องสกุล ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่อง "เวียงกุมกาม การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา" ปีพ.ศ.2537 ผลงานของ อ.สรัสวดี เน้นไปที่การศึกษาและวิเคราะห์ทางด้านประวัติศาสตร์เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของชุมชนเวียงกุมกาม ผลสรุปของงานวิจัย ผู้เขียนได้เสนอว่า เวียงกุมกามเป็นชุมชนโบราณมาแล้วตั้งแต่สมัยหริภุญไชย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณวัดกานโถม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยบริเวณนี้เป็นชุมชนที่มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงสมัยพระยามังราย พระองค์ก็ได้ใช้บริเวณนี้สร้างเวียงกุมกามขึ้น โดยใช้แนวคิดในการสร้างเวียงแบบหริภุญไชย และเวียงกุมกามก็อยู่ในฐานะเมืองใหญ่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ 

เนื่องจากพระยามังรายทรง ย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ เวียงเชียงใหม่เนื่องจากมีชัยภูมิที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม เวียงกุมกามก็ไม่ได้รกร้างไปเสียทีเดียว แต่ยังคงเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีพัฒนาการต่อเนื่องไปจนกระทั่งล่มสลายเพราะถูกน้ำท่วมในสมัยพม่าปกครอง ในปี 2101-2317 และกลับมาเป็นชุมชนขึ้นใหม่ในสมัย รัชกาลที่ 5 นอกเหนือจากข้อเสนอแนะของพัฒนาการของเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ผู้เขียนก็ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้น พร้อมทั้งเสนอแนะข้อสันนิษฐานถึงแบบทางสถาปัตยกรรมไว้บางส่วน ซึ่งวิเคราะห์จากหลักฐานทางด้านโบราณคดี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุดส่วนหนึ่ง 3.การศึกษาเวียงกุมกามทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ผลจากการขุดค้นทางด้านโบราณคดี ของกรมศิลปากรทำให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมในเวียงกุมกามถูกเผยแพร่ออกไป และนักวิชาการต่างๆได้ใช้เป็นข้อมูล ในการศึกษาต่อไป

 อย่างไรก็ตามในช่วงแรกผลงานส่วนใหญ่ยังคงเป็นของ นักวิชาการที่เคยทำงานคลุกคลีกับงานขุดค้นในส่วนของกรมศิลปากร ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งได้แก่ จากการศึกษาของ อาจารย์สุรพล ดำริห์กุล อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 4 และเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมดำเนินการขุดค้นเวียงกุมกาม อ.สุรพลได้เสนอผลการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2528 ในบทความเรื่อง "เวียงกุมกามแหล่งหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์"และทำการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2539 ในรวมบทความเรื่อง แผ่นดินล้านนา เวียงกุมกาม:แหล่งความรู้ของล้านนายุคทอง ผู้เขียนได้สรุปงานสถาปัตยกรรมทั้งที่ได้รับการขุดแต่งและยังไม่ได้รับการ ขุดแต่งมีทั้งหมดจำนวน 25 แห่ง ประกอบไปด้วยซากโบราณสถาน 21 แห่ง และ โบราณสถานที่ยังคงมีการใช้งาน 4 แห่ง ภายในบริเวณประกอบไปด้วยงานสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆ จำนวน 52 แห่ง และได้แบ่งแยกรูปแบบเจดีย์ออกเป็น 6 แบบ ได้แก่เจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์แบบสี่เหลี่ยม, เจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองเชียงแสนหรือพื้นเมืองล้านนา, เจดีย์แบบสี่เหลี่ยม ผสมทรงกลมหรือทรงปราสาท, เจดีย์แบบช้างล้อม, เจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่, และเจดีย์แปด ส่วนงานสถาปัตยกรรมประเภทวิหารและอุโบสถ พบจำนวน 16 แห่ง 

โดยอาจารย์เสนอว่า วิหารส่วนใหญ่น่าจะเป็นวิหารโถง มีการทำผนังเฉพาะด้านหลังพระประธาน และบางส่วนเป็นวิหารทรงปราสาท มีอายุอยู่ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-23 นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เสนอเรื่องการหัน ทิศทางของวิหารกับการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำปิง ซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในปี 2538 อ.สุรพล ดำริห์กุลได้เสนอรายงานวิจัยเรื่อง เจดีย์ช้างล้อมในดินแดนล้านนา ในงานวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาถึงเจดีย์ 2 องค์ที่อยู่ในพื้นที่เขตเวียงกุมกาม ได้แก่ เจดีย์ประธานวัดหัวหนอง, และเจดีย์วัดช้างค้ำ กานโถม เวียงกุมกามซึ่งผลการศึกษา สรุปว่าเจดีย์ช้างล้อมที่เวียงกุมกามนี้ เป็นเจดีย์ที่ผู้เขียนจัดให้อยู่ในเจดีย์กลุ่มที่ 3 ซึ่งมาพร้อมกับการเข้ามาของพุทธศาสนาลังกาวงศ์นิกายสีงหล มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย ในปี 2540 สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดี ของกรมศิลปากร และอดีตเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในงาน ขุดค้นและบูรณะโบราณสถานในเวียงกุมกาม ได้เสนอผลการศึกษาเรื่อง "เรื่องโบราณคดีของพระเจดีย์เหลี่ยมเวียงกุมกาม (กู่คำ) 

ผลการศึกษาผู้เขียนเสนอว่า เจดีย์เหลี่ยมน่าจะมีลักษณะอิทธิพลวัฒนธรรมหริภุญไชยอยู่มาก ส่วนศิลปกรรมที่ปรากฎในปัจจุบันนั้นเป็นแบบพม่า ซึ่งได้รับการบูรณะใหม่เมื่อปี 2451 และในส่วนของลานประทักษิณและกำแพงแก้ว น่าจะมีการก่อสร้างทับซ้อนกันอย่างน้อย 7 ครั้ง และสำหรับในปี 2543 นี้ กรมศิลปากรได้เริ่มโครงการขุดค้น และบูรณะกลุ่มโบราณสถานในเวียงกุมกามที่ยังเหลืออยู่อีกจำนวน 8 แห่ง ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมกราคม ขณะนี้ยังไม่เสร็จสิ้น กลุ่มโบราณทั้ง 8 แห่งได้แก่ กู่ป้าต้อม, วัดโบสถ์, กู่อ้ายหลาน, กู่ริดไม้, กู่อ้ายสี, กู่จ๊อก ป๊อก, กู่มะเกลือ, เนินโบราณสถานกุมกามร้างร้าง, และแนวกำแพงเมืองและคูเมืองด้านทิศตะวันตก (ด้านหน้าวัดธาตุขาว) หลักฐานจากการขุดค้นทำให้เราพบข้อมูลใหม่ๆ ที่สำคัญ อาทิเช่น อาคารประเภทวิหาร ซึ่งพบว่าหลายแห่งยังคงมีความ สมบูรณ์มากในเรื่องของลวดลาย และวัสดุ ตลอดจนถึงแบบของแผนผังวิหาร เราพบหลักฐานของวิหารแบบทรงปราสาทจำนวนมาก

 นั่นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของวิหารประเภทนี้ ได้รับความนิยมมากช่วงหนึ่งในเวียงกุมกาม ซึ่งควรจะต้องมีการศึกษาให้ลึกต่อไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องของแนวกำแพงเมืองทางทิศตะวันตก ซึ่งที่ผ่านมามีการขุดค้นเนินดินทางทิศตะวันตก ของวัด พระเจ้าองค์ดำ และวัดพระเจ้ามังราย โดยได้สันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงเมือง หลักฐานเบื้องต้นพบลักษณะของแนวเนินดิน อัดแน่นมีลักษณะเป็นเนินดิน 2 ชั้น เนื้อดินผสมด้วยอิฐหักและกระเบื้อง กรมศิลปากรได้ทำการตัด Section ของชั้นดิน เมื่อตรวจสอบแล้ว ไม่พบแนวการก่ออิฐ ซึ่งเป็นไปได้ 2 กรณีคือ หากเป็นเป็นแนวกำแพงเมืองจริงก็น่าจะเป็นกำแพงเมืองในลักษณะของกำแพงดิน หรือไม่ก็เป็นแค่เนินดินที่ยกขึ้นเป็นลำเหมือง ทั้งหมดนี้คือสถานภาพการศึกษาเรื่องสถาปัตยกรรมในเวียงกุมกาม ซึ่งเรายังคงมองเห็นว่า ยังคงอยู่ในวงอันจำกัด สาเหตุที่สำคัญ ยังคงอยู่ที่หลักฐานต่างๆ ที่จำกัด ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี อย่างไรก็ตามการขุดค้น และหลักฐานใหม่ๆ ของกรมศิลปากรที่เพิ่มขึ้น คงจะช่วยทำให้เกิดความก้าวหน้าทางการศึกษาขึ้นในอนาคต

รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวเวียงกุมกาม

 
เชียงใหม่/Information of Wiang Kum Kam

  Wiang Kum Kam (เวียงกุมกาม)
An ancient town founded by King Mengrai is located 4 kilometres on Chiang Mai-Lamphun route in
the area of Amphoe Saraphi. The main historical remains are found in Wat Chedi Liam, Wat Chang
Kham, Wat Noi and Wat Kum Kam.

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ โรงแรม+ร้านอาหาร แผนที่เชียงใหม่
อำเภอเมือง
เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้



น้ำตกสิริภูมิ
Siri Phum Waterfall

เส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ(สาย 1001 เชียงใหม่-พร้าว)
เส้นทางสายตะวันตก
 


สวนสัตว์เชียงใหม่
Chiang Mai Zoo
(ชมแพนด้าที่เชียงใหม่)
 
เส้นทางสายตะวันออก(สาย 118 และสาย 1006)
เส้นทางสายเหนือ(สาย 107 เชียงใหม่-ฝาง)



ดอยผาหลวง
Doi pha Luang



ศูนย์ฝึกช้างแตงดาว
Elephant Training Centre

เส้นทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม-สะเมิง



ฟาร์มผีเสื้อแม่สา
Mae sa Butterfly Farm

เส้นทางหลวงหมายเลข 1269 หางดง-สะเมิง
โรงแรมรีสอร์ทที่แนะนำในเชียงใหม่
โรงแรมทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์